กรณีศึกษา WorldCom จากบริษัทมูลค่า 5 ล้านล้าน สู่การล้มละลาย /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในการล้มละลายครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
คือ การล้มละลายของบริษัทชื่อว่า “WorldCom”
รู้ไหมว่า ในยุครุ่งเรือง บริษัทนี้เคยมีมูลค่าบริษัทมากถึง 5 ล้านล้านบาท
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็กลับกลายเป็นบริษัทล้มละลาย
WorldCom คือใคร และเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทนี้?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปี 2001 Enron บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานล้มละลายลง ซึ่งนับเป็นการล้มละลายที่มีมูลค่ามากที่สุดของสหรัฐอเมริกาในตอนนั้น
หนึ่งปีต่อมา สถิติดังกล่าวถูกโค่นลง ด้วยการล้มละลายของ “WorldCom” บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
WorldCom ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1983 โดย Bernard Ebbers อดีตนักธุรกิจโรงแรมชาวแคนาดา และเพื่อนนักลงทุนอีก 3 คน
ในช่วงแรก บริษัทนี้มีชื่อว่า Long Distance Discount Services (LDDS) ซึ่งทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์ทางไกล
ด้วยความที่บริษัทเพิ่งก่อตั้ง ทำให้ Long Distance Discount Services ในตอนนั้น มีผู้ใช้บริการน้อย และไม่เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ซึ่งส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนในช่วงแรก
Bernard Ebbers ในฐานะ CEO พยายามมองหากลยุทธ์ในการเติบโต โดยใช้วิธีเข้าซื้อ และควบรวมกิจการ
เขาซื้อกิจการมากกว่า 60 แห่งมาควบรวมกับ Long Distance Discount Services ซึ่งก็ช่วยให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
หนึ่งในบริษัทที่ Bernard Ebbers ทำการควบรวมกิจการ
คือ บริษัท Advantage Companies ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq
จึงทำให้หลังควบรวมกิจการครั้งนั้น Long Distance Discount Services กลายมาเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 1989 และต่อมาบริษัท ก็เปลี่ยนมาเป็นชื่อ WorldCom
ปี 1999 WorldCom เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนที่จะควบรวมกับ Sprint บริษัทขนาดใหญ่ในวงการโทรคมนาคม ณ เวลานั้น
ข่าวนี้ทำให้ราคาหุ้นของ WorldCom เพิ่มขึ้นจนทำจุดสูงสุด เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ดีลนี้จะสร้างการเติบโตให้แก่ WorldCom อย่างมากในอนาคต
แต่ภายหลัง ดีลนี้กลับล่มไป เนื่องจากหน่วยงานกำกับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกามองว่า การควบรวมกิจการดังกล่าวจะนำไปสู่การผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคมของ WorldCom
เรื่องนี้ได้สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดหุ้น จนส่งผลทำให้ราคาหุ้นของ WorldCom ปรับตัวลดลงในตอนนั้น
แต่ดูเหมือนว่า Bernard Ebbers จะไม่ยอมแพ้ เขาได้เริ่มวางแผนใหม่อีกครั้ง ด้วยการร่วมมือกับ Scott Sullivan ซึ่งเป็น CFO หรือผู้บริหารด้านการเงินของบริษัท
โดยทั้งคู่ทำการตกแต่งงบการเงินให้บริษัท
ให้มีรายได้และกำไรตามความคาดหวังของผู้ถือหุ้น
เพียงเพราะต้องการรักษาระดับราคาหุ้น WorldCom เอาไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา..
สิ่งที่ทั้ง 2 คนทำก็คือ พยายามซ่อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ควรจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน เพื่อให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
ซึ่งจริงๆ แล้วในปี 2001 และไตรมาสแรกของปี 2002 บริษัทควรมีผลขาดทุนสุทธิรวมกันไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท แต่จากการตกเเต่งบัญชี กลับทำให้ WorldCom รายงานกำไรสูงถึง 67,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ทีมตรวจสอบภายในของ WorldCom เริ่มได้เบาะแสการตกแต่งบัญชีของบริษัท และทำการค้นหาหลักฐานเพิ่มเติม แม้ Scott Sullivan จะบอกว่า ไม่มีความผิดปกติใดๆ ในงบการเงินของบริษัทก็ตาม
สุดท้ายความจริงก็ได้เปิดเผย..
