การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย
สิทธิกร ศักดิ์แสง
รองศาสตราจารย์จรัญ โฆษณานันท์ ได้กล่าวถึง การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย คือ กำหนดขึ้นโดยดำริพื้นฐานที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับองค์ความรู้ในวิชานิติปรัชญาของไทย แทนที่การเรียนหรือการรับรู้แต่ปรัชญาตะวันตกอย่างเดียว ความรู้ความเข้าใจในปรัชญากฎหมายไทย นับเป็นการอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลในการศึกษาที่มิให้ภูมิปัญญาตะวันตกครอบงำ การรับรู้โดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้หมายความว่า เรากำลังลดคุณค่าของปรัชญากฎหมายตะวันตกพอ ๆ กับมิใช่ความหมายในการชักนำ “กระแสนิยม ความเป็นไทยขึ้นแบบกึ่งงมงายหรืออาจเรียกว่า “อนุรักษ์ความเป็นไทยอย่างสุดขั้ว”
เมื่อเราศึกษาปรัชญาตะวันตกก็เหมือนกับการมองออกไปภายนอกตัวเองหรือศึกษาหรือสิ่งรอบข้างว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่ดีหรือไม่ดี ดังนั้นเราก็สมควรที่จะหันย้อนมาดูตัวเองหรือหันมาสนใจกฎหมายไทย เพื่อจะคิดหรือตัดสินใจปัญหาใด ๆ ด้วยความรอบคอบ
เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว นักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของตะวันตก คือ โสเกรติส พยายามที่สอนให้คนเรา “จงรู้จักตัวเอง” (Know thyself) แม้นัยความหมายอาจไม่ตรงทีเดียวนักกับสิ่งที่เรากำลังค้นหาในปรัชญากฎหมายไทย แต่เราน่าจะพูดได้เช่นกันว่า “การแสวงหาตัวตน” แห่งปรัชญากฎหมายในสังคมไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางวิชาการแล้วยังเป็นการเชื่อมโยงไปสู่การค้นหาทำความ “รู้จักตนเอง” ที่เป็นปัจเจกของแต่ละคน
แท้จริงแล้ว แก่นสารของปรัชญากฎหมายไทยมุ่งสู่การเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมหรือความยุติธรรม อย่างสูงสุดอันเป็นอุดมคติทางกฎหมายแต่ดั้งเดิม ซึ่งเวลาเดียวกันผสมผสานภาพเชิงซ้อนของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอุดมคติทางกฎหมายที่เป็นจริงในสังคมไทยแต่ละยุคสมัย รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ปรัชญากฎหมายกับอำนาจรัฐไทยอันยาวนาน น่าจะนำไปสู่บทวินิจฉัยเชิงอนุมานของผู้ศึกษาแต่ละคนต่อเรื่อง “ธรรมชาติของกฎหมาย” ได้ดีที่สุดในบั้นปลาย จริงอยู่การฉายภาพเชิงซ้อนระหว่างปรัชญากฎหมายไทยเชิงอุดมคติกับสถานการณ์ที่ดูขัดแย้งกับข้างต้น การศึกษาปรัชญากฎหมายจึงค่อนข้างเข็มของ “เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์หรือการเมืองไทย” เพื่อที่จะต้องการขยายรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังความเป็นไปของปรัชญากฎหมายไทย บริบททางสังคมด้านต่างๆ ไม่ว่าในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมหรือการเมืองล้วนเป็นแหล่งอิทธิพลต่อชีวิตที่เป็นจริงของปรัชญากฎหมายไทย ความสำคัญในเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์แหล่งอิทธิพลเหล่านั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หรืออาจจะมากกว่าการอธิบายหรือพูดพร่ำถึงหลักการเชิงนามธรรมของปรัชญากฎหมายไทยด้วยซ้ำ
การให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริบททางสังคมด้านต่าง ๆ เบื้องหลังปรัชญากฎหมายไทย เพื่อนักศึกษาเข้าถึงภาพรวมแห่งความเป็นจริงต่าง ๆได้สมบูรณ์มากขึ้น แน่นอนในโลกแห่งความเป็นจริง (ของชีวิตและสังคม) ย่อมผสมผสานทั้งสีขาวและสีดำอยู่ในตัว โลกแห่งวิชาการบริสุทธิ์จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นในการอธิบายวิเคราะห์ตีความกระทั่งวิจารณ์ความเป็นจริงส่วนต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ พ้นจากนี้กระบวนการทางวิชาการดังกล่าวหาใช่เป็นภารกิจที่หลุดลอย/แยกขาดออกจากความเป็นไปแห่งตัวผู้กระทำไม่ หากลึกๆ ยังสัมพันธ์กับระดับแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวผู้กระทำอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการศึกษาปรัชญากฎหมายไทยเราต้องจำลองภาพอุดมคติและความเป็นจริงแห่งปรัชญากฎหมายไทยให้เป็นระบบมากที่สุด เรียกอีกประเภทหนึ่งว่า “ความรู้” หากเรายอมรับว่า “โดยธรรมชาติแล้ว ความรู้กับความเป็นจริงท่าใช่เป็นสิ่งเดียวกันที่เดียวและความรู้ทุกชนิดมีระดับความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เสมอเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง” ความจำกัดในธรรมชาติ ความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาพึงต้องตระหนักไว้อย่างมั่นคงควบคู่กับการตระหนักถึงความจำกัดบกพร่อง ภูมิปัญหาหรือภูมิจิตที่ดำรงอยู่เป็นวิสัยปกติของผู้บรรยายวิชานี้
ดังนั้นการศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ที่ผ่านมาจะมีปัญหาในเรื่องการศึกษา เพราะนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมายังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาในสมัยโบราณนั้นมักจะถูกปิดกั้น โดยเฉพาะในเรื่องกฎหมาย ราษฎรจะถูกหวงกั้นไม่ให้รู้กฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจเห็นว่าถ้าราษฎรมีความรู้มากจะทำให้ปกครองลำบาก ความคิดทวงกั้นมิให้ราษฎรรู้กฎหมายนี้แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีการเผาหนังสือของ นายโหมด อมาตยกุล ซึ่งได้พยายามพิมพ์หนังสือกฎหมายตราสามดวง
ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นว่า สภาพการรับรู้เรื่องกฎหมายของไทยเลือนลางอย่างยิ่ง โดเยเฉพาะ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า “เป็นการขาดการศึกษา อนุญาตให้เรียนได้แต่วิชาที่เป็นประโยชน์ต่อศักดินาโดยมีจุดมุ่งหมาย กดให้คนโง่”
การปิดกั้นเรื่องการศึกษากฎหมายในสมัยโบราณดังกล่าว คงดำเนินมาหลายร้อยปีจนถึงยุคปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เนื่องมาจากอิทธิพลและบทบาทตะวันตก ในปี พ.ศ. 2416 หมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกาได้พิมพ์กฎหมายตรา 3 ดวง ออกเผยแพร่ ซึ่งไทยเองก็ไม่พอใจนักแต่ก็จำต้องปล่อยเลยผ่านไม่กล้าขัดขวาง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจาก หมอ บรัดเลย์ เป็นชาวต่างประเทศ หลังจากนั้นการศึกษากฎหมายก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันสอนกฎหมายกันอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 รัฐบาลได้จ้าง มิสเตอร์ โรแลง ยัคคะมินส์ ชาวเบลเยี่ยม มารับราชการเป็นที่ปรึกษาทั่วไปได้ถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 ในการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น เนื่องจากเห็นว่าการเล่าเรียนกฎหมายขณะนั้นยังอยู่ในวงแคบไม่มีโรงเรียนสอนวิชานี้โดยตรง ทั้งการศาลยุติธรรมยังล้าหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นข้ออ้างให้มหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาแทรกแซงไทย ขณะนั้นเป็นเหตุในการตั้งศาลกงศุล อันนำมาซึ่งความลำบากใจแก่ฝ่ายไทยอย่างมากในการถูกหลู่อำนาจอธิปไตยทางการศาลหรืออาจเรียกว่า “การสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาล” ข้อเสนอของ ยัคคะมินส์ ดังกล่าวได้รับการเห็นพ้องจากองค์พระประมุข คือ รัชกาลที่ 5 จนกระทั้งกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระโอรสสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ดและมาเป็นผู้ดำเนินการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายดังกล่าว
นับจากการก่อตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา พัฒนาการของการเรียนการสอนกฎหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื้อหาวิชาที่เปิดสอนหรือสอบในช่วงแรกๆ ยังเน้นหนักที่กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความและกฎหมายต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ก็มีการแก้ไขหลักสูตรของโรงเรียนสอนกฎหมายเพิ่มเติมวิชา “ธรรมศาสตร์” และ “พงศาวดารกฎหมาย” ขึ้นมา โดยเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายธรรมศาสตร์พาดพิงเรื่องนิติปรัชญา ในเวลาเดียวกัน “หัวข้อเล็กเชอร์ธรรมศาสตร์” ของพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ ก็พิมพ์เผยแพร่ โดยมีคำอธิบายเนื้อด้านนิติปรัชญา (แบบตะวันตก) แทรกประกอบด้วยเช่นกัน
ข้อสังเกต ธรรมศาสตร์นั้นมีคำอธิบายปรัชญาแบบตะวันตกเข้ามาแทรกโดยเฉพาะแนวความคิดของ แบนเธม กับ จอห์น ออสติน ซึ่งเป็นปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม ทำให้แนวคิดปฏิฐานนิยมมีบทบาทมากในการเรียนการสอนกฎหมายของไทยในขณะนั้น มาผสมผสานกับปรัชญากฎหมายไทยที่มีอยู่ในอดีตคือเรื่อง “ธรรมะ”
อย่างไรก็ตาม วิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้นห่างไกลความสำคัญอยู่มาก คือ ไม่ค่อยมีใครค่อยให้ความสำคัญนักในขณะนั้น
ความพยายามผลักดันให้เกิดวิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้น เริ่มต้นจาก ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย ได้พยายามให้มีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 15 ปี กว่าจะบรรลุผลสำเร็จ การสอนวิชานิติปรัชญาโดยตรงปรากฏขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2515 โดย ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญและริเริ่มสอนวิชานิติปรัชญาและต่อมาวิชานิติปรัชญาเริ่มกลายเป็นวิชาที่ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต ที่มีการปรับปรุงแก้ไขหรือเขียนขึ้นใหม่ตามสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ต่างได้บรรจุวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทั้งสิ้น
ข้อสังเกต เมื่อย้อนหลังที่ผ่านมาปรัชญากฎหมายไทยโดยเฉพาะ แม้การยอมรับในวิชานิติปรัชญาจะเป็นไปอย่างแพร่หลายดังกล่าว หากทว่าวิชานิติปรัชญาที่ประสบความสำเร็จเช่นว่า มีลักษณะเป็นวิชานิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะเอกสารหรือตำราที่พิมพ์ออกมานั้นจะเป็นนิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมด
ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาปรัชญากฎหมายไทย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทยหรือสามารถโยงเปรียบเทียบกับปรัชญากฎหมายตะวันตกสำหรับความเข้าใจซาบซึ้งต่อจุดดีจุดด้อยของภูมิปัญญาแต่ละฝ่าย ถึงที่สุดแล้วคงเป็น “มรรควิถี” สำคัญที่จะนำไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ เชิงปฏิบัติการทางด้านกฎหมายที่รอบคอบและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดโลกทรรศน์ของตัวเองเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นธรรม การวินิจฉัยเชิงคุณค่าด้านความยุติธรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับเอกชนหรือสังคมหรือแม้การแก้ไขปัญหารากฐานทางความคิดเพื่อจะปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพ แห่งบริบททางด้านสังคมด้านต่าง ๆ ของไทย ที่เรียกว่า “นิติวิธีทางกฎหมาย” (Juristic Medthod)
การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย จะในยุคต่าง ๆ ศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ได้แก่ ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี ยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความคิดปรัชญาทางกฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์และปรัชญากฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475และแนวคิดปรัชญากฎหมายตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน(2540)
