กรณีศึกษา กระเป๋าเงินดิจิทัล เวียดนาม ที่เติบโตร้อนแรง /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเวียดนาม มีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงสมาร์ตโฟนในปี ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 63.1% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงในระดับเดียวกันกับประเทศจีน และเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามจะเป็นรองแค่สิงคโปร์กับมาเลเซีย
แต่ถ้ามาดูจำนวนสาขาธนาคารต่อจำนวนประชากร รวมถึงสัดส่วนการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด
ประเทศเวียดนามกลับมีสัดส่วนเหล่านี้ เกือบจะน้อยที่สุดในภูมิภาค
นั่นจึงเป็นโอกาสของธุรกิจการให้บริการทางการเงินบนสมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีฐานลูกค้าที่พร้อมจะใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก และกำลังอยู่ในช่วงที่เติบโตเร็ว
ซึ่งนั่นก็ได้ดึงดูดให้บริษัทสตาร์ตอัปเข้ามาแข่งขันกันมากมาย โดยเฉพาะธุรกิจกลุ่ม E-Wallet หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่มีการแข่งขันกันรุนแรง
แล้วผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเวียดนามมีใครบ้าง และใครเป็นผู้นำอยู่ตอนนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากข้อมูลของธนาคารกลางเวียดนาม รู้หรือไม่ว่าผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลมีมากถึง 34 ราย
แต่ส่วนแบ่งตลาดเกือบทั้งหมด กลับถูกครอบครองโดยผู้ให้บริการไม่กี่เจ้า
เมื่อดูจากมูลค่าบริษัท “VNPAY” คือสตาร์ตอัปด้านฟินเทคที่ถูกประเมินมูลค่าไว้มากที่สุด โดยมีมูลค่าราว 33,000 ล้านบาท
VNPAY เป็นยูนิคอร์นสตาร์ตอัปบริษัทที่ 2 ของเวียดนาม ต่อจากบริษัท VNG
โดย VNG ที่เป็นยูนิคอร์นรายแรกนั้น เป็นเจ้าของแอปพลิเคชันแช็ต ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ ที่ชื่อว่า “Zalo”
อย่างไรก็ตาม VNPAY ที่เป็นยูนิคอร์นรายที่ 2 นี้ไม่ได้สร้างแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองแบบฟินเทคเจ้าอื่น แต่จะให้บริการซอฟต์แวร์กับธนาคาร ที่อยากมีบริการแอปพลิเคชันชำระเงินบนสมาร์ตโฟน รวมถึงบริการทางการเงินดิจิทัลด้านอื่น ๆ
นอกจากนี้ VNPAY ยังให้บริการระบบชำระเงินผ่าน QR Code ให้กับร้านค้าต่าง ๆ เพื่อรับชำระเงินจากลูกค้าที่ใช้แอปพลิเคชันของธนาคารที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์จาก VNPAY
VNPAY ได้ให้บริการซอฟต์แวร์กับธนาคารกว่า 40 แห่ง
มีร้านค้าที่ใช้บริการระบบ QR Code กว่า 150,000 ร้านค้า
คิดเป็นจำนวนผู้ใช้งานผ่านระบบของ VNPAY ทั้งหมด ราว 22 ล้านบัญชี
แต่ผู้ใช้งาน 22 ล้านบัญชีนี้ ก็ยังไม่ได้ทำให้ VNPAY เป็นผู้ชนะ เพราะแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงและกำลังแข่งขันกันแย่งผู้ใช้งานในเวียดนาม มีทั้งหมด 3 ราย นั่นก็คือ MoMo, ZaloPay และ Moca ซึ่งก็น่าสนใจว่าทั้ง 3 รายเป็นแอปพลิเคชัน ที่ก่อตั้งโดยชาวเวียดนามทั้งหมด
3 แอปพลิเคชันนี้ มีบริการหลักที่ไม่แตกต่างกันมาก เพราะแต่ละบริษัทก็ได้ขยายช่องทางการชำระเงินให้หลากหลาย จนครอบคลุมความต้องการส่วนใหญ่ของชาวเวียดนามแล้ว
โดยบริการที่ชาวเวียดนามนิยมใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับก็คือ เติมเงินเข้ามือถือ, โอนเงิน, จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ, จ่ายเงินบนแอปพลิเคชันสั่งอาหาร, จ่ายเงินบนแอปพลิเคชันเรียกรถ และจ่ายเงินที่หน้าร้านค้า
จากความนิยมในการใช้งาน เราจะสังเกตได้ว่า ชาวเวียดนามยังไม่นิยมใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นช่องทางการจ่ายเงินซื้อของออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซ
ส่วนนี้ก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าสัดส่วนการซื้อของผ่านทางออนไลน์ในเวียดนาม ยังคงคิดเป็นเพียง 3% ของยอดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ
นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ ShopeePay ของ Shopee ได้รับความนิยมไม่มากเท่าที่ควร
ทั้ง ๆ ที่ Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ชาวเวียดนามใช้งานมากที่สุด
กลับมาที่ MoMo, ZaloPay และ Moca ที่แม้จะมีบริการหลักไม่ต่างกันมาก
แต่สิ่งที่ทั้ง 3 แอปพลิเคชันนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ก็คือ “กลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้า”
เริ่มจาก “Moca” ที่เปิดตัวแอปพลิเคชันในปี ค.ศ. 2013 เลือกใช้กลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าด้วยการเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับ Grab เมื่อปี ค.ศ. 2018 เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าสั่งอาหารดิลิเวอรีและเรียกรถ
โดยปัจจุบัน Moca ได้เข้าไปเป็นทางเลือกหลักในการชำระเงิน บนแพลตฟอร์มของ Grab แล้ว
ในขณะเดียวกัน “ZaloPay” ที่เปิดตัวแอปพลิเคชันในปี ค.ศ. 2017 เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลของผู้พัฒนาแอปพลิเคชันแช็ต Zalo จึงมีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ ฐานผู้ใช้งาน
เพราะ Zalo เป็นแอปพลิเคชันแช็ตที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในเวียดนาม เป็นจำนวนกว่า 62 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นเกือบ 2 ใน 3 ของประชากรเวียดนามทั้งประเทศ
จึงไม่แปลกเลยที่ ZaloPay สามารถขยายฐานลูกค้าผ่านผู้ใช้งานบน Zalo ได้ทันที
วิธีการนี้ก็ถูกพิสูจน์ความสำเร็จมาแล้วจากหลายบริษัท เช่น Tencent เจ้าของแอปพลิเคชันแช็ต WeChat ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในจีน เมื่อตอนที่ได้เปิดตัวกระเป๋าเงินดิจิทัล ก็มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็น 1 ใน 2 ของกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศจีน เช่นกัน
แต่แม้จะมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่เป็นจุดแข็ง ZaloPay ก็ยังไม่ใช่ผู้ชนะในเวลานี้
เพราะแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด
คิดเป็นราว 60% ของการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟนในเวียดนาม ชื่อว่า “MoMo”
แล้ว MoMo มีกลยุทธ์ดึงผู้ใช้งานอย่างไร ?
MoMo เริ่มเปิดตัวในปี ค.ศ. 2013 แต่บริษัทผู้พัฒนา MoMo ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทขายบัตรเติมเงินโทรศัพท์มือถือ จนกระทั่งบริษัทเห็นโอกาสจากการที่คนใช้มือถือมากขึ้น
ทางบริษัทจึงได้เปลี่ยนธุรกิจมาเป็นให้บริการระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและสมาร์ตโฟนแทน
ผู้บริหาร MoMo ให้ความสำคัญกับข้อมูลยอดค้าปลีกในเวียดนาม ที่เกือบทั้งหมดยังมาจากช่องทางออฟไลน์
นั่นจึงทำให้ MoMo แม้ว่าจะมีพาร์ตเนอร์ที่เป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ แต่ทางบริษัทก็ได้เน้นการเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับเชนร้านสะดวกซื้อ เชนซูเปอร์มาร์เก็ต และเชนร้านกาแฟมากกว่า ซึ่งยังมีสัดส่วนการชำระเงินด้วยสมาร์ตโฟนที่น้อยอยู่ แต่เป็นบริการที่คนส่วนใหญ่ในเวียดนามใช้เป็นประจำอยู่แล้ว
โดยเฉพาะร้านกาแฟ ที่คนส่วนมากใช้บริการทุกวันและบางคนอาจจะมากกว่าวันละครั้ง
ซึ่งจะยิ่งทำให้ผู้ใช้งาน MoMo มีโอกาสเปิดแอปพลิเคชันเป็นจำนวนครั้งที่มากขึ้น
