TradingView ธุรกิจกราฟ ที่อยู่ในแอปซื้อขายหุ้นและคริปโททั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
การลงทุนในทุกสินทรัพย์ทางการเงิน นอกจากเรื่องของปัจจัยพื้นฐานแล้ว
สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้ประกอบการตัดสินใจ ก็คือกราฟเชิงเทคนิค
และในช่วงหลังมานี้ ก็มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการกราฟราคาสินทรัพย์
ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและถูกใช้กันเป็นวงกว้างมากขึ้น
ในกลุ่มนักลงทุน นั่นคือแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า “TradingView”
ซึ่งนอกจากช่องทางของบริษัทเองแล้ว
รู้หรือไม่ว่า TradingView ก็ยังให้บริการกราฟอยู่บน
Streaming, Investing.com, Seeking Alpha หรือแม้แต่ Bitkub อีกด้วย
แล้ว TradingView มีความเป็นมาอย่างไร
ใครเป็นคนสร้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
TradingView เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการฐานข้อมูลของการลงทุน
ซึ่งเน้นไปที่ปัจจัยเชิงเทคนิเกิล หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาไว้ดูกราฟนั่นเอง
และนอกจากความนิยมของ TradingView ในกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศแล้ว
ในช่วงปีที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่าในประเทศไทย
TradingView ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
แล้วอะไรที่ทำให้ TradingView เป็นที่นิยม ?
จุดเด่นอย่างแรกก็คือ TradingView เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมมากที่สุด
ซึ่งนอกจากราคาหุ้นแล้ว ก็ยังมี Futures, ETFs, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราแลกเปลี่ยน, สินค้าโภคภัณฑ์นานาชนิด ไปจนถึงคริปโทเคอร์เรนซี
และก็ไม่ได้มีแต่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในแถบยุโรปเท่านั้น
แต่ยังครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงของประเทศไทยด้วย
หรือเรียกได้ว่า ทุกอย่างที่มีกราฟราคา สามารถหาข้อมูลได้ใน TradingView
จุดเด่นอย่างที่สองก็คือ เรื่องการใช้งาน
ทั้งเรื่องที่ออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก
อย่างเช่นการปรับมุมมองกราฟได้ตามใจชอบ หรือสำหรับสินทรัพย์ตัวที่ดูบ่อย
ก็สามารถจับใส่ Watchlist ไว้ หรือจะจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการก็ได้
และยังสามารถตั้งเตือน เมื่อเกิดสัญญาณทางเทคนิคตามที่เราวางแผนไว้ได้ด้วย
ที่สำคัญก็คือ ได้รวบรวมเครื่องมือทางเทคนิเกิลไว้ให้ใช้แบบนับไม่ถ้วน
อย่างเช่น Price Pattern หรือ Fibonacci ที่มีให้เลือกใช้ไปถึงรูปแบบขั้นสูง
นอกจากนี้ ยังมีอินดิเคเตอร์ที่เป็นข้อมูลในเชิงลึก และมีเฉพาะใน TradingView
อย่างที่นิยมใช้กันก็เช่น VPVR ที่เอาไว้ดูโวลุมสะสมย้อนหลังในแต่ละช่วงราคา
หรือ MCDX SmartMoney ที่ใช้ดูว่าการเคลื่อนไหวของราคา
มาจากเม็ดเงินของนักลงทุนสถาบัน หรือมาจากนักลงทุนรายย่อย
จุดเด่นอย่างที่สามก็คือ TradingView ไม่ได้ใช้เพื่อดูกราฟเท่านั้น
แต่ถูกสร้างให้เป็นสังคมออนไลน์ของเหล่านักลงทุนทั่วโลก
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโพสต์มุมมองกราฟของตัวเอง เพื่อแชร์ไอเดียการลงทุน
และยังให้คนอื่นมาแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนไอเดียกันได้
หรือจะเลือกกดติดตามคนที่ชื่นชอบก็ยังได้ คล้ายกับ Twitter นั่นเอง
แล้วใครเป็นคนสร้าง TradingView ?
