สรุป SiriHub Investment Token โทเคนดิจิทัลแรกที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ ช่วยให้คนทั่วไปได้รับส่วนแบ่งรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
ลงทุนแมน X เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล
มีเงินเพียงหลักสิบบาท ก็สามารถลงทุนเพื่อได้รับส่วนแบ่งรายได้จากค่าเช่าอสังหาฯ ได้ ประโยคนี้อาจดูเป็นไปไม่ได้ในสายตาคนส่วนใหญ่ แต่วันนี้ สิ่งนี้กำลังจะเกิดขี้นแล้วในประเทศไทย
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โลกของการลงทุนก็ได้พัฒนาตาม
ทำให้มีช่องทางการระดมทุนและลงทุนใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์นักลงทุน รวมถึงคนทั่วไปในปัจจุบันมากขึ้น
ภาพจำเดิม ๆ ที่ว่าหากเราต้องการลงทุนในอสังหาฯ สักแห่ง เพื่อที่จะได้รับค่าเช่าที่จะเป็นกระแสเงินสดเข้ากระเป๋า
เราก็ต้องมีเงินทุนหลักล้านบาทนั้น อาจไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว
เพราะสิ่งที่จะมาปูทางสร้างทางเดินใหม่ให้เกิดขึ้นในเมืองไทย
และกลายเป็นการปฏิวัติการระดมทุนและการลงทุนของวงการอสังหาฯ คือ SiriHub (สิริฮับ)
SiriHub เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)
ที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์
หรือที่เรียกว่า Real Estate-backed Token
และรู้หรือไม่ว่า SiriHub ยังถือเป็น Real Estate-backed Token ตัวแรกของประเทศไทยที่ได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. อีกด้วย
แล้วโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน คืออะไร ?
โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนคือโทเคนดิจิทัลที่สร้างขึ้นบนเทคโนโลยี Blockchain และมีกลไกการให้สิทธิแก่ผู้ถือโทเคนผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ตลอดเวลา
ซึ่งผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะได้รับสิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการ เพื่อรับผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่วนแบ่งรายได้จากค่าเช่า หรือสิทธิอื่นใด ตามที่กำหนดไว้ใน White Paper หรือหนังสือชี้ชวน
คล้าย ๆ กับการถือหุ้นในบริษัท ที่ทำให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ มีสิทธิในส่วนแบ่งกำไรและได้รับเงินปันผลจากบริษัท
เพียงแต่การถือโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ปกติแล้วผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะมีเพียงสิทธิในการร่วมลงทุนเฉพาะในโครงการนั้น ๆ ที่เราสนใจ และรับผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ แต่ไม่ได้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของโครงการแต่อย่างใด
สำหรับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน SiriHub ออกโดยบริษัท เอสพีวี 77 จำกัด
และเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรกโดยบริษัท เอ็กซ์สปริง ดิจิทัล จำกัด (XSpring Digital)
ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
โดยมีความเชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาด้านการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเคนดิจิทัล
และมีทรัสตีคือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เก็บทรัพย์สินและกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้ออกโทเคนดิจิทัลให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชื้ชวน
ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกโทเคนดิจิทัล SiriHub ก็เพื่อระดมทุนเป็นจำนวน 2,400 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) การลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินจำนวน 2,186 ล้านบาท โดย
(ก) ลงทุนในสัญญา RSTA (Revenue Sale and Transfer Agreement) เพื่อรับกระแสรายรับ เช่น ค่าเช่า รายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ และผลตอบแทนอื่น ๆ จากกลุ่มอาคารสำนักงาน “Siri Campus (สิริ แคมปัส)” จากบริษัท สิริพัฒน์ โฟร์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโครงการ
(ข) ลงทุนในหุ้นร้อยละ 100 ของบริษัท สิริพัฒน์ โฟร์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในกลุ่มอาคารสำนักงาน สิริ แคมปัส และโอนเข้ามาเป็นทรัพย์สินของกองทรัสต์
(2) การชำระต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล ชำระคืนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนครั้งนี้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทผู้ออกโทเคนดิจิทัลจำนวน 214 ล้านบาท
ซึ่งผลประโยชน์หลัก ๆ ที่ผู้ถือโทเคนดิจิทัล SiriHub ได้รับก็คือกระแสรายรับสุทธิที่ได้จากกลุ่มอาคารสำนักงาน Siri Campus ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงในการระดมทุนนี้
แล้ว Siri Campus น่าสนใจขนาดไหน?
