“ตู้คอนเทนเนอร์” สิ่งมหัศจรรย์ของ โลกการขนส่ง /โดย ลงทุนแมน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน “ตู้คอนเทนเนอร์” ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญ
ในกระบวนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตู้คอนเทนเนอร์เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ 65 ปีก่อน
แต่อุปกรณ์นี้ ก็ได้ปฏิวัติระบบการขนส่งทั่วโลกไปโดยปริยาย
เรื่องราวของตู้คอนเทนเนอร์มีความเป็นมาอย่างไร
แล้วใครเป็นคนคิดค้นมันขึ้นมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
โดยปกติแล้ว การขนส่งสินค้าจากต้นทางไปถึงจุดหมายต้องผ่านการขนส่ง
หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก, รถไฟ, รถราง, เรือ หรือเครื่องบิน
ทุกครั้งที่เราต้องเปลี่ยนยานพาหนะในระหว่างการขนส่ง
เราต้องมีกระบวนการถ่ายโอนสินค้า จากยานพาหนะเดิมไปสู่ยานพาหนะใหม่ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานในการขนย้ายสินค้าทีละหีบห่อ แถมมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กล่องไม้, กล่องลัง หรือห่อพลาสติก
แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ ถือเป็นขั้นตอนที่ทำได้ลำบากเพราะต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก แถมกินเวลานาน
รวมทั้งยังมีความเสี่ยงที่การขนส่งอาจล่าช้า ตัวสินค้าอาจสูญหายหรือเสียหายในระหว่างทาง
จึงไม่แปลกเลยว่า การขนส่งโดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศ มีต้นทุนที่สูง โดยปัญหาทั้งหมดนี้ อยู่คู่ระบบการขนส่งมาเป็นเวลานาน
แม้ว่ามีคนมากมายที่เล็งเห็นถึงปัญหา แต่มีเพียงคนเดียวที่หาทางแก้ไขได้สำเร็จ
ด้วยการคิดค้นสิ่งมหัศจรรย์ ที่เรียกว่า “ตู้คอนเทนเนอร์” ขึ้นมา
และเขาคนนั้น มีชื่อว่า Malcom McLean
McLean เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน
เขาสนใจทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง ตั้งแต่เรียนจบมัธยมในปี 1931
โดยเริ่มจากซื้อรถบรรทุกมือสองมารับจ้างขนส่งสินค้าเกี่ยวกับการทำฟาร์ม
จนต่อมา เขาก็ได้ร่วมกับพี่น้อง ก่อตั้งบริษัทขนส่งขึ้นมา
ชื่อบริษัทว่า McLean Trucking Co. ในปี 1935
McLean พบว่าธุรกิจขนส่งของเขาต้องใช้เวลาทั้งวันหมดไปกับการรอคอย
รอคอย คนงานขนของขึ้นลงเรือ
รอคอย คนงานขนของขึ้นลงรถบรรทุก
โดย McLean มองว่า กระบวนการทั้งหมดนี้
มีต้นทุนทางด้านบุคลากร และเวลามหาศาล
แต่เขาก็ยังคิดวิธีแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้
จนกระทั่งสิบกว่าปีต่อมา หลังจากที่บริษัท McLean Trucking Co. ได้เติบโต
จนกลายเป็นธุรกิจรถบรรทุกที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้เริ่มเข้ามาควบคุมการขนส่งทางบก โดยคิดค่าธรรมเนียมสำหรับรถส่งของที่วิ่งระหว่างเมือง รวมถึงจำกัดน้ำหนักสินค้าต่อรถหนึ่งคัน
เรื่องดังกล่าวได้กระทบต่อธุรกิจรถบรรทุกของ McLean เพราะนอกจากเขาจะเสียค่าธรรมเนียมแล้ว เขายังขนส่งสินค้าต่อคันได้น้อยลง
เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดเหล่านั้น McLean เลยสนใจนำการขนส่งทางเรือเข้ามาช่วย
โดยยังคงใช้รถบรรทุกในการขนส่ง แต่ในระยะทางที่สั้นลง และใช้เรือที่วิ่งตามชายฝั่งรอบสหรัฐฯ เป็นเส้นทางขนส่งหลักแทน
ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าจุดนี้เอง ได้ทำให้เขาคิดออกว่า
ถ้ามีกล่องขนาดใหญ่ ที่บรรจุสินค้าได้ครั้งละมาก ๆ เคลื่อนย้ายง่าย
รวมถึงช่วยปกป้องสินค้าจากลมทะเลและแรงกระแทกได้ คงจะดีไม่น้อย
และนี่คือจุดกำเนิดของ “ตู้คอนเทนเนอร์”
เขาเริ่มจากการออกแบบรถบรรทุก ให้แยกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นตัวรถ และส่วนตู้ที่บรรจุสินค้า แยกออกจากกันได้
