【#已全數售出】謝謝!
【歐洲上網1GB*2張 & 一張10G網路卡】
(1) 2019.2.28 前使用有效,歐洲上網1GB網卡,兩張一起賣(運費比較省),合售450。
(2) 2019.1.12 之前有10G流量可以使用,UK3網路互打傳訊免費。售480含運費。
兩種三張一起帶走900。請私訊我。
----------------
以下71個國家皆可使用此張網路卡:
Aland Islands, Austria, Australia, Azerbaijan, Azores, Balearic Islands, Belgium, Brazil, Bulgaria, Canada, Canary Islands, Chile, Colombia, Costa Rica, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, El Salvador, Estonia, Finland, France, French Guiana, Germany, Gibraltar, Greece, Guadeloupe, Guatemala, Guernsey, Hong Kong, Hungary, Iceland, Indonesia, Ireland, Isle of Man, Israel, Italy, Jersey, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Macau, Madeira, Malta, Malaysia, Martinique, Mayotte, Mexico, Moldova, Montenegro, Myanmar, New Zealand, Nicaragua, Norway, Pakistan, Panama, Peru, Poland, Portugal, Puerto Rico, Réunion, Romania, Russian Federation, Saint Barthelemy, Saint Martin, San Marino, Saudi Arabia, Serbia, Singapore, South Korea, Slovakia, Slovenia, Spain, Sri Lanka, Sweden, Switzerland, Taiwan, The Netherlands, Thailand, Tunisia, Turkey, US Virgin Islands, Ukraine, United Arab Emirates, United Kingdom, Uruguay, USA, Vatican City, Vietnam.
federation of arab emirates 在 amarylliss。艾瑪[隨處走走] Facebook 的最佳貼文
【#已全數售出】謝謝!
【歐洲上網1GB*2張 & 一張10G網路卡】
(1) 2019.2.28 前使用有效,歐洲上網1GB網卡,兩張一起賣(運費比較省),合售450。
(2) 2019.1.12 之前有10G流量可以使用,UK3網路互打傳訊免費。售480含運費。
兩種三張一起帶走900。請私訊我。
----------------
以下71個國家皆可使用此張網路卡:
Aland Islands, Austria, Australia, Azerbaijan, Azores, Balearic Islands, Belgium, Brazil, Bulgaria, Canada, Canary Islands, Chile, Colombia, Costa Rica, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, El Salvador, Estonia, Finland, France, French Guiana, Germany, Gibraltar, Greece, Guadeloupe, Guatemala, Guernsey, Hong Kong, Hungary, Iceland, Indonesia, Ireland, Isle of Man, Israel, Italy, Jersey, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Macau, Madeira, Malta, Malaysia, Martinique, Mayotte, Mexico, Moldova, Montenegro, Myanmar, New Zealand, Nicaragua, Norway, Pakistan, Panama, Peru, Poland, Portugal, Puerto Rico, Réunion, Romania, Russian Federation, Saint Barthelemy, Saint Martin, San Marino, Saudi Arabia, Serbia, Singapore, South Korea, Slovakia, Slovenia, Spain, Sri Lanka, Sweden, Switzerland, Taiwan, The Netherlands, Thailand, Tunisia, Turkey, US Virgin Islands, Ukraine, United Arab Emirates, United Kingdom, Uruguay, USA, Vatican City, Vietnam.