TradingView ก่อตั้งโดยคุณ Stan Bokov, Denis Globa และ Constantine Ivanov
โดยแต่เดิม ทั้ง 3 คนนี้ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า MultiCharts มาก่อน
ซึ่งให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการลงทุน ทั้งระบบการซื้อขาย กราฟเทคนิค และฐานข้อมูล
ให้กับโบรกเกอร์และฟินเทคชื่อดัง อย่างเช่น Interactive Brokers รวมถึง Binance
จนกระทั่งในปี 2011 หรือราว 10 ปีก่อน
ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า TradingView
โดยตั้งใจจะให้เป็นทั้งสังคมออนไลน์และแหล่งรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือทางเทคนิคเชิงลึก
สำหรับใครก็ตามที่สนใจการลงทุน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นระดับมืออาชีพ
ซึ่งก็ถือได้ว่าสังคมออนไลน์แห่งนี้
กลายเป็นชุมชนที่เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
จากปีแรก มีผู้ใช้งานประมาณ 6 หมื่นบัญชีต่อเดือน
จนปัจจุบัน ได้ขยายมาเป็น 10 ล้านบัญชีต่อเดือน จาก 150 ประเทศทั่วโลก
สำหรับผู้ใช้งาน TradingView ก็จะมีตั้งแต่ใช้บริการได้ฟรี
หรือแบบเสียค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปี
ซึ่งก็มีราคาตามแต่ละแพ็กเกจ 3 ระดับ
โดยราคาที่เพิ่มขึ้น ก็จะครอบคลุมอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายและมีความซับซ้อนมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากกลุ่มลูกค้ารายบุคคลแล้ว
TradingView ยังให้บริการลูกค้าที่เป็นองค์กร
ด้วยการเป็นฐานข้อมูลกราฟตามเว็บไซต์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่นใน investing.com, Investopedia และ Seeking Alpha
และที่ใกล้ตัวที่สุด ก็คือกราฟเทคนิคใน Streaming
หรือแม้แต่ Bitkub แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในบ้านเราก็ใช้บริการบริษัทแห่งนี้
วิธีสังเกตว่ากราฟที่เราเห็นมาจาก TradingView หรือไม่
ก็คือในหน้ากราฟราคาสินทรัพย์จะมีโลโกของทางบริษัทวางอยู่
บริเวณมุมซ้ายล่าง นั่นเอง
ปัจจุบัน TradingView ระดมทุนถึง Series B ด้วยเงินลงทุนรวม 1,300 ล้านบาท
และยังคงมีแผนจะระดมทุนไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มและขยายฐานลูกค้า
ซึ่งการเติบโตของ TradingView ในอนาคต ก็นับว่าน่าจับตามอง
เพราะปัจจุบัน นักลงทุนทั่วโลกต่างมีช่องทางในการลงทุนที่สะดวก
และเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
ซึ่งก็เป็นผลมาจากการพัฒนาและเติบโตของฟินเทค
นอกจากนี้ กระแสของคริปโทเคอร์เรนซี ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูด
ให้นักลงทุนและนักเก็งกำไร หันมาสนใจการดูกราฟ
การดูความเห็นก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยตัวเองกันมากขึ้น
สรุปได้ว่ายิ่งมีนักลงทุนหันมาสนใจลงทุนด้วยตัวเองมากเท่าไร
ก็ยิ่งจะทำให้ TradingView เติบโต มากขึ้นเท่านั้น..
