สัมภาษณ์พิเศษ เจ้าของ TQM บริษัทนายหน้าประกันที่มุ่งมั่นจะมีอายุ 100 ปี
“ปี 40 ธุรกิจที่อยู่ในมือเจ๊งหมด เหลือแค่ธุรกิจประกันภัยของคุณพ่อที่ยังอยู่
มันคงเป็นชะตากำหนดมาแล้ว ให้เราต้องสานต่อ ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นไม่ชอบธุรกิจประกัน”
ใครจะคิดว่าจากธุรกิจที่ตัวเองไม่ชอบ
แถมเมื่อมารับช่วงต่อจากคุณพ่อ บริษัทมีพนักงานไม่ถึง 10 คน
และมีฐานลูกค้าอยู่ในมือไม่ถึง 100 ราย
เวลาผ่านไป 23 ปี เจ้าของประโยคดังกล่าว
กลับสร้างบริษัทที่รับช่วงต่อจากคุณพ่อจนมีเบี้ยประกัน 15,020 ล้านบาท
มีพนักงานกว่า 4,000 คน และมีฐานลูกค้ากว่า 3 ล้านคน
บุคคลที่ ลงทุนแมน กำลังพูดถึงก็คือ ดร.อัญชลิน พรรณนิภา
ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TQM
บริษัทธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่อยู่ในเมืองไทยมานาน 68 ปี
ความน่าสนใจเรื่องนี้มันอยู่ที่ว่าจากธุรกิจเล็ก ๆ ของครอบครัว
ปัจจุบัน TQM ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัท นายหน้าประกัน อันดับหนึ่งเมืองไทย และเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยเพียงรายเดียวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ SET ได้อย่างไร
ที่น่าสนใจ TQM ปรับตัวอย่างไรจากยุคที่ต้องเดินขายประกันตามบ้านมาสู่ยุคดิจิทัล
ลงทุนแมน จะสรุป บทสัมภาษณ์นี้ให้ฟัง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 40 ดร.อัญชลิน ตัดสินใจรับช่วงธุรกิจบริษัทนายหน้าประกันต่อจากคุณพ่อ
เนื่องจากทุกธุรกิจที่มีอยู่ในมือ โดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนต้องปิดกิจการทั้งหมด
จะเหลือแค่ธุรกิจนายหน้าขายประกันของคุณพ่อ
เวลานั้นเขารู้สึกว่าหรือโชคชะตาลิขิตให้ต้องรับช่วงต่อ
ก็เลยตัดสินใจเข้ามาบริหารบริษัท โดยเขาเป็นทายาทรุ่นที่ 3
เมื่อเข้ามาบริหารเต็มตัว เขาสังเกตว่าใน 1 วันพนักงานขายประกันของบริษัทต้องเดินทางไปหาลูกค้า
แล้วอย่างเก่งใน 1 วันก็เจอลูกค้าได้แค่ 3 - 4 คน แถมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะปิดการขายได้หรือไม่
โจทย์เลยมาอยู่ที่ว่าจะทำยังไงให้ 1 วันของพนักงาน 1 คนพบลูกค้าได้มากขึ้น
ดร.อัญชลิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้วิธีขายประกันทางโทรศัพท์ โดยเริ่มต้นจากฐานลูกค้าเก่า
วิธีนี้ข้อเสียคือจะไม่ได้พบหน้าลูกค้าโดยตรง และอาจทำให้ปิดการขายได้ยาก ต้องขายประกันภัยที่เข้าใจง่าย ลูกค้ารู้จัก เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ
แต่ข้อดีคือทำให้ 1 วันของพนักงาน 1 คนสามารถคุยกับลูกค้าได้ 30 - 40 ราย
พร้อมกับมีการอบรมวิธีการขายให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ผลที่ได้คือยอดขายประกันโตแบบก้าวกระโดด แถมยังได้ข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้น
จากนั้นก็เริ่มขยายธุรกิจไปในหลาย ๆ จังหวัด พร้อมกับมีบริษัทประกันที่เป็นพันธมิตรมากขึ้น
ทำให้ปี พ.ศ. 2547 จากบริษัทห้องแถวเล็ก ๆ TQM ก็ลงทุนสร้างสำนักงานใหญ่ย่าน ลาดปลาเค้า
พร้อมกับลงทุนสร้างระบบ Call Center บนพื้นที่ 2,000 ตร.ม. และมีพนักงานกว่า 200 คน
จากนั้นบริษัทก็มีรายได้และกำไร จนถึงจำนวนพนักงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
เวลาผ่านไป 10 กว่าปี การมาของ Smartphone และ Social Media ได้เปลี่ยนโลกธุรกิจทั้งใบ
ปรากฏการณ์นี้ ดร.อัญชลิน รู้ดีว่าหากบริษัทเก่าแก่อย่าง TQM ปรับตัวไม่ทันอาจเพลี่ยงพล้ำ
ที่น่าสนใจ เขากลับมองว่า โลกที่กำลังเปลี่ยนไป มันไม่ใช่วิกฤติ
แต่มันคือโอกาสทองของบริษัทที่จะทำลายข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างในธุรกิจประกันภัย
ทำให้บริษัท TQM ตัดสินใจลงทุนกว่า 200 ล้านบาทในเรื่องเทคโนโลยีและดิจิทัล
พร้อมกับเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น
ในอดีตพนักงานขายจะโทรศัพท์หาลูกค้า ก็จะมีออนไลน์เพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งช่องทาง
ทำให้สามารถทำงานได้ ทุกที่ ทุกเวลา จนถึงค้นหาข้อมูลลูกค้าต่าง ๆ
ก็เปลี่ยนจากแฟ้มเอกสารมาอยู่ในระบบ Big Data ของบริษัทที่รวดเร็วและแม่นยำ และ Data Analytic ทำให้ผลสำเร็จสูงขึ้น
จนถึงการใช้เทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุนต่าง ๆ
ดูเหมือน TQM จะมาถูกทางเมื่อรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่อง
ปี 2561 รายได้ 2,525 ล้านบาท กำไร 404 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,784 ล้านบาท กำไร 507 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,136 ล้านบาท กำไร 702 ล้านบาท
การเติบโตขนาดนี้ คงไม่ใช่แค่การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อย่างเดียว
แต่รู้หรือไม่ว่า..ลูกค้าที่ซื้อประกันผ่าน TQM กว่า 80% เมื่อหมดสัญญาจะต่อกรมธรรม์
ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่อยู่ 60% และเมื่อบวกกับฐานลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ส่งผลให้ปัจจุบัน TQM มีฐานลูกค้าเกือบ 3 ล้านรายทั่วประเทศ
แล้วเบื้องหลังความสำเร็จนี้ มันเกิดจากอะไร ?