อย่างเมื่อไม่นานมานี้ MoMo ได้จับมือกับเชนร้านกาแฟท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง Highlands Coffee เชนร้านกาแฟที่มีส่วนแบ่งตลาดมากสุดในเวียดนาม ที่มีอยู่ราว 300 สาขา เพื่อให้ส่วนลดค่ากาแฟเมื่อจ่ายผ่าน MoMo ซึ่งลูกค้ายังสามารถสั่งกาแฟผ่านแอปพลิเคชันแล้วเลือกเวลาไปรับได้ด้วย
นอกจากนี้ MoMo ยังได้ต่อยอดแอปพลิเคชันให้เป็นแบบออลอินวัน หรือการให้บริการที่หลากหลายนอกเหนือไปจากการชำระเงิน
อย่างเช่น บริการซื้อตั๋วภาพยนตร์ สั่งอาหารดิลิเวอรี จองตั๋วเครื่องบิน บริการเกม ไปจนถึงซื้อประกันและขอสินเชื่อส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกันของกระเป๋าเงินดิจิทัลในเวียดนามยังคงดุเดือด เพราะที่ผ่านมา ทุกแอปพลิเคชันต่างแข่งขันกันอัดโปรโมชันแบบไม่มีหยุด
ทั้งการให้ส่วนลด บัตรกำนัล เครดิตเงินคืน และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเร่งกอบโกยลูกค้าให้ได้มากที่สุดก่อน
ซึ่งนอกจากจะต้องแลกมาด้วยการขาดทุนมหาศาลแล้ว โปรโมชันเหล่านี้ยังทำให้ลูกค้าไม่มีความภักดีต่อแบรนด์ สอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า แม้ชาวเวียดนามจะใช้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลอยู่ไม่กี่แอปพลิเคชัน แต่ก็มักเลือกเจ้าที่ให้ส่วนลดมากที่สุดในเวลานั้น
ดังนั้นนอกจากการอัดโปรโมชันแข่งกันแล้ว เสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่บอกว่า แอปพลิเคชันที่จะรักษาลูกค้าไว้ได้ในระยะยาว ก็คือผู้ที่เร่งเพิ่มจำนวนจุดรับชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของตัวเองให้ได้มากที่สุดก่อน โดยเฉพาะในสถานที่ที่ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ใช้บริการบ่อย ๆ อย่างเช่นตลาดสดและร้านอาหาร
ซึ่งกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าแบบ MoMo ก็ดูจะมาถูกทางที่สุด เพราะทางบริษัทได้โฟกัสไปที่แหล่งชุมชนตั้งแต่เชนร้านสะดวกซื้อไปจนถึงร้านกาแฟ
แต่ถ้าจะฟันธงเลยว่า MoMo คือแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัลที่เป็นผู้ชนะแบบขาดลอยในเวียดนามคล้ายกับ GrabPay ของ Grab ในสิงคโปร์ หรือ GoPay กับ OVO ของ GoTo ในอินโดนีเซีย ก็อาจจะเร็วเกินไป
แต่ที่พอจะบอกได้ ก็คือ MoMo ติดกระดุมเม็ดแรกเสร็จแล้ว และกำลังได้เปรียบผู้เล่นกระเป๋าเงินดิจิทัลรายอื่นในเวียดนามอยู่ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/Vietnam-emerges-as-Southeast-Asia-s-next-fintech-battleground
-https://asia.nikkei.com/Business/Startups/Vietnam-s-fintech-VNLife-says-valuation-now-well-over-1bn
-https://www.techinasia.com/vietnams-ewallet-momo-announced-series-led-warburg-pincus-goodwater-capital
-https://vir.com.vn/e-wallet-groups-take-on-losses-to-get-ahead-84419.html
-https://vir.com.vn/e-wallets-promotion-programmes-see-less-appetising-82422.html
-https://vir.com.vn/e-wallet-services-start-to-gain-momentum-in-vietnam-75067.html
-https://data.worldbank.org/indicator/FB.CBK.BRCH.P5?locations=VN-TH-ID-PH-SG-MY
-https://www.statista.com/statistics/539395/smartphone-penetration-worldwide-by-country/
grab valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
[BREAKING] Grab กำลังจะเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดันมูลค่าบริษัท 1 ล้านล้าน
เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา มีรายงานว่า Grab Holdings กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยมีมูลค่าคาดการณ์อยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.1 ล้านล้านบาท และน่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ (ในรายงานระบุว่าอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดภายในสัปดาห์นี้)
สำหรับการเข้าตลาดหุ้นของ Grab Holdings จะเข้าด้วยวิธี Special Purpose Acquisition Companies
เรียกสั้น ๆ ว่า SPAC ซึ่งเป็นวิธีเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่านการควบรวมกับบริษัทอื่น อย่างเช่นในกรณีของ Grab Holdings จะเข้าผ่านบริษัทที่ชื่อว่า “Altimeter Capital”
╔═══════════╗
สำรองที่ https://forms.gle/rmMBtBTKaLtgYTcj9 หรือ https://brightoncollege.ac.th/
╚═══════════╝
ดีลดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในดีล SPAC ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ในเรื่องนี้นอกจากจะเป็น Grab Holdings เองแล้ว ยังทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง SoftBank มีทรัพย์สินจากการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเช่นกัน
ทั้งนี้ มีรายงานว่า Grab Holdings มีรายได้ในปี 2020 เติบโตขึ้น 70% เมื่อเทียบกับปี 2019
ถึงแม้บริษัทยังคงขาดทุนอยู่ แต่ก็ได้รายงานว่า “ธุรกิจเรียกรถ” ได้ทำ Break Even หรือสร้างรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายในทุกประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจแล้ว
หรือพูดง่าย ๆ ว่า ทุก ๆ ครั้งที่เรียกรถ Grab เพื่อเดินทาง Grab จะไม่ขาดทุนแล้ว
นอกจากนี้ ประธานบริษัท Grab Holdings ก็ยังได้ระบุว่าบริษัทกำลังอยู่ในช่วงลดค่าใช้จ่าย
โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากถึง 80%
ซึ่งก็ถือเป็นกระบวนการที่จะทำให้บริษัทพลิกกลับมาทำกำไรได้ในอนาคต
การเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ Grab Holdings ก็ถือเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่น่าติดตาม
เพราะบริษัทแห่งนี้ ถือเป็นยูนิคอร์นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีฐานประชากรมากถึง 655 ล้านคน
น่าคิดเหมือนกันว่า Grab Holdings
บริษัทที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาในปี 2012 หรือเพียง 9 ปีก่อน
และเพิ่งมีธุรกิจส่งอาหาร ปี 2018 หรือเมื่อ 3 ปีก่อน
ตอนนี้บริษัทกำลังจะมีมูลค่าบริษัท 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าบริษัทนี้มาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ก็จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่ามากสุดเลยทีเดียว
นั่นหมายความว่าถ้าเรื่องนี้เป็นจริง
ในเร็ว ๆ นี้ เราจะสามารถร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ Grab ได้โดยผ่านการซื้อหุ้น Grab ที่สหรัฐอเมริกา
ปิดท้ายด้วยคำถามที่น่าสนใจ
บริษัท Grab จะมีมูลค่าที่พอ ๆ กับ ปตท. และใหญ่เกือบ 2 เท่าของ CPALL
ถ้าให้เราเลือกระหว่างลงทุนในบริษัทมูลค่า 1 ล้านล้าน ที่ชื่อว่า Grab หรือ ปตท.
เป็นเรา เราจะเลือกลงทุนในบริษัทไหนดี ?
╔═══════════╗
A Culture of Curiosity, Confidence and Kindness สำหรับนักเรียนอายุ 2 - 18 ปี วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2564 เวลา 8.45 - 11.00 น. สำรองที่ https://forms.gle/rmMBtBTKaLtgYTcj9 หรือ https://brightoncollege.ac.th/
╚═══════════╝
References
-https://seekingalpha.com/news/3679710-grab-to-list-in-us-via-altimeter-spac-at-35b-valuation-ft
-https://www.ft.com/content/73d8b26c-3d61-48ec-8027-25c4cd625488
grab valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ผู้สนับสนุน..
