Trust หรือความเชื่อใจคือหนึ่งในการยอมรับให้เกิดความเสี่ยง แต่การไม่เชื่อใจก็เป็นความเสี่ยงรูปแบบที่มีผลต่อความยั่งยืนในองค์กร องค์กรที่จะขับเคลื่อนต่อไปด้วย Distrust คือองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ Process ใส่ Input ไปเท่าไหร่ Output ต้องออกมาตามที่คาดหวังไว้ มี Efficiency เป็นตัวชี้วัดที่จะบอกว่าองค์กรทำสำเร็จหรือไม่
Creativity และ Innovation คือสิ่งที่หายไป และนั่นคือต้นทุนสำคัญที่ Distrust Organization ต้องจ่าย แต่ถ้านั่นไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญขององค์กร ให้จ่ายเยอะแค่ไหนก็ไม่ใช่เรื่องที่องค์กรต้องใส่ใจ
คำถามที่น่าสนใจคือ องค์กรของเรามี "Trust" ในกระบวนการบริหารแค่ไหน แล้วเป้าหมายขององค์กรต้องใช้ "Trust" ในระดับไหนในการขับเคลื่อนองค์กร แล้วกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่องค์กรออกแบบมา ไปด้วยกันได้ดีกับการสร้าง Culture of Trust ใช่หรือไม่
เมื่อไหร่ที่องค์กรบอกว่าเราจะใช้ Trust ในการขับเคลื่อนองค์กร นั่นหมายถึงว่าองค์กรให้ Value กับ People มากกว่า Process นี่คือจุดที่สำคัญเพราะถ้าหาก People & Organization Policy, Practice และ Strategy ขัดแย้งกับการที่บอกว่า "Trust คือสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร"
นั่นคืออีกหนึ่งต้นทุนที่เราต้องจ่ายไปโดยที่ไม่ได้อะไรตอบแทน
สิ่งที่องค์กรต้องการในวันนี้ คือ The Right People คนที่เก่งคนที่ใช่ เราใช้เวลาและกระบวนการที่มีต้นทุนในการเลือกคนที่ใช่มาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เมื่อถึงเวลาที่เค้ามาทำงานให้กับองค์กร องค์กร Control หรือ Empower ให้คนเก่งได้ทำงาน
การแสกนลายนิ้วมือลงเวลาในการทำงาน ยังจำเป็นอยู่มั้ย ถ้าเราบอกว่าเราเลือกคนที่ใช่มาแล้ว ทำไมเราถึงไม่ไว้ใจเค้า หรือจริง ๆ แล้วกระบวนการคัดเลือกของเรา ไม่ได้ดีพอที่จะเลือกคนที่เรา Trust ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีม
นี่อาจจะยังเป็นเรื่องเล็ก ๆ
เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นในกระบวนการบริหารคือ องค์กรให้คุณค่ากับการ "พูดจริงทำจริง" แค่ไหน ระบบประเมินผลขององค์กร ที่เชือมโยงไปสู่การให้ Reward & Recognition ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน รวมไปถึงการปรับระดับ แนวทางในการเลือกใครขึ้นมาเป็น Leader ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนให้เกิด Culture of Trust ใช่หรือไม่
ถ้าไม่ใช่ นั่นหมายความว่าองค์กรคาดหวังให้เกิด Trust แต่ไม่ได้ออกแรงหรือสร้างตัวเร่งให้เกิด ตีความเป็นนัย ๆ คือ ไม่ได้รีบร้อนให้บริหารด้วย Trust
เรื่องจริงคือไม่ใช่ แทบจะทุกองค์กรอยากเดินไปข้างหน้าให้เร็วขึ้น แต่ลืมที่จะมองและสร้างการบริหารด้วย Trust ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ลองเช็คดูง่าย ๆ คือเราฟังกันแค่ไหนเวลาที่เกิดปัญหาหรือมีความขัดแย้งในองค์กร และผลสรุปสุดท้ายของการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เราเลือก The Best Solution หรือเราเลือกจากคนที่เสียงดังที่สุด