TQM ตระหนักดีว่า หัวใจสำคัญของประกันภัย ไม่ใช่เพียงแค่ขายเก่ง แต่ต้องบริการเป็นเลิศด้วย
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ณ วันนี้ TQM มีพนักงานกว่า 4,000 คนและมี 96 สาขาทั่วประเทศ ทั้ง Sale & Service เป็น Economies of scale ในการเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศ ที่หลาย ๆ บริษัทประกันไม่สามารถทำได้
พอเป็นแบบนี้ก็เลยทำให้บริษัทประกันในเมืองไทยเกือบ ๆ 40 บริษัท
เลือกให้ TQM เป็นนายหน้าขายประกันให้แก่ตัวเอง
ไม่ใช่แค่นั้นแต่ TQM ยังรับหน้าที่ outsource บริการหลังการขายให้แก่บริษัทประกันต่าง ๆ
จุดนี้เองที่ทำให้ได้ใจลูกค้าไปเต็ม ๆ ตัวอย่างเช่น
สมมติหากลูกค้าเกิดรถชนต้องเคลมประกัน
พนักงาน TQM ก็จะดำเนินการให้ทันที โดยลูกค้าไม่ต้องทำเรื่องเคลมเองให้วุ่นวายและยังคอยดูแลการชดใช้ค่าสินไหมที่เป็นธรรมด้วย
ที่สำคัญธุรกิจนี้ก็ยังสร้างรายได้มหาศาลคิดเป็น 40% จากรายได้ทั้งหมดของบริษัท
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า TQM เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ
และไม่น่าจะมีความท้าทายอะไร แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
เมื่อ ดร.อัญชลิน บอกว่าถึง TQM จะเป็นผู้นำตลาดนายหน้าขายประกันด้วยเบี้ย 15,000 ล้านบาท
แต่กลับมีส่วนแบ่งไม่ถึง 5% จากเบี้ยประกันในเมืองไทยทั้งหมดเกือบ ๆ 1 ล้านล้านบาท ต่อปี
ส่วนอีกเรื่องก็คือ คนไทยยังทำประกันไม่มาก
รู้หรือไม่ว่า รถบนถนนเมืองไทยที่สามารถทำประกันได้มีถึง 20 ล้านคันแต่มีเพียง 60% ที่ทำประกัน
ขณะที่บ้านในเมืองไทยมี 26 ล้านหลัง แต่มีเพียง 3 ล้านหลังที่ทำประกันอัคคีภัย รวมถึงประกันสุขภาพประกันชีวิต ที่ยังเติบโตได้อีกมาก
ข้อมูลตรงนี้ ทำให้รู้ทันทีว่า TQM ยังมีความท้าทายรออยู่ตรงหน้า
เพราะตลาดยังมีโอกาสอีกมหาศาล ในการเพิ่มฐานลูกค้าและเบี้ยประกัน
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่ว่า..จะทำได้ดีแค่ไหน ?
สุดท้าย ลงทุนแมน ได้ถามว่าความหวังอันสูงสุดในการบริหาร TQM คืออะไร
ดร.อัญชลิน บอกว่าเขาอยากเห็นคนไทยทุกคนมีประกันภัยไว้คุ้มครอง เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และอยากเห็นบริษัทแห่งนี้มีอายุ 100 ปี เหมือนปรัชญา Rinen ของญี่ปุ่นที่เน้นการเติบโตของธุรกิจแบบยั่งยืน เช่น ต้นสนที่มีอายุยืนยาวถึง 1,000 ปี
และสุดท้ายได้เริ่มฝึกทายาทรุ่นที่ 4 เข้ามาเรียนรู้งานแล้ว
แล้วใครจะคิดจากคนที่ในอดีตไม่เคยชอบธุรกิจนายหน้าขายประกัน
มาวันนี้ ดร.อัญชลิน กำลังมีความฝันให้ธุรกิจนี้มีอายุ 100 ปี
ซึ่งก็เชื่อว่า เขาน่าจะหลงรักธุรกิจนี้อย่างเต็มหัวใจไปเรียบร้อยแล้ว..
References
-สัมภาษณ์โดยตรงกับ ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธาน บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
-รายงานประจำปีของ TQM
big data analytic 在 BorntoDev Facebook 的最讚貼文
🔥 เทรนด์นี้สิปัง !
10 เทรนด์ Data Analytic ที่กำลังมาแรงในปี 2021
.
🌎 หลังจากที่ทั้งโลกตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่มีโรคระบาดและทุกคนต้องรักษาระยะห่าง ก็ดูเหมือนเทคโนโลยีจะเริ่มก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดด กระแสข้อมูลในโลกดิจิทัลมักเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ
.
ในแง่ของการวิเคราะห์ข้อมูลเองก็เช่นกัน ในองค์กรที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบดั้งเดิม ซึ่งมักจะอาศัยข้อมูลในอดีต เมื่อมี COVID-19 ขึ้นมา ก็ส่งผลกระทบใหญ่หลวง ทำให้ข้อมูลจำนวนมากไร้ประโยชน์
.
