ประเด็นนี้คนสอบถามมาเยอะว่าจะมีผลให้ผ้าอนามัยแบบสอดแพงขึ้นมั้ย อันนี้พ่อแม่พี่น้องไม่ต้องกังวล ประเด็นเก่าครับ สองปีก่อนเราก็คุยกันเรื่องนี้ทีนึงละ
คือก่อนหน้านี้ ผ้าอนามัยแบบสอด เฉพาะแบบสอดนะ ถูกจัดเป็นเครื่องสำอาง ตั้งแต่ปี 28 เพราะเข้าได้กับนิยามเครื่องสำอาง คือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย โดยไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
ที่ผ้าอนามัยแบบสอดต้องใช้มาตรฐานของเครื่องสำอาง เพราะผ้าอนามัยแบบสอดนี่มันแตกต่างจากผ้าอนามัยทั่วไปนิดหน่อย คือ ถ้าใส่คาไว้นาน ไม่ถอดมาเปลี่ยน อาจเกิดการหมักหมม แล้วแบคทีเรียผลิตพิษออกมาจนติดเชื้อในกระแสเลือดช๊อคตายได้ (นี่กูพูดจริงนะไม่ใช่เรื่องล้อเล่น) ดังนั้นจึงต้องมีมาตรฐานควบคุมสูงหน่อย เพื่อสุขภาพคนใช้งาน
แต่ปรากฏว่ามีการแก้ไขนิยามเครื่องสำอางใน พรบ ปี 58 เปลี่ยนนิยามของเครื่องสำอางนิดหน่อย ทำให้ ผ้าอนามัยแบบสอด หลุดจากนิยามของเครื่องสำอางไป เขาเลยออกกฏกระทรวงมาระบุว่าผ้าอนามัยแบบสอดจัดเป็นเครื่องสำอางอีกที แต่อันนี้เพื่อผลทางกฏหมายในการจดแจ้งพวกผ้าอนามัย ส่วนประเด็นราคาของผ้าอนามัยแบบสอด ที่คนกังวลว่าจะสูงขึ้นมั้ย
อันนี้ก็ไม่ต้องกังวล เพราะกรมสรรพสามิตร ยืนยันว่า ไม่มีการเก็บภาษีอนามัย ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย ก็ราคาตามเดิมเหมือนที่ผ่านมา
อ้างอิง https://mgronline.com/qol/detail/9620000120285
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/116081
qol คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
"เครื่องวัดอุณหภูมิ ไม่ควรเอาไปวัดที่ฝ่ามือ"
ตอนนี้ มีร้านสะดวกซื้อบ้างแห่ง ได้ใช้วิธีเอาพวกเครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงแสงอินฟราเรด ซึ่งปรกติจะให้พนักงานคอยยืนวัดอุณหภูมิลูกค้าที่เข้ามาในร้าน เอามาติดตั้งแบบให้ลูกค้าเป็นคนเข้าไปสแกนเอง
ประเด็นน่าคิดคือ เครื่องรุ่นที่เห็นนี้ แม้ว่าจะเป็นรุ่นที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิบุคคลได้ดี เพราะมีระดับความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ คือมีค่าความผิดพลาดน้อยที่สุดไม่เกิน 0.1 – 0.2% (ไม่เหมือนก่อนนี้ ที่มีการเอาเครื่องวัดสำหรับงานอุตสาหกรรมมาใช้ ซึ่งระดับความละเอียดต่ำกว่า และมีค่าความผิดพลาดสูง) แต่มันเหมาะจะนำมาใช้วัดที่ฝ่ามือหรือ?
โดยทั่วไปแล้ว เครื่องสแกนพวกนี้ เหมาะกับการใช้วัดที่หน้าผาก โดยมีการปรับค่ามาให้คำนวณอุณหภูมิที่พื้นผิว (surface temperature) ของหน้าผาก แล้วประเมินเป็นอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) ของตัวบุคคลได้
โดยค่าอุณหภูมิที่วัดได้นี้ ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะจะมีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้ เช่น ถ้าอยู่ท่ามกลางแดดร้อนมาก่อน หรือ ออกมาจากห้องแอร์ใหม่ๆ จะทำให้วัดคลาดเคลื่อนเป็นสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้ ตามลำดับ ... นอกจากนี้ กิจกรรมที่ทำไปก่อนการวัดก็มีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้เช่นกัน เช่น ถ้าวิ่งมาก่อนวัด อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายจะสูง ทำให้วัดอุณหภูมิสูงตามไปด้วย
แต่เมื่อนำเอาเครื่องมาวัดอุณหภูมิในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ถูกนำมาปรับจูนการคำนวณใหม่เพื่อใช้วัดอุณหภูมิที่ฝ่ามือนั้น มีข้อน่ากังวลว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามือลูกค้าถือแก้วน้ำเย็นหรือแก้วน้ำร้อนมา ก็จะมีผลให้ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ที่พื้นผิวฝ่ามือ ผิดไปจากค่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายเป็นอย่างมาก
ปรกติในทางการแพทย์แล้ว ก็จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีสแกนวัดที่บริเวณอื่น ที่ไม่ใช่หน้าผาก ดังเช่นที่เคยมีการตอบคำถามในการแถลงของ ศบค. เมื่อ 29 เม.ย. 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกฯ (https://mgronline.com/qol/detail/9630000044789) ตอบคำถามเรื่องการตรวจวัดอุณหภูมิ ว่าวัดที่ข้อมือได้หรือไม่
