เส้นทางของ Nintendo กว่าจะเป็นเจ้าแห่งคอนโซลเกม /โดย ลงทุนแมน
เครื่องเล่นเกมยอดนิยมอย่างเช่น Nintendo Switch, Wii, Game Boy และ Famicom
หรือเกมสุดฮิตอย่างเช่น Animal Crossing, Super Mario Bros. และ Pokémon
คือตัวอย่างความสำเร็จของบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง “Nintendo”
แต่กว่าจะกลายมาเป็นผู้ผลิตเกมที่ครองใจเหล่าเกมเมอร์ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน
Nintendo มีจุดเริ่มต้นมาจากอะไรและต้องผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไป 132 ปี หรือในปี 1889 ที่ประเทศญี่ปุ่น “ไพ่ฮานาฟูดะ” หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่าไพ่ดอกไม้ กำลังได้รับความนิยมสูงมาก
ศิลปินชายวัย 26 ปีที่ชื่อ “ฟูซาจิโร ยามาอุจิ” เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจากไพ่ฮานาฟูดะ
เขาจึงเปิดร้านขายไพ่ที่วาดลวดลายด้วยมือ โดยใช้ชื่อว่า “Nintendo Koppai” ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเกียวโต
ไพ่ของ Nintendo Koppai ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จน Nintendo Koppai สามารถขยายกิจการและกลายมาเป็นผู้ผลิตไพ่ฮานาฟูดะที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
จนมาถึงผู้นำรุ่นที่ 3 อย่าง “ฮิโรชิ ยามาอุจิ” ที่มีศักดิ์เป็นเหลนของฟูซาจิโร
ปี 1949 คุณตาของฮิโรชิ ซึ่งเป็นผู้นำรุ่นที่ 2 อยู่ในขณะนั้นเกิดป่วยและเสียชีวิตลง
โดยเขาได้สั่งเสียฮิโรชิ ว่าให้เลิกเรียนมหาวิทยาลัยและมารับช่วงต่อกิจการครอบครัวทันที
เนื่องจากคุณพ่อของฮิโรชิได้ไปมีครอบครัวใหม่ตั้งแต่ ฮิโรชิ อายุ 5 ขวบ
ซึ่งธุรกิจของตระกูลจะอยู่ที่ฝั่งแม่ของฮิโรชิ
ดังนั้น ฮิโรชิในวัย 21 ปี จึงกลายมาเป็นผู้นำคนใหม่ของ Nintendo Koppai นับตั้งแต่นั้น
แต่ด้วยความที่ฮิโรชิอายุยังน้อยและไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน พนักงานในบริษัทจึงยังกังขาในความสามารถ ซึ่งก็คงไม่มีใครคิดว่าฮิโรชิคนนี้เองจะกลายเป็นผู้ที่นำพา Nintendo ให้กลายมาเป็นเจ้าพ่อวิดีโอเกมของโลกในปัจจุบัน
แต่กว่าจะถึงจุดนั้น เรื่องราวก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
หลังจากวางแผนอยู่ 4 ปี ฮิโรชิก็เริ่มลงมือปฏิรูปบริษัท จากการปรับปรุงสินค้าหลักอย่างไพ่ฮานาฟูดะ ที่แต่เดิมทำจากกระดาษ ให้เปลี่ยนมาเคลือบด้วยพลาสติก ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์จาก Disney เพื่อนำตัวการ์ตูนมาเป็นลวดลายหลังไพ่เพราะต้องการเจาะตลาดครอบครัวและกลุ่มวัยรุ่น
รวมถึงการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ไปที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และร้านขายของเล่น
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ Nintendo Koppai ยังมีอุปสรรคสำคัญ นั่นคือคู่แข่งอย่างแบรนด์สินค้าในหมวดเดียวกัน ที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ฮิโรชิจึงมองว่าการเติบโตในตลาดไพ่ฮานาฟูดะคงมาถึงทางตันแล้ว และเพื่อให้เหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจในประเภทอื่นด้วย จึงนำคำว่า Koppai ออกจากชื่อบริษัท เหลือเพียงคำว่า “Nintendo” และได้นำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนสำหรับการต่อยอดธุรกิจครั้งใหม่นี้
Nintendo ได้ลองทำธุรกิจหลากหลายประเภท ตั้งแต่ขายข้าวสวยกึ่งสำเร็จรูป ให้บริการรถแท็กซี่ไปจนถึงเลิฟโฮเต็ลที่คล้ายกับโรงแรมม่านรูด
แต่จากการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ สร้างรายได้ให้ Nintendo เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งที่ตามมาจึงกลายเป็นหนี้จำนวนมหาศาลแทน
ฮิโรชิตัดสินใจเลิกทำกิจการที่ผลาญเงินทุนทั้งหมด แล้วกลับมาทบทวนแนวทางธุรกิจใหม่อีกครั้ง
เขาเริ่มสังเกตว่าขณะที่บริษัทหันไปโฟกัสการขยายธุรกิจประเภทอื่น สินค้าดั้งเดิมอย่างไพ่ฮานาฟูดะ ที่แม้จะไม่ได้มียอดขายเติบโต แต่ยังคงขายได้สม่ำเสมอ และสิ่งที่ Nintendo มีอยู่แล้วในมือ ก็คือช่องทางขายในห้างสรรพสินค้าและร้านขายของเล่น ฮิโรชิจึงหันกลับมาโฟกัสที่สิ่งเหล่านี้