ตัวตู้บรรจุสินค้า ถูกออกแบบและพัฒนาให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกระหว่างรถและเรือ
มีขนาดเท่ากันเป็นมาตรฐาน เพื่อให้วางซ้อนกันบนเรือได้สูงและทำจากวัสดุที่ทนทาน
ในเวลาต่อมา McLean ก็สามารถนำสิ่งที่คิดค้นขึ้นได้
จดเป็นสิทธิบัตรตู้คอนเทนเนอร์ (ISO Container) ในปี 1956
ในขณะที่เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ลำแรกของโลก ที่ชื่อว่า SS Ideal X ก็เริ่มเดินเรือในปีเดียวกัน
โดยวิ่งจาก New Jersey ไป Texas บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 58 ตู้
ในช่วงเดียวกันนี้เอง เพื่อต่อยอดกิจการขนส่งทางเรือ
McLean ได้เข้าซื้อกิจการ Pan Atlantic Tanker Company
และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น SeaLand Shipping
โดยในภายหลัง บริษัทของ McLean ได้ถูกควบรวมกับ Maersk Group
ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าบริษัท 1.44 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นบริษัทขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่สุดในโลก
หลังจากนั้นมา ตู้คอนเทนเนอร์ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจนนำมาประยุกต์ใช้กับเครนและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ แทนที่แรงงานคนในการเคลื่อนย้าย
เรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้การขนส่งระหว่างประเทศ และระหว่างการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ
มีความต่อเนื่อง สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่สินค้าจะสูญหายและเสียหาย ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนการขนส่งลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับในอดีต
มีการประเมินว่าทุกวันนี้ อาจมีตู้คอนเทนเนอร์กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกสูงถึง 170 ล้านตู้
และกว่า 60 ล้านตู้ยังใช้วนอยู่ในระบบการขนส่ง
ในขณะเดียวกัน จะมีตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 300,000 ตู้
จากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในปีที่แล้ว
ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าที่ล่าช้าไปทั่วทุกมุมโลก
จนทำให้ต้นทุนค่าขนส่งพุ่งขึ้นกว่า 2 เท่า
เรื่องดังกล่าวก็พอแสดงให้เห็นแล้วว่า ตู้คอนเทนเนอร์กลายเป็นสิ่งสำคัญ ที่ขาดไม่ได้เป็นที่เรียบร้อย..
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่า ในบางครั้งความพยายามแก้ปัญหาในธุรกิจของตัวเอง
ให้ดีขึ้น ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็อาจจะกลายมาเป็นนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาให้ผู้อื่นได้เช่นกัน
อย่างในกรณีของคุณ McLean ที่เบื่อหน่ายกับการต้องรอคนงานตลอดทั้งวัน
ก็ได้นำความเบื่อหน่ายมาเป็นโจทย์ และพยายามหาคำตอบจนสามารถคิดค้น “ตู้คอนเทนเนอร์”
ที่ไม่ต่างอะไรไปจากสิ่งมหัศจรรย์ของโลกการขนส่งไปแล้วเรียบร้อย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.mobilbox.co.uk/history-shipping-container/1472
-https://www.freightos.com/the-history-of-the-shipping-container/
-https://hbswk.hbs.edu/item/the-truck-driver-who-reinvented-shipping
-https://en.wikipedia.org/wiki/Intermodal_container
-https://en.wikipedia.org/wiki/Containerization
-https://en.wikipedia.org/wiki/SeaLand
-https://www.cnbc.com/2021/01/22/shipping-container-shortage-is-causing-shipping-costs-to-rise.html
-https://porta-stor.com/many-shipping-containers/#:~:text=But%20a%20very%20broad%20estimate,170%20million%20shipping%20containers%20globally.