จากปรัชญาตะวันตกสู่ปรัชญากฎหมายไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาในความหมายทั่วไปอาจจะหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้จริงซึ่งแปลมาจาก คำว่า “Philosophy” แต่คำในภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นต้นกำเนิดปรัชญา แปลว่า “เป็นความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งคำว่าปรัชญานี้ถ้าใช้เป็นภาษาบาลีจะตรงกับ คำว่า “ปัญญา” ซึ่งหมายถึง ความรู้แจ้ง ความรอบรู้ความฉลาด ต่อมาประมาณ 8 – 9 ปี ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงได้มีผู้นำเอาคำ “ปรัชญา” นี้มาใช้เป็นศัพท์บรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หากแปลความหมายเป็นแบบคำภาษาอังกฤษ (Philosophy ) หมายถึง “วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้มีความคิดเห็นแตกต่างของขีดขั้นการบรรลุถึงความรู้สัจจะ ในแง่นี้จึงมีการอธิบายความหมาย คำว่า ปรัชญาของอินเดีย (สันสกฤต) คือ ความรู้หรือปัญญาที่ถึงที่สุดเด็ดขาดไปแล้ว (ความรู้ภายหลังเมื่อสิ้นความสงสัยแล้ว) ส่วนคำว่า Philosophy นั้นยังไม่เด็ดขาด ยังค้นหาอยู่หรือยังคลำอยู่ ยังไม่มีจุดจบหรือจุดสุดท้าย อันเป็นเรื่องการคิดคำนวณหรือการตั้งสมมุติฐานด้วยเหตุผลที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งน่าจะแปลว่า Philosophy ส่วนความหมายของ “คณิตสัจจะ” หรือสัจจะแห่งการคำนวณมากกว่า อันมีความหมายคล้าย คำว่า “ทรศน” “ทรรศนะ”
ปรัชญาอินเดียมีเป้าหมายที่ชัดเจน กล่าวคือ การหาคำตอบทางศาสนาและศีลธรรม มิใช่การขบคิดปัญหาในเชิงตรรกศาสตร์ เพื่อรู้อย่างปรัชญาตะวันตกที่เป็นความรู้ เป็นไปเพื่อความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ปรัชญาอินเดียก็มิใช่จะไม่มีลักษณะของการคิดหาเหตุผลอย่างปรัชญาตะวันตกมีอยู่ ปรัชญาอินเดียมิใช่เป็นตัวแทนของปรัชญาตะวันออกที่เน้นการแสวงหาคำตอบ ปรัชญาจีน ก็เน้นความสำคัญทางด้านจริยธรรมมากกว่าความสามารถด้านสติปัญญา สนใจปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากกว่าปัญหาในเชิงนามธรรม โดยทั่วไปนักปรัชญาจีนตั้งปัญหาข้อคิดว่า “จะทำอย่างไร” มากกว่าที่จะคิดค้นว่า “ทำไมมันจึงเป็น” จุดเน้นด้านจริยธรรมส่วนนี้ของปรัชญาจีนยังดำเนินควบคู่กับวิธีการศึกษาที่เน้นการแสวงหาความรู้ทางจิตวิญญาณ หรือความรู้ที่ได้จากความเข้าใจที่เกิดขึ้นในจิตอย่างฉับพลัน รวมทั้งการภาวนาและวิธีการฝึกฝนอบรมตัวเอง ในขณะที่ปรัชญาตะวันตกมีการแบ่งแยกสาขาออกไปต่าง ๆ อาทิเช่น อภิปรัชญา ตรรกวิทยา ญาณวิทยาหรือสุนทรีศาสตร์ ซึ่งปรัชญาจีนแทบไม่มีการแยกคนออกจากความต้องการทางจริยธรรมและปฏิบัติในชีวิตของบุคคลเลย ประเด็นถกเถียงทั้งหมดของปรัชญาจีนอยู่ที่ว่า จะอบรมฝึกฝนตนให้ดีอย่างไร และจะช่วยสังคมให้เรียบร้อยด้วยวิธีการแบบไหน อันเป็นลักษณะ “มนุษยภาพนิยม” ที่หนักไปทางด้านจริยธรรมบวกกับการเมือง และที่สำคัญอย่างยิ่งในหัวใจของปรัชญาจีนยังเน้นเรื่องความกลมกลืนประสานการสืบเนื่องกับของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายในโลก ดังที่เห็นในเรื่องปรัชญาเอกภาพของสวรรค์และมนุษย์ของขงจื๊อ ภาวะแห่งดุลยธรรมของสรรพสิ่งทั้งปวงตามคำสอนของ จวงจื๊อ หรือเอกภาพแห่งหยินและหยางในลัทธิเต๋า
สรุป ข้อถกเถียงปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออกนั้นน่าจะเป็นประเด็นให้ได้พบกับคำตอบถึงความมีหรือไม่มีคุณค่าในการถกเถียงอย่างไม่รู้จบเกี่ยวกับ การแยกหรือไม่แยกปรัชญาออกจากเรื่องของเหตุผลบริสุทธิ์ ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์และอะไรคือประเด็นหลักที่ควรไตร่ตรองอย่างแท้จริง มากกว่าประเด็นถกเถียงเอาแพ้ชนะกันว่า “ปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก ฝ่ายใดเป็นปรัชญาที่แท้จริงหรือความเป็นปรัชญามากกว่ากัน”
ข้อสังเกต เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาเปรียบเทียบปรัชญากฎหมายตะวันตกกับกฎหมายไทยซึ่งปรัชญากฎหมายไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญากฎหมายตะวันออก ดังนั้น ปรัชญากฎหมายไทยจึงผูกพันกับคำสอนในทางศาสนาและความเชื่อในทางศาสนาที่ยึดถือกันอยู่ในสังคมไทย
แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของสัมพันธ์ภาพระหว่างปรัชญากับศาสนาที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย รวมทั้งปัญหาเรื่องผลกระทบของขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นสังคมสมัยใหม่จากการถูกบีบจากประเทศอาณานิคมตะวันตก ทำให้ไทยใช้ปรัชญาประยุกต์ กล่าวคือ ปรัชญากฎหมายหรือนิติปรัชญาเป็นการศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1.การศึกษาถึงภาพรวมของกฎหมายในเชิงปรัชญาโดยเฉพาะ เรื่องธรรมชาติของกฎหมายหรือประเด็นความสัมพันธ์ของกฎหมายกับจริยธรรมหรือความยุติธรรม อันเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าถึงสิ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นวิญญาณของกฎหมาย ลักษณะสำคัญของปรัชญากฎหมายจึงเป็นการศึกษากฎหมายในความหมายที่กว้างที่สุดอย่างเป็นนามธรรมรวม ๆ ว่ามีธรรมชาติอันแท้จริงอย่างไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
2.ศึกษาถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับมนุษย์ ปัญหาเรื่องการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับเรื่องบทบาททางสังคมของกฎหมายในด้านต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาถึงปรัชญากฎหมายไทย ภายใต้อิทธิพลประเทศตะวันตะวันตกที่ได้รับปรัชญาตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าที่ผ่านมาในอดีตเราไม่อาจปฏิเสธปรัชญากฎหมายไทยทั้งในยุคโบราณจวบจนสมัยปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากสมมุติว่าเรายอมรับว่าคนไทยก็มีปรัชญา คนไทยมีการใช้กฎหมายเป็นประเพณีการปกครองบ้านเมืองมาแต่ยุคโบราณแล้ว เรื่องโลกทรรศนะของคนไทยที่มีต่อธรรมชาติของกฎหมายหรือกฎหมายในความหมายทั่วไปย่อมดำรงอยู่โดยมิพักต้องสงสัย แม่จะไม่ไม่มีการแยกแยะเป็นสำนักคิดต่าง ๆ แข่งขันกันเองแบบตะวันตกก็ตาม
ปรัชญากฎหมายไทยก่อนยุคที่ อิทธิพลความคิดตะวันตกจะเข้ามามีอิทธิพล (นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 )ลงมา) จะวางรากฐานอยู่บนความคิดทั่วไปของปรัชญาตะวันออกที่ผนวกปรัชญากับศาสนาเข้ากันอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอิทธิพลความคิดในศาสนาพุทธ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมอธิบายภาพรวมของกฎหมายจากฐานอุดมคติทางศาสนาที่เน้นศีลธรรมเรื่องธรรมะ มิใช่เป็นเรื่องของการใช้อำนาจล้วน ๆ ของฆาราวาส (ผู้ใหญ่บ้านในแผ่นดิน) ความเชื่อมโยงปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมกับศาสนา (นั้นเป็นที่สังเกตว่าละมายคล้ายคลึงกับปรัชญากฎหมายตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาสำนักกฎหมายธรรมชาติ) อิทธิพลความสัมพันธ์พุทธศาสนากับปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม ได้สื่อผ่านทางความคิดหรือคำสอนทางพุทธศาสนาต่างๆ สู่ประชาชนระดับล่างที่ผ่านมาต่างก็แฝงด้วยความคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้ปกครองตามไปด้วย คติ เรื่อง ทศพิศราชธรรมหรือธรรมราชา ไตรภูมิพระร่วงหรือวรรณคดีทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญอื่นๆ ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ซึ่งได้มีการเขียนเรื่องดังกล่าว ความรู้สึกหรือความเชื่อในจิตสำนึกคนไทยโบราณต่อสิ่งคู่กันระหว่างอำนาจและธรรมะ จึงน่าจะดำรงอยู่มาช้านานแล้ว
ข้อสรุปนี้ จึงน่าจะโยงกลับมาหาคำตอบเกี่ยวกับความเข้าใจต่อปรัชญากฎหมายของคนไทยในอดีตได้หากมองเห็นถึงธรรมชาติแห่งการใช้อำนาจที่ปรากฏอยู่เป็นข้อเท็จจริงภายนอกของกฎหมาย ในอีกแง่มุมหนึ่งเมื่อจากอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความเข้าใจหรือจิตสำนึกของคน ซึ่งในโบราณคนไทย ใช้คำว่า “ธรรมะ” แทนคำว่า “กฎหมาย” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับเรียกกฎหมายแม่บทสำคัญว่า “พระธรรมศาสตร์” ดังปรากฏถ้อยคำในศิลาจารึก (หลักที่ 38)
ซึ่งในส่วนปรัชญากฎหมายไทยนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงปรัชญากฎหมายไทย สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 สมัยหลังการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 และปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลในการจัดทำรัฐธรรมนูญไทย
「philosophy หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於philosophy หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於philosophy หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於philosophy หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於philosophy หมายถึง 在 สนามความคิด - ปรัชญาตะวันตก ตอนที่ 1 (ปรัชญาคืออะไร) ... 的評價
- 關於philosophy หมายถึง 在 ปรัชญาคืออะไร? เป็นแบบที่เราเคยเข้าใจไหม #ปรัชญา#philosophy ... 的評價
philosophy หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ปรัชญากฎหมายไทย
(สรุปมาจากคำบรรยาย ของ รองศาสตราจารย์ จรัญ โฆษณานันท์ ในสมัยเรียน ปริญญาโท เมื่อ ปี 2542 และได้นำมาเสริมความจากการค้นคว้าเพิ่มของผมเอง)
การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย คือ กำหนดขึ้นโดยดำริพื้นฐานที่สร้างความสมบูรณ์ให้กับองค์ความรู้ในวิชานิติปรัชญาของไทย แทนที่การเรียนหรือการรับรู้แต่ปรัชญาตะวันตกอย่างเดียว ความรู้ความเข้าใจในปรัชญากฎหมายไทย นับเป็นการอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลในการศึกษาที่มิให้ภูมิปัญญาตะวันตกครอบงำ การรับรู้โดยสิ้นเชิง แต่อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้หมายความว่า เรากำลังลดคุณค่าของปรัชญากฎหมายตะวันตกพอ ๆ กับมิใช่ความหมายในการชักนำกระแสนิยม ความเป็นไทยขึ้นแบบกึ่งงมงายหรืออาจเรียกอนุรักษ์ความเป็นไทยอย่างสุดขั้ว
เมื่อเราศึกษาปรัชญาตะวันตกก็เหมือนกับการมองออกไปภายนอกตัวเองหรือศึกษาหรือสิ่งรอบข้างว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่ดีหรือไม่ดี ดังนั้นเราก็สมควรที่จะหันย้อนมาดูตัวเองหรือหันมาสนใจกฎหมายไทย เพื่อจะคิดหรือตัดสินใจปัญหาใด ๆ ด้วยความรอบคอบ เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว นักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของตะวันตก คือ โสเกรติส พยายามที่สอนให้คนเราจงรู้จักตัวเอง (Know thyself)และการคำเรพเชื่อฟังกฎหมายไม่ว่ากฎหมายนั้นดีหรือไม่ก็ตามเราต้อง "เคารพเชื่อฟังกฎหมาย" แม้นัยความหมายอาจไม่ตรงทีเดียวนักกับสิ่งที่เรากำลังค้นหาในปรัชญากฎหมายไทย แต่เราน่าจะพูดได้เช่นกันว่าการแสวงหาตัวตนแห่งปรัชญากฎหมายในสังคมไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางวิชาการแล้วยังเป็นการเชื่อมโยงไปสู่การค้นหาทำความรู้จักตนเองที่เป็นปัจเจกของแต่ละคนแท้จริงแล้ว แก่นสารของปรัชญากฎหมายไทยมุ่งสู่การเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมหรือความยุติธรรม อย่างสูงสุดอันเป็นอุดมคติทางกฎหมายแต่ดั้งเดิม ซึ่งเวลาเดียวกันผสมผสานภาพเชิงซ้อนของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอุดมคติทางกฎหมายที่เป็นจริงในสังคมไทยแต่ละยุคสมัย รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ปรัชญากฎหมายกับอำนาจรัฐไทยอันยาวนาน น่าจะนำไปสู่บทวินิจฉัยเชิงอนุมานของผู้ศึกษาแต่ละคนต่อเรื่อง “ธรรมชาติของกฎหมาย” ได้ดีที่สุดในบั้นปลาย จริงอยู่การฉายภาพเชิงซ้อนระหว่างปรัชญากฎหมายไทยเชิงอุดมคติกับสถานการณ์ที่ดูขัดแย้งกับข้างต้น