และทำให้องค์กรเหล่านั้นต้องปรับเปลี่ยน ทั้งรูปแบบการทำงาน วิธีการจัดการกับข้อมูล แถมยังต้องตามเทรนด์ของโลกให้ทันอีกด้วย
.
🚀 ในวันนี้แอดเลยจะมาเล่าเรื่อง “10 เทรนด์ Data Analytic ที่กำลังมาแรงในปี 2021” ให้ทุกคนได้อ่านและเพิ่มพูนความรู้ไปด้วยกัน โดยจะแบ่ง 10 เทรนด์นี้ออกเป็น 3 กลุ่ม… ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย !!!
.
⭐ เทรนด์กลุ่ม A
เร่งการเปลี่ยนแปลงและการวิเคราะห์ข้อมูล
ไม่ว่าจะด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใน AI การรวมแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
✅ เทรนด์ที่ 1
AI ที่ฉลาดกว่า มีความรับผิดชอบและปรับขนาดได้
.
AI ที่ดีกว่าเดิม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้อัลกอริทึม, การตีความระบบ และช่วยลดเวลาที่ใช้ให้สั้นลง องค์กรต่าง ๆ จะเริ่มมีความต้องการที่จะใช้ระบบ AI ในการทำงานมากขึ้น และพวกเขาจะต้องหาวิธีปรับขนาดของเทคโนโลยีให้เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก
.
💻 AI แบบดั้งเดิมมักจะพึ่งพาข้อมูลในอดีตอย่างมาก แต่หลังจากที่มีโรคระบาด COVID-19 ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างมาก และข้อมูลที่มีอยู่ก็อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
.
ในจุดนี้จึงทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่สามารถทํางานได้ด้วยข้อมูลที่น้อยลง ผ่านเทคนิค "ข้อมูลขนาดเล็ก (Small Data)“ ที่นำมาประยุกต์เข้ากับ Machine Learning
.
และสิ่งที่สำคัญนอกจากความสามารถของ AI ที่ดีขึ้นแล้ว ก็คือระบบ AI เหล่านี้จะต้องเป็น AI ที่มีจริยธรรม โดยปกป้องความเป็นส่วนตัว ปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง และลดอคติด้วย
.
✅ เทรนด์ที่ 2
ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้
.
📱 เป้าหมายของเทรนด์นี้ คือ การนำเอาส่วนประกอบจากข้อมูลที่หลากหลาย การวิเคราะห์และ AI มาปรับใช้ร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยืดหยุ่น เข้าถึงผู้ใช้ และใช้งานง่าย โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์กับการดําเนินธุรกิจนั่นเอง
.
✅ เทรนด์ที่ 3
ลดเวลาทำงาน เสริมรากฐานด้วย Data Fabric
.
สถาปัตยกรรมแบบ Data Fabric ช่วยลดเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ ลงได้มาก คือ ลดเวลาการออกแบบเชิงบูรณาการ (Integration Design) ลง 30% ลดเวลาการติดตั้ง (Deployment) ลง 30% และลดเวลาการบำรุงรักษา (Maintenance) ลง 70%
.
👩💻 เนื่องจาก Data Fabric นี้จะดึงความสามารถในการใช้ (Use) / การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และการรวมรูปแบบของการบูรณาการข้อมูลที่แตกต่างกัน
.
นอกจากนี้ Data Fabric ยังสามารถใช้ประโยชน์จากทักษะและเทคโนโลยีที่มีอยู่จาก Data Hub, Data Lake และ Data Warehouse ในขณะเดียวกันก็ช่วยแนะนำแนวทางและเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับอนาคตอีกด้วย
.
✅ เทรนด์ที่ 4
เรื่อง Data... เปลี่ยนจาก Big เป็น Small & Wide
.