truck wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Zume Pizza ธุรกิจพิซซ่าเดลิเวอรี ที่มีพ่อครัวเป็นหุ่นยนต์ / โดย ลงทุนแมน
พิซซ่า เป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
โดยมนุษย์ทุกคนกินพิซซ่ารวมกันทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านถาดต่อปี
และถ้าพูดถึงร้านที่คนส่วนใหญ่ชอบ คงจะเป็น Domino’s Pizza หรือ Pizza Hut
แต่อีกไม่นาน แบรนด์ผู้นำตลาดเหล่านี้ อาจต้องเจอกับคู่แข่งรายใหม่ที่น่ากลัว ซึ่งพ่อครัวนั้นไม่ใช่มนุษย์
เพราะสตาร์ตอัปธุรกิจพิซซ่าเดลิเวอรี ชื่อว่า “Zume Pizza” ได้ใช้หุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทน
เรื่องราวของร้านนี้ มีความน่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Zume Pizza (อ่านว่า ซูม-พิซซ่า) เป็นบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีอาหาร ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015
โดยประกอบธุรกิจร้านพิซซ่าแบบเดลิเวอรี ที่จัดทำและบริการส่งไปให้ถึงบ้านของลูกค้า
แต่ที่พิเศษกว่ารายอื่นๆ ทั่วไป คือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตเกือบทั้งหมด
ร้าน Zume Pizza จะรับคำสั่งซื้อจากช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ข้อมูลส่งไปยังระบบในห้องครัวทันที
จากนั้น หุ่นยนต์ก็จะเริ่มทำพิซซ่าแบบอัตโนมัติ
เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแป้ง ผสมซอสมะเขือเทศ และนำถาดเข้าไปอบในเตา
ซึ่งพิซซ่าทุกชิ้นนั้น จะมีมาตรฐานคุณภาพคงที่ รวมทั้งถูกตัดแบ่งให้มีขนาดเท่ากันเป๊ะอีกด้วย
ทำให้พนักงานเหลือหน้าที่แค่นำวัตถุดิบต่างๆ ไปปรุงแต่งหน้าพิซซ่า
เพราะมันยังคงต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ของมนุษย์อยู่
ผลที่ได้ตามมาคือ ร้านสามารถทำพิซซ่าออกมาขายได้ถึง 372 ถาด ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
เนื่องจากหุ่นยนต์ทำงานได้เร็วชนิดที่ว่ามนุษย์ไม่มีทางเทียบติด เช่น ใช้เวลาเตรียมแป้งแค่ 9 วินาที
ทำให้ร้านลดเวลาที่ลูกค้าต้องรออาหารได้ 5-20 นาที เมื่อเทียบกับการผลิตแบบเดิม
นอกจากนี้ ถ้าหากลูกค้าอยู่ไกลกว่าเวลาจัดส่งเกิน 12 นาที
Zume Pizza จะมีบริการอีกอย่างที่เข้ามาแก้ไขปัญหา
นั่นคือ ครัวแบบเคลื่อนที่
ปกติแล้ว สิ่งที่ร้านขายพิซซ่า หรือแม้แต่ธุรกิจเดลิเวอรีอาหารมักจะเจอ คือช่วงเวลาที่เสียไปบนท้องถนนตอนจัดส่ง ซึ่งบางครั้งมันก็ใช้เวลานาน จนอาหารไม่สดใหม่เหมือนกับสั่งทานที่ร้าน ส่งผลให้ความอร่อยลดลงไปพอสมควร
Zume Pizza จึงได้ลงทุนติดตั้งครัวหุ่นยนต์ ไว้บนรถ Food truck ขนาดใหญ่ ซึ่งจะขับวนอยู่ในพื้นที่ให้บริการ
เมื่อได้รับคำสั่ง มันจะประเมินระยะทาง และคำนวณเวลาอบพิซซ่าให้แล้วเสร็จพอดีเมื่อไปถึงที่หมาย
ทำให้ลูกค้าจะได้กินพิซซ่าที่ร้อนใหม่ๆ จากเตา
รวมไปถึงเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ข้อมูลประวัติการซื้อในอดีต เพื่อให้สามารถจัดเตรียมวัตถุดิบ สำหรับวันเวลาที่คาดการณ์ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อพิซซ่าได้ และส่งรถ Food truck ไปรอในบริเวณใกล้เคียงไว้เลย
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Zume Pizza จัดส่งอาหารได้รวดเร็วมาก