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://techcrunch.com/2012/02/24/tradingview-european-watch-list/?_ga=2.78930324.1088731433.1620667082-1510083956.1620667082
-https://techcrunch.com/2016/07/28/tradingview-a-community-for-chart-obsessed-investors-moves-into-new-markets/
-https://techcrunch.com/2018/05/21/cryptocurrency-and-a-stock-market-boom-pushes-tradingview-to-37-million-in-new-funding/
-https://techcrunch.com/2019/04/02/tradingview-acquires-tradeit-to-add-instant-trading-apis-to-its-investor-toolkit/
-https://www.crunchbase.com/organization/tradingview
-https://techtycoons.com/stan-bokov/
-https://www.multicharts.com
-https://www.tradingview.com
「fibonacci series」的推薦目錄:
- 關於fibonacci series 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於fibonacci series 在 自游窩Cetacea Facebook 的最佳解答
- 關於fibonacci series 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最讚貼文
- 關於fibonacci series 在 Efficient calculation of Fibonacci series - Stack Overflow 的評價
- 關於fibonacci series 在 Fibonacci series in Swift - Discover gists · GitHub 的評價
- 關於fibonacci series 在 The generating function for the Fibonacci numbers 的評價
fibonacci series 在 自游窩Cetacea Facebook 的最佳解答
/ 半夢半醒間 /
昏黑墨色小雨飄
清風撫面頗欲睡
羊兒輕哼催眠調
時光幻影恍夢寐。
天色將鮮綠的葉染灰了。
睜著一雙黑瞳不停咕嚕嚕地轉動
想打探四周
但黝暗的黑夜遮蓋了世界
這是哪?
還活著嗎?
是泥草混雜的氣味?!
我,貪婪的多吸口氣
想確定自己的靈魂還存在體內…
塵隨雨沾附在土石間
似用仙粉施上了法術
星光般點點的光芒
導出一條路
在這看不見的環境裡特別顯眼。
起身行走之際
手卻揮碰置於身旁之物
是堆散放的行李箱
是我?
是我事前準備好的嗎?
我早就料想到會有這一天?
對……是我!
很久很久之前…
就將所有一切
整頓打包完善
之前總怕遺落些什麼
而不斷添重行囊
但事到如今
似乎這些都是多餘的。
無取任一物
逕自的向前走去
走至道路延伸的另一端;
從黑裡走向光芒的那一剎那
特別的刺眼
入眼簾的是數屋如高叢
由殼窩內向上拔出
紅色的屋瓦將城鎮點出
特別的對比
殼上的螺旋隨著斐波納契數列
讓我舞進另個天地
踏進後
雙腳立馬深陷在地表之下
無法抽身
甚至越陷越深
看到四周的椅子
就如同救命草似的
費盡全身的力氣
攀爬至上
就在喘息之間
輕飄的柔物
散落至眼前
是花?是雪?是雨?
無窮無盡的落下
越是想看清
眼前越趨朦朧……
半夢半醒間
「謎」在旋轉,
延展至最烏黑的荒蕪中。
▶ 事事謀慮周至,甚至已有控制狂的傾向,想將所有的「一切」抓牢,但人算不如天算,世事皆難料。
▶ 有些事越是想看清,腦袋卻越是混沌……
▶ 斐波納契數列(Fibonacci series)
▶ IG | https://www.instagram.com/peihan.chen/
fibonacci series 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最讚貼文
ที่มาของ scrum
Scrum in Research?
ทำรีเสิร์ชว่องไว โดยใช้ Scrum Framework (ได้รึเปล่า?)
ตอนที่ 1 Scrum มันคืออิหยังวะ?
