*** ความไม่เท่าเทียมในวัคซีนโควิด ***
แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะย่างเข้าสู่เดือนที่ 20 และมีวัคซีนโควิด-19 มา 7 เดือนแล้ว แต่การกระจายวัคซีนยังทำได้ล่าช้า อีกช่องว่างของวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจนยังกว้างมาก
ตัวอย่างเช่น อังกฤษเซ็นสัญญาซื้อวัคซีนแล้วเกินจำนวนประชากร 2.2 เท่า, แคนาดาสามารถจัดหาวัคซีนตุนไว้ 10 เท่าของจำนวนประชากร, ส่วนสหรัฐนั้นมีวัคซีนเหลือทิ้ง ...กลับกันเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมาเฮติเพิ่งได้รับส่งมอบวัคซีนลอตแรกจำนวน 500,000 โดสเท่านั้นเอง (เฮติมีประชากร 11 ล้านคน)
ข้อมูลเมื่อปลายเดือน มิ.ย. พบว่ามีเพียง 48 ประเทศที่อัตราฉีดวัคซีนเกิน 50% ของประชากร (เชื่อว่าอัตรานี้จะทำให้ยอดผู้เสียชีวิตรายวันลดลง) ใน 48 ประเทศนี้มีมองโกเลียเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่ใช่ประเทศรายได้สูง ส่วนข้อมูลในเดือน ก.ค. พบว่ามีการฉีดวัคซีนแล้ว 3,400 ล้านโดส หรือแปลว่าประชากร 25.3% ของโลกได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส แต่ในจำนวนนั้นมีวัคซีนเพียง 1% ตกถึงประเทศยากจน
การกระจายวัคซีนล่าช้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่ที่เคยได้รับเสียงชื่นชมว่าสามารถควบคุมโควิดได้ดี เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชาและไต้หวัน โรงงานหลายแห่งต้องปิดตัวลง จนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวหลังชาติตะวันตกหลายชาติเตรียมกลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว
ทวีปที่ได้รับผลกระทบจากช่องว่างวัคซีนมากที่สุดคือทวีปแอฟริกา โดยในเดือน ก.ค. 2021 ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาระบุว่าทวีปแอฟริกาต้องพึ่งพาวัคซีนนำเข้าถึง 99% ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันจะมีโครงการ “โคแวกซ์” เพื่อบริจาควัคซีนให้ประเทศยากจนของ WHO กับกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) และองค์กร GAVI แต่โครงการโคแวกซ์มีข้อบกพร่องและมีงบสนับสนุนน้อยจนไม่สามารถแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจในการศึกแย่งชิงวัคซีนได้ ปัญหาการฉีดวัคซีนล่าช้าในประเทศแอฟริกาส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะได้รับจัดสรรวัคซีนจากโคแวกซ์ช้านั่นเอง (โครงการโคแวกซ์ขาดงบ รอจนกระทั่งมีงบแล้วหลายประเทศพบว่าตัวเองอยู่ท้ายคิวที่กำลังรอซื้อ)
นอกจากนี้โคแวกซ์ยังประสบปัญหาเนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นประเทศผู้ขายวัคซีนให้โคแวกซ์รายใหญ่สุดสั่งชะลอการส่งออกเพื่อเก็บวัคซีนไว้ฉีดคนในประเทศก่อน เชื่อว่ากว่าจะมีอุปทานวัคซีนเพียงพออาจต้องรอถึงปลายปี 2021 เมื่อจำนวนผลิตวัคซีนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับยอดสั่งซื้อ
ขณะนี้โคแวกซ์สามารถส่งมอบวัคซีนได้เพียง 107 ล้านโดส และยังต้องพึ่งพาการบริจาคจากประเทศร่ำรวยซึ่งเอาแน่เอานอนไม่ได้ เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มจี 7 สัญญาว่าจะมอบวัคซีนให้ 1,000 ล้านโดส แต่ยังนับว่าอีกไกลกว่าจะถึงเป้าหมาย 11,000 ล้านโดสของ WHO
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าโควิด-19 มีการระบาดมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวง จนทำให้อายุขัยประชากรลดลงเป็นปีแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และความพร้อมรับมือโรคระบาดของประเทศเหล่านี้ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้มาก
ไม่กี่สัปดาห์หลังแอสตราเซเนกาเริ่มผลิตวัคซีนต้นแบบในเดือน พ.ค. 2020 สหรัฐและอังกฤษก็สั่งซื้อไปแล้วรวม 400 ล้านโดส และบริษัทอย่างไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นาก็มีกรณีคล้ายกันคือถูกประเทศเจริญแล้วสั่งจองก่อนมีสินค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ สหรัฐยังสามารถเซ็นสัญญาซื้อวัคซีนได้โดยไม่เกี่ยงราคาและเงื่อนไข เช่นเดียวกับที่สั่งห้ามส่งออกวัคซีนหลายครั้ง คือ 18 ครั้งในสมัยทรัมป์ และอย่างน้อย 1 ครั้งในสมัยไบเดน จนเพิ่งจะมีการผ่อนปรนบางส่วนในไตรมาส 2 ของปี 2021
ยังมีข้อถกเถียงว่าประเทศร่ำรวยเก็บกักวัคซีนไว้ เพื่อใช้เป็นเข็มกระตุ้น (booster dose) และฉีดให้เด็กอายุน้อยซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ แทนที่จะนำไปบริจาคให้ประเทศยากจนเพื่อฉีดวัคซีนให้กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก่อน
...ในเรื่องนี้ทางฝั่งยุโรปและอเมริกาเองก็ยอมรับว่า พวกเขาคิดจะสงวนไว้ใช้ในประเทศก่อน...
อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลคอสตาริกากับ WHO เสนอให้ตั้งโครงการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อขยายการผลิตวัคซีน แต่ก็ล่มเพราะไม่มีประเทศใดยอมแบ่ง แม้ว่าจะมีการเสนอเงินให้ก็ตาม ในเรื่องนี้มูลนิธิเกตส์ซึ่งอุดหนุน WHO มากพอๆ กับรัฐบาลสหรัฐเองยังคัดค้านเพราะเชื่อว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยเร่งนวัตกรรมได้ดีกว่า
ในมุมมองของอุตสาหกรรมยา วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (เช่น ไฟเซอร์และโมเดอร์นา) เป็นหลักฐานยืนยันชั้นดีว่านี่เป็นรางวัลของการทำงานหนักและความกล้าได้กล้าเสีย บริษัทยาต้องการกุมวัคซีนที่ทำกำไรให้ตัวเองไว้ไม่ยอมปล่อย นี่ทำให้ข้อเรียกร้องให้ยกเลิกข้อจำกัดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาของยาและวัคซีนในองค์การการค้าโลกยังไปไม่ถึงไหน
ฝั่งบริษัทผู้ผลิตวัคซีนเองก็ประสบปัญหาไม่สามารถส่งมอบวัคซีนได้ตามสัญญา เช่น แอสตราเซเนกา (สัญชาติอังกฤษ) ประกาศลดการส่งมอบให้อียูหลายครั้ง, เหตุไฟไหม้โรงงานผลิตในอินเดียทำให้การส่งมอบวัคซีนล่าช้าไปหลายเดือน และโมเดอร์นา (สัญชาติอเมริกัน) ประกาศลดการส่งมอบให้อังกฤษและแคนาดา
มีกลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานว่า วิกฤตโควิดนี้ทำให้มีเศรษฐีพันล้านเกิดใหม่ 9 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 6 คน เกี่ยวข้องกับการผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ด้านผู้แทนโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ระบุว่า นี่เป็นสัญญาณว่าหลายสิบปีที่ผ่านมาโลกไม่ได้บทเรียนอะไรเลยจากโรคเอดส์เลย ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ชาวแอฟริกาหลายล้านคนยังต้องเสียชีวิตเพราะไม่มีเงินรักษา
จนถึงขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 4 ล้านคนแล้ว และถ้าการฉีดวัคซีนยังล่าช้า โควิด-19 ก็จะแพร่ระบาด กลายพันธุ์ และทำให้คนป่วยและเสียชีวิตต่อไป...