หากเป็นไปตามที่ประเมินไว้ล่วงหน้า ลูกค้าบางรายอาจได้รับพิซซ่าหลังจากกดสั่งซื้อเพียง 4 นาทีเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า การรวบรวมเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้ามาพัฒนาธุรกิจ ทำให้กระบวนการทำงานของร้านโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงกว่าผู้เล่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะคิดว่า ลงทุนขนาดนี้ ราคาขายคงจะแพง
แต่ทางร้านไม่มีค่าใช้จ่ายในการตกแต่งหน้าร้าน ทำให้สามารถตั้งราคาในระดับที่แข่งขันได้
โดยพิซซ่าถาดใหญ่ของ Zume Pizza มีราคารวมค่าขนส่งอยู่ที่ 300-600 บาท ขึ้นอยู่กับหน้าท็อปปิ้ง
ในขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Domino’s Pizza พิซซ่าถาดใหญ่ มีราคารวมค่าขนส่งอยู่ที่ 530-570 บาท ซึ่งยังไม่รวมหน้าท็อปปิ้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร้าน Zume Pizza ยังเปิดให้บริการอยู่แค่พื้นที่ย่าน Silicon Valley เมืองซานฟรานซิสโก เท่านั้น แต่ก็มีการเตรียมจะขยายสาขาเพิ่มต่อไป
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรหุ่นยนต์ผลิตอาหารในครัวเคลื่อนที่ไว้
ซึ่งร้านมีแผนจะนำมันไปหาโอกาสความร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตร เพื่อเพิ่มประเภทเมนูอาหาร นอกเหนือจากพิซซ่า
ด้วยศักยภาพที่น่าสนใจดังกล่าว ทำให้บริษัทได้รับเงินระดมทุน 11,000 ล้านบาท จากกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ซึ่งเป็นผู้นำการลงทุนในสตาร์ตอัปเทคโนโลยีของโลก
โดย Zume Pizza ถูกประเมินมูลค่าธุรกิจไว้ที่ 68,000 ล้านบาท ถือเป็นสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์นไปแล้ว
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า
หุ่นยนต์ เริ่มขยับเข้ามาแย่งงานเรามากขึ้นเรื่อยๆ
แม้แต่สิ่งที่เราเคยคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ อย่างการทำอาหาร
ซึ่งต่อไป มนุษย์อาจเป็นแค่ลูกมือของหุ่นยนต์ภายในห้องครัว
และอีกข้อคือ ธุรกิจเดลิเวอรีอาหาร น่าจะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
จากการคิดค้นบริการรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
ตอนนี้ เราเห็นการนำอาหารส่งมาให้ถึงประตูบ้าน
และ Cloud Kitchen ที่ให้เช่าห้องครัวกลาง
แต่ในอนาคต มันอาจจะมีห้องครัว เคลื่อนที่มาอยู่ตรงหน้าบ้านเราเลยก็เป็นได้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Zume_Pizza
-https://www.washingtonpost.com/…/these-pizza-making-robots…/
-https://amp.businessinsider.com/zume-pizza-robot-expansion-…
-https://www.hungryhowies.com/…/17-fun-facts-about-pizza-nut…
truck wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Zume Pizza ธุรกิจพิซซ่าเดลิเวอรี ที่มีพ่อครัวเป็นหุ่นยนต์ / โดย ลงทุนแมน
พิซซ่า เป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
โดยมนุษย์ทุกคนกินพิซซ่ารวมกันทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านถาดต่อปี
และถ้าพูดถึงร้านที่คนส่วนใหญ่ชอบ คงจะเป็น Domino’s Pizza หรือ Pizza Hut