การศึกษาปรัชญากฎหมายจึงค่อนข้างจะมอง “เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์หรือการเมืองไทย” เพื่อที่จะต้องการขยายรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังความเป็นไปของปรัชญากฎหมายไทย บริบททางสังคมด้านต่างๆ ไม่ว่าในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมหรือการเมืองล้วนเป็นแหล่งอิทธิพลต่อชีวิตที่เป็นจริงของปรัชญากฎหมายไทย ความสำคัญในเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์แหล่งอิทธิพลเหล่านั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หรืออาจจะมากกว่าการอธิบายหรือพูดพร่ำถึงหลักการเชิงนามธรรมของปรัชญากฎหมายไทยด้วยซ้ำ การให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริบททางสังคมด้านต่าง ๆ เบื้องหลังปรัชญากฎหมายไทย เพื่อนักศึกษาเข้าถึงภาพรวมแห่งความเป็นจริงต่าง ๆได้สมบูรณ์มากขึ้น แน่นอนในโลกแห่งความเป็นจริง (ของชีวิตและสังคม) ย่อมผสมผสานทั้งสีขาวและสีดำอยู่ในตัว โลกแห่งวิชาการบริสุทธิ์จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นในการอธิบายวิเคราะห์ตีความกระทั่งวิจารณ์ความเป็นจริงส่วนต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ พ้นจากนี้กระบวนการทางวิชาการดังกล่าวหาใช่เป็นภารกิจที่หลุดลอย/แยกขาดออกจากความเป็นไปแห่งตัวผู้กระทำไม่ หากลึกๆ ยังสัมพันธ์กับระดับแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวผู้กระทำอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการศึกษาปรัชญากฎหมายไทยเราต้องจำลองภาพอุดมคติและความเป็นจริงแห่งปรัชญากฎหมายไทยให้เป็นระบบมากที่สุด เรียกอีกประเภทหนึ่งว่าความรู้ หากเรายอมรับว่าโดยธรรมชาติแล้ว ความรู้กับความเป็นจริงท่าใช่เป็นสิ่งเดียวกันที่เดียวและความรู้ทุกชนิดมีระดับความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เสมอเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความจำกัดในธรรมชาติ ความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาพึงต้องตระหนักไว้อย่างมั่นคงควบคู่กับการตระหนักถึงความจำกัดบกพร่อง ภูมิปัญหาหรือภูมิจิตที่ดำรงอยู่เป็นวิสัยปกติของผู้บรรยายวิชานี้
ดังนั้นการศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ที่ผ่านมาจะมีปัญหาในเรื่องการศึกษา เพราะนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมายังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง การศึกษาในสมัยโบราณนั้นมักจะถูกปิดกั้น โดยเฉพาะในเรื่องกฎหมาย ราษฎรจะถูกหวงกั้นไม่ให้รู้กฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจเห็นว่าถ้าราษฎรมีความรู้มากจะทำให้ปกครองลำบาก ความคิดทวงกั้นมิให้ราษฎรรู้กฎหมายนี้แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีการเผาหนังสือของ นายโหมด อมาตยกุล ซึ่งได้พยายามพิมพ์หนังสือกฎหมายตราสามดวง
ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นว่า สภาพการรับรู้เรื่องกฎหมายของไทยเลือนลางอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการขาดการศึกษา อนุญาตให้เรียนได้แต่วิชาที่เป็นประโยชน์ต่อศักดินาโดยมีจุดมุ่งหมาย กดให้คนโง่ การปิดกั้นเรื่องการศึกษากฎหมายในสมัยโบราณดังกล่าว คงดำเนินมาหลายร้อยปีจนถึงยุคปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องมาจากอิทธิพลและบทบาทตะวันตก ในปี พ.ศ. 2416 หมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกาได้พิมพ์กฎหมายตรา 3 ดวง ออกเผยแพร่ ซึ่งไทยเองก็ไม่พอใจนักแต่ก็จำต้องปล่อยเลยผ่านไม่กล้าขัดขวาง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจาก หมอบรัดเลย์ เป็นชาวต่างประเทศ หลังจากนั้นการศึกษากฎหมายก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันสอนกฎหมายกันอย่างเป็นทางการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 รัฐบาลได้จ้าง มิสเตอร์ โรแลง ยัคคะมินส์ ชาวเบลเยี่ยม (มีนักกฎหมายไทยบางท่าน ตั้งข้อสังเกต ว่า น่าจะเป็นบิดากฎหมายไทย ) มารับราชการเป็นที่ปรึกษาทั่วไปได้ถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 ในการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น เนื่องจากเห็นว่าการเล่าเรียนกฎหมายขณะนั้นยังอยู่ในวงแคบไม่มีโรงเรียนสอนวิชานี้โดยตรง ทั้งการศาลยุติธรรมยังล้าหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นข้ออ้างให้มหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาแทรกแซงไทย ขณะนั้นเป็นเหตุในการตั้งศาลกงศุล อันนำมาซึ่งความลำบากใจแก่ฝ่ายไทยอย่างมากในการถูกหลู่อำนาจอธิปไตยทางการศาลหรืออาจเรียกว่า “การสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาล” ข้อเสนอของ ยัคคะมินส์ ดังกล่าวได้รับการเห็นพ้องจากองค์พระประมุข คือ รัชกาลที่ 5 จนกระทั้งกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระโอรสสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ดและมาเป็นผู้ดำเนินการตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายดังกล่าว
นับจากการก่อตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา พัฒนาการของการเรียนการสอนกฎหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื้อหาวิชาที่เปิดสอนหรือสอบในช่วงแรกๆ ยังเน้นหนักที่กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความและกฎหมายต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ก็มีการแก้ไขหลักสูตรของโรงเรียนสอนกฎหมายเพิ่มเติมวิชา “ธรรมศาสตร์” และ “พงศาวดารกฎหมาย” ขึ้นมา โดยเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายธรรมศาสตร์พาดพิงเรื่องนิติปรัชญา ในเวลาเดียวกัน “หัวข้อเล็กเชอร์ธรรมศาสตร์” ของพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ ก็พิมพ์เผยแพร่ โดยมีคำอธิบายเนื้อด้านนิติปรัชญา (แบบตะวันตก) แทรกประกอบด้วยเช่นกัน
ข้อสังเกต ธรรมศาสตร์นั้นมีคำอธิบายปรัชญาแบบตะวันตกเข้ามาแทรกโดยเฉพาะแนวความคิดของ แบนเธม กับ จอห์น ออสติน ซึ่งเป็นปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม ทำให้แนวคิดปฏิฐานนิยมมีบทบาทมากในการเรียนการสอนกฎหมายของไทยในขณะนั้น มาผสมผสานกับปรัชญากฎหมายไทยที่มีอยู่ในอดีตคือเรื่อง “ธรรมะ” (แนวคิดของปฏิฐานนิยม โดยเฉพาะแนวคิดของ จอห์น ออสติน มีอิทธิพลต่อพระองค์เจ้ารพี พัฒนศักดิ์เป็นอย่างมาก)
อย่างไรก็ตาม วิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้นห่างไกลความสำคัญอยู่มาก คือ ไม่ค่อยมีใครค่อยให้ความสำคัญนักในขณะนั้น ความพยายามผลักดันให้เกิดวิชานิติปรัชญาหรือปรัชญากฎหมายนั้น เริ่มต้นจาก ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย ได้พยายามให้มีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 15 ปี กว่าจะบรรลุผลสำเร็จ การสอนวิชานิติปรัชญาโดยตรงปรากฏขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2515 โดย ศ.ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญและริเริ่มสอนเป็นและต่อมาวิชานิติปรัชญาเริ่มกลายเป็นวิชาที่ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต ที่มีการปรับปรุงแก้ไขหรือเขียนขึ้นใหม่ตามสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ต่างได้บรรจุวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบัน
(เมื่อพิจารณาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต่างก็ลดความสำคัญวิชานี้ลงไปเรื่อยๆ จากในรายวิชาบังคับ กลายมาเป็นวิชาเลือก รวมไปถึงผู้สนใจในรายวิขานี้ มีลดน้อยลงไปเรื่อยๆขึ้นทุก เพราะเขามองว่าเป็นเรื่องของนามธรรม เราจึงละเลยเรื่องของจิตใต้สำนึกของความดี ความถูกต้อง ลง กลับมุ่งมั่นพุ่งเป้าไปสู่ การสอนตัวเอาตัวรอดในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่สำคัญ)
ข้อสังเกต เมื่อย้อนหลังที่ผ่านมาปรัชญากฎหมายไทยโดยเฉพาะ แม้การยอมรับในวิชานิติปรัชญาจะเป็นไปอย่างแพร่หลายดังกล่าว หากทว่าวิชานิติปรัชญาที่ประสบความสำเร็จเช่นว่า มีลักษณะเป็นวิชานิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะเอกสารหรือตำราที่พิมพ์ออกมานั้นจะเป็นนิติปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมด
ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาปรัชญากฎหมายไทย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภูมิปัญญาไทยหรือสามารถโยงเปรียบเทียบกับปรัชญากฎหมายตะวันตกสำหรับความเข้าใจซาบซึ้งต่อจุดดีจุดด้อยของภูมิปัญญาแต่ละฝ่าย ถึงที่สุดแล้วคงเป็น มรรควิถี สำคัญที่จะนำไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ เชิงปฏิบัติการทางด้านกฎหมายที่รอบคอบและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดโลกทรรศน์ของตัวเองเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นธรรม การวินิจฉัยเชิงคุณค่าด้านความยุติธรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับเอกชนหรือสังคมหรือแม้การแก้ไขปัญหารากฐานทางความคิดเพื่อจะปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพ แห่งบริบททางด้านสังคมด้านต่าง ๆ ของไทย ที่เรียกว่า “นิติวิธีทางกฎหมาย” (Juristic Medthod)
การศึกษาปรัชญากฎหมายไทย จะในยุคต่าง ๆ ศึกษาปรัชญากฎหมายไทย ได้แก่ ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี ยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะความคิดปรัชญาทางกฎหมายของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และปรัชญากฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475และแนวคิดปรัชญากฎหมายตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน(2550)
จากปรัชญาตะวันตกสู่ปรัชญากฎหมายไทย ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาในความหมายทั่วไปอาจจะหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้จริงซึ่งแปลมาจาก คำว่า “Philosophy“ แต่คำในภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นต้นกำเนิดปรัชญา แปลว่า “เป็นความรู้อันประเสริฐ” ซึ่งคำว่าปรัชญานี้ถ้าใช้เป็นภาษาบาลีจะตรงกับ คำว่า “ปัญญา” ซึ่งหมายถึง ความรู้แจ้ง ความรอบรู้ความฉลาด ต่อมาประมาณ 8 – 9 ปี ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงได้มีผู้นำเอาคำ “ปรัชญา” นี้มาใช้เป็นศัพท์บรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หากแปลความหมายเป็นแบบคำภาษาอังกฤษ (Philosophy ) หมายถึง วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้มีความคิดเห็นแตกต่างของขีดขั้นการบรรลุถึงความรู้สัจจะ ในแง่นี้จึงมีการอธิบายความหมาย คำว่า ปรัชญาของอินเดีย (สันสกฤต) คือ ความรู้หรือปัญญาที่ถึงที่สุดเด็ดขาดไปแล้ว (ความรู้ภายหลังเมื่อสิ้นความสงสัยแล้ว) ส่วนคำว่า Philosophy นั้นยังไม่เด็ดขาด ยังค้นหาอยู่หรือยังคลำอยู่ ยังไม่มีจุดจบหรือจุดสุดท้าย อันเป็นเรื่องการคิดคำนวณหรือการตั้งสมมุติฐานด้วยเหตุผลที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งน่าจะแปลว่า Philosophy ส่วนความหมายของ “คณิตสัจจะ” หรือสัจจะแห่งการคำนวณมากกว่า อันมีความหมายคล้าย คำว่า “ทรศน” “ทรรศนะ”
ปรัชญาอินเดียมีเป้าหมายที่ชัดเจน กล่าวคือ การหาคำตอบทางศาสนาและศีลธรรม มิใช่การขบคิดปัญหาในเชิงตรรกศาสตร์ เพื่อรู้อย่างปรัชญาตะวันตกที่เป็นความรู้ เป็นไปเพื่อความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ปรัชญาอินเดียก็มิใช่จะไม่มีลักษณะของการคิดหาเหตุผลอย่างปรัชญาตะวันตกมีอยู่
ปรัชญาอินเดียมิใช่เป็นตัวแทนของปรัชญาตะวันออกที่เน้นการแสวงหาคำตอบ ปรัชญาจีน ก็เน้นความสำคัญทางด้านจริยธรรมมากกว่าความสามารถด้านสติปัญญา สนใจปัญหาที่เป็นรูปธรรมมากกว่าปัญหาในเชิงนามธรรม โดยทั่วไปนักปรัชญาจีนตั้งปัญหาข้อคิดว่า “จะทำอย่างไร” มากกว่าที่จะคิดค้นว่า “ทำไมมันจึงเป็น” จุดเน้นด้านจริยธรรมส่วนนี้ของปรัชญาจีนยังดำเนินควบคู่กับวิธีการศึกษาที่เน้นการแสวงหาความรู้ทางจิตวิญญาณ หรือความรู้ที่ได้จากความเข้าใจที่เกิดขึ้นในจิตอย่างฉับพลัน รวมทั้งการภาวนาและวิธีการฝึกฝนอบรมตัวเอง ในขณะที่ปรัชญาตะวันตกมีการแบ่งแยกสาขาออกไปต่าง ๆ อาทิเช่น อภิปรัชญา ตรรกวิทยา ญาณวิทยาหรือสุนทรีศาสตร์ ซึ่งปรัชญาจีนแทบไม่มีการแยกคนออกจากความต้องการทางจริยธรรมและปฏิบัติในชีวิตของบุคคลเลย ประเด็นถกเถียงทั้งหมดของปรัชญาจีนอยู่ที่ว่า จะอบรมฝึกฝนตนให้ดีอย่างไร และจะช่วยสังคมให้เรียบร้อยด้วยวิธีการแบบไหน อันเป็นลักษณะมนุษยภาพนิยม ที่หนักไปทางด้านจริยธรรมบวกกับการเมือง และที่สำคัญอย่างยิ่งในหัวใจของปรัชญาจีนยังเน้นเรื่องความกลมกลืนประสานการสืบเนื่องกับของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายในโลก ดังที่เห็นในเรื่องปรัชญาเอกภาพของสวรรค์และมนุษย์ของขงจื๊อ ภาวะแห่งดุลยธรรมของสรรพสิ่งทั้งปวงตามคำสอนของ จวงจื๊อ หรือเอกภาพแห่งหยินและหยางในลัทธิเต๋า