federation of arab emirates 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
แนวคิดการจัดองค์กรของรัฐเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง
การที่จะทราบถึงการจัดองค์กรของรัฐเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง นั้นจะกล่าวถึง การจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐกับองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว และอธิบายถึงการองค์กรของรัฐโดยใช้หลักการปกครองของรัฐเดี่ยว รวมไปถึงการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารที่ประเทศไทยใช้อยู่ดังนี้
1.การจัดองค์กรของรัฐในสหพันธรัฐ
การจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐรวม ในลักษณะสหพันธรัฐ (Federation of State) คือ สมาคมรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐเดี่ยวในลักษณะเป็นปึกแผ่นเป็นเอกภาพ จนทำให้ประชาชนของรัฐเดี่ยวกลายสภาพมาเป็นรัฐใหม่อีกรัฐหนึ่งทับซ้อนรัฐเดี่ยวแต่ละรัฐที่เป็นสมาชิกที่เรียกว่า “มลรัฐ” ซึ่งเป็นการที่รัฐแต่ละมลรัฐทั้ง 2 มลรัฐหรือหลายมลรัฐได้มารวมกันโดยยอมสละอำนาจอธิปไตยภายนอกให้แก่สหพันธรัฐอย่าสิ้นเชิง มลรัฐที่ถูกรวมย่อมหมดสภาพความเป็นรัฐอีกต่อไป กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยภายนอกเป็นของรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ใช้อำนาจ เช่น การทำสนธิสัญญา การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกาศสงคราม เป็นต้น
การใช้อำนาจอธิปไตยในสหพันธรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตยกระทำการทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการจะกระจัดกระจายอยู่ที่ศูนย์หลายศูนย์กลาง กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยจะกระทำการบางด้านบางเรื่องไปรวมศูนย์อยู่ที่ตัวสหพันธรัฐ ส่วนการใช้อำนาจอธิปไตยอีกบางเรื่องจะไปรวมศูนย์อยู่ที่มลรัฐแต่ละมลรัฐคือรวมศูนย์อยู่ที่รัฐสมาชิกแต่ละรัฐ ตัวอย่างเช่น การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการต่างประเทศการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงอันได้แก่ทางทหาร การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับด้านการปราบปราม การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการด้านการค้าระหว่างประเทศ การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ คือ การค้าและการขนส่งทางเรือจะไปรวมศูนย์อยู่ที่ตัวสหพันธรัฐที่เรียกว่า “รัฐบาลกลาง”
ส่วนการใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในการรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน การสมรส ด้านที่เกี่ยวกับการทรัพย์สินจะไปรวมศูนย์อยู่ที่มลรัฐแต่ละมลรัฐที่เรียกว่า “รัฐบาลมลรัฐ” ซึ่งการกระจายอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยรัฐบาลระหว่างสหพันธรัฐกับรัฐเดี่ยวแต่ละรัฐจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาจะกำหนดว่าสหรัฐอเมริกาอันได้แก่ ตัวสหพันธรัฐจะมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดบ้าง คือ มีอำนาจหน้าที่ด้านการต่างประเทศ ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการพิจารณาคดี (ศาลสูงสหรัฐอเมริกา) ส่วนที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสหพันธรัฐให้ถือว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของมลรัฐแต่ละมลรัฐ มลรัฐแต่ละมลรัฐจะมีรัฐธรรมนูญของตนเอง
1.1 ลักษณะของสหพันธรัฐ
ลักษณะของสหพันธรัฐมีข้อพิจารณา 2 ประการ คือ ราษฎรแต่ละคนจะมี 2 สถานะกับมีรัฐสภา มีฝ่ายบริหาร และตุลาการ 2 ระดับ ดังนี้
1. ราษฎรแต่ละคนจะมี 2 สถานะ คือ เป็นราษฎรของสหพันธรัฐและในขณะเดียวกันก็เป็นราษฎรของมลรัฐใดมลรัฐหนึ่งที่ตนตั้งถิ่นฐานอาศัยด้วย เช่น ในสหรัฐอเมริกาเป็นราษฎรของสหรัฐอเมริกาและในขณะเดียวกันก็เป็นราษฎรของมลรัฐที่ตนเองตั้งถิ่นฐาน อาทิ มลรัฐเท็กซัส มลรัฐฟลอริดา เป็นต้น
2. ในสหพันธรัฐจะมีรัฐสภา มีฝ่ายบริหาร และมีฝ่ายตุลาการ 2 ระดับ คือ
1) มีรัฐสภามีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการในระดับสหพันธรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติในระดับสหพันธรัฐทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยในทางกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในด้านที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในด้านเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ การรักษาความมั่นคงของรัฐในด้านที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาประเทศ ฝ่ายบริหารของสหพันธรัฐในระดับสหพันธรัฐก็จะทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหพันธรัฐตราออกไปแล้ว ศาลของสหพันธรัฐก็ทำนองเดียวกันทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหพันธรัฐออกมาใช้บังคับ