Siri Campus เป็นกลุ่มอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพสูงอย่าง T77 Community ในซอยสุขุมวิท 77 ที่เป็นเมืองต้นแบบแห่งอนาคตในย่านอ่อนนุช บนพื้นที่ 7 ไร่ 1 งาน 42.2 ตารางวา
ซึ่งในย่านนี้ รายล้อมไปด้วยแหล่งที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน
ทั้งรถไฟฟ้า BTS ไลฟ์สไตล์คอมมิวนิตีมอลล์ “HABITO Mall” โรงเรียนนานาชาติ “Bangkok Prep International School” และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดย Siri Campus มีทั้งหมด 5 อาคาร ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นออฟฟิศยุคใหม่
ที่เน้นคำนึงถึงการทำงานของคนรุ่นใหม่ ผ่านการดีไซน์พื้นที่ทำงานและสภาพแวดล้อมให้มีความยืดหยุ่น จนเกิดการ Collaboration และสื่อสารกันได้ตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ และความคิดสร้างสรรค์
มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ห้องสมุด ฟิตเนส และสวน
เป็นสถานที่ซึ่งรวมพื้นที่ทำงานและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตไว้ในที่เดียวกันได้อย่างลงตัว
นอกจากนี้ Siri Campus ยังถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้วยการสอดแทรกธรรมชาติ ไว้ทุกพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
และติดตั้งนวัตกรรมที่แปลงแสงและลมให้เป็นพลังงานยามค่ำคืน เช่น แผง Solar Cell
ที่สำคัญ กลุ่มอาคารสำนักงาน Siri Campus ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
ที่เป็นผู้เช่าระยะยาว ด้วยสัญญาเช่า 12 ปี ยังเป็นอาคารที่ได้รับการประเมินมาตรฐาน Fitwel Certificate ระดับสูงสุด 3 ดาวจากองค์กร Center for Active Design (CfAD) ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีต่อผู้ใช้อาคาร ทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี
สรุปแล้ว ผู้ถือโทเคนดิจิทัล SiriHub ก็จะได้รับผลตอบแทนส่วนหนึ่งมาจากส่วนแบ่งค่าเช่าจากสัญญาเช่าระยะยาวของแสนสิริ นั่นเอง
ซึ่ง SiriHub มีอายุโครงการ 4 ปี (เว้นแต่มีการต่ออายุโครงการ เนื่องจากเหตุจำเป็นตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน) โดยในปีสุดท้ายของโครงการ ผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ เพื่อนำมาจัดสรรเป็นส่วนแบ่งรายได้ ให้แก่ผู้ถือโทเคนดิจิทัลตอนครบกำหนดอายุโครงการ
แล้วผู้ถือโทเคนดิจิทัล SiriHub จะได้รับผลตอบแทนอย่างไร ?
โทเคนดิจิทัลของ SiriHub จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ SiriHubA และ SiriHubB
โดยทั้งสองประเภท เสนอขายในราคา 10 บาทต่อโทเคน
1) SiriHubA จำนวน 160 ล้านโทเคน (มูลค่าเสนอขาย 1,600 ล้านบาท)
ผู้ถือจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ เป็นรายไตรมาส (ทุก ๆ 3 เดือน) ไม่เกิน 4.5% ต่อปี และได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินโครงการ สูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท ก่อนผู้ถือโทเคนดิจิทัล SiriHubB
พร้อมกับมีสิทธิในการลงมติอนุมัติให้มีการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ
หากรายได้ส่วนสุดท้ายที่ได้รับจากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการต่ำกว่า 1,600 ล้านบาท
2) SiriHubB จำนวน 80 ล้านโทเคน (มูลค่าเสนอขาย 800 ล้านบาท)
ผู้ถือจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ เป็นรายไตรมาส (ทุก ๆ 3 เดือน) ไม่เกิน 8.0% ต่อปี
และได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินโครงการ เฉพาะส่วนที่เกิน 1,600 ล้านบาทเป็นต้นไป ต่อจากผู้ถือโทเคนดิจิทัล SiriHubA
แต่จะไม่มีสิทธิในการลงมติอนุมัติให้มีการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการ
หากรายได้ส่วนสุดท้ายที่ได้รับจากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการต่ำกว่า 1,600 ล้านบาท
มาถึงตรงนี้สรุปได้ว่าโทเคนดิจิทัล SiriHub มีความน่าสนใจหลากหลาย เช่น
- ได้รับส่วนแบ่งรายได้เป็นรายไตรมาส ซึ่งไม่เกิน 4.5% หรือ 8.0% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประเภทของโทเคนดิจิทัล
- ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ
- อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงมีผู้เช่าระยะยาว โดยผู้ถือโทเคนจะได้รับมีส่วนแบ่งรายได้มาจากค่าเช่า Siri Campus ที่มีแสนสิริ เป็นผู้เช่าระยะยาว 12 ปี ซึ่งปัจจุบันเหลือระยะเวลาการเช่าอีก 10 ปี และแสนสิริได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ จาก Tris Rating
ทำให้มั่นใจว่าจะได้รับกระแสเงินสดที่ค่อนข้างแน่นอน
- ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความโปร่งใสในเรื่องของการทำธุรกรรม การใช้สิทธิ และการจัดสรรผลตอบแทน
- เป็นโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็คือ สัญญา RSTA และทรัพย์สินโครงการ Siri Campus
จึงมีความเสี่ยงต่ำกว่าโทเคนดิจิทัลที่ไม่มีอะไรมาอ้างอิง
- ถูกต้องตามกฎหมายไทย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.