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า "มือในห้องแอร์จะเย็นกว่าปกติ ส่วนกลางหน้าผากยังอุ่นอยู่ ถ้าวัดอุณหภูมิที่ข้อมืออาจได้ตัวเลขต่ำกว่าหน้าผาก เวลาคนมีไข้ หมอจะมาแตะหน้าผาก เพราะเป็นส่วนกลางของลำตัว คงอุณหภูมิได้ดีที่สุด แต่ปลายมือเส้นเลือดเล็กๆ อากาศหนาวๆ หน่อย เส้นเลือดไม่ไปเลี้ยงที่ปลายมือ มือเราก็เย็น ถ้าใช้ข้อมือวัดจะไม่ได้เจอคนที่มีไข้เลย หรือเจอก็น้อยมาก ถ้าวัดที่หน้าผากก็จะได้อุณหภูมิใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า"
หรือพูดง่ายๆ คือ เวลาที่ร่างกายของคนเรามีไข้นั้น ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด บริเวณศีรษะ ลำตัว และแขนขาอาจจะร้อน แต่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า อาจจะเย็นก็ได้ (อ้างอิง https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=274)
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว การพยายามปรับปรุงวิธีการตรวจวัดอุณหภูมิของลูกค้าที่เข้าร้าน โดยให้ลูกค้าเป็นผู้วัดเองกับเครื่องวัด แม้ว่าจะเป็นเวลาที่ดี ช่วยประหยัดแรงงาน .. แต่ก็ควรจะให้วัดที่หน้าผากมากกว่า จะได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำกว่าวัดที่ฝ่ามือครับ
qol คือ 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
แถลงอย่างเป็นทางการจากทันตแพทยสภา เกี่ยวกับเรื่องโคเคนและยาที่ใช้ในทางทันตกรรมครับผม
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ทพ.เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวเกี่ยวกับโคเคนในงานทันตกรรม ว่าในประวัติศาสตร์ของการใช้ยาชาทางทันตกรรม เคยมีการนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1859 หรือกว่า 150 ปีที่แล้ว โดยเป็นการสกัดสารโคเคนจากใบโคคา หลังจากนั้นพบว่า โคเคนมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์กับคนไข้ ทั้งมีผลต่อระบบจิตและประสาท ความดันโลหิตและระบบหัวใจ จึงทำให้เลิกใช้โคเคน และมีการพัฒนายาชากลุ่มอื่นขึ้นมาใช้แทนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งในปัจจุบันยาชาที่ใช้ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มเอไมด์ ได้แก่ ลิโดเคน เมพิวาเคน และอาติเคน ซึ่งโครงสร้างโมเลกุลแตกต่างจากโคเคน ในบทเรียนของนิสิตนักศึกษาทันตแพทย์มีสอนเรื่องโคเคนทางทันตกรรม แต่เป็นการสอนเพียงเพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปของยาชาเท่านั้น
ในต่างประเทศก็เคยมีกรณีคล้ายๆกัน คือ ผู้ต้องหารายหนึ่งถูกตำรวจจับกุมและตรวจพบสารโคเคนในร่างกาย ผู้ต้องหาอ้างว่าเป็นลิโดเคนจากยาชาที่หมอฟันฉีดให้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง พบว่า โครงสร้างของลิโดเคน แตกต่างจากโคเคนมาก และได้ตรวจหาสารโคเคนจากคนไข้ที่ได้รับยาชา ซึ่งไม่สามารถตรวจพบโคเคนในกระแสเลือดของคนไข้เลย กอปรกับทันตแพทย์ผู้ที่ทำฟันให้คุณบอส ได้ติดต่อมายัง ทพ. สัณห์ชัย จิรชาญชัย กรรมการทันตแพทยสภาแล้ว โดยได้ให้ข้อมูลกับทันตแพทยสภาว่า ได้ทำฟันให้บอสวันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเกิดเหตุ 5 วัน เป็นการรักษาเหงือก โดยมีการฉีดยาชา เมพิวาเคนให้ ซึ่งเป็นยาชากลุ่มเดียวกับลิโดเคนร่วมกับจ่ายยาอะม็อกซี่ซิลลินให้เท่านั้น เบื้องต้นทันตแพทย์ท่านนั้นแจ้งว่ายังไม่สะดวกเปิดเผยตัวตน แต่พร้อมเข้าพบ กมธ.กฏหมายฯ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นอกจากนี้ อุปนายกทันตแพทยสภา ได้ส่งมอบข้อมูลให้นักข่าว ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบโครงสร้างโมเลกุลของยาชาตัวนี้ว่า เป็นคนละโครงสร้างโมเลกุลกับโคเคน โดยยืนยันว่าไม่มีทางที่ผลตรวจจะออกมาว่าเจอโคเคนแน่นอน และหากหมอคนไหนจะนำโคเคนมาใช้รักษาคนไข้ ก็ต้องไปทำเรื่องขออนุญาตครอบครอง เพราะโคเคนจัดอยู่ในยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2
ที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=2Fm86URweLk
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/891708
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/130430…
https://today.line.me/TH/article/p92jXe?utm_source=lineshare
https://www.one31.net/news/detail/23334…
https://youtu.be/WQV2d9raezo
https://www.thairath.co.th/news/society/1901069
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4617625
https://tna.mcot.net/social-484984
https://news1live.com/detail/9630000078384
https://mgronline.com/qol/detail/9630000078384
คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ทันตแพทยสภา วาระที่ 9
31 กรกฎาคม 2563