ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ยารักษาโรค? /โดย ลงทุนแมน
ในบรรดาปัจจัย 4 ของมนุษย์ ทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
“ยารักษาโรค” อาจเป็นสินค้าที่เราเลือกเองได้ “น้อย” ที่สุด
ไม่มีใครอยากเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เมื่อป่วยแล้ว ยิ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาราคาสูงมาก
หลายคนก็ยอมจ่าย หวังให้กลับมาหายเป็นปกติ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่อุตสาหกรรมยารักษาโรคจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศผู้ผลิต
หนึ่งในนั้นก็คือสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 8 ล้านคน
แต่กลับส่งออกยารักษาโรคมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเยอรมนี
อะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ก้าวขึ้นมามีบทบาทในอุตสาหกรรมที่เป็นความหวังของมนุษย์?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ยารักษาโรค?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
สวิตเซอร์แลนด์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ถูกรายล้อมไปด้วยเทือกเขาแอลป์
ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางเดียวที่จะเชื่อมกับโลกภายนอกได้ คือแม่น้ำไรน์
แม่น้ำไรน์เป็นแม่น้ำนานาชาติของยุโรปตะวันตก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอลป์
ไหลผ่านสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะไหลขึ้นทางเหนือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ไหลผ่านเมืองใหญ่น้อยทางตะวันตกของเยอรมนี
ก่อนจะออกสู่ทะเลเหนือที่เนเธอร์แลนด์
แม่น้ำแห่งนี้เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป เป็นเส้นทางการค้าตั้งแต่ยุคกลาง
พอถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แม่น้ำไรน์ช่วงที่ผ่านเยอรมนี ก็เป็นแหล่งขนส่งแร่เหล็กและถ่านหิน
เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก และโรงงานอุตสาหกรรมเคมี
องค์ความรู้ด้านเคมีมีต้นกำเนิดมาจากอังกฤษ ก่อนจะถูกต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน จนเมื่อเยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเคมีในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มมาจากการคิดค้นสีย้อมผ้า
แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ไหลทวนกระแสน้ำมาถึงสวิตเซอร์แลนด์
โดยมีเมืองสำคัญที่สุดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไรน์ ก็คือ “บาเซิล”
บาเซิลเป็นเมืองการค้ามาตั้งแต่ยุคโรมัน และเป็นส่วนหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 16
หลังจากนั้นเมืองนี้ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางธนาคารและการค้าสิ่งทอ
ทำเลของบาเซิลตั้งอยู่ในจุดที่พรมแดนของ 3 ประเทศมาบรรจบกัน คือสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี บาเซิลจึงได้รับอิทธิพลจากทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านเคมี และอุตสาหกรรมการผลิตสีย้อม
แต่ข้อดีที่สุด ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเคมีของสวิตเซอร์แลนด์ก็คือ
“การไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร”
เมื่อมีการผลิตงานวิจัยและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ประเทศในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนีและฝรั่งเศส ต่างออกกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการสังเคราะห์สีย้อมผ้า
นักวิทยาศาสตร์หลายคน ถึงแม้จะมีองค์ความรู้ แต่ติดในเรื่องสิทธิบัตร ทำให้ไม่สามารถวิจัยและพัฒนาต่อได้ สวิตเซอร์แลนด์จึงกลายเป็นสวรรค์ของนักวิจัย
โดยจุดหมายปลายทางก็อยู่ที่เมืองบาเซิล..