ปี 1965 “กุนเป โยโคอิ” ที่เพิ่งเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้ามา ได้เริ่มทำงานที่ Nintendo โดยเป็นช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่โรงงานผลิตไพ่ฮานาฟูดะ
หลังเริ่มงานไปได้ไม่ถึงปี มีอยู่วันหนึ่งที่กุนเปลองตัดแผ่นไม้เล่น ให้ออกมาเป็นรูปฟันปลา 2 แท่ง ความยาวประมาณ 1 ช่วงศอก แล้วนำไม้ทรงฟันปลา 2 แท่งนี้มาประกบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ยืดหดได้ โดยปลายข้างหนึ่งออกแบบให้ใช้มือจับได้ถนัด ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งออกแบบให้หนีบของได้
ระหว่างที่กุนเป กำลังสนุกกับการใช้เครื่องมือที่เขาคิดค้นมาลองเล่นหยิบของจากระยะไกล ฮิโรชิได้เดินผ่านมาเห็นเข้าพอดี แต่แทนที่จะโดนตำหนิ ฮิโรชิกลับพูดกับกุนเปว่าสนใจนำสิ่งประดิษฐ์นั้นมาเป็นสินค้าชนิดใหม่ของบริษัท
กุนเปจึงดัดแปลงสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้ทำด้วยพลาสติกแทน และเสนอไอเดียว่าควรขายเป็นเซตที่มีลูกบอลพลาสติกหลากสีสันไปด้วย เพื่อให้ใช้คีบเล่นได้ โดยตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ว่า “Ultra Hand”
Ultra Hand ได้กลายเป็นของเล่นชนิดแรกที่ Nintendo วางขาย และประสบความสำเร็จแบบถล่มทลาย โดยขายไปได้มากกว่า 1 ล้านชิ้น จนกลายเป็นสินค้าที่ช่วยชุบชีวิตให้กับ Nintendo
หลังจากนั้นกุนเปก็ได้คิดค้นของเล่นชนิดใหม่ที่สร้างความสำเร็จให้กับ Nintendo อีกมากมาย โดยเฉพาะปืนยิงเลเซอร์ จนเขาได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท
และแล้ว จุดเริ่มต้นที่ทำให้ Nintendo เข้าสู่การผลิตเครื่องเล่นวิดีโอเกม เกิดขึ้นในปี 1975
ฮิโรชิได้เจอกับเพื่อนวัยเด็กที่ตอนนี้เป็นผู้บริหารบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งได้เล่าเกี่ยวกับการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์และไมโครโพรเซสเซอร์ให้ฟังว่าต้นทุนการผลิตถูกลงจนสามารถนำมาใช้ในสินค้าเพื่อความบันเทิงรวมถึงเครื่องเล่นเกมได้แล้ว
ฮิโรชิได้ฟังแล้วก็ตื่นเต้น และพยายามคิดว่าจะนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้มาใช้พัฒนาสินค้าได้อย่างไรบ้าง และเขาก็พบว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เครื่องเล่นวิดีโอเกมคอนโซลที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์กำลังได้รับความนิยมสูงมาก
ฮิโรชิคิดว่าสิ่งนี้แหละ ที่น่าจะเป็นสินค้าที่ขายดีชนิดต่อไปของ Nintendo
เขาจึงได้ตัดสินใจร่วมมือกับ Mitsubishi เพื่อคิดค้นและพัฒนาสินค้าอยู่ 2 ปี
จนในปี 1977 Nintendo ได้เริ่มวางขายวิดีโอเกมคอนโซลเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า “Color TV-Game”
แม้ว่า Color TV-Game จะขายได้ราว 3 หมื่นเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นไปตามความคาดหมาย แต่ฮิโรชิมองว่าคนน่าจะตื่นเต้นได้ไม่นานแล้วเริ่มเบื่อ เขาจึงแนะนำให้ทีมงานร่วมกันสร้างสรรค์เครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ขึ้นมา
และกุนเปคนเดิม ก็ได้นำเสนอไอเดียที่ได้มาจากตอนที่เขากำลังนั่งรถไฟ
กุนเปเห็นชายคนหนึ่งกดเครื่องคิดเลขเล่นแก้เบื่อ เลยเกิดเป็นไอเดียเครื่องเล่นเกมที่มีขนาดเล็ก พกพาได้ หลังจากกุนเปเล่าไอเดียให้ฮิโรชิฟัง ฮิโรชิก็ได้เสนอไอเดียเกมนี้ให้ทีมบริหารของบริษัท Sharp
3 ปีผ่านไป ในปี 1980 Nintendo ก็ได้เริ่มขายเครื่องเล่นเกมพกพาขนาดฝ่ามือ ที่ชื่อว่า “Game & Watch” ซึ่งตั้งเป้ายอดขายไว้ 1 แสนเครื่อง แต่กลับขายได้มากกว่านั้น 6 เท่าภายในปีแรก จนสามารถต่อยอดพัฒนารุ่นใหม่ออกมาได้เรื่อย ๆ
ในปีเดียวกัน เกม Arcade หรือพวกเกมตู้หยอดเหรียญ กำลังได้รับความนิยมสูงมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ฮิโรชิก็ไม่พลาดและได้ตั้งเป้าที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในตลาดนี้ด้วย
