สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「paris agreement 2030」的推薦目錄:
paris agreement 2030 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最佳貼文
🌏 美國致力於在2030年以前,將美國的碳排放量比2005年的水準減少50%至52 %。拜登總統已宣布美國重返《巴黎氣候協定》,並承諾在2024年以前將美國對發展中國家的氣候援助增加一倍,並將調適的資金增加兩倍。拜登總統近期在康瓦爾舉行的七大工業國集團 (G7) 領袖峰會上強調,全球轉型使用更潔淨的能源來源,不僅迫在眉睫,也至關重要。
AIT商務組在8月11日舉辦了「再生能源網路研討會」,邀請到韋能能源台灣區投資總監集團投資總經理鄭成芳及上緯新能源執行長林雍堯,講述台灣太陽能和風能市場的商機。展望未來,美國再生能源上下游供應商將能與台灣當地能源大廠合作,為台灣2025年再生能源發電占比20%的政策目標做出重大貢獻,並協助美台應對共同的氣候變遷挑戰。
🌏 The United States is committed to reducing carbon emissions to 50-52 percent below 2005 levels by 2030. President Biden has returned the United States to the Paris Climate Agreement, pledged to double the United States’ climate support for developing countries by 2024, and to triple adaptation finance. Most recently, at the G7 meeting in Cornwall, President Biden highlighted that transitioning the world to cleaner energy sources is both urgent and essential.
On the evening of August 11, AIT’s Commercial Section hosted a webinar on renewal energy, where top management from Vena Energy and Swancor Renewable Energy provided insight on business opportunities in the solar and wind energy sector in Taiwan. Going forward, innovative U.S. upstream and downstream suppliers will have an opportunity to engage with major local energy players, which will contribute to Taiwan’s ambitious goal of generating 20 percent of its energy from renewable sources by 2025 and help both the United States and Taiwan address the shared challenge of climate change.
paris agreement 2030 在 科技產業資訊室 Facebook 的最讚貼文
碳訂價上漲600% 對遏制全球暖化至關重要
為了達成《巴黎協定》(Paris Agreement)中的承諾,將升溫控制在1.5攝氏度以內,各國政府一直試圖透過碳訂價來減少排放,對二氧化碳排放徵稅,或建立碳交易市場。
在投機採購和政策制定者努力降低排放的情況下,碳排放許可的價格近期在歐洲大幅上漲,而目前落後的亞洲國家也在採取行動,日本正在考慮修改其碳稅,日本的碳稅目前世界上最低之一。在中國,線上碳交易將於2021年6月底展開。....
paris agreement 2030 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
paris agreement 2030 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
paris agreement 2030 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
paris agreement 2030 在 The Paris Agreement | UNFCCC 的相關結果
The Paris Agreement reaffirms that developed countries should take the lead in providing financial assistance to countries that are less endowed and more ... ... <看更多>
paris agreement 2030 在 Climate Action - United Nations Sustainable Development 的相關結果
Goal 13 calls for urgent action to combat climate change and its impacts. It is intrinsically linked to all 16 of the other Goals of the 2030 Agenda for ... ... <看更多>
paris agreement 2030 在 Paris Agreement - European Union 的相關結果
The EU and its Member States, acting jointly, are committed to a binding target of a net domestic reduction of at least 55% in greenhouse gas emissions by 2030 ... ... <看更多>