- สามารถลงทุนเริ่มต้นเพียง 10 บาท และสามารถลงทุนได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ
ทำให้เกิดการกระจายโอกาสการลงทุนไปยังนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น
ผู้ลงทุนธรรมดาที่ไม่มีทรัพย์สินมากก็สามารถลงทุนเพื่อรับส่วนแบ่งรายได้จากค่าเช่าจากอสังหาฯ ได้
- มีสภาพคล่อง ด้วยการซื้อขาย SiriHub ในตลาดรอง
ซึ่งสามารถซื้อขายโทเคนดิจิทัล ได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ERX ที่เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ SiriHub Investment Token ทั้งสองประเภท ปัจจุบันผ่านการอนุมัติจาก ก.ล.ต. แล้ว และจะเปิดให้จองซื้อ ICO ระหว่างวันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 00.01 น. - 4 ตุลาคม 2564 เวลา 15.30 น. ผ่านแอปพลิเคชัน XSpring
โดยมีมูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำเพียง 10 บาทต่อโทเคน (ชำระเป็นเงินบาทเท่านั้น)
โดยนักลงทุนรายย่อยจะสามารถลงทุนได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาทต่อโครงการ ตามกฎของ ก.ล.ต. ในขณะที่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือกิจการเงินร่วมลงทุน สามารถลงทุนได้ไม่จำกัดจำนวน
อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยว่า
แล้วการลงทุนใน SiriHub จะต่างจากการลงทุนใน REITs (ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์) อย่างไร ?
จริง ๆ แล้ว Real Estate-backed Token จะมีความคล้ายคลึงกับกอง REIT
แต่ยังมีจุดที่แตกต่างกันไปตามกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ
อย่างในประเทศไทยมีจุดที่ต่างกันคือ ส่วนใหญ่ REITs จะลงทุนในอสังหาฯ หลายประเภทหรือหลายโครงการ และสามารถเพิ่ม-ลดทรัพย์สินในกองทรัสต์ได้ อีกทั้งนักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าลงทุนได้ไม่จำกัดมูลค่า
แต่ Real Estate-backed Token ส่วนใหญ่จะเข้าลงทุนในทรัพย์สินหรือโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น
และไม่มีการเพิ่ม-ลดทรัพย์สิน รวมถึงนักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อโครงการ
และความต่างที่สำคัญก็คือเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง โดย Real Estate-backed Token จะใช้เทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทำธุรกรรม การใช้สิทธิ และการจัดสรรผลตอบแทน นั่นเอง..
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ SiriHub ได้ที่ https://xspringdigital.com/th/project/sirihub
นักลงทุนที่สนใจลงทุนในโทเคนดิจิทัลผ่าน XSpring Digital สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน XSpring ได้ที่ http://onelink.to/efumnu
และดูวิดีโอคำแนะนำการเปิดบัญชีกับ XSpring Digital ได้ที่ https://youtu.be/bPSTTUTDgxI
คำเตือน: ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเพื่อทำความเข้าใจลักษณะของผลิตภัณฑ์ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過4萬的網紅李根興 Edwin商舖創業及投資分享,也在其Youtube影片中提到,《點做生意系列 - 肉丸舖》 肉丸舖點做生意? 多謝50年老字號振興肉丸負責人 Pius Chan 陳岳成分享營商心得。(2019年2月12日) Based on Stanford Design Thinking (史丹福大學設計思維), 今次同你從九方面分析如何創業營商。 (1) 如何定位及搵...