ฮิโรชิจึงตั้งบริษัทที่สหรัฐอเมริกาโดยใช้ชื่อว่า Nintendo of America และได้ชักชวน “มิโนรุ อาราคาวะ” ลูกเขยของเขามาเป็นประธาน ซึ่งมิโนรุทำงานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาอยู่แล้ว และมีประสบการณ์ด้านการบริหารงานจากบริษัทอื่นมาแล้ว
Nintendo จึงได้เริ่มให้บริการตู้เล่นเกมเป็นครั้งแรก แต่ภายหลังทางบริษัทก็พบว่าเกมเหล่านี้มักได้รับความนิยมสูงแค่ช่วงที่เพิ่งเปิดตัวเท่านั้น ทำให้ต้องคอยพัฒนาเกมใหม่อย่างรวดเร็ว
นั่นจึงทำให้การเปิดตัวตู้เกมครั้งที่ 2 อย่าง Radar Scope ต้องล้มเหลว เพราะแม้จะพิสูจน์ความนิยมในญี่ปุ่นมาแล้ว แต่กว่าจะเข้าไปเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาได้ ก็สายไป จนเกมหมดความนิยมไปแล้ว มิโนรุเลยบอกฮิโรชิว่าถ้าจะกู้สถานการณ์ได้ ต้องพัฒนาเกมที่ใหม่กว่านี้ออกมาให้ได้เร็วที่สุด
ฮิโรชิมอบหมายให้ “ชิเงรุ มิยาโมโตะ” ที่เป็นนักออกแบบของบริษัท ลองออกแบบเกมดู
หนึ่งปีหลังจากนั้น Nintendo ได้เปิดตัวเกมที่ชื่อว่า “Donkey Kong” ซึ่งมีตัวเอกที่ชื่อว่า “Mario”
และนี่คือจุดกำเนิดของเกม Super Mario ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายทันทีที่เปิดตัวและยังกลายเป็นเกมที่สร้างตำนานให้กับ Nintendo มาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ฮิโรชิยังคงเห็นจุดอ่อนของการผลิตเกมคอนโซล นั่นก็คือทุกครั้งที่จะสร้างเกมใหม่ บริษัทก็ต้องผลิตเครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ตามไปด้วย
ทีมวิศวกรและนักออกแบบของ Nintendo จึงได้ช่วยกันระดมความคิดว่าแทนที่จะพัฒนาหนึ่งเกมต่อหนึ่งเครื่องกลายมาเป็นเกมคอนโซลเครื่องเดียวที่สามารถเปลี่ยนแผ่นเกม เล่นได้หลากหลาย
ซึ่งนั่นก็จะทำให้บริษัทสามารถหันไปพัฒนาเกมและออกเกมได้ไว ซึ่งเป็นวิธีที่มีอัตรากำไรสูงกว่าและขายง่ายกว่าด้วย
แม้ว่าไอเดียจะน่าสนใจ แต่การผลิตเกมคอนโซลแบบนี้ยังถือเป็นเรื่องที่ยาก ทำให้ Nintendo ต้องหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อออกแบบและผลิตชิปให้โดยเฉพาะ
ซึ่ง Nintendo โดนบริษัทผลิตชิปชั้นนำปฏิเสธมานับครั้งไม่ถ้วน จนในที่สุดก็มาพบกับบริษัทที่ยอมร่วมงานด้วยอย่าง Ricoh
และนี่จึงทำให้ในปี 1983 Nintendo ได้เปิดตัวเกมคอนโซลเปลี่ยนตลับเกมได้ โดยใช้ชื่อว่า “Famicom” ซึ่งขายดีแบบถล่มทลายจนผลิตไม่ทัน และทำรายได้ให้ Nintendo ได้มากที่สุดตั้งแต่บริษัทเริ่มก่อตั้งมา
แต่นั่นเป็นช่วงที่ตลาดเกมในสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในวิกฤติที่คล้ายกับฟองสบู่แตก
เพราะหลังจากตลาดเกมบูมอย่างรวดเร็ว ก็มาถึงช่วงที่ไม่มีเกมที่ได้รับความฮือฮาติดต่อกัน จนยอดขายเกมทั้งอุตสาหกรรมตกฮวบลงอย่างรวดเร็ว การเปิดตัว Famicom จึงต้องรอไปก่อน
ประธาน Nintendo of America อย่างมิโนรุ ได้ใช้เวลาช่วงนั้นต่อยอดเครื่อง Famicom มาเป็น Nintendo Entertainment System หรือที่รู้จักกันว่า “NES” และเปิดตัวที่สหรัฐอเมริกาในปี 1985
แต่กระแสตอบรับกลับแย่กว่าที่คาดและดูเหมือนว่าชาวอเมริกันยังเบื่อหน่ายกับผลิตภัณฑ์เกมอยู่
จนมิโนรุถามฮิโรชิว่าควรเลิกขายเลยหรือไม่ แต่ฮิโรชิบอกว่าให้พยายามต่อไป
มิโนรุจึงทำทุกวิถีทาง อย่างเช่น ยินดีให้ร้านค้าส่งคืนเครื่องเล่นเกมที่ขายไม่ออกหรือติดต่อให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์ใน Wall Street เพื่อให้ศักยภาพของบริษัทถูกพูดถึงมากขึ้น อย่างการที่ Nintendo ครองส่วนแบ่งตลาดเกมในญี่ปุ่นกว่า 90% และการที่บริษัทมีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ไม่มีหนี้สิน
และความพยายามทั้งหมดนี้ก็ส่งผลให้ NES กลับกลายมาเป็นเครื่องเล่นเกมขายดีในสหรัฐอเมริกาได้ในที่สุด โดยขายไปได้กว่า 7 ล้านเครื่องและตลับเกมอีกกว่า 33 ล้านชิ้น
แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ Nintendo ดีใจได้ไม่นาน เพราะในปี 1988 กลับเกิดวิกฤติชิปขาดแคลนไปทั่วโลก ซึ่งกระทบการผลิตเครื่อง NES อย่างจัง