2) ในขณะเดียวกันในมลรัฐแต่ละมลรัฐก็จะมีสภามีฝ่ายบริหารและมีศาลของตนเอง รัฐสภาของแต่ละมลรัฐก็มีหน้าที่ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับในเรื่องที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของมลรัฐ ฝ่ายบริหารของมลรัฐจะทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาของมลรัฐ สำหรับศาลของมลรัฐแต่ละมลรัฐจะทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาของมลรัฐตรานำออกมาใช้ เพราะฉะนั้นคนหรือปัจเจกบุคคลจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐสภาของฝ่ายบริหารและของศาล 2 ระดับ คือ ทั้งระดับสหพันธรัฐและระดับมลรัฐที่ตัวเองอยู่อาศัย
1.2 การแบ่งสหพันธรัฐกับมลรัฐสมาชิกมีเทคนิคในการแบ่งอำนาจ
การแบ่งสหพันธรัฐกับมลรัฐสมาชิกมีเทคนิคในการแบ่งอำนาจ 2 วิธีคือ
วิธีที 1 ซึ่งเป็นหลักที่ใช้กันทั่วไปสหพันธรัฐจะมีอำนาจเฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐกำหนด ส่วนมลรัฐสมาชิกมีอำนาจทั่วไปจะมีอำนาจทั่วไป กล่าวคือ การใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของสหพันธรัฐแล้ว ต้องถือว่าเป็นอำนาจมลรัฐสมาชิกทั้งสิ้น และเมื่อมีกรณีเป็นที่สงสัยก็ต้องตีความไปตามนี้ ประเทศที่ใช้วิธีนี้เป็นหลักในรัฐธรรมนูญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น
วิธีที่ 2 ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของวิธีแรกสหพันธรัฐจะมีอำนาจทั่วไป ส่วนมลรัฐสมาชิกจะมีอำนาจเฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐกำหนด ประเทศที่ใช้วิธีเป็นหลักในรัฐธรรมนูญนี้ได้แก่ แอฟริกาใต้ แคนาดา เป็นต้น
1.3 รูปแบบการปกครองรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐที่มีอยู่
รูปแบบการปกครองรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน คือ
1.ทวีปอเมริกาเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา (United States of America) แคนาดา (Canada) สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican State)
2.ทวีปอเมริกาใต้ เช่น สหพันธรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil) อาร์เจนตินา (Argentina Republic) เวเนซุเอลา (Republic of Venezuela)
3.ทวีปยุโรป เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย (The Russian Federation) สหพันธรัฐสาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) สมาพันธรัฐสวิสส์ (Swiss Confederation)
4.ทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย (Republic of India) มาเลย์เซีย (Malaysia) สหรัฐอาหรับเอมิเรสท์ (United Arab Emirates)
5.ทวีปออสเตรเลีย คือ เครือจักรภพออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)
6.ทวีปอัฟริกา เช่น สาธารณรัฐอัฟริกาใต้ (Republic of South Africa) สหพันธรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นต้น
ข้อสังเกต ชื่อประเทศที่บอกถึงรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐโดยการพิจารณาจากชื่อเป็นทางการของประเทศจะพบว่ามีบางประเทศที่ใช้รูปแบบสหพันธรัฐ แต่ไม่ได้ระบุชื่อ เป็นทางการว่า “สหพันธรัฐ” (Federal State) เช่น สาธารณรัฐออสเตรีย แคนาดา อาเจนตินา เวเนซุเอลา อินเดีย และมาเลย์เซีย เป็นต้น
2.การจัดองค์กรของรัฐในรัฐเดี่ยว
รัฐเดี่ยว คือ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางในทางการเมืองและการปกครองรัฐ ซึ่งมีรัฐสภาอยู่เพียงรัฐสภาเดียวเป็นศูนย์กลางนิติบัญญัติ มีฝ่ายบริหารอยู่เพียงศูนย์เดียวเป็นศูนย์กลางของการบริหารและมีระบบศาลระบบเดียวเป็นศูนย์กลางตุลาการ ราษฎรทุกคนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเดียวกัน อยู่ภายใต้อำนาจบริหารของรัฐบาลเดียวกันได้ อยู่ภายใต้อำนาจตุลาการของศาลระบบเดียวกัน รัฐเดี่ยวมีอยู่มากในโลกนี้และมีอยู่ทุกทวีป เช่น ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้นรัฐเดี่ยวไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกันและติดต่อกันไปก็ได้อาจมีลักษณะเป็นรัฐหมู่เกาะ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เป็นต้น หรืออาจเป็นดินแดนหลายดินแดนอยู่แยกห่างจากกัน เช่น ปากีสถาน ตุรกี เป็นต้น
การจัดองค์กรของรัฐในการปกครองของรัฐเดี่ยวประกอบด้วย หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว ที่ใช้หลักการปกครองแบบรวมอำนาจกับหลักการปกครองกระจายอำนาจ ดังนี้
2.1 หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว
การจัดองค์กรของรัฐ (Organ of state) ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) แยกอออก ได้ 3 องค์กรใหญ่ คือ องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ดังนี้
2.1.1 องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรือ เรียกว่า “การกระทำทางนิติบัญญัติ” ซึ่งประเทศไทยได้จัดองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติหรือโครงสร้างระบบรัฐสภา ออกเป็นสภาคู่ คือ สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ปกติศึกษาในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
2.1.2 องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ
องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรือการอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งเรียกว่า “การกระทำทางตุลาการ” สำหรับกรณีของประเทศไทยได้จัดองค์กรตุลาการประกอบด้วย 4 ศาล ด้วยกัน คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร ปกติศึกษาในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
2.1.3 องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆของประชาชน องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ฝ่ายการเมือง กับฝ่ายปกครอง
2.2 การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในรัฐเดี่ยว
การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในรัฐเดี่ยว การจัดองค์กรฝ่ายปกครองประกอบด้วย การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร คือ ใช้หลักการรวมอำนาจกับการจัดองค์กรฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ กับการจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร
ภายใต้แนวคิดของรัฐเดี่ยวที่มีรูปแบบการปกครองที่มีศูนย์กลางมีอำนาจสูงสุดและมีอำนาจการปกครองโดยสมบูรณ์ รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้หน่วยย่อยกว่ารัฐบาล เช่น จังหวัดเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล แต่รัฐบาลส่วนกลางอาจมอบอำนาจให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น แต่การมอบอำนาจนี้ต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญและอาจดึงเอาอำนาจกลับคืนมาได้ การมอบอำนาจจากส่วนกลางนี้ ในทางวิชาการเรียกว่า “การกระจายอำนาจ” (Decentralization) ซึ่งพอจะเขียนเป็นแผนผังได้ดังนี้
2.2.1 หลักการปกครองแบบรวมอำนาจ
หลักการปกครองแบบรวมอำนาจของรัฐเดี่ยวนั้นอาจแยกหลักการปกครอง ได้ 2 ลักษณะ คือ การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจกับการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์ ดังนี้
2.2.1.1 หลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ
หลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ในปัจจุบันได้มีการวางหลักการไว้อยู่ 2 คือ การวางหลักการปกครองแบบรวมศูนย์ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารเป็นหลักการที่วางระเบียบราชการบริหารโดยมอบอำนาจในการปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีฐานะเป็นกรมหรือเทียบเท่ากรม และมีเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนกลางซึ่งขึ้นต่อกันตามลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการปกครอง ตลอดทั้งอาณาเขตของประเทศกับการวางหลักการปกครองของหน่วยงานทางปกครองที่ไม่ได้ขึ้นอยู่การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร ตลอดทั้งอาณาเขตของประเทศ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ เช่น กำลังทหารและกำลังตำรวจให้ขึ้นต่อส่วนกลางทั้งสิ้น เพื่อจะใช้กำลังเหล่านี้บังคับได้อย่างเด็ดขาดและทันท่วงที ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้กำลังบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น
2. มีการรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง คือ ให้ส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มีอำนาจสั่งการได้ทั่วอาณาเขตของประเทศ
3. มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ คือ การติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการปกครองต่างๆของฝ่ายปกครองตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ซึ่งจำแนก ได้ 4 อย่าง ดังนี้
1) อำนาจที่จะออกคำสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
2) อำนาจควบคุมกิจกรที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
3) อำนาจที่จะลงโทษทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
4) อำนาจที่จะให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
2.2.1.2 หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ
หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ (Deconcentration) เป็นหลักการที่ราชการส่วนกลางมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนของราชการส่วนกลาง ซึ่งส่งไปประจำปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองต่างๆของประเทศ หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ จะปรากฏอยู่ในรูปแบบการปกครองแบบภูมิภาค คือ ในระดับ จังหวัด อำเภอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคนั้นต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลางทั้งสิ้น เป็นไปตาม “หลักการบังคับบัญชา”
2.2.2 หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ
หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นวิธีที่รัฐฝ่ายบริหารมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้องค์การอื่นนอกจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของราชการสวนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค เพียงแต่ขึ้นอยู่ใน “การกำกับดูแล” เท่านั้น หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจอาจแยกอธิบาย ได้ดังนี้
