นักวิทยาศาสตร์คนใดที่ทำให้คนตายมากที่สุด?
ถ้าพูดถึงวิทยาศาสตร์แน่นอนว่าเราจะต้องนึกถึงศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งนำมาซึ่งความเจริญ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ทำให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติได้ดีขึ้น แต่หากเราใช้วิทยาศาสตร์ไปในทางที่ผิด มันก็นำมาซึ่งความตาย และหายนะได้เช่นเดียวกัน
แล้วนักวิทยาศาสตร์คนใดในประวัติศาสตร์ที่นำมาซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุด?
เราอาจจะนึกถึง Josef Mengele หมอนาซีที่รมแก๊สชาวยิวเป็นผักปลา นำคนเป็นๆ ไปทดลองอย่างโหดร้าย หรือหน่วยวิจัยอาวุธชีวภาพ Unit 731 ของจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น การทดลองอาวุธทั้งหลาย และแน่นอนว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่คร่าชีวิตคนไปจากเมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิกว่า 129,000-226,000 คน
แต่ความเป็นจริงแล้วนักวิทยาศาสตร์ที่อาจจะส่งผลต่อการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุดนั้น หาได้เป็นผู้ที่คิดค้นอาวุธแต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์การเกษตร ที่อ้างว่าทำไปเพื่อเพิ่มผลผลิตและความกินอยู่ของมนุษย์ที่ดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์คนนั้นก็คือ Trofilm Lysenko
Lysenko นั้น ถือกำเนิดขึ้นมาจากครอบครัวชาวนา เขาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จนถึงอายุ 13 ปี และไม่เคยได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง แต่สิ่งที่เขามีก็คือชาตินิยมอันแรงกล้า และศรัทธาในวิถีแห่งสังคมนิยมอันท่วมท้น และด้วยเหตุนี้ บวกกับที่มาอัน "รากหญ้า" ของเขา จึงทำให้ "นักวิทย์ตีนเปล่า" อย่างเขานั้นถูกตาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ (ที่ต้องการสร้างภาพที่เชิดชูชนชั้นรากหญ้า) จนได้แต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายเกษตรกรรมของสหภาพโซเวียตทั้งปวง
Lysenko นั้น ต่อต้านแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ยึดถือกันในตอนนั้นเป็นส่วนมาก เขาต่อต้านแนวความคิดของพันธุศาสตร์ทุกประการ แม้ว่ารางวัลโนเบลเพิ่งจะมอบให้ผู้ค้นพบพันธุศาสตร์ไปในปี 1933 และแม้ว่าทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลจะเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในยุคนั้น แต่เขามักจะยึดถือแต่แนวความคิดของตัวเอง ที่เรียกว่า Lysenkoism ซึ่งเต็มไปด้วยไอเดีย "เพี้ยนๆ" มากมาย เช่น:
- เขาเชื่อว่าหากเอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำเย็น ไม่เพียงแต่จะทำให้มันทนอากาศหนาวได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ลูกหลานรุ่นถัดไปของมันก็จะสามารถ "จดจำ" ลักษณะนี้ได้ด้วย
- หากเราตอนกิ่งเพื่อสร้างไม้ผสม เมล็ดที่ได้จากกิ่งตอนนี้ก็จะคงลักษณะลูกผสมและส่งทอดต่อไปได้เช่นกัน
- ต้นไม้นั้นไม่ได้ตายจากการขาดน้ำหรือแสงแดด แต่มันสละชีพลงเพื่อเปิดทางให้ต้นอื่นได้เติบโตขึ้น
- พืชชนิดเดียวกันไม่ได้แย่งน้ำและสารอาหารกัน แต่จะร่วมมือกันเพื่อเติบโต
- พืชไม่ได้ผสมพันธุ์แบบสุ่ม แต่จะมีการเลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุด
- การผลิตน้ำนมของวัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ยิ่งเลี้ยงดูโคนมได้ดี ก็จะยิ่งผลิตนมได้เยอะ
- ลูกนกกาเหว่าในรังอีกาไม่ได้เกิดจากนกกาเหว่าไปวางไข่ แต่เกิดจากอีกาซึ่งได้รับบุ้งเป็นอาหารเมื่อยังเล็ก
- ฯลฯ
ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นด้วยเหตุผลใด แต่ Josef Stalin ผู้นำแห่งสหภาพโซเวียตก็ถูกใจ Lysenko เป็นอย่างมาก จึงบังคับแนวคิดของเขาไปใช้อย่างแพร่หลาย ผลที่ตามมาก็คือสภาวะอดอยากอย่างรุนแรงในช่วงปี 1932-1933 และคร่าชีวิตคนไปกว่า 7 ล้านคน แต่อิทธิพลของ Lysenkoism นั้นส่งต่อไปอีกนานมาก ในอีกสี่ปีต่อมา แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะเพิ่มพื้นที่การเกษตรไปถึงกว่า 162 เท่า แต่ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้นั้นกลับน้อยลงกว่าเดิม