สตาร์ทอัพไทย จะเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไร? / โดย ลงทุนแมน
ยูนิคอร์น คือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
รู้ไหมว่าเพื่อนบ้านที่รายล้อมเราในอาเซียนต่างมีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นกันทั้งหมด
อินโดนีเซีย มี GOJEK, tokopedia, traveloka, Bukalapak
เวียดนาม มี VNG
ฟิลิปปินส์ มี Revolution Precrafted
มาเลเซีย มี Grab
สิงคโปร์ มี SEA ที่สามารถระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ประเทศไทยยังไม่มียูนิคอร์น..
รู้ไหมว่าหนึ่งในเหตุผลหลักของเรื่องนี้ก็คือ
“คนรุ่นใหม่เก่งๆ” ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สนใจทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบสตาร์ทอัพ
สาเหตุก็เป็นเพราะพวกเขามองเห็นโอกาสในอนาคตที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยในฐานะสตาร์ทอัพ น้อยกว่าการทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่เดิม หรือบริษัทใหญ่ที่เป็นยูนิคอร์นจากต่างประเทศ
ลองคิดตามว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
ถ้าคนที่มาเสนองานมีบริษัท Google, Lazada, Grab, Agoda, Garena, KBank กับการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง คนไทยเหล่านั้นมักจะเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทใหญ่มากกว่า
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องเงินทุน เรื่องกฎหมาย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือไม่รู้วิธีการที่จะพัฒนาธุรกิจให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้
จากปัญหาทั้งหมดนี้
แล้วสตาร์ทอัพไทยจะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป การระดมทุนของสตาร์ทอัพจะถูกแบ่งตามการประเมินมูลค่าของบริษัท (Valuation) ออกเป็น
ระยะเริ่มต้นเรียกว่า Seed
หลังจากนั้นก็จะไล่ระดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Series A Series B Series C
แล้วเรารู้ไหมว่า.. จำนวนสตาร์ทอัพไทยเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร?
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Seed
อินโดนีเซีย 428 บริษัท
เวียดนาม 197 บริษัท
ไทย 170 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series A
อินโดนีเซีย 101 บริษัท
เวียดนาม 52 บริษัท
ไทย 36 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series B
อินโดนีเซีย 25 บริษัท
เวียดนาม 12 บริษัท
ไทย 9 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series C
อินโดนีเซีย 13 บริษัท
เวียดนาม 8 บริษัท
ไทย 3 บริษัท
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนสตาร์ทอัพประเทศไทยน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนในทุกระดับการระดมทุน
และเมื่อดูถึงมูลค่าที่ระดมทุนได้
สตาร์ทอัพอินโดนีเซียและเวียดนาม สามารถระดมทุนได้มากกว่าสตาร์ทอัพไทย 22 และ 2 เท่า ตามลำดับ..
แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นก็คือ “ฐานจำนวนผู้ใช้งาน”
หากมองจากมุมนี้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าประเทศไทยเสียเปรียบด้านจำนวนประชากรหากเทียบกับเวียดนาม และ อินโดนีเซีย
แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้?
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน
โดยคนไทย 50 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ถ้าถามว่าคนไทยคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันอะไรมากสุด
คำตอบคงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชัน LINE
รู้ไหมว่า..
ปัจจุบัน คนไทยใช้งานแอปพลิเคชัน LINE กว่า 44 ล้านคน
คิดเป็นเกือบ 90% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟน
ในขณะที่ คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเฉลี่ยวันละ 216 นาที
ซึ่งกว่า 63 นาทีเป็นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน LINE
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของ LINE ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ปัจจุบัน LINE ไม่ได้เป็นเพียงแอปแช็ต
แต่บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
จนผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างบน LINE ได้
ตั้งแต่การติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ช้อปปิง รวมไปถึงธุรกรรมทางการเงิน
เรียกได้ว่าคนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ LINE ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
ซึ่งการที่สตาร์ทอัพจะถึงระดับยูนิคอร์นได้ก็คือต้องขยายขนาดธุรกิจ
การที่จะขยายธุรกิจได้ก็ต้องมีผู้ใช้งานหรือลูกค้ามากขึ้น
และ LINE เป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทย ที่จะทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้
คำถามต่อไปก็คือ
สตาร์ทอัพเหล่านี้จะใช้แพลตฟอร์ม LINE อย่างไรให้ได้เต็มศักยภาพที่สุด?