สรุป ข้อถกเถียงปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออกนั้นน่าจะเป็นประเด็นให้ได้พบกับคำตอบถึงความมีหรือไม่มีคุณค่าในการถกเถียงอย่างไม่รู้จบเกี่ยวกับ การแยกหรือไม่แยกปรัชญาออกจากเรื่องของเหตุผลบริสุทธิ์ ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์และอะไรคือประเด็นหลักที่ควรไตร่ตรองอย่างแท้จริง มากกว่าประเด็นถกเถียงเอาแพ้ชนะกันว่า “ปรัชญาตะวันออกและปรัชญาตะวันตก ฝ่ายใดเป็นปรัชญาที่แท้จริงหรือความเป็นปรัชญามากกว่ากัน”
ข้อสังเกต เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาเปรียบเทียบปรัชญากฎหมายตะวันตกกับกฎหมายไทยซึ่งปรัชญากฎหมายไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญากฎหมายตะวันออก ดังนั้น ปรัชญากฎหมายไทยจึงผูกพันกับคำสอนในทางศาสนาและความเชื่อในทางศาสนาที่ยึดถือกันอยู่ในสังคมไทย
แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของสัมพันธ์ภาพระหว่างปรัชญากับศาสนาที่มีระดับการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย รวมทั้งปัญหาเรื่องผลกระทบของขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นสังคมสมัยใหม่จากการถูกบีบจากประเทศอาณานิคมตะวันตก ทำให้ไทยใช้ปรัชญาประยุกต์ กล่าวคือ ปรัชญากฎหมายหรือนิติปรัชญาเป็นการศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1.การศึกษาถึงภาพรวมของกฎหมายในเชิงปรัชญาโดยเฉพาะ เรื่องธรรมชาติของกฎหมายหรือประเด็นความสัมพันธ์ของกฎหมายกับจริยธรรมหรือความยุติธรรม อันเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าถึงสิ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นวิญญาณของกฎหมาย ลักษณะสำคัญของปรัชญากฎหมายจึงเป็นการศึกษากฎหมายในความหมายที่กว้างที่สุดอย่างเป็นนามธรรมรวม ๆ ว่ามีธรรมชาติอันแท้จริงอย่างไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
2.ศึกษาถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับมนุษย์ ปัญหาเรื่องการเคารพเชื่อฟังกฎหมาย การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับเรื่องบทบาททางสังคมของกฎหมายในด้านต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาถึงปรัชญากฎหมายไทย ภายใต้อิทธิพลประเทศตะวันตะวันตกที่ได้รับปรัชญาตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าที่ผ่านมาในอดีตเราไม่อาจปฏิเสธปรัชญากฎหมายไทยทั้งในยุคโบราณจวบจนสมัยปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากสมมุติว่าเรายอมรับว่าคนไทยก็มีปรัชญา คนไทยมีการใช้กฎหมายเป็นประเพณีการปกครองบ้านเมืองมาแต่ยุคโบราณแล้ว เรื่องโลกทรรศนะของคนไทยที่มีต่อธรรมชาติของกฎหมายหรือกฎหมายในความหมายทั่วไปย่อมดำรงอยู่โดยมิพักต้องสงสัย แม่จะไม่ไม่มีการแยกแยะเป็นสำนักคิดต่าง ๆ แข่งขันกันเองแบบตะวันตกก็ตาม
ปรัชญากฎหมายไทยก่อนยุคที่ อิทธิพลความคิดตะวันตกจะเข้ามามีอิทธิพล (นับตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 )ลงมา) จะวางรากฐานอยู่บนความคิดทั่วไปของปรัชญาตะวันออกที่ผนวกปรัชญากับศาสนาเข้ากันอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอิทธิพลความคิดในศาสนาพุทธ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมอธิบายภาพรวมของกฎหมายจากฐานอุดมคติทางศาสนาที่เน้นศีลธรรมเรื่องธรรมะ มิใช่เป็นเรื่องของการใช้อำนาจล้วน ๆ ของฆาราวาส (ผู้ใหญ่บ้านในแผ่นดิน) ความเชื่อมโยงปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิมกับศาสนา (นั้นเป็นที่สังเกตว่าละมายคล้ายคลึงกับปรัชญากฎหมายตะวันตก กล่าวคือ ปรัชญาสำนักกฎหมายธรรมชาติ) อิทธิพลความสัมพันธ์พุทธศาสนากับปรัชญากฎหมายไทยดั้งเดิม ได้สื่อผ่านทางความคิดหรือคำสอนทางพุทธศาสนาต่างๆ สู่ประชาชนระดับล่างที่ผ่านมาต่างก็แฝงด้วยความคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้ปกครองตามไปด้วย คติ เรื่อง ทศพิศราชธรรมหรือธรรมราชา ไตรภูมิพระร่วงหรือวรรณคดีทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญอื่นๆ ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ซึ่งได้มีการเขียนเรื่องดังกล่าว ความรู้สึกหรือความเชื่อในจิตสำนึกคนไทยโบราณต่อสิ่งคู่กันระหว่างอำนาจและธรรมะ จึงน่าจะดำรงอยู่มาช้านานแล้ว
ข้อสรุปนี้ จึงน่าจะโยงกลับมาหาคำตอบเกี่ยวกับความเข้าใจต่อปรัชญากฎหมายของคนไทยในอดีตได้หากมองเห็นถึงธรรมชาติแห่งการใช้อำนาจที่ปรากฏอยู่เป็นข้อเท็จจริงภายนอกของกฎหมาย ในอีกแง่มุมหนึ่งเมื่อจากอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความเข้าใจหรือจิตสำนึกของคน ซึ่งในโบราณคนไทย ใช้คำว่า
“ธรรมะ” แทนคำว่า “กฎหมาย” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับเรียกกฎหมายแม่บทสำคัญว่า “พระธรรมศาสตร์” ดังปรากฏถ้อยคำในศิลาจารึก (หลักที่ 38)
philosophy หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ปรัชญากฎหมายตะวันตก
สำนักกฎหมายธรรมชาติ
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Nature Law School) ซึ่งเป็นเสมือนขั้วตรงข้ามกับทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Positive Law School) โดยเป็นปรัชญากฎหมายที่มีกำเนิดมาก่อนหน้าปฏิฐานนิยมทางกฎหมายนับพันปีและเป็นปรัชญากฎหมาย ซึ่งยังมีบทบาทหรืออิทธิพลความคิดระดับหนึ่งในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤติการณ์ทางสังคมหรือการเมือง ขณะที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะระส่ำระส่ายปราศจากความเป็นธรรม หลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ปรัชญากฎหมายธรรมชาตินี้ได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ตัวอย่างเช่น กรณีไทย 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้น
การปลูกฝังแนวความคิดนี้มีส่วนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบการปกครองไปสู่ทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย เช่น แนวคิดการประกาศอิสรภาพของอเมริกา ค.ศ.1776 การประกาศสิทธิมนุษยชนของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 การมีประมวลกฎหมายแพ่งนโปเลียนหรือประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (นับได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก) ล้วนแต่ได้รับแนวความคิดของกฎหมายธรรมชาติอยู่มากล้นด้วยกัน
หากเริ่มต้นด้วยการพิจารณาที่ความหมายของคำว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Nature Law) เราจะพบว่าในความหมายทั่วไปนั้น กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎหมายซึ่งบุคคลอ้างว่ามีอยู่ตามธรรมชาติ คือ เกิดมามีเอง โดยมนุษย์ไม่ทำขึ้นเป็นกฎหมายที่อยู่เหนือรัฐ และใช้ได้โดยไม่จำกัดกาลเทศะ
กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์อุดคติที่มีขึ้นเพื่อจัดให้เกิดความสมดุลอย่างมากที่สุดที่จะเป็นไปได้ ระหว่างปัจเจกชนกับกลุ่มส่วนรวม ระหว่างเสรีภาพส่วนบุคคลกับความเสมอภาคของทุกคน
การให้ความหมายต่างๆข้างต้น เมื่อพิจารณาแล้วคงมีความรู้สึกได้ถึงแง่มุมเชิงจิตนาการหรือการ
คิดฝันเกี่ยวกับกฎหมายอุดมคติซึ่งดูแล้วเข้าใจยาก
ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาให้ถึงแก่นของกฎหมายธรรมชาติ โดยมีประเด็นที่ต้องศึกษา เช่น
- อะไรคือธรรมชาติ
- เนื้อหาจริงๆ ของกฎหมายธรรมชาติคืออะไร
- ทำไมจึงต้องมีกฎหมายธรรมชาติ แยกต่างหากจากกฎหมายของรัฐ เป็นต้น
ดังนั้นเราจะเข้าใจในปรัชญากฎหมายธรรมชาติได้ถ่องแท้ได้นั้นเราจำเป็นต้องศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของปรัชญากฎหมายธรรมชาติในอารยธรรมตะวันตกให้เข้าเสียก่อน ซึ่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ สามารถแยกอธิบายดังนี้
1. ยุคโบราณกรีกและโรมัน (500 BC. – 5 AD.)
2. ยุคมืด (5 AD. – 12 AD.) และยุคกลาง (12 AD – 16 AD)
3. ยุคฟื้นฟู (14 AD. – 16 AD.) ในยุคปฏิรูป (16 AD. 18AD.)
4. ยุคชาติรัฐนิยม หรือรัฐชาติ หรือรัฐสมัยใหม่ (18 AD. 19 AD.)
5. ยุคปัจจุบัน
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในแต่ละช่วงแต่ละยุคนี้อาจสะท้อนให้เราเห็นต่อไปถึงความเป็นอนิจจัง
ในบทบาทของปรัชญากฎหมายธรรมชาติได้อย่างดีและอาจจะทำให้เข้าธรรมชาติของกฎหมายด้วย
1.กฎหมายธรรมชาติยุคกรีกและโรมัน
แนวคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติได้ก่อตัวเป็นรูปร่างสำคัญ โดยปรัชญาเมธีกรีก ชื่อ เฮราคริตุส
(Haraclitus) 540 – 480 ก่อน ค.ศ. ผู้เป็นเจ้าของคำกล่าวอันเลื่องลือว่า “มนุษย์ไม่อาจกระโดดลงสู่กระแสธารได้สองครั้ง” เมธีผู้นี้ได้พยายามค้นหาสัจจะเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉพาะความจริงเกี่ยวกับแก่นสารของชีวิต ซึ่งเขาพบว่าธรรมชาติ คือ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง แก่นสารของชีวิตคือธรรมชาติ และแก่นสารของชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยจุดหมายปลายทาง ระเบียบและเหตุผลอันแน่นอน ซึ่งไม่อาจผันแปรได้นับเป็นการยืนยันว่ากฎเกณฑ์ ซึ่งใช้เป็นตัวควบคุม “แก่นสารของชีวิต” นั้นย่อมปรากฏอยู่แล้วในธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นจากการบัญญัติหรือเจตจำนงของมนุษย์ผู้มีอำนาจคนใด โดยเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นภววิสัย (Objective) หรือเป็นจริงอยู่เองโดยธรรมชาติซึ่งอยู่นอกหรืออยู่เหนือโครงสร้างอำนาจรัฐ
แนวคิดของ เฮราคริตุส ได้รับการสืบทอดแนวความคิดมายังบรรดานักคิดหลายคนในกลุ่มนักปรัชญากรีกโบราณนี้เรียกว่าพวก โสฟิสท์ (Sophists) อันเป็นกลุ่มที่ก่อตัวในช่วง 400-500 ปีก่อน คริสศักราช พวกโสฟิสท์ มีความคิดแตกต่างหลากหลายไม่สามารถหาลักษณะร่วมทั่วไปในความคิดของพวกนี้ เนื่องไม่มีพวกโสฟิสท์คนใดสร้างระบบคิดที่แน่นอน โสฟิสท์ จึงเป็นพวกแรกที่สนใจวิธีการใช้วาทะในการโต้เถียง
สมัยกรีกนั้นได้ปกครองในระบบทรราชย์ เต็มไปด้วยความอยุติธรรม และการกดขี่ข่มเหงกันบริบททางสังคม เช่นนี้เองที่เป็นตัวกระตุ้นหรือบันดาลใจให้พวก โสฟิสท์ บางคนได้อ้างเรื่องกฎหมายธรรมชาติขึ้นมาต่อต้าน คัดค้านการปกครองที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งคัดค้านให้ยกเลิกระบบอภิสิทธิ์และระบบทาสในยุคนั้น เนื่องจากเห็นว่ามนุษย์ล้วนมีความเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ
พวกโสฟิสท์ ชื่อ โซโฟครีส ได้เขียนหนังสือ ชื่อ แอนทีโกนี รัชกาลที่ 6 ทรงแปลเป็นไทยได้ตั้งชื่อเรื่องว่า อันตราคนี อันเป็นละครโศกนาฏกรรม ซึ่งบรรจุหลักการสำคัญในการแยกกฎหมายอันแท้จริงออกจากโครงสร้าง อำนาจของรัฐ และการยืนยันความเป็นโมฆะของกฎหมายแผ่นดินที่ขัดแย้งกับกฎหมายธรรมชาติ ยอมรับความตายในการต่อสู้กับกฎหมายของรัฐที่ไม่เป็นธรรม
ในเรื่อง พระเจ้าครีออน สั่งลงโทษ โปลีนิซัส ในฐานคนขายชาติ แอนทีโกนี ซึ่งเป็นน้องสาว ถือว่าคำสั่งนี้มิชอบด้วยความยุติธรรม เพราะขัดต่อเทวโองการ จึงถือว่าพระราชโองการผิดกฎหมาย (ของเทพเจ้า) พระเจ้าครีออน ถือว่าพระราชโองการ คือ กฎหมายและทุกคนต้องเคารพกฎหมาย หาไม่รัฐก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ แอนทีโกนี ย้อนว่า ถ้าพระราชโองการขัดแห่งความยุติธรรมแล้ว พระราชโองการนั้นย่อมเป็นโมฆะจะบังคับใช้มิได้ แม้มนุษย์จะเป็นพระราชาก็ไม่สามารถออกกฎหมายมาลบล้าง หรืออยู่ให้เหนือกฎของสวรรค์อันมิได้ตราลงไว้ จากละครเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า แอนทีโกนี อยู่ฝ่ายนักทฤษฎีที่ถือว่ากฎหมายต้องเข้ากับกฎธรรมชาติ ส่วน พระเจ้าครีออน อยู่ฝ่ายนักทฤษฎีที่ถือว่ากฎหมายที่รัฐบาลบังคับใช้ ต้องมีการปฏิบัติตาม
แต่อย่างไรก็ตาม พวกโสฟิสท์ บางกลุ่มหรือหลายคนที่ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติ โดยเฉพาะ
ปีทาโกรัส (Pythagoras) เห็นว่าความจริงนั้นสิ่งที่เป็นธรรมชาติมีความหลากหลายไม่แน่นอนโดยเฉพาะปัญหาว่าอะไรดีอะไรชั่วเป็นเรื่องของแต่ละคนไม่มีมาตรฐานสากล เพราะมนุษย์จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน สมองแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การที่จะให้เหตุผลว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกย่อมแล้วแต่ละคน “เพราะมนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” (Man is the measure of all things)