ซึ่งผลจากความฉิบหายที่เกิดขึ้นจาก Lysenko นั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ในสหภาพโซเวียตเพียงเท่านั้น แต่เมื่อมิตรสหายพันธมิตรแท้อย่างท่านประธานเหมา ได้นำเอาแนวคิดของ Lysenkoism ไปประยุกต์ใช้ใน "The Great Leap Forward" ของประเทศจีนด้วย โดยสั่งให้ชาวนาไถนาลึกกว่าปรกติ กลายเป็นว่าขุดเอาหินกรวดขึ้นมาแทนที่ และกลบฝังหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ลงไป การหว่านเมล็ดที่ถี่กว่าเดิม ทำให้ผลผลิตที่ได้กลับลดลง ซึ่งบวกกับนโยบายการบริหารหายนะอื่นของ The Great Leap Forward เช่น การไล่จับนกกระจอกอย่างบ้าคลั้งภายใต้ four pest campaigns อันเป็นการส่งผลให้ทำลายห่วงโซ่อาหาร และแมลงศัตรูพืชระบาดอย่างหนัก การหลอมหม้อหุงข้าวส่วนตัวไปทำเป็นกระสุนปืน และให้ประชาชนพึ่งรัฐในการหุงหาอาหารให้กิน ระบบการเมืองท้องถิ่นที่มีปัญหา การจับประชาชนไปใช้แรงงาน และอุทกภัยใหญ่ที่ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้ว ยิ่งแย่ลงไปอีก
ผลที่เกิดขึ้นก็คือหายนะที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกที่เกิดขึ้นจากเงื้อมมือของมนุษย์ ที่ทุกวันนี้เราเรียกกันว่า The Great Chinese Famine มีการประมาณการกันว่ามีผู้คนเสียชีวิตจากการอดอยากระหว่างปี 1959-1961 ไปทั้งสิ้น ระหว่าง 15-55 ล้านคน (เยอะยิ่งกว่าชาวจีนที่ตายไปจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมด) ผู้คนที่ล้มตายหน้ายุ้งฉางของรัฐระหว่างที่ตะโกนร้องขอท่านประธานเหมาและพรรคคอมมิวนิสต์ให้ช่วยด้วย ผู้คนต้องเก็บเปลือกไม้มาต้มกิน ครอบครัวต้องกินศพกันเองเพื่อประทังชีวิต
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง ได้รายงานเอาไว้ว่า
"ผมไปเมืองหนึ่งก็เห็นศพเกลื่อนกลาดเป็นร้อยศพ ไปอีกเมืองก็เห็นอีกร้อย ถูกทิ้งเอาไว้แบบนั้นไม่มีใครสนใจ บางคนบอกว่ามีศพอีกมากที่ถูกสุนัขข้างทางกินไปหมดแล้ว ผมยืนยันว่านี่ไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน เพราะสุนัขถูกคนจับกินหมดไปตั้งนานแล้ว"
ซึ่งหากเรารวมการอดอยากที่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวียต และใน The Great Chinese Famine แล้ว เราก็จะพบว่า Trofilm Lysenko เป็น "นักวิทยาศาสตร์" ที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์มากที่สุด เว้นเสียแต่เราจะยอมนับผู้ที่เสียชีวิตจากการยิงกันในทุกสงครามตั้งแต่มีการคิดค้นดินปืนเข้าไว้ด้วยกัน
แล้วเพราะเหตุใดสหภาพโซเวียตจึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น? เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์โซเวียตจึงปล่อยให้ประเทศถูกครอบงำไปด้วย pseudoscience? คำตอบก็คือ เพราะคนที่ต่อต้านและวิพากษ์วิจารณ์นั้นถูกจับไปหมดแล้ว
ในปี 1940 Lysenko ได้ถูกเลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการแห่ง Institute of Genetics ภายใต้ Academy of Sciences ของสหภาพโซเวียต และเขาได้ใช้อำนาจที่เขาได้มาในการปิดปากผู้ที่เห็นต่าง ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์แนวความคิดเขา นักวิทยาศาสตร์โซเวียตที่ไม่ยอมต่อต้านพันธุศาสตร์ถูกขับไล่หรือโยกย้ายออกไป อีกนับร้อยนับพันถูกนำไปขัง และบางคนก็ถูกประหารชีวิต ในปี 1948 สหภาพโซเวียตได้ออกกฎหมายห้ามการเห็นต่างจากทฤษฎีของ Lysenko ทุกประการ
แต่หลังจากการตายของสตาลิน ทำให้อิทธิพลของ Lysenko จึงค่อยๆ ลดลงไปในที่สุด นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มออกมาต่อต้าน และเปิดโปงความลวงโลกของ Lysenko และกระแสต่อต้านจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้น จน Lysenko ต้องถูกถอดออกไปในที่สุด แม้กระนั้นก็ตาม Lysenko ก็ได้ทำให้ความก้าวหน้าทางด้านพันธุศาสตร์ของสหภาพโซเวียตต้องหยุดชะงักและล้าหลังไปอีกโดยไม่สามารถประเมินค่าได้