กุนเปคนเดิม ก็ยังคงเป็นผู้กอบกู้สถานการณ์ โดยเขาได้คิดค้นเครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ ที่รวมฟังก์ชันพกพาสะดวกของ Game & Watch เข้ากับการเปลี่ยนแผ่นเกมได้หลากหลายของ NES จนเกิดเป็น “Game Boy” ที่เริ่มวางขายในปี 1989 และสินค้าก็ขายหมดเกลี้ยงภายใน 2 สัปดาห์
และภายใน 3 ปี ยอดขายของ Nintendo ก็พุ่งขึ้นกว่า 2.3 เท่า มาอยู่ที่ราว 1.7 แสนล้านบาทเมื่อคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนแบ่งของกำไรมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากแผ่นเกม
Nintendo กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าบริษัทในปัจจุบันกว่า 2.5 ล้านล้านบาท และได้ทำให้ฮิโรชิกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยสุดในประเทศญี่ปุ่นในปี 2008 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินในขณะนั้นกว่า 2.5 แสนล้านบาท
จนกระทั่งในปัจจุบัน Nintendo ก็ยังคงสร้างความฮือฮาให้วงการเกมทั่วโลกได้ ด้วยเกมคอนโซลล่าสุดอย่าง Nintendo Switch พร้อมกับเกมที่นำมาปัดฝุ่นใหม่อย่าง Animal Crossing รวมถึงเกมอมตะที่ไม่ว่าจะนำมาทำใหม่กี่เวอร์ชันก็ฮิตแทบทุกครั้งอย่าง Mario
โดยหลังจากเปิดตัวในปี 2017 Nintendo Switch ขายไปแล้วกว่า 84 ล้านเครื่อง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Nintendo มีกำไรเติบโตกว่า 80% ในปี 2020 ที่ผ่านมา
มาถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่า กว่า Nintendo จะกลายมาเป็นเจ้าแห่งเกมคอนโซลในยุคนี้ บริษัทแห่งนี้ก็ต้องผ่านวิกฤติ รวมถึงตัดสินใจเปลี่ยนธุรกิจใหม่ไปหลายครั้งก่อนที่จะมาพบกับธุรกิจเกมตลอดระยะเวลา 132 ปีที่ผ่านมา
นอกจากความน่าทึ่งของฮิโรชิ ยามาอุจิ ที่ต้องเข้ามารับบทบาทผู้นำบริษัท Nintendo ตั้งแต่มีอายุได้เพียง 21 ปีแล้ว
คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอีกส่วนสำคัญที่นำพา Nintendo มาถึงจุดนี้ได้ ก็ต้องให้เครดิตกับ ชิเงรุ มิยาโมโตะ ผู้ให้กำเนิด “Mario” ที่เป็นจุดเริ่มต้นแครักเตอร์อมตะที่เป็นตำนานไปแล้ว แม้แต่โอลิมปิก 2020 ที่จัดขึ้นประเทศญี่ปุ่นก็ได้นำ Mario มาเป็นพรีเซนเตอร์ของงานนี้ ซึ่งเชื่อได้ว่า เมื่อเรานึกถึง Nintendo ครั้งใด หน้า Mario ก็จะลอยมาคู่กันเสมอ
และคนสุดท้ายก็คือ นักศึกษาจบใหม่ที่ชื่อว่า กุนเป ที่แม้จะเริ่มต้นจากการเป็นช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่โรงงาน แต่ไอเดียของเขาก็ได้ทำให้ Nintendo วิวัฒนาการจากบริษัทขายไพ่ กลายมาเป็นบริษัทผลิตเครื่องเล่นรวมถึงก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าแห่งเกมคอนโซล จนถึงปัจจุบัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.businessinsider.com/history-of-nintendo-130-years-video-games-super-mario-zelda-2019-9
-https://www.businessinsider.com/nintendo-game-boy-super-mario-history-evolution-2019-3
-https://www.wired.com/2010/09/0923nintendo-founded/
-https://www.vice.com/en/article/pkdbx7/how-gunpei-yokoi-reinvented-nintendo
-https://www.nytimes.com/2013/09/20/business/global/hiroshi-yamauchi-who-helped-drive-nintendo-into-dominance-dies-at-85.html
-https://www.bbc.co.uk/newsround/48606526
-https://www.nintendo.co.uk/Corporate/Nintendo-History/Nintendo-History-625945.html
-https://www.companieshistory.com/nintendo/
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Nintendo
-https://www.gamesindustry.biz/articles/2021-05-06-nintendo-reports-record-full-year-profits-as-switch-nears-85m-units-sold
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅8チャンネル,也在其Youtube影片中提到,◆チャンネル登録お願いします!http://urx.blue/Q3Pk 燃料添加剤ディーゼルウェポンはホントに効果あるのか、添加有り/無しのエンジン内部の状態をOBD2スキャナ&トルクプロアプリで比較してみました。なるべく同じ状態で比較できるよう、CX-8で高速道路走行中にDPF再生が始まった場面...