ด้วยทำเลที่ตั้งมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน เหมาะแก่การขนส่งและเป็นวัตถุดิบของโรงงาน
อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเงิน ธนาคารในบาเซิลมีเงินทุนมหาศาล
เมืองแห่งนี้จึงดึงดูดนักลงทุนมากมายให้มาตั้งโรงงานผลิตสีสังเคราะห์
ปี ค.ศ. 1859 นักวิจัยชาวฝรั่งเศส Alexandre Clavel, Louis Durand และ Etienne Marnas ได้อพยพมาเพื่อตั้งโรงงานผลิตสีสังเคราะห์ในบาเซิล ไม่นานก็สามารถสังเคราะห์สาร Fuchsine ที่ให้สีบานเย็นได้
โดยนักวิจัยทั้ง 3 นี้ได้ตั้งโรงงานชื่อว่า โรงงานเคมีแห่งบาเซิล หรือ Chemische Industrie in Basel ซึ่งถูกย่อว่า “CIBA”
ต่อมานักเคมีของ CIBA คือ Alfred Kern ได้ออกมาตั้งโรงงานของตัวเองร่วมกับนักธุรกิจ Eduard Sandoz ในปี ค.ศ. 1886 เกิดเป็นบริษัท “Sandoz” ในปี ค.ศ. 1886 ซึ่งได้สังเคราะห์สาร Auramine O ที่ให้สีเหลืองทอง
ไม่นาน สวิตเซอร์แลนด์ก็กลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมเคมี ส่งออกสีสังเคราะห์แข่งกับเยอรมนีและฝรั่งเศส จนทำให้นักธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศ พากันเรียกสวิตเซอร์แลนด์ว่า
“ดินแดนแห่งนักปลอมแปลง”
ใครจะไปเชื่อว่า ครั้งหนึ่ง สินค้าที่ถูกส่งออกจากสวิตเซอร์แลนด์ จะถูกมองว่าเป็นของก๊อบปี้..
แรงกดดันของการเป็นนักก๊อบปี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ
จนรัฐบาลเยอรมันขู่ว่าจะยกเลิกสนธิสัญญาการค้าระหว่าง 2 ประเทศ
ทำให้ในที่สุด รัฐบาลสวิสจำเป็นต้องออกกฎหมายสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1907
แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเคมีก็ได้ฝังรากอย่างแข็งแกร่งที่บาเซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่การถูกมองว่าเป็นนักก๊อบปี้
ทำให้เหล่านักธุรกิจและนักวิจัยชาวสวิส จำเป็นต้องหาทางต่อยอดจากการผลิตสีสังเคราะห์
ชาวสวิสขยันขันแข็ง มีหัวการค้า และเป็นระบบระเบียบอยู่เป็นทุนเดิม
การขาดแคลนทรัพยากรทำให้มุ่งเน้นการผลิตสินค้าขนาดเล็กมาเนิ่นนาน
สินค้าที่ขนส่งง่าย มีกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อน มีนวัตกรรมเฉพาะตัว และมีราคาสูงพอที่จะคุ้มทุน
ซึ่งตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือ นาฬิกา
องค์ความรู้ด้านเคมี สามารถนำมาต่อยอดได้หลากหลาย
หนึ่งในผลผลิตที่น่าสนใจ ก็คือ “ยารักษาโรค”
ถึงแม้จะมาทีหลังในอุตสาหกรรมสีสังเคราะห์ แต่สำหรับยารักษาโรค อุตสาหกรรมนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก
ด้วยองค์ความรู้ด้านเคมีที่มีอยู่แล้ว
บวกกับระบบการศึกษาของสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเยอรมัน
ที่เน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรม
จึงเกิดเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการ กับนักธุรกิจในแวดวงอุตสาหกรรม
นักธุรกิจชาวสวิสจึงตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมยา
ปี ค.ศ. 1896 นักธุรกิจ Fritz Hoffmann - La Roche ตัดสินใจก่อตั้งบริษัทเคมีภัณฑ์ F. Hoffmann-La Roche โดยตั้งแผนกเพื่อมุ่งเน้นการวิจัยยารักษาโรคโดยเฉพาะ
ด้วยองค์ความรู้และการวางแผนอย่างเป็นระบบ
ในที่สุด หัวหน้าฝ่ายวิจัย Carl Schaerges ก็ได้ค้นพบ ไอโอดีน ในการรักษาโรคไทรอยด์ได้เป็นผลสำเร็จ กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนายารักษาโรคไทรอยด์ในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ ที่เคยผลิตสีย้อมผ้า ต่างก็หันมาเพิ่มแผนกใหม่ เพื่อวิจัยและพัฒนายารักษาโรคโดยเฉพาะ