จากแนวคิดของ ปีทาโกรัส ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากเพราะเห็นว่าเป็นแนวคิดที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่สังคมได้ กล่าวคือถ้าสังคมไปยึดแนวคิดของ ปีทาโกรัส แล้วจะทำให้เกิดความระส่ำระส่ายในทางศีลธรรมเพราะทุกคนต้องเชื่อว่าผิดถูกอยู่ที่ตัวของเขาเอง
ดังนั้น จึงได้มีนักคิดอุดมคติที่เชื่อในเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมออกมาคัดค้านโต้แย้งกลุ่มโสฟิสต์ที่ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งเป็นนักคิดสำคัญได้แก่ โสเกรติส เพลโต และอริสโตเติล
โสเกรติส (Socratis) มุ่งอบรมสั่งสอนผู้คนให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริง โดยอาศัยวิธีการสนทนาให้ข้อคิดในทางจารีต ขนบธรรมเนียม ศีลธรรมต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อคู่สนทนาพบว่าสิ่งซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติและรู้อย่างดีนั้น แท้จริงไม่ใช่อย่างที่ตนเข้าใจ โสเกรติส จะตั้งคำถามให้คู่สนทนาคิดให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและการตั้งคำถามดังกล่าว โสเกรติส สามารถที่จะชักนำให้คู่สนทนาเข้าถึงความรู้ที่ลึกซึ้งแท้จริงได้ที่เรียกว่าเป็น “วิภาษวิธี” (Dialectic)
ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่สามรถอบรมสั่งสอน เมือผู้ใดมีความรู้ อย่างแท้จริงผู้คนจะดำเนินชีวิตไปตามตามบทสนทนาและเมื่อผู้ใดอย่างแท้จริงแล้วผู้คนจะดำเนินชีวิตไปตามหนทางแห่งความดี ย่อมดำเนินชีวิตถูกต้องตามคลองธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตบั้นปลายของ โสเกรติส นั้นน่าศึกษามาก กับการยอมรับกฎหมายที่ตัวเองไม่มีความผิดในข้อหาสร้างเทพเจ้าขึ้นใหม่และบ่อนทำลายจิตใจของคนหนุ่มสาวกรีกสมัยนั้น โดนพิพากษาลงโทษดื่มยาพิษ การยืนยันของ โสเกรติส ที่ยอมรับโทษประหารชีวิต แม้จะประกาศว่าตนเองนั้นไม่มีความผิดและแม้ตนเองจะมีช่องทางหลบเลี่ยงโทษมหันต์ได้เพียงเพื่อความรักษาศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นหลักคุณธรรมของเขาว่า“ประชาชนทุกคนต้องเคารพปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงว่า
กฎหมายนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่ก็ตาม”
แม้หลักการของ โสเกรติส ดูออกจากตรงข้ามกับ แอนทีโกนี แต่ก็มีจุดร่วมในการยืนยันความเชื่อหรือหลักการที่คิดว่าถูกต้อง แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ตาม
เพลโต (Plato) เห็นว่าพวกโสฟิสท์ ที่ไม่ยอมรับเรื่องกฎหมายธรรมชาตินั้นทำให้เกิดความเสื่อมในทางศีลธรรมและการหลงบูชาอำนาจ ในนครเอเธนส์สมัยนั้น เพลโต จึงได้พยายามแก้ไขด้วยการ อธิบายและปลูกฝังความคิดเรื่อง แบบ (Forms) หรือแม่พิมพ์ของสิ่งที่เป็นเอกสารหรือคุณธรรมอันเป็นสากลไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ความดีถูกต้องที่เป็นสากล) (ทฤษฎีจิตนิยมเรื่อง “แบบ”) พร้อมกันนั้นเพลโตก็ได้แก้ไขตรรกะแห่งคำอธิบายเรื่องธรรมชาติมนุษย์ของพวก โสฟิสท์ ใหม่ด้วยการขยายรากฐานเชิงภววิทยา
(Ontological Foundation) ของคำว่าธรรมชาติดังกล่าวโดยยกระดับความหมาย “ธรรมชาติ” จากขอบเขตของความเป็นข้อเท็จจริงอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับมนุษย์สู่ระดับของคุณค่านิยมถึงที่สุด และกำหนดให้สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความเป็นจริง” ดำรงอยู่ แต่เฉพาะในโลกแห่งปัญญาเท่านั้น แนวคิดดังกล่าวของเพลโต เรียกว่า ทฤษฎีราชาปราชญ์ (The theory of Philosopher King) ซึ่งเป็นตัวทฤษฎีเน้นความสำคัญของตัวบุคคลค่อนข้างมาก คือ ตัวบุคคลที่เป็นราชาปราชญ์หรือผู้มีปัญญา
ทฤษฎีราชาปราชญ์ของ เพลโต แบ่งแยกออกเป็นวรรณะชนชั้นที่แตกต่าง ซึ่งอาจแยกได้ 4 ชนชั้น ดังนี้ คือ
1. ชนชั้นปกครอง Men of God ผู้ปกครองยุครัฐ
2. ชนชั้นทหาร Men of Silver คือ กองทัพที่จะอุ้มชูอำนาจ
3. ชนชั้นชาวนา หรือพ่อค้าวานิช ประชาชน
4. ชนชั้นช่างฝีมือ หรือพ่อค้าวานิช ประชาชน
การแบ่งแยกคนเป็นชนชั้นดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความไม่ถูกต้อง ในขณะที่ เพลโต พยายามที่จะบอกว่านี่ คือ ธรรมชาติ เพราะมนุษย์เราโดยธรรมชาติมีความแตกต่างกัน บางคนอาจมีแนวความคิดสามารถทางด้านสติปัญญาเหนือคนอื่น บางคนอาจจะเหนือคนอื่นในแง่เกี่ยวกับความกล้าหาญหรือบางคนอาจจะเหนือความอดทนเป็นพิเศษซึ่งเหล่านี้จะเป็นความแตกต่างในตัวมนุษย์ นอกจากนั้น ทฤษฎีของ เพลโต ยังระบุไว้ด้วยว่าพวกชนชั้นนักปราชญ์ หรือพวกชนชั้นทหารนั้นจะต้องเป็นชนชั้นที่ไม่มีครอบครัวไม่สามารถมีหรือครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว เพราะ เพลโต มองว่าการมีครอบครัวหรือทรัพย์สินส่วนตัวทำให้เกิดยึดติด ทำให้เกิดความโลภและการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งพวกนี้ แล้วปัญญาจะไม่เกิด
โดยหลักการแล้วรัฐในอุดมคติของ เพลโต จึงเป็นรัฐที่ปกครองด้วยบุคคลซึ่งว่าฉลาดปราชญ์เปรื่องที่สุด และเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มิใช่รัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย หรือด้วยหลักนิติธรรม
อย่างไรก็ตามในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพลโต จากประสบการณ์ในเชิงลบประจักษ์จากความพยายาม ที่จะสถาปนารัฐอุดมคติขึ้นมานั้น ความเป็นจริงแล้วคงไม่มีนักปราชญ์หรือผู้มีปัญญาอย่างดีเลิศขึ้นมาปกครองได้
จากความขมขื่นดังกล่าว อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ เพลโต อริสโตเติล เห็นถึงความบกพร่องในความคิดของ เพลโต และไม่เห็นด้วยกับแบบจำลองของรัฐในอุดมคติ อริสโตเติล ให้เหตุผลว่า แม้ว่าเราจะสามารถ หามนุษย์ที่ฉลาดปราดเปรื่องหรือบริสุทธิ์เพียบพร้อมดั่งพระเจ้า ตามทัศนะของเพลโตก็ตามรัฐนั้นก็ยังต้องปกครองด้วยกฎหมายอยู่นั่นเอง และกฎหมายที่เหมาะสมในการปกครองสังคมก็คือกฎหมายธรรมชาติหรือความยุติธรรมโดยธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม อริสโตเติล เห็นด้วยกับ เพลโต ในประเด็น การเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติ โดยอาศัยปัญญาอันบริสุทธิ์หรือเหตุผลที่เป็นอิสระ
อริสโตเติล เชื่อว่าเหตุผล (Reason) ของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ คุณค่าที่ธรรมชาติได้ให้ความสามารถใช้เหตุผลมาแก่มนุษย์อันแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น คือ มนุษย์ต้องกระทำให้สอดคล้องกับคุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
1)คุณธรรมรู้แจ้งซึ่งได้แก่ เหตุผลและความรู้
2)คุณธรรมทางจริยธรรมได้แก่ การกระทำชอบ ความกล้าหาญ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และคุณสมบัติอื่นที่ดี
อริสโตเติล จะมองกฎหมายธรรมชาติในแง่เป็นกฎหมายอุดมคติที่มีการพัฒนา สภาพความเป็นกฎหมายจนถึงจุดสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม สภาพความเด็ดขาดสูงสุดที่ละเมิดมิได้ของกฎหมายธรรมชาติ ตามทัศนะของ อริสโตเติล ไม่ได้พูดไว้ ในกรณีความขัดแย้งระหว่างหลักกฎหมายธรรมชาติหรือหลักความยุติธรรม กับกฎหมายส่วนบัญญัติ หรือกฎเกณฑ์ที่รัฐตราออกมาใช้บังคับในการปกครอง ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรจะถือว่าเป็นโมฆะหรือไม่ อริสโตเติล ไม่ได้กล่าวถึง เพียงแต่ยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ
สำนักสโตอิคกับกฎหมายธรรมชาติ (Stoic School) จากความคิดของ อริสโตเติล ซึ่งเชื่อในเรื่องของเหตุผลของมนุษย์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือเป็นดั่งเครื่องมือที่สามารถนำไปสืบค้นเกณฑ์อันเป็นสากลธรรมชาติ ความคิดดังกล่าวของ อริสโตเติล มีอิทธิพลสืบเนื่องมาถึงสำนักสโตอิค (Stoic School) ซึ่งก่อตั้งในราว 300 กว่าปีก่อนคริสศักราช โดยมี เซโน (Zeno : 350-260 B.C.) เป็นผู้ก่อตั้งสำนักนี้
ข้อสังเกต ปรัชญาความคิดของสำนักดังกล่าวนี้มีอิทธิพลความคิดที่มีผลต่อเนื่องจนถึงยุคปฏิวัติในฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789
สำนักสโตอิค มีแนวคิดพื้นฐานว่าในจักรวาลซึ่งโลกมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งนั้น ประกอบด้วย แก่นสาร (Substance) และ เหตุผล (Reason) หรือความเป็นเหตุผลนี้จะเป็นเสมือนกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มีลักษณะแน่นอน, ทั่วไปหรือเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ซึ่งคอยควบคุมความเป็นไปของจักรวาลมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติของจักรวาลและเป็นสัตว์โลกที่รู้จักคิดใช้เหตุผล จึงย่อมถูกกำหนดควบคุมโดย เหตุผลอันเป็นสากล เหตุผลในฐานะเป็นพลังทางจักรวาลจึงเข้าไปครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งเป็นพื้นฐานของกฎหมายและความยุติธรรมด้วย กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎหมายธรรมชาติจึงย่อมถือเป็นสิ่งเดียวกับกฎเกณฑ์แห่งเหตุผล โดยเหตุนี้จึงย่อมเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติได้ด้วยการใช้เหตุผลของเขาเองและเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ดังนั้นในทรรศนะของสโตอิค
1. มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขหรือความสะดวกสบาย แต่มนุษย์จำต้องยอมทนทุกข์
ทรมานกับการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2.การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ต้องเป็นไป อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ, สอดคล้องกับเหตุผลหรือคุณงามความดี และที่สำคัญมนุษย์ควรจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีอิสระ จากอารมณ์ความรู้สึกหรือตัณหาต่าง ๆ พยายามต่อสู้ เพื่อบรรลุถึงความสงบสันติหรือกลมกลืนอย่างรอบด้านภายในใจ ที่เรียกว่า “ธรรมชาตินิยม” (Natural Law)
ความเชื่อในเรื่องการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมีความเสมอภาคกัน โดยไม่จำกัดสัญชาติหรือเผ่าพันธุ์ คำสอนเช่นนี้จึงเป็นความเชื่อในเรื่องสากลนิยม (Cosmopolitan Philosophy) ไม่ให้ยึดติดในเชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, หรือศาสนา สอนให้คนมีจิตใจกว้างขึ้นและยอมรับเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคนรวมทั้งเรื่องความเป็นสากลของกฎหมายธรรมชาติ
ในแง่นี้เองที่เราพบว่าอุดมคติสูงสุดของสำนักสโตอิค อยู่ที่เรื่องรัฐแห่งโลก (World – State) หรือโลกนิยม โดยที่มนุษย์ทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเป็นธรรม
ซิเซโร (Cicero) ซึ่งเป็นชาวโรมันแต่ไปศึกษาที่เอเธนส์ จึงได้รับปรัชญาแนวความคิดสโตอิคมาอย่างมากและที่สำคัญ ซิเซโร เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างมากในพัฒนาหลักนิติศาสตร์ของโรมันบนรากฐานปรัชญาสำนักสโตอิค ซิเซโร ได้เขียนอธิบายกฎหมายธรรมชาติไว้ว่า
“กฎหมายที่แท้จริง คือ เหตุผลที่ถูกต้อง กลมกลืนสอดคล้องกับธรรมชาติ, แผ่ซ่านในทุกสิ่งทุกอย่าง สม่ำเสมอ นิรันดร เป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิดหน้าที่โดยคำสั่งให้กระทำและงดเว้นจากความชั่ว โดยข้อห้ามของกฎหมายเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธ์ที่จะไม่พยายามบัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับกฎหมายนี้ เป็นสิ่งไม่อาจยกเลิกหรือทำให้เสื่อมคลาย อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นวุฒิสภาหรือประชาชนก็ตามหาอาจหลุดพ้นจากความผูกพันของกฎหมายนี้ไม่ได้ และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะพึ่งพาสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเราเองที่จะเป็นผู้แสดงออกหรือตีความกฎหมาย,กฎหมายนี้ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรมหรือเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เอเธนส์ ไม่เป็นอย่างหนึ่งในขณะนี้ หรืออีกอย่างหนึ่งในเวลาต่อมา แต่เป็นกฎหมายประการเดียวที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลงและมีผลผูกพันทุกชาติทุกภาษาทุกยุคทุกสมัยตลอดกาล “
