Roku จากอดีตพนักงาน Netflix ต่อยอดไปทำธุรกิจใหม่ มูลค่าล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
ทุกวันนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาดูวิดีโอออนไลน์แบบ On Demand กันมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Disney+, Amazon Prime, YouTube หรือผู้ให้บริการรายอื่น
แต่รู้ไหมว่า มีบริษัทชื่อว่า “Roku”
ที่ก็ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ จนกลายเป็นบริษัทมูลค่าล้านล้าน
ด้วยการ “รวบรวม” บริการวิดีโอสตรีมมิงยอดฮิตต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มของตัวเอง
เรื่องราวของ Roku น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Roku เป็นบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ และให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดยคุณ Anthony Wood
ที่ชื่อว่า Roku ก็เพราะว่า คำว่า Roku นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ที่แปลว่า “เลขหก”
เพราะ Roku เป็นบริษัทแห่งที่หก ที่คุณ Wood ก่อตั้งขึ้นมานั่นเอง
โดยก่อนหน้าที่จะมาก่อตั้ง Roku เขาเคยทำธุรกิจเครื่องบันทึกวิดีโอแบบดิจิทัล ชื่อว่า ReplayTV
เนื่องจากมีประสบการณ์พลาดชมซีรีส์โปรดเรื่อง Star Trek อยู่หลายตอน
แต่ทว่าบริษัทไม่สามารถสู้กับผู้เล่นรายใหญ่ ที่ตั้งราคาขายถูกกว่าได้ จึงต้องขายกิจการทิ้งไป
อย่างไรก็ตาม คุณ Wood ยังคงเชื่อว่าในอนาคต เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะทำให้ผู้บริโภคเลือกรับชมรายการที่สนใจ ในเวลาไหนก็ได้
ซึ่งต่อมาเขามีโอกาสพูดคุยกับ คุณ Reed Hastings ผู้ร่วมก่อตั้ง Netflix ที่กำลังวางแผนเปิดให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอยู่พอดี
คุณ Wood จึงได้เข้าไปเป็นผู้บริหารของ Netflix
โดยรับผิดชอบงานพัฒนากล่องอุปกรณ์เชื่อมต่อกับทีวีและอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ดู Netflix
แต่สุดท้าย Netflix ตัดสินใจมุ่งเน้นด้านแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก
ทำให้คุณ Wood นำโปรเจกต์ธุรกิจฮาร์ดแวร์สำหรับดูวิดีโอออนไลน์ ออกมาพัฒนาต่อเป็นบริษัท Roku แทน โดยมี Netflix ร่วมลงทุนด้วย
หลังจากนั้น Roku ก็ได้เริ่มวางขาย กล่องอุปกรณ์ดูวิดีโอสตรีมมิง ในปี 2008
โดยช่วงแรก กล่อง Roku ดูได้เพียงแค่ Netflix
แต่ผ่านมาถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการเพิ่มบริการวิดีโอสตรีมมิงรายอื่น ๆ เข้ามาอีกมากมาย
ซึ่งมีทั้งแบบที่ดูฟรี และต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนตามแต่ละแพลตฟอร์ม
ยกตัวอย่างเช่น Disney+, Amazon Prime, YouTube, HBO Max, Hulu, Apple TV
นอกจากนั้น Roku ยังมีการสร้างบริการวิดีโอสตรีมมิงของตัวเอง ชื่อว่า Roku Channel
โดยซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากค่ายดัง เช่น Lionsgate, MGM, Paramount, Sony Pictures, Warner Bros. Pictures
รวมทั้งเมื่อเดือนเมษายน 2021 ได้ทุ่มเงิน 3,100 ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก Quibi แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ที่เพิ่งปิดตัวลงไป เพื่อนำคอนเทนต์มาพัฒนาต่อยอด
แต่ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามในใจว่า
ในวันข้างหน้า ถ้าหากผู้บริโภคหันมาใช้ “สมาร์ตทีวี” กันมากขึ้น
ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีบริการวิดีโอสตรีมมิงอยู่ในตัวเครื่อง
แล้วอย่างนี้ กล่อง Roku จะยังขายได้หรือ ?