แต่อีกไม่นาน แบรนด์ผู้นำตลาดเหล่านี้ อาจต้องเจอกับคู่แข่งรายใหม่ที่น่ากลัว ซึ่งพ่อครัวนั้นไม่ใช่มนุษย์
เพราะสตาร์ตอัปธุรกิจพิซซ่าเดลิเวอรี ชื่อว่า “Zume Pizza” ได้ใช้หุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทน
เรื่องราวของร้านนี้ มีความน่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Zume Pizza (อ่านว่า ซูม-พิซซ่า) เป็นบริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีอาหาร ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015
โดยประกอบธุรกิจร้านพิซซ่าแบบเดลิเวอรี ที่จัดทำและบริการส่งไปให้ถึงบ้านของลูกค้า
แต่ที่พิเศษกว่ารายอื่นๆ ทั่วไป คือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิตเกือบทั้งหมด
ร้าน Zume Pizza จะรับคำสั่งซื้อจากช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ข้อมูลส่งไปยังระบบในห้องครัวทันที
จากนั้น หุ่นยนต์ก็จะเริ่มทำพิซซ่าแบบอัตโนมัติ
เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแป้ง ผสมซอสมะเขือเทศ และนำถาดเข้าไปอบในเตา
ซึ่งพิซซ่าทุกชิ้นนั้น จะมีมาตรฐานคุณภาพคงที่ รวมทั้งถูกตัดแบ่งให้มีขนาดเท่ากันเป๊ะอีกด้วย
ทำให้พนักงานเหลือหน้าที่แค่นำวัตถุดิบต่างๆ ไปปรุงแต่งหน้าพิซซ่า
เพราะมันยังคงต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ของมนุษย์อยู่
ผลที่ได้ตามมาคือ ร้านสามารถทำพิซซ่าออกมาขายได้ถึง 372 ถาด ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
เนื่องจากหุ่นยนต์ทำงานได้เร็วชนิดที่ว่ามนุษย์ไม่มีทางเทียบติด เช่น ใช้เวลาเตรียมแป้งแค่ 9 วินาที
ทำให้ร้านลดเวลาที่ลูกค้าต้องรออาหารได้ 5-20 นาที เมื่อเทียบกับการผลิตแบบเดิม
นอกจากนี้ ถ้าหากลูกค้าอยู่ไกลกว่าเวลาจัดส่งเกิน 12 นาที
Zume Pizza จะมีบริการอีกอย่างที่เข้ามาแก้ไขปัญหา
นั่นคือ ครัวแบบเคลื่อนที่
ปกติแล้ว สิ่งที่ร้านขายพิซซ่า หรือแม้แต่ธุรกิจเดลิเวอรีอาหารมักจะเจอ คือช่วงเวลาที่เสียไปบนท้องถนนตอนจัดส่ง ซึ่งบางครั้งมันก็ใช้เวลานาน จนอาหารไม่สดใหม่เหมือนกับสั่งทานที่ร้าน ส่งผลให้ความอร่อยลดลงไปพอสมควร
Zume Pizza จึงได้ลงทุนติดตั้งครัวหุ่นยนต์ ไว้บนรถ Food truck ขนาดใหญ่ ซึ่งจะขับวนอยู่ในพื้นที่ให้บริการ
เมื่อได้รับคำสั่ง มันจะประเมินระยะทาง และคำนวณเวลาอบพิซซ่าให้แล้วเสร็จพอดีเมื่อไปถึงที่หมาย
ทำให้ลูกค้าจะได้กินพิซซ่าที่ร้อนใหม่ๆ จากเตา
รวมไปถึงเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ข้อมูลประวัติการซื้อในอดีต เพื่อให้สามารถจัดเตรียมวัตถุดิบ สำหรับวันเวลาที่คาดการณ์ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อพิซซ่าได้ และส่งรถ Food truck ไปรอในบริเวณใกล้เคียงไว้เลย
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ Zume Pizza จัดส่งอาหารได้รวดเร็วมาก
หากเป็นไปตามที่ประเมินไว้ล่วงหน้า ลูกค้าบางรายอาจได้รับพิซซ่าหลังจากกดสั่งซื้อเพียง 4 นาทีเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า การรวบรวมเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้ามาพัฒนาธุรกิจ ทำให้กระบวนการทำงานของร้านโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงกว่าผู้เล่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะคิดว่า ลงทุนขนาดนี้ ราคาขายคงจะแพง