จากคำกล่าวของ ซิเซโร (Cicero) สรุปได้ว่ากฎหมายธรรมชาติมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องเหตุผลที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ดังคำที่ว่า “กฎหมายที่แท้จริง คือ เหตุผลที่ถูกต้อง”
2. กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะทั่วไป ดังข้อความที่ว่า “แผ่ซ่านไปยังทุกสิ่งทุกอย่าง” ซึ่งแสดงว่ากฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป เหตุผลหรือหลักเกณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ได้อยู่เหนือหรือแยกออกจากสิ่งต่าง ๆ
3.กฎหมายธรรมชาติผูกพันทุกคนให้ต้องปฏิบัติตาม ดังข้อความที่ว่า “เป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิด
คำสั่งบังคับให้ทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและเป็นข้อห้ามมิให้คนทำชั่ว”
4.กฎหมายธรรมชาติมีคุณค่าเหนือกว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น ดังข้อความที่ว่า “เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะไม่พยายามบัญญัติกฎหมายให้ขัดกับกฎหมายนี้ กฎหมายนี้จะถูกลดค่าหรือยกเลิกมิได้” ในแง่นี้กฎหมายธรรมชาติมีสถานเป็นกฎหมายในอุดมคติ
5.กฎหมายธรรมชาตินี้มีอยู่ภายในจิตใจของคน ข้อความที่ว่า “ไม่ว่าจะโดยวุฒิสภาหรือประชาชน เราก็ไม่สามารถที่จะถูกปลดปล่อยให้พ้นจากกฎหมายนี้ได้ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะพึ่งบุคคลอื่น หรือสิ่งอื่นนอกจากตัวของเราเองที่จะเป็นผู้แสดงออกให้เห็นหรือตีความกฎหมายธรรมชาตินี้” แสดงให้เห็นว่า กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่อยู่ในใจของคนสามารถรู้ได้เอง จึงไม่ต้องไปศึกษาหรือไต่ถามจากคนอื่น เป็นการยืนยันว่ามนุษย์มีความสามารรถที่จะค้นพบว่าอะไรผิดอะไรถูก ไม่มีพลังอื่นใดจากภายนอกมาบังคับให้ต้องมาเช่นนั้น
6.กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะสากลและไม่เปลี่ยนแปลง ดังข้อความที่ว่า “กฎหมายนี้ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรม หรือเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เอเธนส์ไม่เป็นอย่างหนึ่งในขณะนี้หรือเป็นอย่างอื่นในเวลาต่อมา เป็นกฎหมายประการเดียวที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลงและมีผลผูกพันทุกชาติทุกภาษาตลอดกาล”
การวิเคราะห์วิจารณ์ยุคกรีกโบราณเป็นยุคแรกเริ่มแห่งปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นอภิปรัชญามากเกินไปและไม่มีการผ่อนปรนในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่ากฎเกณฑ์ใดมีความยุติธรรมและสามารถนำไปใช้ในสังคมได้ เพราะเป็นนามธรรมที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
2. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคมืด (5 AD–12 AD) และยุคกลาง (12 AD–14 AD)
นับแต่จักรวรรดิ์ โรมันอันยิ่งใหญ่ได้ล่มสลายในศตวรรษที่ 5 ยุโรป ก็ได้เข้าสู่ยุคมืดและยุคกลาง อันยาวนานเกือบ 900 ปี ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานในทางสังคมแบบศักดินา ภายใต้การครอบงำของศาสนจักรโรมันคาทอลิคที่มีสังฆราชแห่งกรุงโรมเป็นประมุข
ในช่วงยุคมืดของยุโรป สังฆราชสำคัญ ๆ แห่งกรุงโรม อาทิ เช่น แอมโบรส (Ambrose) ออกุสติน (Augustine) และเกรกอรี (Gregory) ได้ทำการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับหลักคำสอนในคริสต์ศาสนา โดยนำแนวคิดของสำนักสโตอิคมาผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์ในเรื่องบาปโดยกำเนิด (Original Sin) ของมนุษย์ชาติและนำคติความเชื่อของฝ่ายคริสต์ศาสนามาแทนที่ “เหตุผล” ในฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดของจักรวาล
เซนต์ ออกุสติน (ST. Augustine) เป็นผู้เสนอความคิดเห็นว่ากฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามศาสนาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นจึงบังคับให้รัฐอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนา ตั้งแต่นั้นมากฎหมายในยุโรปก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกฎของศาสนาซึ่งก็ยังผลประโยชน์ให้กับประชาชนเช่นกัน เนื่องจากกฎของศาสนาบังคับไม่ให้ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงประชาชน
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรซึ่งต่างพยายามอ้างอำนาจในการตราหรือตีความกฎหมายต่าง ๆ และจุดขัดแย้งนี้นับว่าเป็นเหตุจูงใจอันสำคัญอย่างมากในการพัฒนาปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
เซนต์ โทมัส อไควนัส (ST.Thomas Aquinas) (1226 – 1274) เป็นนักบวชและนักปรัชญาชาวอิตาเลียน ผู้สร้างงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญ เรื่อง “Suma Theologica” ซึ่งเป็นการเชื่อมวิธีคิดแบบเหตุผลนิยม (Rationalism) กับเจตนานิยม (Voluntarism) เข้าด้วยกันโดยนำเอาปรัชญาของอริสโตเติล มาสังเคราะห์กับปรัชญาทางคริสต์ศาสนา ในขณะที่อริสโตเติล ยืนยันว่ามนุษย์สามารถค้นพบกฎหมายธรรมชาติได้โดย อาศัย “เหตุผล“ ในตัวมนุษย์เอง
อไควนัส ก็ได้พยายามเชื่อมโยงเรื่อง “เหตุผล” (Reason) ดังกล่าวเข้ากับ “เจตจำนง” (Will) ของพระเจ้า โดยถือว่า หรือการนำเอาเหตุผลของมนุษย์มาเชื่อโยงกับหลักธรรมของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเขาเชื่อว่าเหตุผลที่สูงกว่า เหตุผลที่สมบูรณ์ถูกต้องมากกว่าซึ่งใช้เป็นเครื่องมือ ในการค้นหากฎหมายธรรมชาตินั้นปรากฏอยู่ใน “เหตุผลของพระเจ้า” (Divine Reason) หรือ “เจตจำนงของพระเจ้า” ซึ่งถือว่ามีความบริสุทธิ์ถูกต้องมากกว่า “เหตุผล” ของมนุษย์ซึ่งอาจมีความผิดพลาดได้และจากจุดนี้เองที่ทำให้เขาสรุปว่า “หลักธรรมโองการหรือเจตจำนงพระเจ้าคือที่มากฎหมายธรรมชาติ” (Christian Natural Law)
การเชื่อมระหว่างเหตุผลเข้ากับเจตจำนงของพระเจ้า อไควนัส ได้แบ่งแยกกฎหมายออกเป็น
4 ประเภท คือ
1. กฎหมายนิรันดร (Lex aeterna / EternalLaw)
2. กฎหมายธรรมชาติ (Lex naturalis / Natural Law)
2. กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ (Lex divina / Divine Law)
3. กฎหมายของมนุษย์ (Lex humana / Human Law)
กฎหมายนิรันดร จัดว่าเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นเหตุผลหรือปัญญาอันอันศักดิ์สิทธิ์ที่คอยบงการความเคลื่อนไหวหรือการกระทำทั้งปวงในจักรวาล และมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ล่วงรู้ถึงกฎหมายนี้มนุษย์ทั่วไปอาจหยั่งรู้ได้โดยตลอด
กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาติถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายนิรันดรที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัย “เหตุผล” อันเป็นคุณสมบัติธรรมชาติที่พระเจ้าประทานให้ ซึ่งมีหลักธรรมอันเป็นมูลฐานที่สุดก็คือ “การทำความดีและละเว้นความชั่ว” ที่มีอยู่ภายในตัวของเราเอง
กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง กฎเกณฑ์หรือหลักธรรมต่าง ๆ ที่ถูกจารึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิล
(Bible)
กฎหมายของมนุษย์ หมายถึง กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นมาใช้ในสังคม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่สูงกว่าก่อนหน้า อไควนัส เห็นว่าหากกฎหมายของมนุษย์เรื่องใดมีหน้าที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ ย่อมไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย แต่เป็นความวิปริตของกฎหมายซึ่งอยู่หางไกลจากลักษณะของกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายให้พลเมืองเป็นคนดี อไควนัส เห็นว่ากฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี อาทิ เช่น
1. กฎหมายมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่หากเป็นการตอบสนองต่อกิเลสตัณหาของผู้ออกกฎหมาย
2. กฎหมายบัญญัติขึ้นเกินกว่าอำนาจของผู้ออก
3.เป็นกฎหมายที่กำหนดภาระแก่คน อย่างไม่เสมอภาค
ข้อ 1 – 2 ซึ่ง อไควนัส ถือเป็นโมฆะโดยเด็ดขาดและประชาชนไม่จำต้องคารพเชื่อฟังข้อ 3 หากยึดเอาคุณธรรมเรื่องความรอบคอบเป็นหลักแล้วประชาชนอาจจำต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้เพื่อความเป็นธรรมในการหลีกเหลี่ยงความสับสนวุ่นวายในสังคม
การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็น 4 ประเภทนี้ จึงนับว่าเป็นการประนีประนอม ระหว่างความคิดของกรีกกับความคิดของคริสเตียน และได้แก้ปัญหาลำดับชั้นของกฎหมาย ซึ่งมีมาแต่โบราณว่าความยุติธรรมตามธรรมชาติ กับ ความยุติธรรมที่มนุษย์สมมุติขึ้น (กฎหมายที่บัญญัติขึ้น) ควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดย อไควนัส ได้เน้นว่า กฎหมายมนุษย์จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายธรรมชาติ ถ้ากฎหมายมนุษย์ขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายมนุษย์ไม่มีค่าเป็นกฎหมาย เป็นการเน้นหลักกฎหมายลำดับสูงกว่า (Higher law) กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติและกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เป็นกฎหมายที่สูงกว่ากฎหมายบ้านเมืองของมนุษย์ถ้ากฎหมายบ้านเมืองเองขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ หรือขัดต่อกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายนั้นย่อมไร้ผลและราษฎรย่อมมีสิทธิไม่เชื่อฟังผู้ปกครองได้ (The Right of Disobedience) ทั้งนี้เพราะราษฎรย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เหนือสิ่งอื่นใด
ความคิดของ อไควนัส จึงมีฐานะเสมือนข้อต่อทางความคิดกฎหมายธรรมชาติที่เน้นความสำคัญของ เหตุผล ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก คือ ตั้งแต่ เพลโต อริสโตเติล สโตอิคและสมัยโรมันถ่ายทอดต่อมาในสมัยกลางอย่างไม่ขาดสาย และส่งทอดต่อไปจนถึงสมัยใหม่ในภายหลังอย่างไม่ขาดตอน
การวิเคราะห์วิจารณ์ยุคมืดให้ความสำคัญกับศาสนา (โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค) มาก ความขัดแย้งอันเกิดขึ้นและเป็นการล่วงละเมิดอำนาจของศาสนา ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องต่อต้านอำนาจรัฐ ทำให้ศาสนามีอิทธิพลในการปกครองรัฐในการปกครองประชาชน ดังนั้นการกระทำใดของผู้ปกครองนั้นต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนา ทำให้การปกครองนั้นอยู่ภายใต้อำนาจผู้นำทางศาสนา หรือเรียกว่า ยุคศาสนจักรครอบงำอาณาจักร
3. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคฟื้นฟู (14 AD - 18 AD) หรืออาจเรียกว่า กฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่
เมื่อยุโรปเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 14 ถึง16 อำนาจและความคิดทางศาสนจักรเสื่อมถอยลง ความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติก็มิได้เสื่อมคลายลง แต่ความเชื่อเรื่องกฎหมายธรรมชาติกลับฟื้นฟูรุ่งเรื่องอย่างมหาศาล ในศตวรรษที่ 17-18 (Secular natural Law) ซึ่งเน้นธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature) ว่ามี “สติปัญญาหรือมีเหตุผล” และเหตุผลในธรรมชาติของมนุษย์นี้ เป็นรากฐานของกฎหมายธรรมชาติซึ่งมีนักคิดที่สำคัญ ได้แก่ ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius 1583 –1645) พูเฟนดอร์ฟ (Samuel Purfendorf :1632 – 1694 ) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobber :1588 – 1679) สปินโนซา (Benedict Spinoya : 1632 – 1677) จอห์น ล๊อค (John Lacke : 1632 – 1704) มองเตสกิเออ (Baron Charlers Louis de Montesquieu : 1689 – 1755) รุสโซ (Jean Jacques Rousseau : 1712 – 1778) หรือวูล์ฟ (Christian Wolff : 1679 – 1754) เป็นต้น
ข้อสังเกต ในยุคนี้เองที่ ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius) นักกฎหมายชาวฮอลแลนด์ได้นำเอาหลักกฎหมายธรรมชาติบางเรื่องมาใช้สร้างเป็นรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ควบคุมกิจการและกติกาในการทำสงครามต่างๆ ระหว่างรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่ๆ จนทำให้ โกรเชียส ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของกฎหมายระหว่างประเทศ แนวคิดของ โกรเชียส ในปรัชญากฎหมายธรรมชาติจะเน้นในเรื่องเหตุผลและสติปัญญาของมนุษย์ ในฐานะที่มาของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่าเหตุผลและสติปัญญานี้ปรากฏอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์เอง
แนวความคิดกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อระบบกฎหมายสมัยใหม่ของยุโรปตะวันตก โดยทำให้กฎหมายสมัยใหม่เป็นที่มีเหตุผลและคำนึงถึงมนุษยธรรม คนธรรมดาสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยเหตุผล เห็นได้จากประมวลกฎหมายฉบับต่างๆ ในยุโรป เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรีย ประมวลกฎหมายทั่วไปของอาณาจักรปรัสเซีย เมื่อพิจารณาประวัติความคิดของกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่แล้ว เราอาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ยุคจัดระบบกฎหมายใหม่
ความคิดกฎหมายธรรมชาติในช่วงนี้ เป็นความพยายามที่จะใช้เหตุผลตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจได้ มาจัดระบบกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ใหม่แทนความคิดและความเชื่อของศาสนาจักร ซึ่งกลายเป็นพลังทางความคิดที่ช่วยเกื้อหนุนการสร้างชาติของรัฐสมัยใหม่ซึ่งเป็นรัฐฆราวาส
(Secular State) คือ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นอิสระจากศาสนจักร เพราะการสร้างชาติจำเป็นต้องมีระบบราชการประจำที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานซึ่งต้องอาศัยกฎหมายทั้งสิ้น นักคิดที่สำคัญ ในยุคนี้ ได้แก่ โกรเชียส, โทมัส ฮ๊อบส์, และพูเฟนดอร์ฟ
ข้อสังเกต แนวความคิดยุคนี้ ความคิดแบบปัจเจกชนนิยม (Imdividualism) ได้เริ่มก่อตัวและแพร่หลายมาก
ดังนั้น นักคิดในสมัยนี้จึงต้องเสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) ขึ้นอธิบายว่า สังคมอื่นการยินยอมนี้ก่อให้เกิดความผูกพันและสัญญาประชาคมขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมในยุคนี้ คือ โทมัส ฮอ๊บส์ ได้มองมนุษย์ในแง่ร้าย คือ เห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีเหตุผล จึงสนับสนุนอำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดของผู้ปกครอง ความคิดนี้จึงสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด ส่วนทฤษฎีสัญญาประชาคมอีกแง่หนึ่งคือมองมนุษย์ในแง่ดี จะอธิบายในแนวความคิดในวิจารณ์
ยุคที่ 2 ยุควิเคราะห์วิจารณ์
ยุคนี้เป็นยุคของการใช้เหตุผลตามธรรมชาติมาแยกและหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ในเวลาเดียวกันก็ใช้เหตุผลตามธรรมชาติวิจารณ์การกระทำที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของผู้ปกครองในสมัยนั้น ความคิดกฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เน้นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชนและการปกครองที่มีอำนาจจำกัด มองว่ามนุษย์มีความสามารถใช้สติปัญญาและเหตุผลในการเข้าใจกฎหมายธรรมชาติ และสามารถบัญญัติกฎหมายตามหลักเหตุผลของกฎหมายธรรมชาติได้อย่างไม่จำกัด
ทฤษฎีสัญญาประชาคมในยุคนี้จึงมีความแตกต่างจากยุคก่อน คือ มองมนุษย์ในแง่ดี ซึ่งได้แก่ แนวคิดของจอห์น ล๊อค ซึ่ง ล๊อค มองว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและมีสัญชาติญาณอยากอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยทุกคนจะโอนอำนาจบางส่วนของตน ได้แก่ อำนาจการบังคับการตามกฎหมายธรรมชาติให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐ ซึ่งได้จัดตั้งตามสัญญาแต่ทุกคนยังคงสงวนสิทธิในชีวิต ทรัพย์สินและเสรีภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามสัญญาประชาชน ย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะปฏิวัติล้มล้างผู้ปกครองได้
ส่วนแนวความคิดของคนอื่น คือ คริสเตียน โทมัสซุย เสนอให้มีการแยกแยะระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมออกจากกัน โดยอธิบายว่า กฎหมายเป็นเรื่องรัฐ ดังนั้นจะบังคับได้เฉพาะการกระทำของคนที่แสดงออกมาภายใน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กฎหมายต้องลงโทษการกระทำของคนมิใช่ความคิดของคน
แนวความคิดของ รุสโซ ซึ่ง รุสโซ มองว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ดี มีจิตใจโอบอ้อมอารีไม่เห็นแก่ตัว ในสภาวะธรรมชาติของมนุษย์มีสิทธิเสรีภาพอย่างไม่จำกัด แต่ไม่มีความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดหลักประกันในสิทธิเสรีภาพมนุษย์จึงตกลงทำสัญญาประชาคม สละสิทธิเสรีภาพที่ไม่จำกัดเมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ซึ่งมีสิทธิเสรีภาพที่ถูกจำกัดภายใต้กฎหมาย แนวความคิดของ รุสโซ นั้นต่อต้านการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อสังเกต แนวคิดการมอบสิทธิเสรีภาพให้แก่ผู้ปกครองนั้น ล๊อคกับรุสโซ มีความคิดแตกต่างกันคือ ของ ล๊อค จะมอบสิทธิบางส่วนให้ผู้ปกครองแต่ของ รุสโซ จะมอบสิทธิเสรีภาพที่ไม่จำกัดคือทั้งหมด เมื่อมาอยู่รวมกันในสังคม
แนวคิดของ มองเตสกิเออ ซึ่ง มองเตสกิเออเป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลแนวความคิดในเรื่องการจำกัดอำนาจมาจาก จอห์น ล๊อค ความคิดของ มองเตสกิเออ ที่สำคัญปรากฏอยู่ในหนังสือ ชื่อ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (The Spirit of the Laws) ซึ่งได้อธิบายเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) และการถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) เพื่อจำกัดอำนาจผู้ปกครอง เพราะ มองเตสกิเออ มองว่ามนุษย์ทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิด เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบดังกล่าวจะต้องจัดระบบให้มีการแบ่งแยกอำนาจกล่าวคือ จะต้องแยกอำนาจการตรากฎหมาย (นิติบัญญัติ) ออกจากอำนาจบังคับการตามกฎหมาย (อำนาจบริหาร) และให้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดี (อำนาจตุลาการ) แยกเป็นอิสระจากอำนาจออกกฎหมายและบังคับการตามกฎหมาย และให้แต่ฝ่ายคอยตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน (Checks and Balance)
ยุคที่ 3 ยุคการสังเคราะห์ความคิดและสรุปผล
ในยุคนี้เป็นช่วงเวลาการนำความคิด กฎหมายธรรมชาติซึ่งได้แยกแยะวิเคราะห์ในรายละเอียดแล้วมาบัญญัติเป็นกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ในลักษณะของกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยอาศัยอำนาจรัฐสมัยใหม่หรืออาจกล่าวได้ ว่าเป็นยุคของปฏิรูปกฎหมายธรรมชาติมาเป็นกฎหมายบ้านเมือง หลักแห่งสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาค.ศ.1789 หลังการประกาศอิสรภาพ ปี ค.ศ 1776 พ้นจากอาณานิคมอังกฤษ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติใหญ่ ค.ศ. 1789 รวมทั้งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1804 เป็นต้น
นอกจากนี้การสลัดตัวออกจากอิทธิพลของศาสนาคริสต์ (นิกายคาทอลิค) แล้วความเปลี่ยนแปลงในลักษณะสำคัญของปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เองที่มีการเน้นระบบแห่งกฎหมายทางกฎหมายซึ่งเป็นรูปธรรมและมีรายละเอียดมากขึ้น ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งมีการพัฒนาจุดเน้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เชิงสังคมไปสู่เรื่อง “สิทธิธรรมชาติ” (Natural Rights) ของมนุษย์หรือความปรารถนาความต้องการของมนุษย์ ในแง่ปัจเจกบุคคล กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การเพิ่มบทบาทความคิดแบบปัจเจกชนนิยมมากขึ้น ในตัวเนื้อหาของปรัชญากฎหมายธรรมชาติและนอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ในแบบอภิปรัชญา (ซึ่งมองธรรมชาติที่จุดแห่งสัมบูรณภาพของความเป็นมนุษย์) มาสู่การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาที่เน้นการสังเกตในเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของมนุษย์หรือกฎแห่งความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในศตวรรษที่ 18–19 ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา บวกกับความเป็นชาตินิยมสูง อันเป็นพื้นฐานอันสำคัญให้ลัทธิอรรถประโยชน์และทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างมั่นคงในฐานะปฏิปักษ์กับสำนักกฎหมายธรรมชาติ เริ่มจากช่วงนี้เองที่กฎหมายธรรมชาติได้ถูกผลักไสให้เป็นเรื่องศีลธรรม ศาสนามากกว่าที่จะเป็นกฎหมายอันแท้จริงของรัฐ ความเชื่อถือศรัทธาในปรัชญากฎหมายธรรมชาติเริ่มเสื่อมลงด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคฟื้นฟูกับยุคกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่หันมาให้ความสนใจด้านปัจเจกชนและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยพ้นจากการครอบงำของศาสนาและมุ่งล้มล้างระบบศักดินา ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่เป็นธรรม จึงก่อให้มีการปฏิวัติสังคมในอังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศส ได้อาศัยปรัชญาหรือตรรกะของกฎหมายธรรมชาติเข้าเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของการก่อการหรือสนับสนุนเรื่องสิทธิธรรมชาติในการล้มล้างรัฐ และมีผลกระทบด้านกฎหมาย อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาตินำไปสู่การตอกย้ำความสำคัญของเนื้อหาของกฎหมายที่เป็นธรรม
4.ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุครัฐชาติหรือยุครัฐสมัยใหม่ (19AD) (ยุคความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ)
คำว่า “รัฐ” (State) นั้นเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งแต่ก่อนมีแต่คำว่า “ชาติ” (Nation) ที่มาจากกลุ่มคนที่มีชาติพันธ์เดียวกัน สืบเชื้อสายโดยสายเลือดเดียวกัน หรือเกิดความรู้สึกร่วมกัน ซึ่งในยุโรปมีพื้นดินใกล้เคียง ความสัมพันธ์ก็มีมากขึ้นทั้งด้านสันติภาพและสงคราม ดังนั้นการเคลื่อนย้ายผู้คนมาอีกชาติหนึ่งไปยังอีกชาติหนึ่งก็เกิดขึ้น เกิดลักษณะผสมผสานระหว่าเชื้อชาติ คำว่า รัฐ ก็เกิดขึ้นมา ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่างรวมกันเป็น รัฐ คือ
-มีดินแดน ที่แน่นอนว่าตั้งอยู่ในส่วนไหนของโลก
-มีประชากรที่อยู่ประจำไม่ใช่พวกเร่ร่อน
-มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ
-มีรัฐบาล(ผู้ปกครองรัฐ)
ในยุโรปเรียกชื่อว่า รัฐกับชาติยุโรป ปะปนกันแต่ใช้คู่ขนานกันว่า ชาติรัฐหรือรัฐชาติ ดังนั้น รัฐชาติ (Nation State)คือ ความคิดความเป็นชาตินิยมและเน้นในเรื่องความสำคัญในการปกครอง จุดนี้เองเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกอันหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติในความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
สาเหตุที่ทำให้ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เสื่อม อย่างน้อย 2 ประการคือ
ประการที่ 1 สืบเนื่องจากแนวความคิดของกฎหมายนั้นเป็นแนวความคิดที่เป็นปัจเจกชนนิยม เน้นความสำคัญของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่ง (เช่นประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส) ที่เป็นตัวแทนของกฎหมายธรรมชาติ เพราะเน้นความสำคัญของแต่ละบุคคล สิทธิส่วนบุคคลกลายเป็นชาตินิยม เกิดการขัดแย้งหรือต่อสู้ทางความคิดกับปัจเจกนิยม
ตัวอย่าง เช่น การจะจากลูกเมียไปรบหรือป้องกันชาติ ถ้าไม่ไปก็แสดงความเป็นปัจเจกชนสูง แต่ถ้าสละครอบครัวไปรบก็เป็นเรื่องชาตินิยม ความคิดสองอย่างนี้ ได้ต่อสู้กันทางความคิด ในช่วงนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนหันมานิยมชาติมากกว่าปัจเจกชนที่เป็นทางความคิดของกฎหมายธรรมชาติ
ประการที่ 2 ที่ทำให้กฎหมายธรรมชาติเสื่อมความนิยม สืบเนื่องจากการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ ค้นพบอะไรใหม่ๆมากมาย ที่เรียกว่า “ลัทธิประจักษ์วาท” (Empiricism) คือ แนวคิดที่นิยมการทำอะไรที่ชัดเจนเห็นภาพ สัมผัสได้ จับต้องได้ ที่มันเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติก็คือลัทธิประจักษ์วาทไม่เห็นด้วยกับกฎหมายธรรมชาติ เพราะว่ากฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อ ส่วนจะพิสูจน์ได้จริงหรือไม่ กฎหมายธรรมชาติไม่ได้เน้น เพราะฉะนั้นเมื่อเน้นความจริงที่พิสูจน์ได้ ก็เป็นการกระทบกระเทือนถึงกฎหมายธรรมชาติโดยตรง ความคิดความเชื่อต่อกฎหมายธรรมชาติจึงถูกลดความนิยมลงและตรงนี้เองจึงเกิดแนวคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมายหรือสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมหรือสำนักกฎหมายบ้านเมือง
