#關鍵東南亞 亞航將以Gojek作為進軍泰國食物外送市場的跳板,另外,電商平台蝦皮也加入競爭。眼見各方投入外送市場大戰,研究員指出,「最終只會有三到四家活下來。」
#亞洲航空 #外送 #蝦皮 #Gojek The News Lens 關鍵評論網 東南亞
gojek news 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
DoorDash แอปส่งอาหาร ที่นิยมสุดในอเมริกา / โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงธุรกิจ Food Delivery
เชื่อว่าคนไทย คงคุ้นเคยกับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น Grab, LINE MAN, foodpanda หรือ Gojek
แต่รู้ไหมว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ก็มีผู้ให้บริการ Food Delivery เจ้าใหญ่อยู่หลายราย
แต่แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ คือ “DoorDash”
ทำไม DoorDash ถึงครองตลาดสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
DoorDash เป็นแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์
เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2013 หรือ 8 ปีที่แล้ว
ผู้ที่ร่วมก่อตั้งบริษัทและดำรงตำแหน่ง CEO ในปัจจุบัน คือ คุณ Tony Xu
เขาเป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่ครอบครัวไม่ได้มีฐานะร่ำรวย
ทำให้ต้องคอยช่วยคุณแม่ ทำงานพิเศษที่ร้านอาหารจีน มาตั้งแต่เด็ก
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวก็เก็บออมเงิน จนสามารถส่งเขาเรียน MBA ที่มหาวิทยาลัย Stanford ได้สำเร็จ
ซึ่งต่อมา คุณ Tony Xu ได้มีโอกาสทำโปรเจกต์ธุรกิจร่วมกับ คุณ Stanley Tang, คุณ Andy Fang และ คุณ Evan Moore
และเนื่องจากเขามีประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหาร จึงเสนอไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย
โดยพวกเขาสำรวจข้อมูลพบว่า
ความจริงแล้ว ผู้บริโภคมีความต้องการสั่งอาหารจากร้านเล็ก ๆ ในท้องถิ่นสูงมาก
แต่ทางฝั่งร้านอาหารนั้น ไม่มีเงินทุนและกำลังคนมากพอ สำหรับจัดส่งอาหารให้ครบตามออร์เดอร์ได้
ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเลือกพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์ม Food Delivery เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยเริ่มแรก ได้เปิดเว็บไซต์ ชื่อว่า PaloAltoDelivery.com
ทดลองรวบรวมเมนูจากร้านบริเวณมหาวิทยาลัย และผลัดกันเป็นคนจัดส่งอาหาร
จนกระทั่งปี 2013 โปรเจกต์นี้ได้รับเงินทุนจาก Y Combinator สถาบันบ่มเพาะสตาร์ตอัปชื่อดัง
พวกเขาจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัท และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “DoorDash”
ซึ่งต่อมาก็มีนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ เช่น Sequoia Capital และ SoftBank เข้ามาถือหุ้นของบริษัทด้วย
โดย DoorDash ใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจ ที่มุ่งเน้นรวบรวมร้านอาหาร ทั้งแบรนด์ดังและร้านประจำท้องถิ่นต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มให้มากที่สุด
ปัจจุบัน มีร้านอาหารเข้าร่วมกว่า 450,000 แห่ง ครอบคลุม 4,000 เมือง ใน 50 รัฐ
และมีพาร์ตเนอร์คนขับรถส่งอาหาร ที่บริษัทเรียกว่า Dashers อยู่ราว 1 ล้านราย
ซึ่งทำให้ DoorDash มีเมนูที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ได้ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่
ต่างจากผู้เล่นรายอื่น ที่ส่วนใหญ่นำเสนอแต่ร้านดัง ๆ ในตัวเมืองใหญ่
ส่งผลให้แอปพลิเคชันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ใช้งานสูงถึง 20 ล้านราย
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกา ประจำเดือนมีนาคม 2021 จากการสำรวจของ Bloomberg Second Measure
- DoorDash ส่วนแบ่งตลาด 55%
- Uber Eats ส่วนแบ่งตลาด 22%
- Grubhub ส่วนแบ่งตลาด 17%
- Postmates ส่วนแบ่งตลาด 5%
จะเห็นได้ว่า DoorDash ครองตลาด แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกา แบบนำหน้าคู่แข่งอยู่พอสมควร
แล้วอย่างนี้ ผลประกอบการของ DoorDash เป็นอย่างไร ?