และแน่นอนว่าองค์กรประกอบที่สำคัญที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปด้วย Trust คือ Empowerment ให้กับ The Right People เพราะฉนั้นเราต้องเริ่มจากการเลือก The Right People ที่มีทั้ง Character และ Capability ที่ใช่ ซึ่ง The Right People เองก็ต้อง "พูดจริงทำจริง" และรักษา "ความสม่ำเสมอ" ไว้ให้ได้ภายใต้เงื่อนไขของการกระบวนการบริหารคนในองค์กร
องค์กรที่บริหารแบบไม่เชื่อใจใน The Right Person นั่นก็คือต้นทุนอีกแบบนึงที่เราต้องเสียไปโดยไม่ได้อะไรตอบแทน
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง การไม่ลงทุนก็ทำให้เกิดความเสี่ยง การลงทุนด้วยการบริหารอย่างเป็นระบบและสร้างวัฒนธรรมในความเชื่อใจ จะสนับสนุนและผลักดันให้เกิด Creativity และ Innovation ที่จะส่งผลต่อไปถึงความยั่งยืนขององค์กร และเป็นการบริหาร The Right People ให้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
กลยุทธ์ นโยบาย กระบวนการในการบริหาร People & Organization สร้างให้เกิด Trust ในองค์กรแล้วหรือยัง
#PeopleStrategy #OrganizationStrategy
#QGEN
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
peoplestrategy 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳解答
องค์กรชั้นนำ ผู้บริหารมากมาย รวมไปถึง Guru ในการบริหารต่างก็พูดเหมือน ๆ กันว่า Feedback คือเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน Performance ขององค์กร ซึ่งสอดคล้องไปกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Generation ทั้ง Gen Y และ Gen Z ต่างก็อยากได้ Feedback กันทั้งนั้น
องค์กรในประเทศไทยหลายองค์กรนำเอาหลักการของ Feedback มาใช้ และไม่ใช่แค่เพิ่งมาใช้ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า Trend ในเรื่องของ Feedback ไม่ใช่เพิ่งถูกพูดถึง เพราะเรื่องนี้มาพร้อม ๆ กับความตื่นตัวของ Gen Y ไม่น้อยกว่า 10 ปี รวมไปถึงมีแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือทางด้านการบริหารคนที่ออกแบบมาเพื่อการนี้
การประเมิน 360 องศาก็เป็นเครื่องมือนึงที่ผู้บริหาร และ HR คุ้นเคยกันดี
ที่น่าสนใจคือ ทำไม Feedback แล้วถึงไม่ได้ผล
ผมเองยังคงเชื่อว่า Feedback เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการ Drive Performance และผมก็มองว่านี่ไม่ใช่เครื่องมือแฟชั่นเหมือนหลายเครื่องมือที่ผ่านมาให้เห็น แต่เป็นเครื่องมือที่ควรจะเป็น Foundation ที่จะทำให้การบริหารคนมีความแข็งแรง และแน่นอนว่าควรจะทำให้เป็นเรื่องปกติ
แล้วอะไรที่ทำให้ Feedback ไม่ได้ผล
ถ้าเราวิเคราะห์จากส่วนประกอบ People, Process และ Technology ที่เกี่ยวข้อง เราน่าจะพอมองออกว่า องค์กรของเราติดกับดักที่เรื่องไหนที่ทำให้ Feedback ของเราไม่ได้ผล เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรชั้นนำที่เค้าทำแล้วได้ผลเป็นรูปธรรม
เริ่มต้นที่ People ก่อนซึ่งแทยจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่จะทำให้ Feedback นั้น Success หรือ Fail ผมคิดว่าต้องเริ่มตั้งแต่คนในองค์กรมี "ความเชื่อ" ที่ถูกต้องแค่ไหนเกียวกับ Feedback และ "ความเข้าใจ" ในความหมายและความสำคัญของการ Feedback ไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่