เมื่อเปรียบเทียบ Small&Wide Data (ข้อมูลขนาดเล็กและกว้าง) กับ Big Data (ข้อมูลขนาดใหญ่) แล้ว จะพบว่า Small&Wide Data ช่วยแก้ปัญหามากมายที่องค์กรต้องเผชิญเกี่ยวกับคําถามที่ซับซ้อนมากขึ้นในระบบ AI และความท้าทายในกรณีการใช้ข้อมูลที่หาได้ยาก
.
⚡ เพราะ Small Data (ข้อมูลขนาดเล็ก) สามารถใช้โมเดลข้อมูลที่ต้องการข้อมูลน้อยลง แต่ยังคงให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ ส่วน Wide Data (ข้อมูลในแนวกว้าง) ใช้ประโยชน์จากเทคนิค "การวิเคราะห์ X (X Analytics)”
.
ช่วยให้การวิเคราะห์และการทํางานร่วมกันของข้อมูลขนาดเล็ก (Small Data) และข้อมูลในแนวกว้าง, แหล่งข้อมูลที่มีและไม่มีโครงสร้าง เพื่อเพิ่มการรับรู้และช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจตามสถานการณ์ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
⭐ เทรนด์กลุ่ม B
ดำเนินการสร้างมูลค่าทางธุรกิจผ่าน XOps ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นส่วนสำคัญของการดำเนินธุรกิจ
.
✅ เทรนด์ที่ 5
เพิ่มความเจ๋งให้องค์กรด้วย XOps
.
📌 เป้าหมายของ XOps (Data, Machine Learning, Model, Platform) คือการบรรลุประสิทธิภาพและความประหยัด โดยใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของ DevOps
.
และเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการใช้ซ้ำ / ทำซ้ำ ในขณะเดียวกันก็ลดความซ้ำซ้อนของเทคโนโลยี / กระบวนการ และนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งาน
.
เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดของต้นแบบ และส่งมอบการออกแบบที่ยืดหยุ่น รวมถึงจัดการระบบการตัดสินใจที่ควบคุมได้อย่างคล่องตัว โดยรวมแล้วจึงถือว่า XOps จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
.
✅ เทรนด์ที่ 6
Engineered Decision Intelligence
.
Decision Intelligence เป็นระเบียบทางวิศวกรรมอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านข้อมูลด้วยการผสมผสานทฤษฎีจากศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นแนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุดขึ้นมา
.
โดยจะรวมเอาการตัดสินใจที่หลากหลาย ที่อาจมีทั้งการวิเคราะห์แบบเดิม, AI และการประยุกต์ระบบที่ซับซ้อน
.
Decision Intelligence จะช่วยให้องค์กรได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นในการขับเคลื่อนธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
.
เมื่อรวมกับข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ และ Data Fabric แล้วก็จะถือเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการทบทวนแนวคิด หรือปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้มีความแม่นยำ ทำซ้ำได้ และตรวจสอบย้อนกลับได้มากขึ้น
.
✅ เทรนด์ที่ 7
ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ
.
ผู้นำทางธุรกิจเริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อเร่งการเริ่มต้นทำธุรกิจดิจิทัล ข้อมูลและการวิเคราะห์จะเป็นฟังก์ชันหลัก ไม่ใช่ฟังก์ชันรองอีกต่อไป !
.
🏆 อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางธุรกิจมักจะประเมินความซับซ้อนของข้อมูลต่ำเกินไป และทำให้พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้าประธานผู้บริหารฝ่ายข้อมูล (Chief Data Officers - CDOs) เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์พวกเขาจะสามารถเพิ่มการผลิตที่สอดคล้องกันของมูลค่าทางธุรกิจได้ถึง 2.6 เท่าเลยทีเดียว !
.