“โครงการ LINE ScaleUp” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดย LINE โดยมีจุดประสงค์ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มของ LINE ให้ได้ดีที่สุด
ซึ่งในปีนี้ มี 6 สตาร์ทอัพไทยที่เข้ารอบ LINE ScaleUp 2019 จากผู้สมัคร 100 บริษัท คือ
1.Choco CRM แพลตฟอร์มระบบจัดการหน้าร้าน และพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า
2.ClaimDi แพลตฟอร์มจัดหาผู้ช่วยสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถชน หรือเรียกตำรวจ
3.Finnomena แพลตฟอร์มผู้ให้บริการและคำปรึกษากับนักลงทุน
4.GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการสปาและบริการเสริมความงาม
5.Seekster แพลตฟอร์มจัดหาผู้ให้บริการด้านความสะอาด
6.Tellscore แพลตฟอร์มจัดการ micro-influencer
ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 45 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 80 คน และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series A ที่เตรียมตัวจะขยาย และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น การพยายามเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน stage นี้ แต่ละบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญในการปรับธุรกิจให้เข้ากับ LINE เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้แม่นยำ และเข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สตาร์ทอัพในโครงการ LINE ScaleUp ยังได้รับโอกาสในการพัฒนารากฐานสำคัญ 3 ส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโต แบ่งออกเป็น
1.ด้านพื้นฐานทั้งการสอนแบบกลุ่ม และตัวต่อตัว เช่น การให้ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ เทคโนโลยี การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ การบริหารบุคลากร รวมถึงกฎหมายที่จำเป็น
2.ด้านการลงทุน เช่น การให้ความรู้ และเข้าถึงโอกาสได้รับการลงทุนจาก LINE Venture และผู้ลงทุนจากต่างชาติ
3.ด้านการเรียนรู้ความสำเร็จจากสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นกับบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวจริงผ่านการไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรวมถึง NAVER บริษัทแม่ของ LINE
ซึ่งหลังการพัฒนารากฐาน จะทำให้สตาร์ทอัพทุกรายมีความพร้อมมากขึ้น และในก้าวต่อไป สตาร์ทอัพยังมีโอกาสได้เป็นพันธมิตรกับบริการต่างๆ ของ LINE ได้ เช่น
1.ความร่วมมือด้านธุรกิจ โดย LINE เปิดช่องทางมินิแอป (Mini App) บนแอปพลิเคชัน LINE โดย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพได้ทันทีผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าใช้บริการของ Seekster และ Finnomena ผ่านมินิแอปได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว
2.ความร่วมมือด้านพันธมิตรอย่างเป็นทางการ (Strategic Partnership) โดยตัวอย่างเช่น การเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทำความสะอาดของ Seekster ผ่านแพลตฟอร์ม LINE MAN ในเร็วๆ นี้ หรือ การเข้าถึงช่องทางคอนเทนต์ของ Finnomena และ Claimdi ผ่าน LINE TODAY และ LINE TV
3.ความร่วมมือแบบบูรณาการเชิงลึก (Deep Integration) ให้กับทั้ง 6 ทีม โดยเฉพาะบริษัท Choco CRM, Tellscore และ GOWABI ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาบริการเชิงลึกผ่าน LINE API เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้างผ่านแพลตฟอร์ม LINE เช่น Tellscore สามารถทำการสมัครเป็น Influencer ได้ผ่าน LINE หรือ Choco CRM ที่ช่วยสร้างบัตรสะสมแต้มให้กับบริษัท และร้านค้าบน LINE
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า LINE ScaleUp เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเร่งให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคตโดยการใช้เทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้ของ LINE ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะมีทีมไหนที่จะเข้าสู่จุดนั้น
และ LINE ScaleUp จะไม่ได้มีแค่ปีนี้เพียงปีเดียว
ซึ่ง LINE ได้วางแผนระยะยาว และเอาจริงกับวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
โดยจะเปิดรับสมัคร LINE ScaleUp 2020 รุ่นใหม่ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
หากสตาร์ทอัพไหนมี passion ในการทำธุรกิจ และ เชื่อว่าสักวันจะประสบความสำเร็จกลายเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทย ลองเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้ในปีหน้า ซึ่ง LINE ScaleUp อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ทำให้เราก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย..
ติดต่อข่าวสารโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่ https://scaleup.line.me/