ปี ค.ศ. 1900 บริษัท CIBA สามารถสังเคราะห์สาร Salen ซึ่งเป็นสารตั้งต้นทางยาตัวแรก
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกพัฒนาต่อมาเป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เช่นเดียวกับบริษัท Sandoz ได้ตั้งแผนกเภสัชกรรมในปี ค.ศ. 1917 เพื่อพัฒนายารักษาโรค
จนสามารถสังเคราะห์สาร Ergotamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของยารักษาโรคไมเกรน
ไม่นาน เมืองบาเซิลก็กลายมาเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการแพทย์และเภสัชกรรมของโลก
โดยมีสถาบันการศึกษาอย่าง University of Basel และ Friedrich Miescher Institute in Basel เป็นผู้ผลักดันงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
จากสารตั้งต้นหนึ่งตัว ก็ถูกต่อยอดจนกลายเป็นยารักษาโรค
เมื่อมีโครงสร้างของยาหนึ่งตัว ก็มีการพัฒนายาตัวใหม่จากโครงสร้างเดิมต่อกันไปเรื่อยๆ
และจากอุตสาหกรรมยา ก็ถูกต่อยอดจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี
ปัจจุบัน CIBA และ Sandoz ได้ควบรวมกันเป็นบริษัท “Novartis” และก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยาชั้นนำ ควบคู่กับ F. Hoffmann-La Roche
โดยทั้ง 2 บริษัท ต่างก็มียอดขายอยู่ในระดับ Top 5 ของโลก
F. Hoffmann-La Roche เป็นผู้นำในการพัฒนายาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และโรคมะเร็ง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
อุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ACCU-CHEK
ส่วน Novartis เป็นผู้นำในการพัฒนายารักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางระบบประสาท ไปจนถึงยาใช้ภายนอกอย่างยาทาแก้ปวด Voltaren ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยชื่อนี้..
ถึงแม้จะมีจุดเริ่มต้นของการลอกเลียนแบบ สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยี “เฉพาะทาง” จนกลายเป็นประเทศที่เป็นผู้นำในวงการเภสัชกรรม มีสิทธิบัตรยา
และงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
มาถึงตรงนี้ การที่ชาวสวิสร่ำรวยเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ไม่ใช่เพราะสร้างสินค้าที่ทำตามความต้องการของลูกค้าและตลาด
แต่ก้าวนำลูกค้าด้วยนวัตกรรม และคุณภาพของสินค้าที่เหนือใคร
จนสามารถส่งออกและสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ
ซึ่ง “ยารักษาโรค” คือตัวอย่างที่ดีที่สุดของเรื่องนี้
ทั้งหมดนี้ ก็น่าจะสรุปได้ว่า การไม่มีทางออกทะเลอาจไม่ใช่ปัญหาของชาวสวิส
เพราะพวกเขามีอีกทางออกหนึ่งอยู่แล้ว ที่เรียกว่า นวัตกรรม..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bs.ch/en/Portrait/cosmopolitan-basel/history.html
-https://www.aiche.org/sites/default/files/cep/20131231_2.pdf
-https://irp-cdn.multiscreensite.com/bcb8bbe3/files/uploaded/Basel%20Pharma%20Cluster.pdf
-https://www.pharmaceutical-technology.com/features/formula-success-inside-swiss-pharma/
-https://www.novartis.us/about-us/who-we-are/company-history
-https://www.roche.com/about/history.htm
kern pharma 在 捷安特自行車 Facebook 的最佳解答
【杜志濠加盟Equipo Kern Pharma車隊】
新的一年,Sergio加入西班牙Equipo Kern Pharma(柯恩製藥)車隊,大家一起祝福Sergio在新的一年、新的車隊,能有更佳的成長與發展!💪💪💪
柯恩製藥車隊運動總監胡安•奧羅茲(Juanjo Oroz):「作為一個自行車選手,他擁有我們喜歡的所有特質,年輕、期盼成長與渴望成功。」
另外,柯恩製藥車隊在2020也將騎上Giant TCR和Trinity 出戰,所以Sergio騎著Giant 的帥照大家一樣看的到喔❤️❤️❤️
Equipo Kern Pharma
〖SYCLIST〗Sergio/ Tu Chih-Hao/ 杜志濠