ถ้าองค์กรจะกระโดดลงไปทำ Feedback เลยโดยที่ "ความเชื่อและความเข้าใจ" ยังไม่เข้าที่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการ Feedback ก็อาจจะยากขึ้น
ถ้าคนในองค์กรไม่เชื่อว่า Feedback แล้ว Performance จะดีขึ้น ถึงองค์กรบังคับให้มีการ Feedback สิ่งที่จะได้คือการทำแบบต่างคนต่างทำ ไร้ทิศทาง และทำไปแบบแกน ๆ ให้รู้ว่ามี แต่ไม่รู้ว่าเอาไปใช้ประโยชน์ยังไง
และถ้าคนในองค์กรเข้าใจว่า Feedback คือการเปิดโอกาสให้ตำหนิกันได้อย่างเต็มที่ ซึ่ง ๆ หน้า นั่นก็เป็นการตีความที่เน้นอารมณ์ เพื่อการระบายและจะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะส่งผลไปในเรื่องของ Collaboration ที่แย่ลง
สิ่งที่องค์กรควรจะออกสตาร์ทคือ การสร้าง Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับเรื่องของ Feedback และให้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า Feedback ที่องค์กรต้องการคืออะไร และให้มั่นใจว่า Mindset ของทุกคนในองค์กร มุ่งมาในทางเดียวกัน
และแน่นอนว่า องค์กรที่เต็มไปด้วยคนที่ไม่ Open มากเพียงพอ และไม่ได้มอง Feedback as a Gift เหมือนที่หนังสือหลาย ๆ เล่มบอก ก็น่าจะยาก
ประเด็นถัดมาในเรื่องของ People ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Skill ในการ Feedback ไม่รู้ว่าจะ Feedback อะไร ไม่รู้ว่าต้องพูดยังไง ไม่กล้าที่จะพูดหรือเลือกใช้คำพูดไม่เป็น กลายเป็นว่าสิ่งที่พูดไปจะไปกระทบความสัมพันธ์ เมื่อองค์กรต้องให้มีการ Feedback เลยเลือกที่จะพูดในเรื่อง Positive เท่านั้น หลีกเลี่ยงเรื่องที่ Negative ทั้งที่นั่นต่างหากคือประเด็นสำคัญที่ทำให้งานไม่เดินหน้า
องค์กรต้องพัฒนาทักษะในด้านนี้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Leader ทุกระดับจะต้องมี Skill นี้ในแบบที่ใช้งานได้จริง และใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
หลุดจากเรื่องของ People มายังคงมีเรื่องของ Process หรือกระบวนการในการ Feedback ที่แต่ละองค์กรต้องเข้าใจและสร้างกระบวนการอย่างเป็นระบบของตนเองขึ้นมา เราอาจจะเทียบเคียงกับองค์กรชั้นนำอื่น ๆ ได้ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติ และวัฒนธรรมของเราด้วย เพื่อให้กระบวนการนั้นถูกนำมาใช้จริง อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเราอาจจะไม่สามารถใช้กระบวนการเดียวกับต่างชาติที่มีความเชื่อแตกต่างจากเราได้
ย้ำอีกที ออกแบบให้เป็นตัวของเราเองครับ
และองค์กรประกอบสุดท้าย Technology ที่นำมาใช้ ถ้าองค์กรของเรามี ระบบ Feedback ที่ไม่เอื้อต่อการใช้งานจริง เป็น Paper-Based ที่ต้อง Consume เวลาอย่างมากในการดำเนินการ เราอาจจะต้องลองมองหาเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีเข้าช่วย เพื่อส่งเสริมให้การ Feedback ง่ายขึ้น และสะดวกขึ้นกับทุกฝ่าย ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราใช้เวลากับการ Feedback มากเกินไป เมื่อเทียบกับเวลาที่ต้องทำงาน จะมีซักกี่คนที่จะตั้งใจทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สามองค์ประกอบนี้คือเรื่องที่เราอาจจะต้องนำไปวิเคราะห์กันอย่างจริงจัง ว่าปัญหาเราอยู่ตรงไหน ที่ทำให้ Feedback ของเราไม่ได้ผล