mitsubishi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman
เครื่องเล่นแผ่นซีดีและดีวีดี
เครื่องเล่นเกมอย่าง Game Boy และ PlayStation
เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์อย่าง Casio
แต่ปัจจุบัน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก
อย่างเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติมคำว่าสมาร์ตเข้าไป
กลับถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน เป็นส่วนใหญ่
แล้วทำไมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นผู้นำเท่าเมื่อก่อน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงทศวรรษ 1970s ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาเป็นผู้นำด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่โดดเด่นของโลก
โดยเริ่มมาจากการรับเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกในช่วงสงคราม และพัฒนาต่อยอด
จนกลายมาเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีได้เอง อย่างเช่นตัวอย่างเหล่านี้
Sony ขายเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman เป็นเจ้าแรกของโลก
Toshiba และ Epson ขายแล็ปท็อปในตลาด Mass เป็นเจ้าแรกของโลก
Kyocera ขายโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เป็นเจ้าแรกของโลก
หรือถ้าลองสังเกตจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา ก็มีเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นอยู่มากมาย
ยิ่งถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ไอเทมนำสมัยที่ได้รับความนิยมสูงส่วนใหญ่ ก็เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นทั้งนั้น
แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ถ้าแบ่งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสองกลุ่มใหญ่
จะแบ่งได้เป็น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอย่างเซมิคอนดักเตอร์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น
สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เจ้าตลาดคือ Samsung และ Apple
แล็ปท็อป เจ้าตลาดคือ Lenovo และ HP
เครื่องซักผ้า เจ้าตลาดคือ Haier และ Whirlpool
ตู้เย็น เจ้าตลาดคือ Haier และ LG
โทรทัศน์ เจ้าตลาดคือ Samsung และ LG
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ก็มีส่วนแบ่งตลาดหลัก ๆ มาจาก
TSMC ของไต้หวัน และ Samsung ของเกาหลีใต้
จะสังเกตได้ว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เริ่มไม่เห็นชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
จากมุมมองของอดีตผู้บริหารและพนักงานระดับสูงของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น
รวมไปถึงมุมมองจากนักวิเคราะห์ สามารถรวบรวมเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก สินค้าคุณภาพสูง จนเกินความต้องการของผู้ซื้อ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ
สะท้อนได้จากปรัชญาในการผลิตที่เรียกว่า “Monozukuri” หรือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ทักษะและเทคโนโลยี
แต่คุณภาพของสินค้า ก็ต้องตามมาด้วยราคาขายที่สูงขึ้นตาม
ซึ่งคุณภาพบางอย่าง ก็สูงเกินความต้องการของผู้ใช้งานจริง
โดยที่หลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องจ่ายแพง เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการใช้งานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
Sony เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ขายโทรทัศน์จอ LCD
ก่อนที่หนึ่งปีให้หลัง Samsung จะวางขายและใช้ชื่อว่าจอ LED แทน
ขณะที่ Sony ใช้กลยุทธ์สินค้าคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีหน้าจอสุดล้ำ
หน้าจอบางที่สุด ส่งผลให้ราคาขายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
Samsung กลับเน้นการตั้งราคาแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ มากกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
จึงคุมต้นทุนการผลิต โดยเลือกเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นแทน และเน้นที่ดีไซน์
ซึ่งกลยุทธ์แบบ Samsung ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้มากที่สุด
หรือในการแข่งขันของสมาร์ตโฟน ที่มี iPhone ของ Apple เป็นผู้บุกเบิก
Sony และ Samsung ต่างเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิม
Sony Xperia มีฟังก์ชันการใช้งานครบครัน ในขณะที่ Samsung Galaxy มีหลายรุ่นให้เลือก โดยยอมลดทอนฟังก์ชันการใช้งานลงมา เพื่อให้ตั้งราคาขายแบบเข้าถึงง่าย จึงยืนระยะได้นานและยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัจจัยที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องการตลาดน้อยเกินไป
