การลงทุนใน DeFi คืออะไร ทำไมถึงน่าสนใจ ?
“ DeFi “ หรือ Decentralize Financial คือระบบการเงินไร้ตัวกลาง การลงทุนใน DeFi ถูกเรียกอีกอย่างว่า “ Liquidity Mining” หรือ “ Yield Farming “ การลงทุนแบบนี้มีกลไกการสร้าง cash flow อย่างไรเราจะมาเล่าให้ฟังกัน
ก่อนจะรู้จักกับการลงทุนใน DeFi คุณจำเป็นต้องรู้จักกับ ” Smart Contact “ ก่อน Smart Contact หรือระบบสัญญาอัจฉริยะ คือ แอพพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่ทำงานโดยระบบกระจายศูนย์ การทำงานแบบระบบกระจายศูนย์ดีอย่างไร อธิบายก่อนว่า แอพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์ปกติจะมีการทำงานโดยมีศูนย์กลางหนึ่งเดียว คือคอมพิวเตอร์ Server ซึ่งระบบทางการเงินธุรกรรมต่างๆ , ฐานข้อมูล , อัลกอริทึ่ม หรือ source code จะถูกเก็บไว้กับ คอมพิวเตอร์ Server เพียงตัวเดียว แตกต่างกับระบบกระจายศูนย์ นั่นคือ ฐานข้อมูล , ธุรกรรม , source code จะถูกเปิดเผยอย่างโปร่งใสทำให้ตัดปัญหาเรื่องการยักยอก หรือบิดเบือนข้อมูลจากตัวกลางไปได้ โดย Smart Contact นั้นจะต้องมีการทำงานอยู่บนเครือข่าย ของ Blockchain ปัจจุบันเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Ethereum network และยังมีเครือข่ายอีกมากมายเช่น Binance smart chain , Terra Network เป็นต้น
กลับมาที่การลงทุนใน DeFi เราจะเล่าถึงกลไกการลงทุนแบบ Liquidity Mining ในระบบการเงิน DeFi จะมี โปรเจค Smart Contact รูปแบบหนึ่ง เรียกว่า “ DEX “ หรือ “ Decentralize Exchange “ ที่ทำหน้าที่ 2 บทบาท คือ 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิตอล และ 2.ทำหน้าที่รับฝากทรัพย์สินเพื่อนำทรัพย์สินที่รับฝากมานี้ไปใช้แลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่ต้องการแลกสกุลเงินดิจิตอล โดยจำนวนทรัพย์สินที่รับฝากมารวมๆกันนี้ เรียกว่า “ Liquidity Pool “ และเรียกผู้ฝากทรัพย์สินนี้ว่า “Liquidity Provider”
หากเปรียบเทียบให้คุ้นเคยให้คุณนึกถึง Superrich ที่จะทำหน้าที่รับแลกเปลี่ยนสกุลเงินประเทศหนึ่งไปเป็นสกุลเงินอีกประเทศ และมีรายได้จากเก็บค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยน เช่นเดียวกับ DEX แต่จะแตกต่างกันตรงที่ DEX จะนำค่าธรรมเนียมที่เก็บได้นี้มาแจกให้กับ Liquidity Provider ตามสัดส่วนของ Liquidity Pool โดยหากมองจากมุมมองของนักลงทุน ที่นำทรัพย์สินมาฝากไว้กับ DEX ก็จะได้รับผลตอบแทนเป็น ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมตามสัดส่วน เป็น Yield ทีนี้ Yield จากการลงทุน แบบ Liquidity mining เป็นเท่าไรบ้างล่ะ?
ปัจจุบัน ( 23/12/2020 ) DEX ที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ Uniswap มีทรัพย์สินที่ถูกฝากไว้กับ Liquidity Pool อยู่ที่ 1.87 พันล้านดอลล่าสหรัฐ โดยมี Yield จากการฝากทรัพย์สินโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10-30% ต่อปี และเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ Compound Interest หรือ ดอกเบี้ยทบต้น โดยมีการเพิ่มดอกเบี้ยเข้าไปใน Pool โดยอัตโนมัติและจ่ายเป็นรายวินาที
สำหรับความเสี่ยงในการลงทุน แบบ Liquidity Mining ที่นักลงทุนควรรู้มีดังนี้
1.Yield จากการทำ Liquidity Mining ไม่ได้คงที่ เนื่องจากผลตอบแทนมาจาก ปริมาณของค่าธรรมเนียม / ปริมาณทรัพย์สินใน Liquidity Pool จากประสบการณ์ของผู้เขียน Yield สามารถแกว่งได้ในระดับ 5%-300% ทีเดียว
2.Impermanent Loss อธิบายก่อนว่าการฝากทรัพย์สินดิจิตอลลงใน DEX นั้นจำเป็นต้องฝากทรัพย์สิน 2 ประเภทในปริมาณที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น คุณฝากในรูปแบบ USDT : ETH คุณจำเป็นต้องฝาก USDT และ ETH ในมูลค่าที่เท่ากันในหน่วย US dollar เช่น USDT (50$) : ETH (50$) มูลค่าใน Pool ของคุณก็จะเท่ากับ 100$ แต่หากวันหนึ่งต่อมา ราคา ETH เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าระบบของ DEX ก็จะทำการบาลานซ์ ทรัพย์สินของคุณให้มีมูลค่าเท่ากัน เช่น USDT (50$) : ETH (100$) จะถูกบาลานซ์เป็น USDT (75$) : ETH (75$) ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆก็จะเกิดส่วนต่างระหว่างมูลค่าของการถือ ETH ไว้เฉยๆกับ การฝาก ETH ลง Pool ส่วนต่างนี้ถูกเรียกว่า Impermanent Loss แต่ Impermanent Loss นี้ไม่ได้มีแค่ข้อเสียเสมอไปเพราะจากตัวอย่าง หาก ETH ราคาลดลง ก็จะทำให้คุณขาดทุนลดลงเช่นกัน Impermanent Loss จึงเปรียบเสมือนดาบ2คม
3.Smart Contact นั้นไม่ได้สมบูรณ์แบบ หาก Source code ของ Smart Contact นั้นมีช่องว่าง อาจเกิดการโจรกรรมทรัพย์สินดิจิตอลของคุณออกไปได้ หากคุณไม่ใช่ Developer ที่สามารถเช็ค Source code เองได้แนะนำว่าให้เลือก DEX ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีการ Audit จากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือมาแล้ว เป็นต้น
4.ราคาทรัพย์สินดิจิตอล มีความผันผวนสูง แน่นอนว่าราคาที่ผันผวนของทรัพย์สินที่เรานำไปฝากจะกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนเช่นกัน หากคุณเป็นมือใหม่เราแนะนำว่า ในลงทุนเฉพาะ ทรัพย์สินดิจิตอลที่เป็น Stable coin เช่น DAI , USDC , USDT เป็นต้น
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ
แอดตอง
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...