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลให้เจ้าตลาดอย่าง DoorDash เติบโตแบบก้าวกระโดด
ปี 2018 รายได้ 9,050 ล้านบาท ขาดทุน 6,400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 27,500 ล้านบาท ขาดทุน 20,700 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 89,800 ล้านบาท ขาดทุน 14,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงขาดทุนหนัก เพราะต้องใช้งบประมาณและโปรโมชันจำนวนมาก แข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นอย่างดุเดือด เพื่อดึงดูดทั้งร้านอาหารและแย่งชิงผู้บริโภค ให้มาใช้งานแพลตฟอร์มตนเอง
ซึ่งเราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า DoorDash จะสามารถครองตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกาไปได้นานเท่าไร และจะเป็นผู้ชนะในท้ายที่สุดได้หรือไม่ ในสมรภูมิที่ไม่มีใครยอมใครอย่างตลาด Food Delivery
ทั้งนี้ DoorDash จดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020
โดยปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ราว 1.3 ล้านล้านบาท
ซึ่งใกล้เคียงกับ มูลค่าประเมินของ Grab ที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ในเร็ว ๆ นี้
ปิดท้ายด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ
ในช่วงที่ทดลองเปิดให้บริการ เมื่อปี 2013
คุณ Tony Xu และเพื่อน ๆ ต้องนั่งรอคำสั่งซื้ออาหารอยู่หลายชั่วโมง
จนสุดท้าย ก็มีออร์เดอร์แรกเข้ามา
เมนูนั้นคือ “ผัดไทยกุ้ง”..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/DoorDash
-https://s22.q4cdn.com/280253921/files/doc_financials/2020/ar/628c3275-56ed-4bc8-a246-20e7c40742ce.pdf#page6
-https://secondmeasure.com/datapoints/food-delivery-services-grubhub-uber-eats-doordash-postmates/
-https://www.cnbc.com/2020/12/09/doordash-ipo-will-make-ceo-tony-xu-the-latest-tech-billionaire.html
-https://help.doordash.com/dashers/s/article/Where-is-DoorDash-available?language=en_US
-https://www.cbsnews.com/news/doordash-ipo-shares-up-80-percent/
-https://finance.yahoo.com/quote/DASH/
gojek news 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
OVO ยูนิคอร์นฟินเทค ที่ใหญ่สุด ในอินโดนีเซีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินโดนีเซีย มีสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 หมื่นล้านบาท อยู่ทั้งหมด 8 บริษัท ส่งผลให้ประเทศอินโดนีเซียมียูนิคอร์นมากที่สุดในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียเลยทีเดียว..
แต่รู้หรือไม่ว่าใน 8 บริษัทนั้น มีเพียงบริษัทเดียวที่เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทค
โดยให้บริการด้านการชำระเงิน หรือ e-Wallet ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทนี้ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 9 หมื่นล้านบาท
แล้วยูนิคอร์นฟินเทคเพียงหนึ่งเดียวในอินโดนีเซียให้บริการอะไรบ้าง ? และมีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงสตาร์ตอัปจากประเทศอินโดนีเซีย บริษัทที่คนไทยพอจะเคยได้ยินชื่อ ก็จะมี
Gojek ที่ให้บริการเรียกรถและสั่งอาหาร
Traveloka ที่ให้บริการจองที่พัก
Tokopedia และ Bukalapak ที่เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce
ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็น 4 บริษัทแรกของอินโดนีเซียที่ได้เป็นยูนิคอร์น
แล้วยูนิคอร์นอันดับที่ 5 คือใคร ?
แพลตฟอร์มที่สามารถก้าวมาเป็นยูนิคอร์น
อันดับที่ 5 ของอินโดนีเซียได้สำเร็จ
มีชื่อว่า “OVO” อ่านว่า โอ-โว
OVO เป็นแพลตฟอร์มด้านฟินเทคของบริษัท PT Visionet Internasional
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Lippo Group กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย
โดย OVO ถูกเริ่มพัฒนาในปี 2016 และจัดตั้งเป็นบริษัทฟินเทคในปีถัดมา
บริการหลักของ OVO ก็คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Wallet
ซึ่งก็คล้ายกับ e-Wallet ที่หลายคนรู้จัก อย่างเช่น Alipay และ ShopeePay
หรือของไทยก็อย่างเช่น TrueMoney
ผู้ใช้งาน e-Wallet สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารเข้าไป
เพื่อไว้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของจากหน้าร้านที่รับจ่ายด้วย e-Wallet
หรือซื้อของออนไลน์ และยังสามารถโอนเงินได้ด้วย
จุดเด่นของ e-Wallet ก็คือไม่มีกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้งานแบบบัญชีออมทรัพย์
และที่สำคัญคือมีคะแนนหรือเหรียญให้สะสม เพื่อไว้ใช้เป็นส่วนลดในอนาคต
แล้วทำไม OVO รุกเข้าสู่ธุรกิจ e-Wallet ?