ลองมาเริ่มต้นใหม่ดูอีกทีกับ Feedback ก็ยังไม่ช้าเกินไป เพราะยังไงซะ นี่ก็คือเครื่องมือจำเป็นในการที่จะ Drive ให้องค์กรในยุคของการเปลี่ยนแปลงครับ
#Feedback #PeopleStrategy
#QGEN
peoplestrategy 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
QGEN - HR Practice Provider
แบบไหนที่เรียกว่า Talent คนเก่งที่องค์กรเราต้องการหน้าตาเป็นแบบไหน เราตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนแล้วหรือยัง
หนึ่งในคำถามที่ผมเองจะถามกับผู้บริหารอยู่บ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส ถ้าเราคิดเหมือนกันว่าเราอยากได้ Talent มาขับเคลื่อนองค์กร จะ Corporate จะ SME จะ StartUp ก็อยากได้ Talent และก่อนที่จะถอดใจว่า องค์กรแบบเราจะมี Talent ที่ไหนสนใจ ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า Talent ของเราเป็นแบบไหนกันแน่
แน่นอนว่าถ้า Talent ของเราซ้ำกับตลาด เราก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าทั้ง Attract และ Retain เราต้องใช้ Budget ไม่น้อยเลยในการแข่งขัน แต่ก็นั่นล่ะครับ เอาให้ชัวร์ก่อนว่า Talent ที่เราอยากได้ซ้ำกับในตลาดหรือไม่ซ้ำกันแน่
คิดให้ดี บางทีเราอาจจะเจอมุมมองใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
คำถามแรกที่ผมอยากจะให้ลองตอบดู เผื่อจะเป็นตัวช่วยให้เรากำหนดกลยุทธ์บริหารคนให้ชัดเจนขึ้น
Talent สำหรับองค์กรในแบบของเรา เป็นสิ่งที่คนคนนั้นต้องมีติดตัวมาตั้งแต่แรกแบบเต็มร้อยเลย หรือว่ามีให้เห็นแต่ซัก 20 % ที่เหลือพัฒนาได้
พอได้แนวทางที่จะไปทำอะไรต่อจากคำถามนี้มั้ยครับ
ถ้าองค์กรของเราเชื่อว่า Talent คือ Natural ต้องมีมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่มาพัฒนาเอาระหว่างที่เป็นพนักงาน นั่นหมายความว่า องค์กรควรจะต้องไปให้ความสำคัญกับ Talent Acquisition มากกว่า Talent Development การตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดเจน อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เราเห็นว่ากลยุทธ์และการบริหารจัดการคนที่องค์กรทำอยู่ตอนนี้ สมเหตุสมผล และสอดคล้องกันอยู่หรือเปล่า
Talent Acquisition / Talent Development / Talent Management / Talent Pool เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ Talent ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้บริหาร Leader และ HR น่าจะพอคุ้นเคยกันอยู่บ้าง หรืออาจจะไม่คุ้นเคยที่มันเรียกชื่อว่าแบบนี้ แต่ในความเป็นจริงผมค่อนข้างมั่นใจว่าถ้าลองไปหาข้อมูลดู หลายองค์กรอาจจะได้ลองดำเนินการไปแล้ว โดยที่อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีชื่อเรียก
อย่ายึดติดกับชื่อเรียก สนใจที่ Process และผลลัพธ์จะดีกว่า ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าองค์กรใหญ่ที่มีพร้อมเท่านั้นถึงจะสร้างความได้เปรียบในกลยุทธ์บริหารคนได้