แต่ทางร้านไม่มีค่าใช้จ่ายในการตกแต่งหน้าร้าน ทำให้สามารถตั้งราคาในระดับที่แข่งขันได้
โดยพิซซ่าถาดใหญ่ของ Zume Pizza มีราคารวมค่าขนส่งอยู่ที่ 300-600 บาท ขึ้นอยู่กับหน้าท็อปปิ้ง
ในขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Domino’s Pizza พิซซ่าถาดใหญ่ มีราคารวมค่าขนส่งอยู่ที่ 530-570 บาท ซึ่งยังไม่รวมหน้าท็อปปิ้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร้าน Zume Pizza ยังเปิดให้บริการอยู่แค่พื้นที่ย่าน Silicon Valley เมืองซานฟรานซิสโก เท่านั้น แต่ก็มีการเตรียมจะขยายสาขาเพิ่มต่อไป
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรหุ่นยนต์ผลิตอาหารในครัวเคลื่อนที่ไว้
ซึ่งร้านมีแผนจะนำมันไปหาโอกาสความร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตร เพื่อเพิ่มประเภทเมนูอาหาร นอกเหนือจากพิซซ่า
ด้วยศักยภาพที่น่าสนใจดังกล่าว ทำให้บริษัทได้รับเงินระดมทุน 11,000 ล้านบาท จากกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ซึ่งเป็นผู้นำการลงทุนในสตาร์ตอัปเทคโนโลยีของโลก
โดย Zume Pizza ถูกประเมินมูลค่าธุรกิจไว้ที่ 68,000 ล้านบาท ถือเป็นสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์นไปแล้ว
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า
หุ่นยนต์ เริ่มขยับเข้ามาแย่งงานเรามากขึ้นเรื่อยๆ
แม้แต่สิ่งที่เราเคยคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ อย่างการทำอาหาร
ซึ่งต่อไป มนุษย์อาจเป็นแค่ลูกมือของหุ่นยนต์ภายในห้องครัว
และอีกข้อคือ ธุรกิจเดลิเวอรีอาหาร น่าจะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
จากการคิดค้นบริการรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
ตอนนี้ เราเห็นการนำอาหารส่งมาให้ถึงประตูบ้าน
และ Cloud Kitchen ที่ให้เช่าห้องครัวกลาง
แต่ในอนาคต มันอาจจะมีห้องครัว เคลื่อนที่มาอยู่ตรงหน้าบ้านเราเลยก็เป็นได้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Zume_Pizza
-https://www.washingtonpost.com/news/food/wp/2017/06/28/these-pizza-making-robots-can-have-a-hot-pie-at-your-door-in-4-minutes/
-https://amp.businessinsider.com/zume-pizza-robot-expansion-2017-6
-https://www.hungryhowies.com/blog/17-fun-facts-about-pizza-nutrition-and-other-stuff
truck wiki 在 Truck Simulator Wiki - Fandom 的相關結果
Truck Simulator Wiki is a collaborative encyclopedia for everything related to SCS Software truck simulator games, including Euro Truck Simulator 2, ... ... <看更多>
truck wiki 在 truck - Wiktionary 的相關結果
Any motor vehicle designed for carrying cargo, including delivery vans, pickups, and other motorized vehicles (including passenger autos) fitted with a bed ... ... <看更多>
truck wiki 在 Truck - Wikipedia 的相關結果
A truck or lorry is a motor vehicle designed to transport cargo, carry specialized payloads, or perform other utilitarian work. Trucks vary greatly in size, ... ... <看更多>