หากคุณเป็นคนคร่ำหวอดในวงการซอฟต์แวร์ ธุรกิจ หรือ Startup ก็คนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า Scrum ซึ่งเป็น framework ในการบริหารทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างสูงสุด มาบ้างแล้ว แต่หากคุณเป็นนักวิชาการก้นแล็บอย่างแอด ก็อาจจะได้แค่เกาเหม่งอย่างงงๆ
แอดสารภาพเลยว่า เคยได้ยินคำว่า Scrum มานานแล้ว แต่คิดมาตลอดว่ามันเป็นหนึ่งใน buzzword ที่พวก Startup เค้าใช้กัน และมันคงใช้อะไรไม่ได้กับวงการวิจัยที่ธรรมชาติของงานนั้นคาดการณ์ได้ยาก
แต่เมื่อไม่นานมานี้ วารสาร Nature เขียนบทความเรื่องการใช้ Scrum ในการบริหารกลุ่มวิจัยในมหาลัย [1] จึงจุดประกายให้แอดเกิดความสนใจที่จะหาความรู้ขึ้นมาอย่างจริงๆจังๆเสียที ว่าไอเจ้า Framework นี้มันคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมใครๆก็บอกว่ามันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีมหลายเท่าทวิคูณ
การทำงานโดยใช้ Scrum นี้มีท่ีมาจากงานวิจัยของศาตราจารย์ชาวญี่ปุ่น Hirotaka Takeuchi และ Ikujiro Nonaka ตั้งแต่ปี 1986 ซึ่งศึกษาเบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมหนักในญี่ปุ่น โดยเฉพาะ Toyota ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสามารถประกอบรถได้รวดเร็วและปัญหาน้อยกว่าบริษัทตะวันตกหลายเท่าตัว อาจารย์ทั้งสองเสนอว่า การทำงานของ Toyota นั้นมีลักษณะคล้ายๆกับทีมรักบี้ ที่พนักงานทุกคนรับผิดชอบในผลงานร่วมกันไม่เกี่ยงว่าใครต้องทำหน้าที่เฉพาะอะไร หรือใครเป็นนายเป็นลูกน้อง ไม่สักแต่ว่าทำของตัวเองเสร็จแล้ววางมือ แต่ต่างช่วยกันสอดส่องดูแลงาน ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว อาจารย์จึงเรียกวิธีการทำงานแบบนี้ว่า Scrum ซึ่งเป็นศัพท์ของกีฬารักบี้ [2]
ไอเดียนี้ถูกนำมาต่อยอดให้เกิดเป็นระบบการทำงานที่ชัดเจนขึ้นโดย Jeff Sutherland และ Ken Schwaber และนำไปใช้พัฒนาวงการ software developer จนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ใหม่ๆอย่างก้าวกระโดด กลายเป็น framework ที่สำคัญของวงการ IT และยังลามไปถึงวงการอื่นๆ จนถูกนำไปประยุกต์ใช้ในบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัท เช่น Adobe, AMD, American Express, BBC, CNN, Google, IBM, Microsoft, Nokia, ฯลฯ [3]
Scrum นั้น ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อฉีกกฎการวางแผนงานแบบ “Waterfall” ซึ่งก็คือการวางแผนงานแบบเป็นสายพาน มีหัวหน้างานที่สั่งงาน ทีมแต่ละทีมรับผิดชอบเฉพาะงานของตัวเองให้เสร็จ แล้วก็โยนให้ทีมถัดไปจัดการต่อกันไปเป็นทอดๆ เช่น ถ้าบริษัทต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ทีม developer ทำหน้าที่พัฒนาโค้ดจนเสร็จ ส่งต่อให้ทีมต่อไปทดสอบโปรดักส์ ทดสอบเสร็จแล้วก็หมดหน้าที่ จึงส่งต่อให้ทีมขายนำไปขายลูกค้า ปรากฎว่าผลลัพธ์ส่วนใหญ่ของการวางแผนแบบนี้คือ ขายไม่ได้ เพราะว่างานมักจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือไม่ก็ใช้เวลาพัฒนาสินค้านานเกินไป กว่าจะทำเสร็จ ลูกค้าก็ไม่อยากได้แล้ว ทำให้เวลาของทีม กว่า 80% สูญไปกับการทำงานที่ไม่ได้ผลลัพธ์
หลักการของ Scrum คือการสร้างทีมขนาดเล็ก (ไม่เกิน 10 คน) ที่มีความคล่องตัวสูง และต้องมีลักษณะสำคัญ 4 อย่าง คือ “มุ่งเป้า” “เชี่ยวชาญ” “อิสระ” และ “โปร่งใส”