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น เน้นการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี เช่น การคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่ที่บางสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่ยังขาดปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับลูกค้า นั่นคือดีไซน์ ความง่ายในการใช้งาน และวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2004 Sony ขายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กที่ชื่อว่า Librie เป็นเจ้าแรกของโลก
ก่อนหน้าที่ Amazon จะขาย Kindle นานถึง 3 ปี
แต่เหตุผลที่ Kindle กลายมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก
นอกเหนือจากการที่ใช้งานง่ายกว่าแล้ว
Amazon โฟกัสที่การขายอีบุ๊กมากกว่าตัวอุปกรณ์อ่าน
ในขณะที่ Sony โฟกัสที่การขายตัวอุปกรณ์อย่างเดียว
Kindle จึงเชื่อมโยงถึงผู้ซื้อได้มากกว่า
ในด้านของเหตุผลที่ว่าซื้ออุปกรณ์นี้ไปเพื่ออะไร
และกลายมาเป็นเจ้าตลาดในที่สุด
ปัจจัยที่สาม โดดเด่นในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ถนัดพัฒนาซอฟต์แวร์
สินค้าที่แบรนด์จากญี่ปุ่นคิดค้นแล้วประสบความสำเร็จ มักเป็นการพัฒนาที่ตัวอุปกรณ์และเครื่องกล
อย่างเช่นเครื่องเล่น Walkman, เครื่องเล่นซีดี และเครื่องเล่นเกม ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่เริ่มวางขาย แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบนิเวศที่ดึงให้ผู้ใช้งานยังคงใช้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไปเรื่อย ๆ
ในขณะที่การคิดค้นระบบปฏิบัติการของ Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นมากกว่าฮาร์ดแวร์
iOS และ macOS ได้เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังไม่ถนัดในเรื่องนี้ จึงไล่ตามประเทศที่เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์อย่างสหรัฐอเมริกาไม่ทัน
ปัจจัยสุดท้าย มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยตัวเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำในญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990s รู้หรือไม่ว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง NEC ครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์
มากที่สุดในโลก และยังมี Toshiba กับ Hitachi ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา
แต่ในทศวรรษ 2000s ผู้นำในตลาดเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็น Intel จากสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้เริ่มไล่ตามมาติด ๆ
ปี 2002 Hitachi จึงจับมือกับ Mitsubishi ร่วมกันตั้งบริษัทผลิตชิปที่ชื่อว่า Renesas
เพื่อช่วยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ไปด้วยกัน และปกป้องตำแหน่งผู้นำในตลาด
ก่อนที่ NEC จะเข้ามาควบรวมในอีก 7 ปีถัดมา
แต่การร่วมมือกันคิดค้นเทคโนโลยีผลิตชิปด้วยตัวเอง มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ช้า
ขณะที่ช่วงนั้น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ใช้กลยุทธ์แบบที่ญี่ปุ่นเคยทำในอดีต
นั่นคือเรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศอื่น
แล้วนำมาต่อยอด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความเร็ว
นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน TSMC จากไต้หวัน และ Samsung จากเกาหลีใต้
กลายเป็นผู้นำในการผลิตชิปได้ในที่สุด
และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น
เริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยิ่งในช่วงหลังปี 2010 ที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตกลายมาเป็นสินค้าจำเป็น
และแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดในสินค้าเหล่านั้น ก็พัฒนาสินค้าประเภทอื่น
จนเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปได้เกือบทุกประเภท
ขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น กลับต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน
บางบริษัทต้องเผชิญการขาดทุนอย่างหนัก จนต้องหาทางอยู่รอดกันต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
Sharp ขายกิจการให้ Foxconn ของไต้หวันไปแล้ว
Panasonic ควบรวมกับ Sanyo
ขณะที่บริษัทที่ได้ไปต่อ ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ตามหลังคู่แข่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ส่งผลให้งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีน้อยลงไปด้วย การเร่งความเร็วในการไล่ตามคู่แข่ง จึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น
จะแก้เกมจนกลับสู่การเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกครั้งหรือไม่
หรือจะเสียตำแหน่งไป แบบไม่มีวันทวงคืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
-https://technology.inquirer.net/89835/from-sony-to-samsung-how-tech-leadership-migrated-from-japan-to-korea
mitsubishi wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก ย่างกุ้ง เมืองเศรษฐกิจสำคัญ ของเมียนมา /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าปัจจุบัน เมืองหลวงของเมียนมา ถูกย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ 15 ปีแล้ว