ความเสี่ยงดังกล่าว คงจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่ประเด็นสำคัญ คือ Roku ก็มีการปรับตัวรับมือกับเรื่องนี้
Roku ได้ขยายธุรกิจไปสู่การผลิต Roku TV ซึ่งเป็นสมาร์ตทีวีที่ใช้งานแพลตฟอร์ม Roku ได้ทันที ไม่ต้องซื้อกล่องอุปกรณ์เพิ่ม
รวมทั้งขายลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการที่แพลตฟอร์ม Roku ใช้ ซึ่งเรียกว่า Roku OS
ให้กับผู้ผลิตสมาร์ตทีวีรายอื่น เช่น Hisense, Sharp, Hitachi
ทำให้แพลตฟอร์ม Roku ถูกใช้งานต่อไป แม้คนไม่ได้ซื้อสินค้าของบริษัท
ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบัน Roku OS มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ตทีวีของสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ราว 38%
แล้วผลการดำเนินงานของ Roku เป็นอย่างไร ?
จากกระแสความนิยมในวิดีโอสตรีมมิง ประกอบกับคอนเทนต์ที่หลากหลาย
ส่งผลให้ Roku มีฐานผู้ใช้งานล่าสุดถึง 53 ล้านราย ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนไปที่การเติบโตของรายได้
ปี 2018 รายได้ 23,200 ล้านบาท ขาดทุน 280 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 35,300 ล้านบาท ขาดทุน 1,900 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 55,700 ล้านบาท ขาดทุน 550 ล้านบาท
โดยรายได้ของบริษัท มาจาก 2 ธุรกิจหลัก คือ
- ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์ม 27%
- ธุรกิจแพลตฟอร์ม 73%
สำหรับธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ Roku ตั้งราคาสินค้าเอาไว้ค่อนข้างถูก
โดยกล่อง Roku มีราคาอยู่ที่ 1,000-4,000 บาท ตามระดับคุณภาพ
ขณะที่ผู้เล่นรายอื่น เช่น กล่อง Apple TV มีราคาเริ่มต้น 5,600 บาท
สาเหตุเนื่องจาก บริษัทต้องการขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด
แล้วค่อยไปหาวิธีทำกำไรจากธุรกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit) สูงถึง 67%
โดยรายได้ธุรกิจแพลตฟอร์ม จะมาจาก ค่าโฆษณา, ค่าสมาชิกบัญชีพรีเมียม รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ Roku OS
ซึ่งโมเดลธุรกิจลักษณะนี้ คล้ายกับ Xiaomi บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ที่เน้นขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในราคาถูก เพื่อให้คนเข้าถึงสินค้าของตัวเองได้ง่าย แล้วค่อยไปทำเงินกับบริการออนไลน์ในอุปกรณ์เครื่องนั้นแทน
ทั้งนี้ Roku จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เมื่อปี 2017
ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท
ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 35 เท่า เทียบกับมูลค่าตอน IPO
โดยมีนักลงทุนสถาบันชื่อดังหลายรายเข้ามาถือหุ้น
เช่น Vanguard Group, BlackRock และ ARK Invest
เราคงได้เห็นแล้วว่า
การเป็นแพลตฟอร์ม “ตัวกลาง” รวบรวมคอนเทนต์ มาไว้ในที่เดียว
ก็สามารถเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมโดยรวมได้ เหมือนกับ Roku
แต่อย่างไรก็ตาม Roku ไม่ได้หลงไปกับความสำเร็จในอดีต และปรับตัวอยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็น การมีส่วนร่วมในธุรกิจต้นน้ำ อย่างการผลิตวิดีโอคอนเทนต์
และในธุรกิจปลายน้ำ อย่างการผลิตและขายระบบปฏิบัติการสมาร์ตทีวี
เพราะพวกเขารู้ตัวดีว่า ในวันหนึ่ง เทคโนโลยีอาจเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ
จนทำให้คนตรงกลาง ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://productmint.com/roku-business-model-how-does-roku-make-money/
-https://www.investopedia.com/how-roku-makes-money-5119488
-https://en.wikipedia.org/wiki/Roku,_Inc
-https://www.roku.com/en-gb/products/players
-https://www.roku.com/en-gb/whats-on
-https://ir.roku.com/static-files/8233f1fa-0263-4bb5-adb4-f0545a06a246
-https://finance.yahoo.com/quote/ROKU/financials?p=ROKU
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
lionsgate download 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา ความสำเร็จของ DISNEY ใน 10 ปีที่ผ่านมา / โดย ลงทุนแมน
ภาพยนตร์กำลังล้นโลก และมนุษย์โลกไม่มีเวลาดู
ถ้าให้นับภาพยนตร์ที่มีทั้งหมดในโลกนี้
ในเว็บไซต์ IMDB มีทั้งหมด 500,000 เรื่อง
โดยในเว็บไซต์นี้จะมีภาพยนตร์เพิ่มประมาณ 50,000 เรื่อง ต่อปี
แต่น่าแปลกใจที่
มีภาพยนตร์แค่ไม่กี่เรื่องเท่านั้น ที่เรามีโอกาสได้รับชม หรือประทับใจไปกับมัน
เกิดอะไรขึ้น
ทำไมมีภาพยนตร์มากกว่า 49,900 เรื่อง ที่เราไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อในปีที่ผ่านมา
แล้ว Disney จัดการอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง...
ในปัจจุบันมีสตูดิโอภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ 7 แห่ง หรือเรียกง่ายๆ ว่า BIG7
ประกอบไปด้วย 20th Century Fox, Disney, Lionsgate, Paramount, Sony, Universal และ Warner Bros
BIG7 ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 85% ในตลาดภาพยนตร์ปัจจุบัน
ถ้าปีที่ผ่านมาเราดูภาพยนตร์ 10 เรื่อง ประมาณ 8-9 เรื่องจะมาจากสตูดิโอ 7 แห่งนี้
โดยในแต่ละปี BIG7 จะทำภาพยนตร์รวมกันประมาณ 100-150 เรื่องเท่านั้น
นี่น่าจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เราไม่ค่อยได้ยินชื่อของหนังอีกกว่า 49,900 เรื่องที่เหลือ
ในจำนวนภาพยนตร์กว่า 500,000 เรื่องตั้งแต่อดีตนั้น มี “หนังทำเงิน” อยู่ไม่มาก
หนังที่ทำเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,000 ล้านบาท) มีประมาณ 800 เรื่อง
มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15,000 ล้านบาท) มีประมาณ 200 เรื่อง
และมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,000 ล้านบาท) มีเพียง 43 เรื่องเท่านั้น
และสิ่งที่น่าสนใจคือ หนังพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งหมด 43 เรื่องเป็นของ BIG7
อันดับ 1 Disney 23 เรื่อง
อันดับ 2 Universal 7 เรื่อง
อันดับ 3 Warner Bros 6 เรื่อง
อันดับ 4 Paramount 3 เรื่อง
อันดับ 5 และ 6 คือ Fox และ Sony เท่ากันที่ 2 เรื่อง
โดยในปี 2019 เพียงปีเดียว Disney มีหนังพันล้านทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน
หนึ่งในนั้นคือ Avengers: Endgame ภาพยนตร์ที่ทำเงินมากที่สุดของโลก
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Disney ประสบความสำเร็จมากกว่า BIG7 ที่เหลือ
และที่น่าคิดคือ Disney ผลิตภาพยนตร์ในแต่ละปีน้อยกว่า BIG7 รายอื่นเสียอีก
เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปประมาณ 20 ปีก่อน
ในช่วงปี 2000-2004 บริษัท Disney สร้างภาพยนตร์ปีละมากกว่า 40 เรื่อง
ในขณะที่ BIG7 รายอื่น สร้างภาพยนตร์เฉลี่ยปีละ 30 เรื่อง
แต่ส่วนแบ่งการตลาดของ Disney กลับไม่ได้โดดเด่น อยู่ที่ 13.5% เท่านั้น
ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ Disney ประสบปัญหา
บริษัทสร้างภาพยนตร์เยอะมาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่
จนกระทั่งในปี 2005 บริษัทตัดสินใจแต่งตั้ง CEO คนใหม่ ชื่อ Bob Iger
Bob Iger เปลี่ยนกลยุทธ์การสร้างภาพยนตร์ของ Disney ไปอย่างสิ้นเชิง
โดยลดจำนวนภาพยนตร์ในแต่ละปีลง จากปีละ 40-50 เรื่อง เหลือปีละประมาณ 15 เรื่อง
การลดจำนวนลง ทำให้บริษัทสามารถทุ่มเททรัพยากร ทั้งเงินและทีมงานไปที่หนังแต่ละเรื่องได้มากขึ้น
ไม่เน้นปริมาณ แต่โฟกัสที่คุณภาพ..
นอกจากนี้ Iger ยังดำเนินกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการควบรวมแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
หลังจากเขาเข้ามาเป็น CEO ได้เพียง 1 ปี บริษัทก็ตัดสินใจซื้อ Pixar ในปี 2006
ตามมาด้วย Marvel ในปี 2009
Lucasfilm เจ้าของ Star Wars ในปี 2012
และล่าสุดคือ 20th Century Fox ในปี 2018
กลยุทธ์ของ Iger ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา Disney มีส่วนแบ่งการตลาด 26% และเมื่อรวมกับ Fox แล้ว จะมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 35%
Disney จึงเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจภาพยนตร์สูงที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา..