ที่ผ่านมา WorldCom มีการตกแต่งงบการเงินจริง
เรื่องนี้ทำให้ผู้บริหารทั้งสองของ WorldCom ถูกตัดสินโทษ
โดย Bernard Ebbers ถูกจำคุก 25 ปี และ Scott Sullivan ถูกจำคุก 5 ปี
รู้ไหมว่า ในช่วงพีกสุดของบริษัท มูลค่ากิจการของ WorldCom พุ่งไปสูงถึง 5.6 ล้านล้านบาท ในปี 1999 แต่สุดท้ายก็ลดลงจนแทบไม่เหลือมูลค่าในปี 2002 หลังจากที่บริษัทยื่นขอล้มละลาย
ผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนั้นมีจำนวนมาก
ทั้งนักลงทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนที่ลงทุนในบริษัท WorldCom รวมทั้งธนาคารต่างๆ ที่ปล่อยกู้ให้แก่บริษัท
และที่น่าเห็นใจที่สุดก็คือ พนักงานจำนวนมากของบริษัทกว่า 17,000 คน ที่ต้องตกงานหลังการล้มละลายของบริษัท
แม้ว่าเรื่องราว WorldCom จะผ่านมานานหลายปีแล้ว
แต่เรื่องนี้ก็เป็นกรณีศึกษาที่ดีว่า
ไม่ว่าใครก็ตามที่กำลังทำสิ่งที่ไม่ดี และพยายามปกปิดไว้ สุดท้ายเรื่องไม่ดีเหล่านั้นมันก็ยากที่จะปิดบังอยู่ดี
และผลกระทบมันอาจไม่ใช่แค่กับเพียงคนหรือสองคนที่กระทำผิด
แต่มันยังสร้างผลกระทบกับผู้เกี่ยวข้อง ที่อาจไม่รู้เรื่องรู้ราวไปด้วยก็ได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/MCI_Inc.
- https://archive.fortune.com/galleries/2010/fortune/1002/gallery.biggest_losers.fortune/10.html
-http://content.time.com/time/classroom/glenfall2002/pdfs/Business.pdf
-https://www.washingtonpost.com/archive/politics/2002/06/29/worldcom-lays-off-17000-workers/84538b65-80fb-4b8e-b6a9-de1030454eaf/
-https://en.wikipedia.org/wiki/MCI_Inc.#Accounting_scandals
-http://securities.stanford.edu/filings-documents/1024/WCOM02-01/2003101_r02c_02CV3288.pdf
-https://money.cnn.com/2000/07/13/news/sprint/index.htm
nasdaq pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
รู้จักทฤษฎี TINA ตลาดหุ้นขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก /โดย ลงทุนแมน
การที่เราเลือกสิ่งหนึ่ง อาจไม่ใช่เพราะว่ามันดี
แต่อาจเป็นเพราะ
มันไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า..
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้
สามารถอธิบายได้ด้วย TINA Effect
TINA Effect คืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TINA ย่อมาจาก There Is No Alternative หรือ การไม่มีทางเลือก
วลีนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในปี 1980
หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ Margaret Thatcher มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษ
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การตัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐสวัสดิการ
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นถูกวิจารณ์จากสื่ออย่างหนัก
แต่ Margaret Thatcher ตอบกลับสื่อไปว่า “There Is No Alternative” หรือมันไม่มีทางเลือก..