“มุ่งเป้า” คือ การที่ทั้งทีมทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ได้รังแต่จะสร้างความก้าวหน้าให้ตัวเอง แต่คำนึงถึงเป้าหมายร่วมของทีมเป็นสูงสุด ผลงานที่ดีนั้นไม่ได้เกิดจากสมาชิกคนใดคนหนึ่ง แต่มาจากความร่วมมือกันของทุกคน
“เชี่ยวชาญ” สมาชิกในทีมจะต้องสามารถทำหน้าที่ได้ครบถ้วนและครอบคลุมถึงตั้งแต่ต้นจนจบงาน และสามารถทำงานแทนกันได้ถ้าจำเป็น ซึ่งแปลว่าทุกคนจะต้องรู้และเข้าใจหน้าที่ของทั้งตนเองและสมาชิกในทีม
“อิสระ” นั้นหมายถึงทุกคนทำงานได้โดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง ไม่ต้องรออนุมัติ เพราะทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี การลด middle management ลง นำไปสู่การทำงานเอกสารไร้สาระที่น้อยลง จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นอย่างชัดเจน
“โปร่งใส” ทุกคนรู้ว่าสมาชิกต้องทำอะไร ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว และได้ผลอย่างไร การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเป็นการลดคอรัปชั่น ลดการเล่นพรรคเล่นพวกในระบบ เมื่อระบบสามารถตอบแทนคนได้อย่างเป็นธรรม ทำให้คนมีกำลังใจในการทำงานขึ้น จึงพลอยไปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
เพื่อสร้างทีมให้มีลักษณะเชิงนามธรรม 4 ข้อข้างต้น Scrum จึงออกแบบ framework ภาคปฎิบัติไว้ดังนี้
1. ก่อนเริ่มโครงการ ทุกคนรวมตัวกันในที่ประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของงานให้ตรงกัน หลักสำคัญที่สุดของ Scrum คือทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันวางแผนการทำงาน เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จของทีม จากนั้นเลือกสมาชิกในทีม 1 คน เป็น Product owner ผู้ทำหน้าที่คอยดูแลให้ผลงานออกไปในทิศทางที่ตกลงกัน และ อีก 1 คนเป็น Scrum Master ผู้ดูแลติดตามให้งานดำเนินไปตามแผน และลูกทีมทุกคนที่เหลือเป็นผู้ดำเนินงานทั่วไป
2. สร้าง Product Backlog หรือลิสต์ของงานที่ต้องทำเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ และเรียงลำดับตามความสำคัญจาก “มากไปน้อย” ข้อนี้สำคัญมาก ทีมที่ไม่รู้จัก prioritize งาน มักจะเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ได้สลักสำคัญ ทีมต้องแสดงความเป็นไปได้ของ feature หลักของงานก่อน แล้วค่อยแก้ feature รองที่ตามมา
3. ประเมิน Load งาน ซึงคือเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานแต่ละข้อ การประเมิน load เป็นค่าสัมบูรณ์นั้นยาก แต่ประเมินเป็นค่า relative นั้นง่าย ดังนั้น เราอาจจะให้งานแต่ละข้อเป็นเลขใน Fibonacci series เช่น 1, 2, 3, 5, 8, 13, … งานไหนที่ว่ายาก ก็เอาค่าสูงๆไป หรือง่ายทำได้แป๊บเดียว ก็เอาค่าต่ำๆไป งานที่สำคัญที่สุด อาจจะไม่ใช่งานที่ยากที่สุดเสมอไป
4. รวบงานที่ลิสต์ไว้แล้วแบ่งเป็นกลุ่ม ทีมจะไม่พยายามทำงานทั้งหมดพร้อมๆกัน แต่จะเลือกทำงานที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในระยะเวลาจำกัดก่อน เช่น ตั้งเป้าที่จะทำงานข้อที่ 1-3 ใน 1 เดือน ช่วงงานแบบนี้เรียกว่า Sprint โดยเป้าหมายแต่ละ Sprint คือทีมจะต้องมีผลงานที่จับต้องได้ วัดผลได้ ผลงานที่ได้ไม่ต้องเลิศเลอเหมือนเตรียมส่งลูกค้า แต่ต้องเป็นผลงานที่ใช้งานได้ในระดับต้น เพื่อให้ทั้งทีมและลูกค้าสามารถให้ feedback กับทิศทางของงานได้ ผลงานแบบนี้เรียกว่า Minimal Viable Product (MVP)