เราจะเห็นได้ว่า แม้ว่า Lysenko นั้นจะเป็นผู้ที่มีส่วนเป็นอย่างมากที่ทำให้เกิดหายนะเหล่านี้ แต่ส่วนที่สำคัญเลยที่ทำให้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นได้นั้น ก็คือทัศนคติที่ไม่เปิดกว้างต่อการแสดงความเห็น แม้ว่า Lysenkoism จะได้รับการแพร่หลายอย่างมากในสหภาพโซเวียต (เพราะผู้ที่ต่อต้านถูกจับไปหมดแล้ว) แต่ในโลกตะวันตกที่ปล่อยให้มีการเปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์แล้วนั้น ทฤษฎีนี้ไม่เคยจะได้เกิดขึ้นมาเลยแต่แรก
ตัว Lysenko เองนั้นมีทัศนคติที่ไม่เปิดกว้างต่อการวิพากษ์แต่อย่างใดเลย ครั้งหนึ่งที่เขาทำการทดลองและมีการใช้สถิติที่ผิดพลาด เมื่อถูกวิจารณ์ แทนที่เขาจะยอมรับ เขากลับกล่าวว่า "เรื่องของชีววิทยานั้นไม่จำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง" และเขาก็เลิกความพยายามที่จะใช้คณิตศาสตร์ทั้งปวงในการยืนยันผลงานของเขา (ซึ่งยิ่งนำไปสู่ confirmation bias ที่หนักกว่าเดิม) และเมื่อเขารู้ว่านักวิทยาศาสตร์ตะวันตกนั้นไม่ยอมรับผลงานของเขา เขาจึงเลิกที่จะพยายามสื่อสารกับตะวันตก และหันมาโฟกัสแต่เพียงในสหภาพโซเวียต และปิดปากทุกคนที่เห็นต่างจากแนวคิดของเขาต่อไป ไม่ต่างอะไรกับกบในกะลาที่พอใจอยู่เพียงแค่ในกะลาครอบเล็กๆ ของตัวเอง และแน่นอน ว่ามนุษย์อีโก้สูงเช่นนี้ คงจะไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด ถ้าหากว่า “ระบบ” ไม่ได้สนับสนุนคนแบบนี้ตั้งแต่แรก
สิ่งหนึ่งที่ทำให้วิทยาศาสตร์ปัจจุบันนั้นก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง หาได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่ง หรือแนวความคิดที่ดีแต่อย่างใด แต่คือพลังของการเปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ระบบวิทยาศาสตร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ reproducibility ระบบ peer-review เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้ยึดติดกับเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างที่เกิดขึ้นกับวงการ genetics ของสหภาพโซเวียตที่ผ่านมา
เราไม่ได้เชื่อทฤษฎี เพียงเพราะว่าคนพูดเป็นผู้ที่มีอำนาจ หรือความน่าเชื่อถือ เราไม่ได้ไม่ฟังการติชม เพียงเพราะเราไม่ต้องการฟัง หรือมันขัดแย้งกับสิ่งที่เราอยากจะเชื่อ แต่วิทยาศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์ที่เราตัดสินกันด้วยหลักฐานและเหตุผล หากใครก็ตามสามารถยกหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ที่ขัดแย้งกับทฤษฎีเดิมไว้ ทฤษฎีนั้นก็ย่อมที่จะต้องตกไป ไม่ว่าใครจะเป็นผู้คิดค้นก็ตาม
นั่นก็คือ เราเชื่อมั่นว่าทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เราใช้กันอยู่นี้ "น่าจะเป็นทฤษฎีที่ถูกต้องที่สุด" ไม่ใช่เพราะว่ามันไม่เคยผิด แต่เป็นเพราะว่าอันอื่นๆ ที่ผิดนั้นได้ถูกค้นพบว่าผิดไปหมดแล้ว
จึงเป็นเรื่องสำคัญในวิทยาศาสตร์ว่า คนทุกคนควรจะสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีใดก็ด้วย ด้วยหลักการ หลักฐาน และเหตุผล เพราะหากเราไม่เปิดกว้างให้วิจารณ์กันแล้วล่ะก็ เราอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของหายนะที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดจากมนุษย์สร้างครั้งถัดไปก็ได้
ภาพ: Soviet pseudoscientist Trofim Denisovich Lysenko - Wikipedia
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Trofim_Lysenko
[2] https://www.theatlantic.com/science/archive/2017/12/trofim-lysenko-soviet-union-russia/548786/
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Great_Chinese_Famine
pest wiki 在 早安健康 Facebook 的精選貼文
大家會怕蟑螂嗎😱家裡出現無孔不入的小強,一派人選擇用拖鞋直接拍死,但可能造成細菌、蟲卵大爆發,衛生問題堪慮;另一派家庭則會準備殺蟲劑,尤其夏天蚊蟲橫行,殺蟲劑是很多家庭生活必備,不過殺蟲劑雖然方便,也讓人擔心對家中小孩或毛小孩健康造成威脅,讓家庭主夫、主婦十分為難。
害蟲整治網站《Pest Wiki》列出一些有效且對人體無害的殺蟑物品,不論是怕蟑螂還是想安心除蟑,不妨試試看!