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคนี้ เป็นความเสื่อมเนื่องมาจากอิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์คิดค้นหาข้อสรุปได้ซึ่งแตกต่างไปจากแนวความคิดทางอุดมคติที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และที่สำคัญอิทธิพลของปรัชญาทางการเมืองที่สำคัญ เช่น โทมัส ฮ๊อบส์ ฌอง โบแดง เป็นต้น นำไปสู่การมีแนวคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมายขึ้นมา เพื่อมาหักล้างแนวคิดกฎหมายธรรมชาติ
5. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคปัจจุบัน
เป็นแนวคิดของนักคิดรุ่นปัจจุบันที่พยายามอธิบายกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการสร้างกฎหมาย และหลักกฎหมายภายใต้ศีลธรรมซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญ คือ แนวความคิดของ ฟุลเลอร์, จอห์นฟินนิส ,โรแนล ดวอกิ้น เป็นต้น
แนวความคิดของ ฟุลเลอร์ (Lon Luvois Fuller ค.ศ. 1902 – 1978) ฟุลเลอร์ได้พยายามเน้นสิ่งที่เป็นศีลธรรมในเชิงระบบกฎหมาย ฟุลเลอร์ ได้จำแนกศีลธรรมภายในกฎหมายหรือกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ ออกเป็นหลักการ 8 ข้อดังนี้ คือ
1.กฎหมายจะต้องมีลักษณะทั่วไปในฐานะที่เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งใช้เป็นหลักชี้นำการกระทำต่างๆโดยเฉพาะ
2.กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องพิมพ์เผยแพร่ ให้ปรากฏแก่สาธารณะหรืออย่างน้อยก็ต่อบุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้
3.กฎเกณฑ์ต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4.กฎเกณฑ์ต้องมีลักษณะชัดแจ้งและสามารถเป็นที่ยอมรับ
5.กฎเกณฑ์จะต้องไม่ขัดแย้งกัน
6.กฎเกณฑ์จะต้องไม่เป็นการกำหนดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
7.กฎเกณฑ์จะต้องมีความมั่นคง แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป
8.ต้องมีการกลมกลืนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ถูกประกาศใช้กับการบังคับใช้กฎเกณฑ์นั้นเป็นความจริง อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายและตัวบทกฎหมายที่ประกาศใช้ด้วย
เงื่อนไขทั้ง 8 ประการนี้ ฟุลเลอร์ อธิบายว่าเป็นเสมือนศีลธรรม ภายในกฎหมาย หรือ “กฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ” กล่าวโดยสรุป คือ ฟุลเลอร์ ได้พยายามเน้นมิติของกระบวนการเพื่อที่จะนำไปสู่ความเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์แท้จริงโดยไม่ได้เน้นที่เนื้อหาสาระ
แนวความคิดของจอห์น ฟินนิส (John Finnis) จอห์น ฟินนิส เป็นนักกฎหมายธรรมชาติรุ่นใหม่ที่ได้พยายามอธิบายกฎหมายธรรมชาติในเชิงที่มีความซับซ้อนโดยได้กล่าวถึง สมมุติฐาน 2 ประการ คือ
1.รูปแบบพื้นฐานแห่งความมั่นคงรุ่งเรืองของมนุษย์ (Basic Forms of Human Flourishing)
2.วิธีพื้นฐานที่จำเป็นของความชอบด้วยเหตุผลในเชิงปฏิบัติ (Basic Methodological Requirments of Practical Reasonableness)
ทั้งสองตัวนี้ถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการค้นหาสิ่งที่เป็นเสมือนกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายที่ดีหรือกฎหมายที่ถูกต้อง ฟินนิส พยายามวาดภาพให้เห็นว่าคุณค่าพื้นฐานแห่งความมั่นคงและความรุ่งเรืองต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ความรู้ความบันเทิงและอีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานที่จำเป็นเชิงวิชาการ คือ การที่จะคิดค้นหาสิ่งที่จำเป็น ความถูกต้องจะต้องมีวิธีการในการใช้ความผิด วิธีการนี้ คือ การแสวงหาความดีงามแผนการชีวิตอันเป็นระบบ การไม่เลือกค่านิยม การไม่เลือกตัวบุคคลตามอำเภอใจ เป็นต้น
ส่วนการที่จะค้นคว้าว่า อะไรคือความยุติธรรม อะไรคือกฎหมายที่ถูกต้องยุติธรรม ก็ต้องเอาเงื่อนไข 2 ประการ เข้ามาผสมผสานกัน กล่าวคือ อีกแง่หนึ่งจะมองคล้ายกับสิ่งที่เป็นคุณค่าหรือเป้าหมายของชีวิตสังคม ขณะเดียวกันอีกแง่หนึ่งต้องวางเรื่องเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นในเชิงวิชาการ เมื่อรวมกันแล้วจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นกฎหมายธรรมชาติในท้ายที่สุด
แนวคิดกฎหมายธรรมชาติปัจจุบัน โรแนล ดวอกิ้น (Ronald Dworkin) เชื่อว่าถึงแม้แต่เดิมระบบกฎหมายได้ให้หลักประกันแก่ธุรกิจเอกชนและทรัพย์สินของเอกชนเป็นอย่างมากก็ตาม แต่ในปัจจุบันเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้นก็อาจแก้ไขระบบกฎหมายเสียใหม่ให้เหมาะสมขึ้นก็ได้ เพราะเหตุผลในตัวกฎหมายย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสถานที่ ดวอกิ้น เห็นว่าการเขียนกฎหมายให้อำนาจรัฐที่จัดระเบียบเศรษฐกิจอย่างกว้าง ๆ นั้นย่อมทำได้
ทฤษฎีของ ดวอกิ้น มีข้อเสีย คือ ตรงที่คิดที่จะให้อำนาจรัฐ แต่ไม่สร้างกลไกในการใช้ดุลพินิจไว้ให้เหมาะสม ทำให้การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มีอุปสรรคในการปฏิบัติและเจ้าหน้าที่จะไม่กล้าใช้อำนาจ
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคปัจจุบันมีบทบาทต่อสังคม 2 ลักษณะ คือ
1.ทฤษฎีกฎหมายที่สนับสนุนอุดมคติทางกฎหมายเชิงจริยธรรม เนื่องจากความเชื่อเรื่อง หลักคติที่อยู่เหนือกฎหมายของรัฐ เป็นการยืนยันความเชื่อเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “ความสัมพันธ์ที่จำต้องมี” ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมหรือหลักศีลธรรม จริยธรรมต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ถือว่าหลักความยุติธรรมหรือ หลักกฎหมายอุดมคติซึ่งแน่นอน เป็นสากลหรือใช้ได้กับทุกสถานที่ ซึ่งกฎหมายธรรมชาติยุคปัจจุบันมีลักษณะผ่อนปรน และประนีประนอมมากขึ้น
2.ทฤษฎีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิซึ่งสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน จากเดิมมุ่งเน้นสิทธิของปัจเจกชนในแง่สิทธิของราษฎรและสิทธิการเมือง ได้มีการพัฒนาไปสู่สิทธิทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาสันติภาพ หรือการอนุรักษ์คุณภาพของสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคปัจจุบันกฎหมายธรรมชาติฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีรูปธรรมมากขึ้นและมีลักษณะเป็นการผ่อนปรนประนีประนอม แต่ยังความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติอยู่ที่ศีลธรรมกับกฎหมาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการหันหาแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งนั้นมีสาเหตุ 3 ประการ คือ
ประการแรก การที่นักวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์เองได้ยอมรับอย่างกล้าหาญว่า แท้ที่จริงวิทยาศาสตร์ก็เป็นศาสตร์ที่อาศัยสมมติฐานเช่นกัน หาใช่เป็นศาสตร์ที่แน่นอนจนถึงกับทำให้มนุษย์สามารถบรรลุสัจธรรมได้ทุกอย่าง
ประการที่สอง คือ ความล้มเหลวของนักกฎหมายปฏินิฐานนิยมทางกฎหมายที่ไม่อาจให้คำตอบได้ว่า วิธีการของตนนั้น จะสามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมอันเกิดจากเทคนิคและวิธีการทางกฎหมายของตนได้อย่างไร
ประการที่สาม การยอมรับว่าการพัฒนาระบบกฎหมายนั้นจำเป็นนำค่านิยมทางสังคมมาเป็นแนวทางด้วย การยอมรับดังกล่าวนี้ทำให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีหลักการกว้างๆ และยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับการใช้กฎหมาย โดยตระหนักว่าการใช้เหตุผลทางกฎหมายนั้น ควรมีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์และต้องไม่ยึดติดกับถ้อยคำของกฎหมายเพียงอย่างเดียว
สรุป
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติตะวันตก เมื่อพิจารณารากเหง้าไปถึงช่วง 2 พันปีกว่ามีก่อนอารยธรรมกรีกโบราณโดยจารีตประเพณี พิจารณากฎหมายในแง่เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทั้งความยุติธรรมและจริยธรรม ปรัชญากฎหมายธรรมชาติของกรีกโบราณหรือเรียกว่าบุคคลคลาสสิค ก็จัดอยู่ในกระแสความคิดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภายหลังปรัชญากฎหมายธรรมชาติจะมีการอธิบายความกันอยู่หลายแนวแต่ละยุค หากการเน้นเราอาจสรุปสิ่งที่เป็นหลักการสำคัญในกฎหมายธรรมชาติ ได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ คือ
1.(เชื่อว่า) มีสิ่งที่เป็นหลักคุณค่าสัมบูรณ์ (Absolute values) และอุดมคติซึ่งเกิดขึ้นจากหลักคุณค่าเหล่านั้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์พื้น (Touchstones) ในการตรวจสอบความสมบูรณ์แห่งกฎหมายต่าง ๆ
2.ในธรรมชาติมีระเบียบอันแน่นอนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยความมีเหตุผล (Rational) ซึ่งมนุษย์สามารถรับรู้ได้ (โดยอาศัยเหตุผลในธรรมชาติของมนุษย์) ดังนั้นบรรทัดฐานแห่งการกระทำของมนุษย์จึงอาจพิจารณาว่า “กฎแห่งธรรมชาติ” (Law of Nature) (กฎหมายธรรมชาติ)
3.หากสังเกตตรวจสอบและเข้าใจได้อย่างถูกต้องธรรมชาติจักให้เกณฑ์บรรทัดฐานซึ่งทำให้เราสามารถตระหนักได้ถึงหลักคุณค่า อันมีเนื้อหาที่สามารถหยั่งรู้ได้เป็นนิรันดร์และสากล และจากหลักคุณค่านี้เองซึ่งเราอาจช่วยให้เราได้มาซึ่งข้อกำหนดเชิงคุณค่า (Valuestatement) อันถูกต้องเหมาะสม
4.สิ่งที่ดี/มีคุณประโยชน์ คือ สิ่งที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ สิ่งที่เลว ชั่วร้าย คือ สิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ
5.กฎหมายซึ่งขาดไร้ความสมบูรณ์ทางศีลธรรมถือเป็นความผิดบกพร่องและไม่เป็นธรรม เป็นกฎหมายธรรมชาติสร้างความเป็นโมฆะแก่คำประกาศกฎหมายบางบทบัญญัติขึ้น (Positive Law) (อย่างไร้ศีลธรรม) และวางเกณฑ์อุดมคติซึ่งกฎหมายที่บัญญัติขึ้นควรบรรลุเป้าหมาย
กฎหมายธรรมชาติ ภาพรวมของกฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นปรัชญาที่มีบทบาทสำคัญที่พยายามโน้มน้าวให้ผู้ปกครอง นักกฎหมายได้เห็นความสำคัญของคุณค่าศีลธรรมหรือคุณค่าของสิ่งที่เป็นความยุติธรรมว่าต้องมีในกฎหมาย นอกจากนั้นปรัชญาสายนี้ยังมีบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน (Human Right)
หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม
หนังสือ
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2538
จรัญ โฆษณานันท์ “สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ปรัชญากฎหมายและความเป็นจริงทางสังคม” กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์นิติธรรม,2545
ปรีดี เกษมทรัพย์ “นิติปรัชญา ภาคสองบทนำทางประวัติศาสตร์” คณะกรรมการบริการทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2526
รองพล เจริญพันธ์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2528
สมยศ เชื้อไทย “ความรู้นิติปรัชญาเบื้องต้น” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2536
เอกสารและวารสาร
ปรีดี เกษมทรัพย์ “กฎหมายคืออะไรในแง่นิติปรัชญา”วาสารนิติศาสตร์,ฉบับที่ 3 ปีที่ 11,2523
วิชา มหาคุณ “ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ หลักยุติธรรมแห่งกฎหมาย”วารสารดุลพาหเล่มที่ 2 ปีที 27 มีนาคม-เมษายน2523
philosophy หมายถึง 在 ปรัชญาคืออะไร? เป็นแบบที่เราเคยเข้าใจไหม #ปรัชญา#philosophy ... 的推薦與評價
มาอีกแล้ว สำหรับอีกep หายไปนานต้องขออภัยด้วยนะคะ และฝากกดlike เป็นกำลังใจให้ ช่องเล็กๆของเราด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นep แรกๆ ... ... <看更多>
philosophy หมายถึง 在 สนามความคิด - ปรัชญาตะวันตก ตอนที่ 1 (ปรัชญาคืออะไร) ... 的推薦與評價
Philo ซึ่งแปลว่า ความรัก กับคำว่า Sophia หมายถึง wisdom หรือความรู้ รวมกันจึงหมายถึงความรักในความรู้นั่นเอง นิยามนี้ ผู้ที่ให้คือนักปรัชญาคนแรกๆ ... ... <看更多>