2.2.2.1 ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ
การที่จะรู้ว่ามีการกระจายอำนาจทางปกครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาลักษณะสำคัญของการกระจายอำนาจทางปกครอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นนิติบุคคลมหาชน อิสระจากราชการบริหารส่วนกลาง มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยได้รับการกำกับดูแลจากส่วนกลาง
2. มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจทางอาณาเขต (ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อต่อไป) ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ส่วนการกระจายอำนาจทางกิจการ การเลือกตั้งไม่ถือว่าเป็นหลักสำคัญเหมือนกับการกระจายอำนาจทางอาณาเขต
3. หลักการกระจายอำนาจปกครองจะมีความเป็นอิสระ คือ มีความเป็นอิสระ (Autonomy) ที่จะดำเนินกรตามอำนาจหน้าที่ได้เอง โดยไม่ต้องรับคำสั่งหรืออยู่ใต้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นของราชการบริหารส่วนกลาง มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการและดำเนินการได้ด้วยงบประมาณและด้วยเจ้าหน้าที่ของตนเอง
2. 2.2.2 รูปแบบหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ
รูปแบบหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ หลักการกระจายอำนาจทางอาณาเขตกับหลักการกระจายอำนาจทางเทคนิค การบริการและกิจการ ดังนี้
1.หลักการกระจายอำนาจทางอาณาเขต เป็นหลักการที่รัฐมอบอำนาการปกครองจากส่วนกลางไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการจัดการปกครองท้องถิ่นของตนเอง กล่าวคือ มีการกำหนดขอบเขตอำนาจไว้เฉพาะถิ่นนั้น และตามหลักทั่วไปจะทำกิจการออกไปนอกเขตไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายยกเว้นไว้ วิธีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นวิธีที่มอบบริการสาธารณะหลายๆอย่างเกี่ยวกับการปกครองให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
2.หลักการกระจายอำนาจทางเทคนิคและบริการ เป็นหลักการที่ให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินจัดทำกิจการบริการสาธารณะที่มิใช่ส่วนราชการ แต่ให้รัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้กำกับดูแล หลักการกระจายอำนาจทางกิจการหรือบริการนั้นจะพบได้ในรูปแบบการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ รวมไปถึงการมอบหมายให้เอกชนให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือมอบหมายให้เอกชนดำเนินกิจการทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งหลักการกระจายอำนาจทางเทคนิคและบริการ อาจจัดทำกิจการได้ทั่วทั้งประเทศหรือจัดทำเฉพาะในเขตหนึ่งเขตใดก็ได้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรนั้น
ข้อสังเกต การกระจายอำนาจของรัฐเดี่ยว (Decentralization of Unitary State) กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (เช่น ไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส) นั้นหมายความว่า เป็นการกระจายอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการกระจายอำนาจบริหารเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ รับผิดชอบจัดทำแยกต่างหากจากองค์การปกครองส่วนกลางและเป็นอิสระจากการปกครองส่วนกลาง แต่ไม่ได้มีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจตุลาการ ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรัฐเดี่ยวอย่างเช่นประเทศไทย สิ่งที่เป็นไปได้มีแต่เพียงการกระจายอำนาจบริหารหรืออำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติหรือกระจายอำนาจตุลาการสู่ท้องถิ่น เพราะหากมีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการสู่ท้องถิ่นพร้อมกับการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะซึ่งเป็นอำนาจบริหารจะทำให้รัฐเดี่ยวรัฐนั้นกลายสภาพจากรัฐเดี่ยวเป็นสหพันธรัฐทันที
เมื่อพิจารณาถึงการจัดองค์กรของรัฐของประเทศไทย ประเทศใช้หลักการการจัดองค์กรของรัฐในลักษณะรัฐเดี่ยว มีการจัดองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจตามกฎหมายปกครอง ที่เรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” มีการวางหลักการปกครอง 2 ลักษณะ คือ
1.การวางหลักการปกครองแบบรวมอำนาจ ดังนี้
1) การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร
2) การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่าบริหาร
2.การวางหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ เป็นการจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร มีอยู่ 2 ลักษณะ ด้งนี้
1) หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต คือ การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) หลักกระจายอำนาจทางกิจการ/ทางเทคนิค/ทางวัตถุประสงค์