「revenue sale」的推薦目錄:
- 關於revenue sale 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於revenue sale 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於revenue sale 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於revenue sale 在 李根興 Edwin商舖創業及投資分享 Youtube 的最佳解答
- 關於revenue sale 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
- 關於revenue sale 在 Dan Lok Youtube 的最佳貼文
- 關於revenue sale 在 Revenue vs Sales | Best Differences You Must Know! - YouTube 的評價
- 關於revenue sale 在 新丁-
... 的評價
revenue sale 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
revenue sale 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
revenue sale 在 李根興 Edwin商舖創業及投資分享 Youtube 的最佳解答
《點做生意系列 - 肉丸舖》 肉丸舖點做生意? 多謝50年老字號振興肉丸負責人 Pius Chan 陳岳成分享營商心得。(2019年2月12日)
Based on Stanford Design Thinking (史丹福大學設計思維), 今次同你從九方面分析如何創業營商。
(1) 如何定位及搵客? 成本效應如何計算?
(2) 自己最大價值在哪裏? 如何突圍而出?
(3) 資源,合作夥伴及日常活動如何配合?
他們最暢銷是牛肉丸、豬肉丸及墨魚丸,有機會幫襯下。
老店地址: 大埔墟鄉事會街47號地舖 (大埔墟站A2出口)
營業時間 8am - 7pm Tel: 29470047
尚德分店: 將軍澳尚德街市82號檔(港鐵將軍澳站A出口)
蝴蝶分店: 屯門蝴蝶街市M123號舖(輕鐵美樂站)
及各大超市及街市有售。
www.beefball.com.hk
https://www.facebook.com/TaiPoChunHing/
當然,買舖及租舖也歡迎搵我。
#振興肉丸,#肉丸點做生意,#stanforddesignthinking,#businessmodelgeneration,#李根興,#創業,#商舖, #李根興, #盛滙, #bridgeway,
Business Model Generation 商業模式的構建 by Alexander Osterwalder and Yves Pigneur
(1) Customer Segments 目標顧客群
. Mass vs Niche Market (大眾化 vs 某單一市場)
(2) Value Preposition 價值主張
. Newness, Performance, Customization, vs Price ( 新,表現,個人化,價錢)
(3) Channels 渠道
. Direct vs Indirect (間接 vs 直接)
. Awareness, Evaluation, Purchase, Delivery, After-Sales (知道,評估,購買,送貨,售後服務)
(4) Customer Relationship 顧客關係
. Self-Service, Automated Service, Assistance, Communities, Co-Creation
(自助服務,自動服務,協助,社群,共同創造)
(5) Revenue Streams 收益流
. Asset Sale, Usage Fee, Subscription Fee, Renting/Leasing, Licensing, Brokerage, Advertising (賣資產,使用費, 預訂費,租賃,專利費,中介費,廣告費)
(6) Key Resources 關鍵資源
. Physical, Intellectual, Human, Financial (有型資產,智慧資本,人力資源,財政)
(7) Key Activities 關鍵活動
. Production, Problem Solving, Network/Platform ( 生產,解決問題, 網絡/平台)
(8) Key Partnerships 關鍵合作夥伴
. Optimization/Economy of Scale, Reduction of Risk, Acquire Resources (經濟效益,減低風險,取得資源)
(9) Cost Structure 成本結構
. Cost-Driven vs Value-Driven (按成本 vs 按價值)
. Fixed Costs vs Variable Costs (固定成本 vs 浮動成本)
revenue sale 在 Dan Lok Youtube 的最佳解答
Don’t get left behind in today’s uncertain times! Let Dan Lok show you the exact high-income skills he’s used to generate millions of dollars and how you can start immediately: http://www.highticketcloserwebinar.com
★☆★BONUS FOR A LIMITED TIME★☆★
You can download Dan Lok's best-selling book F.U. Money for FREE: http://closethesale.danlok.link
★☆★ SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ★☆★
https://www.youtube.com/user/vanentrepreneurgroup?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlist:
1.) How to Sell High Ticket Products & Services: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46PlgDZSSo-gxM8ahZ9RtNQE
2.) The Art of High Ticket Sales - https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46NufVkPfYhpUJAD1OBoQEEd
3.) Millionaire Mindset - https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46O591glMGzRMoHaIJB-bQiq
Dan Lok, a.k.a. The King of High-Ticket Sales is one of the highest-paid and most respected consultants in the luxury and “high-ticket” space.
Dan is the creator of High-Ticket Millions Methodology™, the world's most advanced system for getting high-end clients and commanding high fees with no resistance.