ภาพแนบ: ขวดเปล่าของวัคซีนไฟเซอร์ โมเดอร์นากับแอสตราเซเนกา
ผู้ที่สนใจความรู้ประวัติศาสตร์ และบทวิเคราะห์เรื่องต่างประเทศ สามารถสมัครเข้าอ่านเพิ่มเติมในกลุ่ม illumicorgi โดยทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน โดยจะแจ้งประเภทสมาชิก ส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: อ้างอิง :::
- apnews (ดอต) com/article/coronavirus-vaccine-inequality-dac9c07b324e29d3597037b8dc1d908a
- theguardian (ดอต) com/world/ng-interactive/2021/jun/28/vaccine-inequality-how-rich-countries-cut-covid-deaths-as-poorer-fall-behind
- edition (ดอต) cnn (ดอต) com/2021/07/01/economy/asia-manufacturing-clusters-vaccine-intl-hnk-dst/index.html
- aljazeera (ดอต) com/opinions/2021/7/19/africas-vaccine-crisis-its-not-all-about-corruption
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過13萬的網紅The World TODAY,也在其Youtube影片中提到,知名雜誌《#經濟學人》評論2020年表現最進步國家,台灣防疫表現優異,和紐西蘭、波利維亞等國被列入候選名。不過最後《經濟學人》肯定非洲國家馬拉威的民主及人權進步最大,把「#年度最進步國家」的殊榮頒給 #馬拉威。但馬拉威的經濟情況差,還曾被聯合國評為最不發達的國家之一,倒底是如何維護民主和人權,獲得經...
unaids 在 GagaTai 嘎嘎台 Facebook 的最佳解答
聯合國愛滋病聯合規劃署(UNAIDS)報告,其中提到 COVID-19 疫苗對於愛滋確診者的必要性與安全性。
unaids 在 廖郁賢 雲林縣議員 Facebook 的最佳貼文
【世界零歧視日:阿賢邀你一起打造愛滋零歧視的社會】
#賢仔心內話❤️
錯誤的知識與觀念易造成歧視,雲林縣內仍有愛滋感染者被牙醫診所拒診的情況,在雲林還會聽到同性戀是愛滋病的溫床,更有雲林的民意代表在line群傳播歧視的言論…
阿賢的顧念之一,就是希望雲林可以是一個性别友善的農業大縣!在3/1世界零歧視日的這一天,阿賢呼籲大家 #不要歧視病者, #一起打造愛滋零歧視的社會!
關於 #零歧視日ZeroDiscriminationDay
3月1日為世界零歧視日,聯合國愛滋病規劃署(UNAIDS)指出,歧視與不平等的交織,讓原本的特定群體落入不利於社會生存的位置,過時的法律制度,更可能加深社會對特定群體的歧視與汙名。
在法律制度上,UNAIDS提到有研究顯示,以法律禁止男男間性行為的國家,男同志或男男性行為者感染HIV的機率是其他國家的兩倍;代表不適當的制度會排除特定群體進入醫療系統, 阻礙政府的健康維護及疾病防治工作。
同樣在台灣,《愛滋感染者權益保障條例》第21條,愛滋感染者可能因為他人不當地指控受到懲罰。此狀況也影響那些潛在的感染者,使其害怕落入這個處境,更不願意接受醫療服務。
除了法律制度,社會上的歧視與汙名也是阻礙感染者接受治療的原因。
UNAIDS呼籲,要消除社會上的不平等及歧視,須更致力根除貧窮,並投入更多維護人民健康、教育及社會保障的資源;同時廢除國家內歧視性法律、政策,確保每個人權益平等。他們也強調,我們每一個人都是創造平等社會的重要參與者及倡議者,當大家願意關心議題並付諸行動,才能一同打造零歧視的社會。
我期許政府應扮演積極角色透過制度維護愛滋感染者的權益,也邀請你/妳,一同關心愛滋、藥癮及更多邊緣弱勢群體的社會處境,在自己能力範圍內行動(無論是轉發訊息、協助議題倡議、擔任志工、捐助相關社會團體等),共同為邁向零歧視社會努力。
📝文章來源|
1. 台灣露德協會
2.聯合國愛滋病規劃署(UNAIDS) https://reurl.cc/qmrD60
unaids 在 The World TODAY Youtube 的最佳貼文
知名雜誌《#經濟學人》評論2020年表現最進步國家,台灣防疫表現優異,和紐西蘭、波利維亞等國被列入候選名。不過最後《經濟學人》肯定非洲國家馬拉威的民主及人權進步最大,把「#年度最進步國家」的殊榮頒給 #馬拉威。但馬拉威的經濟情況差,還曾被聯合國評為最不發達的國家之一,倒底是如何維護民主和人權,獲得經濟學人青睞呢?
《TODAY 看世界》每日精選國際話題,帶你秒懂世界大事!
↳ 看所有報導 https://lin.ee/7MAbPS0
馬上訂閱 LINE TODAY 官方帳號,全球脈動隨時掌握!
↳ 訂閱起來 https://lin.ee/19eXmdD
unaids 在 UNAIDS - 首頁 的推薦與評價
UNAIDS , Geneva, Switzerland 。 316160 個讚· 85 人正在談論這個。 Joint United Nations Programme on HIV/AIDS. ... <看更多>