แต่หลายคนก็คงจะคุ้นเคยกันดี กับชื่อเมืองหลวงเก่า อย่าง “ย่างกุ้ง”
แม้จะไม่ได้เป็นเมืองหลวงของประเทศแล้ว
แต่ ย่างกุ้ง ก็ยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศเมียนมา
โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ
แล้ววันนี้ เศรษฐกิจของเมืองย่างกุ้ง มีความสำคัญกับประเทศเมียนมา มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย่างกุ้ง อดีตนั้นมีชื่อเดิมว่า ดากอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ
และมีสถานที่สำคัญของเมือง คือ เจดีย์ชเวดากอง
ที่เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่ขึ้นชื่อมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมียนมา
ต่อมาในปี ค.ศ. 1755 พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์ของเมียนมาในยุคสมัยนั้น สั่งให้มีการบูรณะเมืองดากองให้เป็นเมืองสำคัญ พร้อมกับสถาปนาชื่อใหม่ที่มีชื่อว่า “ย่างกุ้ง (Yangon)”
ความรุ่งเรืองจากการบูรณะเมืองครั้งใหญ่ในครั้งนั้น
ดึงดูดให้ประชากรชาวเมียนมา อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม
เมียนมาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1824
อังกฤษได้เข้ามาทำการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง
ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการเมืองของประเทศ
พร้อมทั้งแต่งตั้งให้ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของเมียนมา ในปี 1853
ย่างกุ้งภายใต้อาณานิคมของอังกฤษเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
มีการจัดตั้งสถานพยาบาล, ระบบคมนาคมขั้นพื้นฐาน, สถานศึกษา และก่อตั้งมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ขึ้นในปี 1878 ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเมียนมา
ย่างกุ้ง ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของเมียนมาถึง 153 ปี
ก่อนที่ต่อมารัฐบาลทหารของเมียนมา ได้ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้ง ไปยัง กรุงเนปยีดอ ในปี 2006
ทำให้ย่างกุ้ง ได้ยุติบทบาทของการเป็นเมืองหลวงลง ตั้งแต่ตอนนั้น
ปัจจุบัน ย่างกุ้งมีพื้นที่รวม 10,170 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.5% ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศ
ขณะที่ย่างกุ้งมีจำนวนประชากรประมาณ 7.3 ล้านคน
หรือคิดเป็นประมาณ 14% ของจำนวนประชากรเมียนมา
แม้ปัจจุบัน เมืองหลวงของเมียนมา ถูกย้ายไปอยู่เมืองเนปยีดอแล้ว
แต่ย่างกุ้งยังคงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ, อุตสาหกรรม, การค้า, การลงทุน, การเดินทาง, การท่องเที่ยว และเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าสำคัญของเมียนมา
ที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ซึ่งมีพื้นที่รวมกันประมาณ 15,000 ไร่
ที่ใช้เงินลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจแห่งนี้ไปกว่า 98,400 ล้านบาท
ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลเมียนมา กับบริษัทเอกชนญี่ปุ่นอีก 3 แห่ง
โดยรัฐบาลเมียนมาถือหุ้นในโครงการดังกล่าว 51%
และบริษัทเอกชนญี่ปุ่น 3 แห่ง คือ บริษัท Mitsubishi Corp., Marubeni Corp. และ Sumitomo Corp. ที่ถือหุ้นรวมกัน 49%
เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ ทางรัฐบาลเมียนมาใช้เพื่อรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก
ด้วยการเป็นที่ตั้งของเศรษฐกิจพิเศษนี้เอง
ทำให้ขนาดเศรษฐกิจของเมืองย่างกุ้ง มีขนาดใหญ่
เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจทั้งประเทศเมียนมา
โดยในปี 2018 มูลค่า GDP ของย่างกุ้ง สูงกว่า 570,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศ
ในแง่ของการเดินทางและการท่องเที่ยว
ย่างกุ้งยังเป็นที่ตั้งของหนึ่งในสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมา
โดยในปี 2018 มีผู้โดยสารเดินทางมาใช้บริการสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง กว่า 6.1 ล้านคน
ซึ่ง 64% เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
ภายในตัวเมืองย่างกุ้ง ยังมีสวนสาธารณะ และทะเลสาบที่กว้างขวาง
ทั้งยังมีอาคารที่ทันสมัย และสถาปัตยกรรมไม้แบบดั้งเดิม
ทำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “สวนเมืองแห่งทิศตะวันออก” หรือ The Garden City of the East
เมืองย่างกุ้งยังเป็นที่ตั้งของ Myanmar Investment Commission
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุมัติการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้าไปลงทุนในเมียนมา
ที่สำคัญก็คือ ย่างกุ้ง เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง
หรือ Yangon Stock Exchange ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015
ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศเมียนมา
และปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ทั้งหมด 6 บริษัท
แม้ว่าวันนี้ ย่างกุ้ง จะไม่ได้ดำรงฐานะเป็นเมืองหลวงของเมียนมาแล้ว