⭐ เทรนด์กลุ่ม C
กระจายทุกอย่าง
ใช้ความยืดหยุ่นในการเชื่อมโยงข้อมูลและข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้คนและวัตถุต่าง ๆ ในวงกว้าง
.
✅ เทรนด์ที่ 8
กราฟเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งในธุรกิจ
.
กราฟเป็นรากฐานของข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ทันสมัย พร้อมความสามารถในการยกระดับและปรับปรุงการทํางานร่วมกันของผู้ใช้, โมเดล Machine Learning และ AI
.
📈 แม้ว่าเทคโนโลยีกราฟจะไม่ใช่เรื่องใหม่สําหรับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลและอาจถูกมองข้ามไปในบางครั้ง แต่ในปัจจุบันองค์กรก็ต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เพราะในหลาย ๆ ครั้งที่เจอปัญหา กราฟกลับเป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้พวกเขาได้ !
.
✅ เทรนด์ที่ 9
ยุครุ่งเรืองแห่งการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค
.
บ่อยครั้งแดชบอร์ดถูกจำกัดขอบเขต มีแต่ข้อมูลและปัญหาเก่าที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และรู้กันอยู่แล้ว ทั้งยังมีไว้เพื่อนักวิเคราะห์ข้อมูล หรือนักวิทยาการข้อมูลเท่านั้น
.
👨💻 ในอนาคตคงจะดีกว่านี้ ถ้าแดชบอร์ดที่เรามีจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และสามารถตอบสนองในจุดที่พวกเขาต้องการจริง ๆ แถมยังเป็นอีกทางในการกระจายองค์ความรู้จากนักวิเคราะห์ไปสู่ทุกคนในองค์กร !
.
✅ เทรนด์ที่ 10
ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ล้ำหน้า
.
การเปลี่ยนข้อมูลและการวิเคราะห์ไปสู่ความก้าวหน้า จะเปิดโอกาสให้ทีมข้อมูลสามารถปรับขนาดความสามารถ และขยายอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจ
.
👉 นอกจากนี้ยังสามารถนำเสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับสถานการณ์ที่ไม่สามารถลบข้อมูลออกจากพื้นที่เฉพาะได้ ด้วยเหตุผลทางกฎหมายหรือข้อบังคับอีกด้วย
.
🙏 ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก “Gartner Top 10 Data and Analytics Trends for 2021” ผ่าน www.gartner.com/smarterwithgartner โดย Kasey Panetta
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
big data analytic 在 俬儲空間-新創團隊、網拍電商、soho族的迷你商務中心 Facebook 的精選貼文
【#武漢肺炎 _口罩去哪買?】😱
2/6即將實施口罩實名制,你知道你家附近有什麼特約藥局嗎?快利用這個地圖搜尋吧!👇👇
http://info.getchee.com/
-
Getchee - Big Data, Mobile Solutions, Mapping Technology and Analytic Tools 今日發布的健保特約藥局地圖,讓你快速找到能購買口罩的藥局💪
Step1:打開網頁連結,點選「搜尋」。
Step2:輸入你所在的「地址」。
Step3:點選「黑白藥丸」,即可得知藥局相關資訊。
-
📣 俬儲空間-倉儲出貨外包服務(3PL)
俬儲空間依舊正常營運唷!最近好多來自對岸的包裹都被擋著無法寄出,各位闆闆們辛苦了!祈禱疫情盡快好轉,讓大家盡快正常發貨!🙏
歡迎來電洽詢,或是私訊小編兒唷~🤗
☎️服務專線:02-2553-6717
📲LINE@:@sjo5241n
#俬儲空間 #網拍小幫手 #出貨 #網拍 #電商 #創業
#包貨 #寄貨 #倉儲 #武漢肺炎 #口罩 #特約藥局 #口罩實名制 #地圖
最重要的是勤洗手,有感冒症狀記得一定要戴口罩,看醫生唷!😷
big data analytic 在 What is Big Data Analytics 什麼是大數據 - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>