โดยทั่วไปหากเรานึกถึง ช่องทางการจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสด ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกก็คือ ผ่านบัตรทั้งบัตรเครดิตและเดบิต
ประเภทถัดมาก็คือ ผ่านช่องทางดิจิทัล
ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้ว บัตรเครดิตและเดบิตเป็นที่นิยมมาก และถูกใช้กันมานานจนคุ้นเคย
ในขณะที่ e-Wallet ซึ่งก็เป็นวิธีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเหมือนกันแต่เริ่มมีทีหลัง กลับยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก
ในทางกลับกัน ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซีย
การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet กลับได้รับความนิยมสูงมาก
นั่นก็เพราะว่าประชากรที่มีบัตรเครดิตและเดบิตยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อย
ในขณะที่การสมัครบัตรเครดิตมีเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น เกณฑ์เงินเดือนย้อนหลังหรือเงินฝากขั้นต่ำ
นั่นจึงทำให้ e-Wallet ที่มีเงื่อนไขน้อยกว่าและเข้าถึงโดยผ่านสมาร์ตโฟนได้ทันที จึงกลายเป็นที่นิยม
ซึ่งความนิยมของ e-Wallet นี้ ก็สะท้อนได้จากข้อมูลของปีที่ผ่านมา
ที่ e-Wallet เป็นช่องทางการชำระเงินที่คนในประเทศกำลังพัฒนาเลือกใช้มากที่สุด
และในอินโดนีเซียเอง ผลสำรวจก็พบว่า คนอินโดนีเซียเลือกชำระเงินผ่าน e-Wallet มากที่สุดเช่นกัน
นั่นเลยทำให้ตลาด e-Wallet ในอินโดนีเซีย มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
โดยในปัจจุบันก็มีผู้เล่นหลักอยู่ 3 ราย นั่นก็คือ OVO, DANA และ GoPay
ซึ่ง GoPay เป็น e-Wallet ของ Gojek ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
ส่วน DANA ก็มีสัดส่วนผู้ใช้งานตาม OVO มาติด ๆ ซึ่งมี Ant Financial บริษัทการเงินของ Alibaba เป็นผู้ลงทุนหลัก
แล้วใครบ้างที่ลงทุนใน OVO
จนมีการเติบโตและเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดนี้ ?
เส้นทางการเติบโตอย่างรวดเร็วของ OVO
เริ่มต้นมาจากการเป็นพันธมิตรกับสตาร์ตอัปยักษ์ใหญ่
อย่าง Grab, Tokopedia, Zalora และ Lazada ในอินโดนีเซีย
ด้วยการเข้าไปเป็นช่องทางการชำระเงินบนแพลตฟอร์มเหล่านั้น
อย่างกรณีของ Grab และ Tokopedia ก็ได้ใช้ OVO
เป็นช่องทางในการชำระเงินบนแพลตฟอร์มของตัวเอง
จนในภายหลัง Grab และ Tokopedia ก็ได้เข้ามาร่วมลงทุนใน OVO ด้วย
และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 อันดับแรก ด้วยสัดส่วนคนละกว่า 40%
จนในปี 2019 หรือเพียง 3 ปีหลังจากที่เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม
OVO ก็ได้กลายเป็นยูนิคอร์นอันดับที่ 5 ของอินโดนีเซีย และเป็นสตาร์ตอัปฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ที่มีผู้ใช้งานในประเทศมากที่สุด ซึ่งมีมูลค่าบริษัทในปัจจุบันกว่า 9 หมื่นล้านบาท
และล่าสุด เมื่อกลางปี 2020 ที่ผ่านมา OVO กับ DANA ก็ได้ตกลงควบรวมกิจการกัน
เพื่อที่จะเอาชนะ GoPay และกลายเป็น e-Wallet ที่ใหญ่สุดเพียงผู้เดียวในประเทศ
โดยในปัจจุบัน OVO ก็กำลังขยายตลาดไปสู่บริการทางการเงินในด้านอื่น ๆ
ทั้งการเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนและช่องทางซื้อขายประกันอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งโอกาสในการเติบโตของ OVO ต่อจากนี้ ยังถือว่ามีอยู่อีกมาก
หากลองพิจารณาจากข้อมูลเหล่านี้
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่มีคนอินโดนีเซียกว่า 1 ใน 3 ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการลงทุน มีประชากรราว 1% เท่านั้น ที่เข้าถึงการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 32%
และคนที่มีสมาร์ตโฟนเพียง 42% ของประชากร
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราจึงพอสรุปได้ว่า OVO
ยังมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าไปหาลูกค้าทั่วประเทศ
และตอนนี้อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเติบโตเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Tokopedia ซึ่งเป็น E-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
เลือกลงทุนใน OVO เพื่อที่จะสู้กับสตาร์ตอัปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
อย่าง Gojek ที่มี GoPay เป็น e-Wallet ของตัวเอง
แต่ล่าสุด
Tokopedia กับ Gojek ก็ประกาศว่าจะควบรวมกัน
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า GoTo ไปเป็นที่เรียบร้อย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.rapyd.net/resource/asia-pacific-ecommerce-and-payments-guide/
-https://www.techinasia.com/ovo-confirms-unicorn-status
-https://m2insights.com/the-2020-indonesian-ewallet-race/
-https://fintechnews.sg/42958/indonesia/e-wallet-indonesia/
-https://asia.nikkei.com/Business/Companies/Grab-expands-into-Indonesia-e-payments-taking-battle-to-Go-Jek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-06-12/indonesia-s-ovo-is-said-close-to-merger-with-dana-to-fight-gojek
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-19/gojek-co-ceo-to-head-app-giant-after-merger-with-tokopedia
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/Indonesia-s-Ovo-joins-ZhongAn-SoftBank-alliance-for-insurtech
-https://en.wikipedia.org/wiki/OVO_(payment_service)