จากเรื่องนี้ถ้าถามว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ Disney เป็นผู้นำในวงการภาพยนตร์
ทุกคนอาจมีเหตุผลแตกต่างกันไป
แต่ลงทุนแมนคิดว่า เวทมนตร์ที่ทำให้ Disney สำเร็จ เป็นคำสั้นๆ 2 พยางค์
คำนั้นคือคำว่า “โฟกัส”
Disney โฟกัสที่ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมากขึ้น และโฟกัสไปที่แฟรนไชส์ที่ดังระดับโลกจริงๆ ส่งผลให้ Disney สร้างภาพยนตร์ที่ทั้งมีคุณภาพ และมาจากเรื่องราวที่ผู้ชมคุ้นเคย
เรื่องที่น่าสนใจคือ
การแข่งขันในธุรกิจภาพยนตร์กำลังเปลี่ยนไป
ในอดีต โรงภาพยนตร์คือช่องทางหลัก แต่ในปัจจุบันเรากำลังดูหนังผ่านมือถือ หรือแท็บเล็ตกันมากขึ้น
คู่แข่งของ Disney นอกจาก BIG7 แล้ว จึงต้องรวม Netflix เข้าไปด้วย
Disney จึงต้องร่ายเวทมนตร์ครั้งใหม่..
Disney ประกาศสร้าง Streaming ของบริษัทในชื่อ Disney+
โดยตั้งราคาถูกกว่า Netflix ประมาณ 20-25%
บริษัทยังประกาศสร้างซีรีส์จากแฟรนไชส์ชื่อดังทั้ง Pixar, Marvel และ Star Wars
โดยมีงบลงทุนถึง 450-600 ล้านบาทต่อซีรีส์ 1 ตอน
บางคนอาจนึกไม่ออกว่าเงินจำนวนนี้สูงแค่ไหน
เราลองมาเปรียบเทียบกัน
Game of Thrones เป็นซีรีส์ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในโลก โดยในซีซันสุดท้ายใช้งบมากที่สุด อยู่ที่ตอนละ 450 ล้านบาท
ในขณะที่ซีรีส์ดังๆ ของ Netflix อย่าง House of Cards หรือ Stranger Things ใช้งบตอนละ 120-240 ล้านบาท
ถ้าเป็นไปตามที่ประกาศ ซีรีส์ของ Disney+ จะกลายเป็นซีรีส์ที่มีทุนสร้างสูงที่สุดของโลก
สังเกตได้ว่านี่คือกลยุทธ์เดียวกันกับที่ Disney ใช้ในธุรกิจภาพยนตร์
ไม่เน้นปริมาณ แต่โฟกัสที่คุณภาพ
และใช้พลังของแฟรนไชส์ระดับโลกที่ผู้ชมคุ้นเคย
ดังนั้น ถ้าเราคาดหวังว่าจะเห็นซีรีส์ Marvel หรือ Star Wars ที่คุณภาพไม่ค่อยดี แค่ใช้ชื่อมาแปะ เราอาจต้องคิดใหม่ เพราะตอนนี้ Disney กำลังทุ่มทุนสร้างมหาศาล
อย่างไรก็ดี ทุนสร้างไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเรตติ้งเสมอไป
Disney ต้องเปลี่ยนจากผู้ชนะในธุรกิจภาพยนตร์ มาเป็นผู้ท้าชิงในธุรกิจ Streaming ที่บริษัทไม่คุ้นเคย
ซึ่งเรื่องราวมันอาจไม่ง่ายเหมือนเดิม
แต่อย่างน้อยมันก็น่าจะทำให้ Netflix เจ้าตลาด Streaming ปัจจุบันต้องหันมามอง
และเรา คนที่เป็นผู้บริโภค ก็คงต้องหันมามอง Disney ด้วยเช่นกัน..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://www.imdb.com/pressroom/stats/
-https://www.boxofficemojo.com/alltime/world/
-http://mentalfloss.com/…/most-expensive-tv-shows-ever-made-…
-https://www.gamesradar.com/marvel-shows-disney-plus-budgets/
lionsgate download 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา ความสำเร็จของ DISNEY ใน 10 ปีที่ผ่านมา / โดย ลงทุนแมน
ภาพยนตร์กำลังล้นโลก และมนุษย์โลกไม่มีเวลาดู
ถ้าให้นับภาพยนตร์ที่มีทั้งหมดในโลกนี้
ในเว็บไซต์ IMDB มีทั้งหมด 500,000 เรื่อง
โดยในเว็บไซต์นี้จะมีภาพยนตร์เพิ่มประมาณ 50,000 เรื่อง ต่อปี
แต่น่าแปลกใจที่
มีภาพยนตร์แค่ไม่กี่เรื่องเท่านั้น ที่เรามีโอกาสได้รับชม หรือประทับใจไปกับมัน
เกิดอะไรขึ้น
ทำไมมีภาพยนตร์มากกว่า 49,900 เรื่อง ที่เราไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อในปีที่ผ่านมา
แล้ว Disney จัดการอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง...
ในปัจจุบันมีสตูดิโอภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ 7 แห่ง หรือเรียกง่ายๆ ว่า BIG7
ประกอบไปด้วย 20th Century Fox, Disney, Lionsgate, Paramount, Sony, Universal และ Warner Bros
BIG7 ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 85% ในตลาดภาพยนตร์ปัจจุบัน
ถ้าปีที่ผ่านมาเราดูภาพยนตร์ 10 เรื่อง ประมาณ 8-9 เรื่องจะมาจากสตูดิโอ 7 แห่งนี้
โดยในแต่ละปี BIG7 จะทำภาพยนตร์รวมกันประมาณ 100-150 เรื่องเท่านั้น
นี่น่าจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เราไม่ค่อยได้ยินชื่อของหนังอีกกว่า 49,900 เรื่องที่เหลือ
ในจำนวนภาพยนตร์กว่า 500,000 เรื่องตั้งแต่อดีตนั้น มี “หนังทำเงิน” อยู่ไม่มาก
หนังที่ทำเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,000 ล้านบาท) มีประมาณ 800 เรื่อง
มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15,000 ล้านบาท) มีประมาณ 200 เรื่อง
และมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,000 ล้านบาท) มีเพียง 43 เรื่องเท่านั้น
และสิ่งที่น่าสนใจคือ หนังพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งหมด 43 เรื่องเป็นของ BIG7
อันดับ 1 Disney 23 เรื่อง
อันดับ 2 Universal 7 เรื่อง
อันดับ 3 Warner Bros 6 เรื่อง
อันดับ 4 Paramount 3 เรื่อง
อันดับ 5 และ 6 คือ Fox และ Sony เท่ากันที่ 2 เรื่อง
โดยในปี 2019 เพียงปีเดียว Disney มีหนังพันล้านทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน
หนึ่งในนั้นคือ Avengers: Endgame ภาพยนตร์ที่ทำเงินมากที่สุดของโลก
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Disney ประสบความสำเร็จมากกว่า BIG7 ที่เหลือ
และที่น่าคิดคือ Disney ผลิตภาพยนตร์ในแต่ละปีน้อยกว่า BIG7 รายอื่นเสียอีก
เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปประมาณ 20 ปีก่อน
ในช่วงปี 2000-2004 บริษัท Disney สร้างภาพยนตร์ปีละมากกว่า 40 เรื่อง
ในขณะที่ BIG7 รายอื่น สร้างภาพยนตร์เฉลี่ยปีละ 30 เรื่อง
แต่ส่วนแบ่งการตลาดของ Disney กลับไม่ได้โดดเด่น อยู่ที่ 13.5% เท่านั้น
ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ Disney ประสบปัญหา
บริษัทสร้างภาพยนตร์เยอะมาก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่
จนกระทั่งในปี 2005 บริษัทตัดสินใจแต่งตั้ง CEO คนใหม่ ชื่อ Bob Iger
Bob Iger เปลี่ยนกลยุทธ์การสร้างภาพยนตร์ของ Disney ไปอย่างสิ้นเชิง
โดยลดจำนวนภาพยนตร์ในแต่ละปีลง จากปีละ 40-50 เรื่อง เหลือปีละประมาณ 15 เรื่อง
การลดจำนวนลง ทำให้บริษัทสามารถทุ่มเททรัพยากร ทั้งเงินและทีมงานไปที่หนังแต่ละเรื่องได้มากขึ้น
ไม่เน้นปริมาณ แต่โฟกัสที่คุณภาพ..