วลีนี้เริ่มถูกนำมาใช้ในการตลาดการเงิน
ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร The Wall Street Journal เมื่อปี 2013
ใจความสำคัญก็คือ ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกเพียงทางเดียวสำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ที่ต้องการผลตอบแทนในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนาน
คำอธิบายนี้ เป็นคำตอบที่อาจช่วยให้เราหายสงสัยว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แต่ตลาดหุ้นกลับไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจมากนัก ถึงขนาดตลาดหุ้นบางแห่งกลับทำจุดสูงสุดใหม่ไปแล้ว
ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2007-2008
ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำเพียง 0.00-0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ โดยนโยบายดังกล่าวกินเวลายาวนานถึง 7 ปี
เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง มาตรการต่อมาที่ธนาคารกลางหลายแห่งนำมาใช้อีกก็คือ Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินโดยตรง
ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเอาเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งทั้งนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ยาวนาน และจำนวนเงินมหาศาลที่เข้าสู่ระบบจากมาตรการ QE ได้ส่งผลต่อทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุน เพราะเรื่องนี้ทำให้
1. อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่บางประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยถึงกับติดลบ จนทำให้แรงจูงใจการฝากเงินเพื่อหารายได้จากดอกเบี้ยนั้นลดลง
2. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ยังจะทำให้พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาหลังๆ ให้อัตราผลตอบแทนต่ำลงเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี
สิ้นปี 2008 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 2.25%
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 0.69%
นั่นหมายความว่า
หากเราไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และถือจนครบอายุ เราจะได้รับผลตอบแทนปีละ 0.69%
จากอดีตที่จะได้ผลตอบแทนปีละ 2.25%
พอเรื่องเป็นแบบนี้
ตลาดหุ้นจึงเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับหลายคนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทน
แม้จะรู้ดีว่าสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ
โรคระบาด Covid-19 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากที่สุดในรอบ 75 ปี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในโลก ในปัจจุบัน มีคนอเมริกันว่างงานอยู่ 18 ล้านคน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 11% มากกว่าช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2007-2008 เกือบเท่าตัว
แต่ตลาดหุ้นกลับปรับตัวลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับวิกฤติในอดีต
ที่น่าสนใจคือ บางตลาดกลับทำจุดสูงสุดใหม่ด้วย
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ
สิ้นปี 2019 ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 8,946 จุด
ปัจจุบัน ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 10,434 จุด หรือเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 16%
หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราก็ตาม ก็อาจมีปรากฏการณ์ของ TINA เช่นกัน
ปีนี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยรับผลกระทบมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า GDP ของไทยจะติดลบถึง 8.1% ซึ่งเทียบกับสมัยวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี 1997-1998 ที่ตอนนั้น GDP ของไทยติดลบ 7.6%
โดยในช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยติดลบไปกว่า 57% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ตลาดหุ้นไทยกลับติดลบไปเพียง 13%
ซึ่งก็อาจตีความได้ว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่มีทางเลือกเท่าไร และจำเป็นต้องลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป..
ดังนั้น ถ้าเราไปถามนักลงทุนหลายคนว่า
ในตอนนี้เศรษฐกิจเป็นอย่างไร
คำตอบที่เราน่าจะได้ยินก็คือ พวกเขาก็รู้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี
แต่พวกเขาก็จะบอกต่อไปว่า
แต่หุ้น ก็อาจจะดีกว่า การลงทุนอย่างอื่นอยู่ดี..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/There_is_no_alternative
-https://www.investopedia.com/terms/t/tina-there-no-alternative.asp
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO49.pdf
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/TextView.aspx?data=yieldYear&year=2008
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2020/06/08/covid-19-to-plunge-global-economy-into-worst-recession-since-world-war-ii
-https://www.investing.com/indices/major-indices
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
-https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
nasdaq pdf 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Alphabet บริษัทมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ รายล่าสุด /โดย ลงทุนแมน
“$1 Trillion club” คือคำจำกัดความล่าสุดที่ถูกมอบให้กับ Alphabet บริษัทแม่ของ Google ที่ตอนนี้มีมูลค่ากิจการเกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 30 ล้านล้านบาท
Alphabet ทำธุรกิจอะไร
ทำไมกิจการจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
Alphabet ก่อตั้งโดย Larry Page และ Sergey Brin ในปี 2015 เพื่อเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น และมีรายได้หลักอยู่ในรูปเงินปันผล โดยบริษัทที่ Alphabet ไปถือหุ้นเป็นหลัก ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีก็คือ บริษัท Google นั่นเอง
โดย Larry Page และ Sergey Brin รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์ด้วยกันที่มหาวิทยาลัย Stanford
ทั้งคู่ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ Search Engine ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาจนมีชื่อว่า Google ในปี 1997
รูปแบบการทำงานของ Google นั้นใช้การทำงานของ Robot ที่ชื่อว่า Spider ซึ่งเป็นตัวสำรวจข้อมูล เมื่อพบข้อมูลที่ต้องการก็จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง
Google เติบโตอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้มีการใช้ Google ค้นหาข้อมูล 3,500 ล้านครั้งต่อวัน กว่า 150 ภาษาใน 190 ประเทศทั่วโลก ที่น่าสนใจคือ Google ยังมีส่วนแบ่งกว่า 90% ของตลาด Search Engine ทั่วโลก เรียกได้ว่าแทบจะเป็นผู้นำแบบเบ็ดเสร็จในตลาดนี้
ปี 2015 Google มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ด้วยการตั้งบริษัท Alphabet ขึ้นมาเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ผ่านการถือหุ้นในบริษัทอื่น ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึง Google ด้วย
ปัจจุบัน Larry Page และ Sergey Brin เป็นผู้บริหารในบริษัท Alphabet
ส่วน CEO ของ Google นั้น ปัจจุบันคือ Sundar Pichai
แล้วหุ้น Google เดิม มีความสัมพันธ์กับ Alphabet อย่างไร?