5. ระหว่างการทำงาน ทีมจะต้องมีการตอกบัตรรายงานให้ทุกคนในทีมทราบว่าตัวเองทำอะไรไปแล้ว กำลังจะทำอะไร และมีปัญหาอะไรไหม โดยต้นแบบของ Scrum ในวงการซอฟต์แวร์นั้น การตอกบัตรหรือ Daily Scrum นี้ควรเกิดขึ้นทุกวัน แต่ประชุมแค่สั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที การประชุมนี้ทำให้ทีมรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รายวัน และสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้คาราคาซัง ทำให้งานเดินต่อไปได้อย่างรวดเร็ว
6. พอครบ Sprint แล้วก็มานั่งรีวิวกัน เพื่อหาข้อสรุปว่างานที่ทำไปเป็นไปตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ MVP มี feedback อย่างไร ระบบการทำงานมีข้อขาดตกบกพร่องอะไรไหม และต้องมีการแก้แผนงานใหม่หรือไม่ แล้ว load งานที่สามารถทำได้ในแต่ละ Sprint คือเท่าไร ค่า load ที่ทำได้ต่อ Sprint นั้นทำให้เราสามารถคะเนความเร็วในการทำงานของทีมของเราได้ และสามารถประมาณการณ์ได้ว่างานเราจะเสร็จจริงๆเมื่อไร
7. นำข้อสรุปที่ได้จาก Sprint ก่อน ไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา Sprint ใหม่ แล้ววนลูป ข้อ 4 ใหม่ต่อไปจนกว่างานจะเสร็จ ยิ่ง Sprint มากเท่าไร load งานก็จะเหลือน้อยลง และสามารถคำนวณเวลาที่จะทำงานเสร็จได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น จนสุดท้าย ทีมมักจะพบว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าการทำงานแบบเดิมๆ หลายเท่าตัว
อ่านดูแล้วก็จะพบว่า ไอเดียของ Scrum นั้นไม่ได้ซับซ้อนมาก และมีลักษณะ Iterative จึงดูน่าจะเหมาะกับงานวิจัยต่างจากการวางแผนแบบ Waterfall (ผ่าน Gantt chart) แต่หากจะนำ framework แบบนี้มาใช้กับวงการวิจัยบ้าง จะต้องมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง แอดจะเขียนต่อในตอนต่อไปละกัน
มีใครลองใช้ Scrum ในรีเสิร์ชแล้วบ้าง มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะ
ตอน 2: https://www.facebook.com/…/a.164033331039…/424270941682445/…
#นักวิจัยไส้แห้ง
[1] Pirro, L. How agile project management can work for your research, Nature Career Column, 2019 https://www.nature.com/articles/d41586-019-01184-9
[2] Sutherland, J. Scrum: The Art of Doing Twice the Work in Half the Time (Random House Business, 2015).
[3] Firms using Scrum
https://docs.google.com/…/1fm15YSM7yzHl6IKtWZOMJ5vHW9…/edit…
รูป flow diagram จาก devbridge.com
fibonacci series 在 Fibonacci series in Swift - Discover gists · GitHub 的推薦與評價
Fibonacci series in Swift. ... returns an array containing the first n Fibonacci numbers func fibonacci(n: Int) -> [Int] { assert(n > 1) var array = [0, ... ... <看更多>
fibonacci series 在 The generating function for the Fibonacci numbers 的推薦與評價
The proof is quite simple. Let's write our sum in a compact format: 1+z+2z2+3z3+5z4+8z5+...=∞∑n=0Fnzn. Where Fn is the nth Fibonacci number, starting with ... ... <看更多>
fibonacci series 在 Efficient calculation of Fibonacci series - Stack Overflow 的推薦與評價
... <看更多>