สิ่งที่ผมอยากจะชวนคุยกันก็คือ เครื่องมือ Talent ต่าง ๆ ที่ผมกล่าวถึง อาจจะไม่มีประโยชน์เลย หรือเดินหน้าไปแบบผิดเพี้ยน ถ้าหากเราไม่กำหนดนิยาม Talent หรือ คนเก่ง ให้ชัดเจน แล้วถ้าเรานิยามไม่ชัด เราก็จัดกลุ่มไม่ได้ กลุ่มไหน Talent กลุ่มไหน Average
แล้วทำไมต้องจัดกลุ่ม เพราะองค์กรมีทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินอยู่จำกัด ถ้าจำเป็นต้อง Focus คนเก่งก็จะเป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่องค์กรต้องลงไปทำอะไรซักอย่างในแต่ละสถานการณ์ เช่น ถ้าองค์กรต้องลดขนาด Talent คือกลุ่มคนที่องค์กรจะพยายามอย่างมากให้อยู่กับองค์กรต่อไป
ถามอีกรอบ Talent ในความหมายขององค์กรของเราเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากองค์กรอื่น
ถ้ายังนึกไม่ออก หรือยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจน ผมมีหลักการมาเป็นแนวทางให้ 2 หลักการ
หลักการแรกเป็นการให้นิยามของ Dave Ulrich ซึ่งบอกว่า Talent ว่ามีองค์ประกอบของ 3C คือ Competency คือทักษะ ความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่องค์กรต้องการ, Commitment คือมีความพยายามที่จะทำให้ได้อย่างที่รับปากไว้ และ Contribution คือทำงานแบบที่สนใจความก้าวหน้าขององค์กรก่อนความก้าวหน้าของตนเอง
อีกหนึ่งหลักการของ QGEN ซึ่งมี 3C เช่นกันคือ มี Character และ Capability ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กระ และมีนิสัยหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาสอดคล้องกับ Design Culture ขององค์กร
แค่สองหลักการทั้ง Dave Ulrich และ QGEN มีสิ่งที่จะต้องกระทุ้งผู้บริหารอยู่บ่อย ๆ ก็คือ คนเก่งหรือ Talent ยังเป็นคนเดิมอยู่มั้ย นี่คือที่มาว่าทำไมเราควรจะ Review ความหมายของ Talent กันในทุกครั้งที่องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง
ถ้าความเก่งหรือ Talent ไม่คงที่ นั่นก็หมายความว่าคนที่เคยเป็น Talent อาจจะไม่ใช่ Talent อีกต่อไป แล้วกระบวนการในการบริหารหรือ Talent Management สอดคล้องกับนิยามของคำว่า Talent แค่ไหน รวมไปถึงการประเมินเพื่อชี้ให้ชัดด้วยว่าใครคือ Talent จะทำอย่างไร ลองดูง่าย ๆ จาก 2 แนวทาง เราจะเห็นว่าไม่ได้ใช้ตัววัดที่เป็น Numeric เท่านั้น แต่มีหลักการในเรื่องของพฤติกรรมด้วย
อีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจและคำตอบที่ได้ก็ควรระบุไว้ในเพื่อเป็นเงื่อนไขในการกำหนดกระบวนการบริหาร Talent
จำเป็นมั้ยที่ทุกระดับ หรือทุกตำแหน่งต้องมี Talent ?
ไม่ใช่เรื่องผิดเลยถ้าองค์กรเราจะกำหนดว่า Talent ขององค์กร คือพนักงานในระดับผู้จัดการที่มีได้ผลงานดี โดยวัดจากการที่ได้ A ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า3 ปี หรืออาจจะเป็น พนักงานในระดับ Supervisor ขึ้นไปที่มีคะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 800 คะแนน
ไม่มีอะไรผิดสำหรับการนิยาม แต่น่าจะผิดถ้าหากไม่นิยามให้ชัดเจน
ก่อนจะเริ่มพัฒนา หรือรักษา Talent ต้องทำให้ชัดก่อนว่า Talent Definition ของเราคืออะไร
#QGEN
#TalentManagement #PeopleStrategy
#HRTheNextGen