สำหรับหุ้นของ Google เดิมได้ถูกแปลงเป็นหุ้นของ Alphabet โดยอัตโนมัติ แต่ตัวย่อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็ยังใช้ GOOG และ GOOGL ซึ่ง 2 ตัวย่อนี้จะต่างกันที่สิทธิ์ในการโหวต หุ้น GOOG จะมีสิทธิ์ในกำไรแต่ไม่มีสิทธิ์ในการโหวต
นอกเหนือจากการถือหุ้นใน Google แล้วนั้น Alphabet ยังถือหุ้นผ่านบริษัทลูกอีกหลายแห่ง เช่น
Calico บริษัทที่ลงทุนในเรื่องสุขภาพของมนุษย์และเทคโนโลยีชีวภาพ
Google Nest บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
Google Fiber บริษัทที่ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต
CapitalG บริษัทที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีที่กำลังเติบโต
รายได้และกำไรของ Alphabet
ปี 2017 รายได้ 3.3 ล้านล้านบาท กำไร 380,000 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 4.1 ล้านล้านบาท กำไร 922,200 ล้านบาท
9 เดือนปี 2019 รายได้ 3.5 ล้านล้านบาท กำไร 720,000 ล้านบาท
โดยทุกๆ รายได้ 100 บาท ของ Alphabet นั้นมาจาก
สหรัฐอเมริกา 46 บาท
ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา 32 บาท
เอเชียแปซิฟิก 17 บาท
และอื่นๆ 5 บาท
รายได้หลักของ Alphabet นั้นกว่า 83% มาจากรายได้ค่าโฆษณาของ Google
ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบัน บริษัทในโลกที่มีมูลค่ากิจการเกิน 30 ล้านล้านบาท มีเพียง 4 บริษัท
1. Saudi Aramco บริษัทพลังงานแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่ากิจการกว่า 54 ล้านล้านบาท
2. Apple บริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก มีมูลค่ากิจการกว่า 42 ล้านล้านบาท
3. Microsoft บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีมูลค่ากิจการกว่า 38 ล้านล้านบาท
4. Alphabet บริษัทแม่ของ Google เจ้าของ Search Engine ระดับโลก มีมูลค่ากิจการกว่า 30 ล้านล้านบาท
เมื่อเรารวมมูลค่ากิจการของทั้ง 4 บริษัทนี้ จะมีมูลค่ากว่า 164 ล้านล้านบาท ซึ่งใหญ่กว่า GDP ของญี่ปุ่นทั้งประเทศที่ 156 ล้านล้านบาท
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Google เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในปี 2004
โดยมีมูลค่ากิจการเท่ากับ 690,000 ล้านบาท
ซึ่งล่าสุดมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นจนมีมูลค่ากว่า 30 ล้านล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นมา 43 เท่า
เรื่องนี้จึงทำให้พนักงานของ Google หลายคนที่บุกเบิกบริษัทร่วมกันมา
เปลี่ยนตนเองจากพนักงานธรรมดาในวันนั้น จนกลายมาเป็นเศรษฐีในวันนี้..
————
Blockdit แอปติดตามข่าวอันดับ 1 สำหรับคนไทย
Blockdit.com/download
————
References
-https://www.businessinsider.com.au/highest-valued-public-companies-apple-aramco-biggest-market-cap-2020-1
-https://finance.yahoo.com/quote/GOOGL/financials/
-https://www.forbes.com/sites/kramermichael/2019/12/25/alphabet-may-have-to-lower-costs-to-become-the-next-1-trillion-company/#61f531fa7196
-https://www.bloomberg.com/quote/GOOGL:US
-https://abc.xyz/investor/static/pdf/20191028_alphabet_10Q.pdf?cache=376def7
-https://www.oberlo.com/statistics/search-engine-market-share
nasdaq pdf 在 Individual Preferences, Monetary Gambles, and Stock Market ... 的推薦與評價
Individual Preferences, Monetary Gambles, and Stock Market. Participation: A Case for Narrow Framing. By NICHOLAS BARBERIS, MING HUANG, AND RICHARD H. ... <看更多>