แต่จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า
เมืองหลวงเก่าแห่งนี้ คือเมืองที่มีความสำคัญอย่างมาก ต่อเศรษฐกิจประเทศเมียนมา..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
เมียนมา เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง รวมไปถึงแหล่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งปัจจุบัน เมียนมานับเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในเอเชียเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.macrotrends.net/cities/20339/yangon/population
-https://en.wikipedia.org/wiki/Thilawa_Special_Economic_Zone
-https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/11285/enews_july2014_CLMV.html
-https://www.eyeonasia.gov.sg/asean-countries/know/overview-of-asean-countries/yangon-a-city
-https://elevenmyanmar.com/news/yangon-gdp-expected-to-hit-89-pc-next-fy
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?locations=MM
-https://marketdata.set.or.th/th/gms_exchanges/overview.html
-https://www.aseanbriefing.com/news/myanmar-opens-stock-market-to-foreign-investors
-https://ysx-mm.com/
mitsubishi wiki 在 8チャンネル Youtube 的最佳貼文
◆チャンネル登録お願いします!http://urx.blue/Q3Pk
燃料添加剤ディーゼルウェポンはホントに効果あるのか、添加有り/無しのエンジン内部の状態をOBD2スキャナ&トルクプロアプリで比較してみました。なるべく同じ状態で比較できるよう、CX-8で高速道路走行中にDPF再生が始まった場面のトルクプロアプリ画面を並べています。
燃料添加剤ディーゼルウェポンを使うとどのような効果があるのか。スカイアクティブD2.2、CX-5/CX-8/MAZDA6オーナーの方を中心に参考になれば嬉しいです。
◇ディーゼルオーナー大人気!燃料添加剤ディーゼルウェポン
Amazon:https://amzn.to/2PIFDHG
楽天:https://a.r10.to/hIM6qK
■燃料添加剤のレビュー動画再生リスト
https://www.youtube.com/playlist?list=PL-8DcQ2gycuYvetmj786cn5utx7PD3d_Y
■OBD2スキャナ導入動画
https://youtu.be/yh-D9CTOkTA
◇私が使っている高品質OBD2スキャナ
Amazon:https://amzn.to/2U0NuE3
楽天:https://a.r10.to/hI4diH
※こちらの商品はやや価格が高いのがネックですが、信頼性は抜群。今まで使って不具合や問題は一度もありません。1000円前後の中華製クローン製品は警告灯が点灯するなどの悪影響が出た事例もありますので個人的には推奨しません
◇Torque Pro(DPF再生間隔等をモニタするAndroidアプリ)
https://play.google.com/store/apps/details?id=org.prowl.torque&hl=ja
◇Torque PID for MAZDA SKYACTIV-D(トルクプロ用のプラグイン)
https://play.google.com/store/apps/details?id=io.github.sckzw.torquepidskyactivd&hl=ja
■画面項目と値の意味合い
・RPM
エンジン回転数。
・トルク
エンジントルク。
・スロットル
スロットルポジション(マニフォールド)
・インマニ
インテークマニホールドの絶対圧。
・ブースト
インテークマニホールドのゲージ圧。
・AWD
AWDシステムのカップリングユニットのソレノイドの通電(ON)時間と遮断(OFF)時間の割合である「通電率」を示す値(デューティー比率とも言います)
※マツダのAWDはソレノイドによりカップリングを圧着させ最大で前後50:50の直結AWD状態のトルク配分となるようリアルタイム制御されています。
・油温
油温。
・BATT状態
バッテリーの充電状態(推定値)
・PM生成
エンジン回転数、吸気量、燃料噴射量などから推定されたPM生成量。
・PM堆積
DPF差圧などから推定されたPM堆積量。PM生成、堆積の値が6~7を超えるとDPF再生が始まります。
・DPF再生回数
DPF総再生回数。
・前回から
前回DPF再生完了からの走行距離。
・平均再生間隔
DPF再生完了ごとに走行した距離の平均値。
・DPF再生
DPF再生状態。ON/OFFで表示されます。
・DPF差圧
DPFフィルター前後の排気圧の差分。
DPFの詰まりを示す値とされ大きくなるとDPF再生が始まるとされていますが、詳細は検証中です。
■wiki OBD PID
https://en.wikipedia.org/wiki/OBD-II_PIDs
◇Sunlandダッシュボードマット
Amazon:https://amzn.to/2vhT1w0
楽天:https://a.r10.to/hlszIr
ヤフーショッピング:http://u0u1.net/0jmu
■人気のダッシュボードマット比較動画
https://youtu.be/hHSb8sebJ0I
【Sunlandダッシュボードマット対応車種】
マツダ CX-3
マツダ CX-5
マツダ CX-8
マツダ CX-30
マツダ Mazda3 BP FB
マツダ Mazda6 GLアテンザ
トヨタ RAV4
トヨタ C-HR
トヨタ プラド PRADO 150後期
トヨタ 86
トヨタ ハイエース
トヨタ ハイラックス
トヨタ カムリ
スズキ エスクード
スズキ スイフト
ホンダ ヴェゼル VEZEL
ホンダ シビック CIVIC
ニッサン シルビア S13
ニッサン エクストレイル X-Trail
MITSUBISHI アウトランダー OUTLANDER
MITSUBISHI エクリプスクロス
スバル インプレッサ G5
スバル レヴォーグ
スバル インプレッサ
スバル フォレスター XV
スバル レガシィ B4 アウトバック BN/BS
スバル レガシィ BL BP
スバル BRZ
Track: Jonny Koch & Annie Sollange - LOVE ME [NCS Release]
Music provided by NoCopyrightSounds.
Watch: https://youtu.be/EVoN5LnipXw
Free Download / Stream: http://ncs.io/LOVEME
Play the LOVE ME game: http://dontyouloveme.com
=========================
【CX-8 車両情報】
型式 3DA-KG2P
MAZDA CX-8 AWD
グレード XDプロアクティブ
マシーングレープレミアムメタリック
2018年7月21日納車
=========================
◆8チャンネルのトップページ
http://www.youtube.com/c/8ChanTV
◆8チャンネルのTwitter
https://twitter.com/hamaji36
◆Mazda CX-8雑記ブログ
https://www.ikumen-life.com/
◆インスタグラム
https://www.instagram.com/hamaji36/
#cx8 #cx5 #cx30 #mazda #ディーゼルウェポン #燃料添加剤
mitsubishi wiki 在 三菱汽車 - Wikiwand 的相關結果
維基 百科,自由的百科全書 ... 三菱汽車工業(日語:三菱自動車工業,英語:Mitsubishi Motors Corporation),簡稱三菱汽車、MMC,是源自日本的跨國汽車製造商,總部設在 ... ... <看更多>
mitsubishi wiki 在 三菱集團 - MBA智库百科 的相關結果
三菱 集團(Mitsubishi):日本最大的企業集團日本三菱集團(Mitsubishi),簡稱三菱。三菱集團已經有100多年的歷史,特別是在明治維新以後,三菱集團才開始步入了真正 ... ... <看更多>
mitsubishi wiki 在 三菱汽車- 維基百科,自由的百科全書 的相關結果
三菱 汽車工業(日語:三菱自動車工業,英語:Mitsubishi Motors Corporation),簡稱三菱汽車、MMC,是源自日本的跨國汽車製造商,總部設在東京芝五丁目。 ... <看更多>