Dan works exclusively with coaches, consultants, thought leaders and other service professionals who want a more sustainable, leveraged lifestyle and business through High-Ticket programs and Equity Income.
Dan is one of the rare keynote speakers and business consultants that actually owns a portfolio of highly profitable business ventures.
Not only he is a two times TEDx opening speaker, he's also an international best-selling author of over 12 books and the host of Shoulders of Titans show.
Dan's availability is extremely limited. As such, he's very selective and he is expensive (although it will be FAR less expensive than staying where you are).
Many of his clients are seeing a positive return on their investments in days, not months.
But if you think your business might benefit from one-on-one interaction with Dan, visit http://danlok.com
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
Blog: http://www.danlok.com/blog/
Podcast: http://www.shouldersoftitans.com/
Twitter: https://twitter.com/danthemanlok
Instagram: https://www.instagram.com/danlok/
YouTube: https://www.youtube.com/user/vanentrepreneurgroup
Linkedin: https://www.linkedin.com/in/danlok
Amazon: http://www.amazon.com/Dan-Lok/e/B002BLXW1K
This video is about: Sales Training Techniques: "Close The Sale Faster" - HTC Testimonial
https://youtu.be/-z36wRe8LNE
https://youtu.be/-z36wRe8LNE
revenue sale 在 Dan Lok Youtube 的最佳貼文
How did social media expert Matt Astifan triple his revenue with a new webinar? This video shows you how you can do the same. Watch the entire series here: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46NnY_awVDOLUgYpYpv5u5S4
Watch this video until the end to discover Dan's million-dollar webinar template and how you can implement this template into your webinar.
★☆★BONUS FOR A LIMITED TIME★☆★
You can download Dan Lok's best-selling book F.U. Money for FREE:
http://milliondollartemplate.danlok.link
★☆★ SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ★☆★
https://www.youtube.com/user/vanentrepreneurgroup?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlist:
1.) How to Sell High Ticket Products & Services: https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46PlgDZSSo-gxM8ahZ9RtNQE
2.) The Art of High Ticket Sales - https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46NufVkPfYhpUJAD1OBoQEEd
3.) Millionaire Mindset - https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46O591glMGzRMoHaIJB-bQiq
Dan Lok, a.k.a. The King of High-Ticket Sales is one of the highest-paid and most respected consultants in the luxury and “high-ticket” space.
Dan is the creator of High-Ticket Millions Methodology™, the world's most advanced system for getting high-end clients and commanding high fees with no resistance.
Dan works exclusively with coaches, consultants, thought leaders and other service professionals who want a more sustainable, leveraged lifestyle and business through High-Ticket programs and Equity Income.
Dan is one of the rare keynote speakers and business consultants that actually owns a portfolio of highly profitable business ventures.
Not only he is a two times TEDx opening speaker, he's also an international best-selling author of over 12 books and the host of Shoulders of Titans show.
Dan's availability is extremely limited. As such, he's very selective and he is expensive (although it will be FAR less expensive than staying where you are).
Many of his clients are seeing a positive return on their investments in days, not months.
But if you think your business might benefit from one-on-one interaction with Dan, visit http://danlok.com
★☆★ WANT TO OWN DAN'S BOOKS? ★☆★
http://www.amazon.com/Dan-Lok/e/B002BLXW1K
★☆★ NEED SOLID ADVICE? ★☆★
Request a call with Dan:
https://clarity.fm/danlok
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
Blog: http://www.danlok.com/blog/
Podcast: http://www.shouldersoftitans.com/
Twitter: https://twitter.com/danthemanlok
Instagram: https://www.instagram.com/danlok/
YouTube: https://www.youtube.com/user/vanentrepreneurgroup
Linkedin: https://www.linkedin.com/in/danlok
Meetup: http://www.meetup.com/Vancouver-Entrepreneurs-Group-Business-Network/
Amazon: http://www.amazon.com/Dan-Lok/e/B002BLXW1K
This video is about: Million-Dollar Webinar Template - High Converting Webinar Secrets Ep.12
https://youtu.be/2FODydMxPFU
https://youtu.be/2FODydMxPFU
revenue sale 在 新丁- <Revenue / Sales / Turnover / Income有分別嗎?>... 的推薦與評價
Sales 是Revenue的一部分,Revenue是公司的總收益,而Sales單指從買賣貨品獲得的收益。因此有些不是從事買賣貨品的公司未必有Sales,而其主要的Revenue ... ... <看更多>
revenue sale 在 Revenue vs Sales | Best Differences You Must Know! - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>