นอกจากนี้ Iger ยังดำเนินกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการควบรวมแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
หลังจากเขาเข้ามาเป็น CEO ได้เพียง 1 ปี บริษัทก็ตัดสินใจซื้อ Pixar ในปี 2006
ตามมาด้วย Marvel ในปี 2009
Lucasfilm เจ้าของ Star Wars ในปี 2012
และล่าสุดคือ 20th Century Fox ในปี 2018
กลยุทธ์ของ Iger ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา Disney มีส่วนแบ่งการตลาด 26% และเมื่อรวมกับ Fox แล้ว จะมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 35%
Disney จึงเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจภาพยนตร์สูงที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา..
จากเรื่องนี้ถ้าถามว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ Disney เป็นผู้นำในวงการภาพยนตร์
ทุกคนอาจมีเหตุผลแตกต่างกันไป
แต่ลงทุนแมนคิดว่า เวทมนตร์ที่ทำให้ Disney สำเร็จ เป็นคำสั้นๆ 2 พยางค์
คำนั้นคือคำว่า “โฟกัส”
Disney โฟกัสที่ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมากขึ้น และโฟกัสไปที่แฟรนไชส์ที่ดังระดับโลกจริงๆ ส่งผลให้ Disney สร้างภาพยนตร์ที่ทั้งมีคุณภาพ และมาจากเรื่องราวที่ผู้ชมคุ้นเคย
เรื่องที่น่าสนใจคือ
การแข่งขันในธุรกิจภาพยนตร์กำลังเปลี่ยนไป
ในอดีต โรงภาพยนตร์คือช่องทางหลัก แต่ในปัจจุบันเรากำลังดูหนังผ่านมือถือ หรือแท็บเล็ตกันมากขึ้น
คู่แข่งของ Disney นอกจาก BIG7 แล้ว จึงต้องรวม Netflix เข้าไปด้วย
Disney จึงต้องร่ายเวทมนตร์ครั้งใหม่..
Disney ประกาศสร้าง Streaming ของบริษัทในชื่อ Disney+
โดยตั้งราคาถูกกว่า Netflix ประมาณ 20-25%
บริษัทยังประกาศสร้างซีรีส์จากแฟรนไชส์ชื่อดังทั้ง Pixar, Marvel และ Star Wars
โดยมีงบลงทุนถึง 450-600 ล้านบาทต่อซีรีส์ 1 ตอน
บางคนอาจนึกไม่ออกว่าเงินจำนวนนี้สูงแค่ไหน
เราลองมาเปรียบเทียบกัน
Game of Thrones เป็นซีรีส์ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในโลก โดยในซีซันสุดท้ายใช้งบมากที่สุด อยู่ที่ตอนละ 450 ล้านบาท
ในขณะที่ซีรีส์ดังๆ ของ Netflix อย่าง House of Cards หรือ Stranger Things ใช้งบตอนละ 120-240 ล้านบาท
ถ้าเป็นไปตามที่ประกาศ ซีรีส์ของ Disney+ จะกลายเป็นซีรีส์ที่มีทุนสร้างสูงที่สุดของโลก
สังเกตได้ว่านี่คือกลยุทธ์เดียวกันกับที่ Disney ใช้ในธุรกิจภาพยนตร์
ไม่เน้นปริมาณ แต่โฟกัสที่คุณภาพ
และใช้พลังของแฟรนไชส์ระดับโลกที่ผู้ชมคุ้นเคย
ดังนั้น ถ้าเราคาดหวังว่าจะเห็นซีรีส์ Marvel หรือ Star Wars ที่คุณภาพไม่ค่อยดี แค่ใช้ชื่อมาแปะ เราอาจต้องคิดใหม่ เพราะตอนนี้ Disney กำลังทุ่มทุนสร้างมหาศาล
อย่างไรก็ดี ทุนสร้างไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเรตติ้งเสมอไป
Disney ต้องเปลี่ยนจากผู้ชนะในธุรกิจภาพยนตร์ มาเป็นผู้ท้าชิงในธุรกิจ Streaming ที่บริษัทไม่คุ้นเคย
ซึ่งเรื่องราวมันอาจไม่ง่ายเหมือนเดิม
แต่อย่างน้อยมันก็น่าจะทำให้ Netflix เจ้าตลาด Streaming ปัจจุบันต้องหันมามอง
และเรา คนที่เป็นผู้บริโภค ก็คงต้องหันมามอง Disney ด้วยเช่นกัน..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://www.imdb.com/pressroom/stats/
-https://www.boxofficemojo.com/alltime/world/
-http://mentalfloss.com/article/559417/most-expensive-tv-shows-ever-made-game-of-thrones-the-crown
-https://www.gamesradar.com/marvel-shows-disney-plus-budgets/