—
【💁♀居家天然除蟑發寶】
📌小蘇打粉:鹼性的小蘇打進入蟑螂酸性的消化道後,能使蟑螂慢慢死亡,是很好用的殺蟑利器。只要把小蘇打粉與糖以1:1等比例混合,就是很有效的殺蟑毒餌。
.
📌肥皂水:肥皂、清潔劑含有界面活性劑,能溶掉蟑螂體節上的氣門的蠟質與油脂,進而堵住其氣門,使蟑螂窒息而死。使用肥皂水滅蟑的重點是要讓肥皂水流到蟑螂的腹部。
.
📌檸檬汁、檸檬皮:檸檬、柚子等柑橘類水果會散發蟑螂不喜歡的味道,家裡用不完的檸檬汁,或準備丟棄的檸檬皮、柚子皮可以用來製做驅蟲劑,噴灑或放置在蟑螂出沒的地方。檸檬汁兌水不能太稀,以免香味發散不夠濃,效果不好。至於果皮只需要削成細絲,放在蟑螂出沒的地方即可。
.
📌小黃瓜:小黃瓜的強烈味道也不被蟑螂喜愛,可以將小黃瓜剖半,放在蟑螂出沒處試試看。
—
pest wiki 在 早安健康 Facebook 的精選貼文
大家會怕蟑螂嗎😱家裡出現無孔不入的小強,一派人選擇用拖鞋直接拍死,但可能造成細菌、蟲卵大爆發,衛生問題堪慮;另一派家庭則會準備殺蟲劑,尤其夏天蚊蟲橫行,殺蟲劑是很多家庭生活必備,不過殺蟲劑雖然方便,也讓人擔心對家中小孩或毛小孩健康造成威脅,讓家庭主夫、主婦十分為難。
害蟲整治網站《Pest Wiki》列出一些有效且對人體無害的殺蟑物品,不論是怕蟑螂還是想安心除蟑,不妨試試看!
—
【💁♀居家天然除蟑發寶】
📌小蘇打粉:鹼性的小蘇打進入蟑螂酸性的消化道後,能使蟑螂慢慢死亡,是很好用的殺蟑利器。只要把小蘇打粉與糖以1:1等比例混合,就是很有效的殺蟑毒餌。
.
📌肥皂水:肥皂、清潔劑含有界面活性劑,能溶掉蟑螂體節上的氣門的蠟質與油脂,進而堵住其氣門,使蟑螂窒息而死。使用肥皂水滅蟑的重點是要讓肥皂水流到蟑螂的腹部。
.
📌檸檬汁、檸檬皮:檸檬、柚子等柑橘類水果會散發蟑螂不喜歡的味道,家裡用不完的檸檬汁,或準備丟棄的檸檬皮、柚子皮可以用來製做驅蟲劑,噴灑或放置在蟑螂出沒的地方。檸檬汁兌水不能太稀,以免香味發散不夠濃,效果不好。至於果皮只需要削成細絲,放在蟑螂出沒的地方即可。
.
📌小黃瓜:小黃瓜的強烈味道也不被蟑螂喜愛,可以將小黃瓜剖半,放在蟑螂出沒處試試看。
—
pest wiki 在 Die Pest – Ausbruch jederzeit möglich?! - YouTube 的推薦與評價
HOL' DIR JETZT DIE SIMPLECLUB APP! ⤵️ https://simpleclub.com/unlimited-yt?v... * (Unter dem Link bekommst du sogar 10% Rabatt auf ... ... <看更多>