-- หนังสงครามก่อน 1917 เขาเล่าเรื่องอะไรกันมาบ้าง (PART 2) --
เข้าสู่ยุค 60's จะบอกว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการขยายขอบเขตหนังสงครามด้วยศักยภาพความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ก็ว่าได้ มีงานขึ้นหิ้งของเดวิด ลีน เรื่อง Lawrence of Arabia (1962) เรื่องราวของ ที.อี. ลอเรนซ์ นายทหารอังกฤษที่มีส่วนสำคัญในสงครามระหว่างอาหรับกับเติร์กในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหนังโชว์งานกำกับภาพทะเลทรายอันยิ่งใหญ่ ผสมการเล่าชีวประวัติสุดยอดเยี่ยม มีฉากรบเจ๋ง ๆ ที่ค่อนข้างแตกต่างกว่าฉากสงครามเรื่องอื่นในสมัยนั้น แล้วในปีเดียวกันยังมี The Longest Day (1962) ที่เป็นหนังสงครามโชว์ฉากลองเทควัน D-Day ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย
.
ในยุคนี้ยังมีหนังเกี่ยวข้องกับค่ายเชลยสงครามที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เรื่อง The Great Escape (1963) สร้างจากเรื่องจริงของกลุ่มทหารฝั่งสัมพันธมิตรที่ตกเป็นเชลยสงครามของเยอรมัน ทหารในค่ายนี้ล้วนแล้วแต่เป็นนักหลบหนีแถวหน้า ทหารหลายคนในค่ายนี้ต่างเคยหลบหนีจากค่ายอื่นมาหลายครั้งแต่ก็ไปไม่พ้นเยอรมันสักที ส่วนฝั่งเยอรมันก็คิดแผนการใหม่คือสร้างค่าย Stalag Luft III ขึ้นมารวมพวกทหารที่หลบหนีบ่อย ๆ มาอยู่รวมกันให้หมดจะได้จัดการง่าย ๆ ซึ่งเชลยสงครามทำหน้าที่ก่อกวนปั่นป่วนข้าศึกได้สะแด่วจริง ๆ หนังใช้เวลาร่วมชั่วโมงครึ่งนำเสนอขั้นตอนของแผนการในการหลบหนีที่ใช้เวลาจริง ๆ กว่า 3 ปีครึ่งในการขุดอุโมงค์ตามแผน ขั้นตอนหลัก ๆ ก็คือการขุดซึ่งต้องมีอุปกรณ์ ก็ต้องประดิษฐ์อุปกรณ์หาไม้หาเหล็กมาทำพลั่ว ค้อน ไม้ค้ำยัน เครื่องสูบลมปั๊มอากาศ แล้วยังต้องหาวิธีกำจัดดินจากอุโมงค์อีก ตรงนี้หนังก็จะพาเราดูการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนหลบหนี เป็นหนังสร้างชื่อให้สตีฟ แมคควีนด้วย
.
อีกเรื่องที่คนยกย่องกันมาก ถ้าดูตามยุคสมัยก็น่าจะเป็นหนังเกี่ยวกับการก่อการร้ายเรื่องแรก ๆ เลยคือ The Battle of Algiers (1966) นำเสนอเหตุการณ์กลุ่มชาวแอลจีเรียเรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ปกครองจากการล่าอาณานิคมในขณะนั้น รูปแบบการเรียกร้องอิสรภาพของเขาเป็นแบบกองโจรใต้ดินคอยก่อเหตุวินาศกรรม ตั้งแต่ไล่ยิงตำรวจ จนทหารเข้ามาทำหน้าที่แทนก็เริ่มมีการสังหารหมู่ชาวยุโรป ใช้ระเบิดเป็นเครื่องมือก่อการร้าย แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็ใช่ว่าจะดีเพราะพวกเขาก็โจมตีชุมชนชาวอาหรับด้วยระเบิดจนฝ่ายเรียกร้องเอกราชต้องล้างแค้นรุนแรงขึ้น หนังเดินเรื่องด้วยการนำเสนอมุมมองจากทั้งสองฝ่าย บอกเล่าความโหดร้ายของสงครามซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงวิธีที่ทั้งสองฝ่ายใช้ต่างก็เป็นการขัดต่อกฎหรือหลักปฏิบัติของตัวเองซึ่งตรงนี้หนังไม่ได้บอกเราตรง ๆ แต่ถูกนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องอย่างแยบยล เราจะเห็นหญิงมุสลิมใช้ความได้เปรียบจากการไม่ถูกตรวจค้นร่างกายแอบซ่อนปืนไปให้ผู้ชายสังหาร เห็นมุสลิมซึ่งต้องแต่งตัวคลุมมิดชิดยอมแต่งตัวเป็นสาวยุโรปเพื่อจะได้ผ่านด่านตรวจไปวางระเบิดง่าย ๆ เราจะเห็นตำรวจยอมกระทั่งสร้างเหตุการณ์ให้รุนแรงขึ้นเพื่อทางรัฐบาลจะได้มอบอำนาจให้มากขึ้น
.
ซึ่งจะว่าไปหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ก็เหมือนจะไม่มีหนังเรื่องไหนพูดถึงสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับโซเวียตจัง ๆ เหมือน Dr. Strangelove, Or How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb (1964) ของสแตนลีย์ คูบริก หนังตลกร้ายเสียดสีสงครามที่เรื่องราวดูเป็นจริงและน่าเชื่อถือ แต่กลับเต็มไปด้วยตัวละครที่ไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นบุคคลระดับผู้นำในห้อง War Room หนังเปิดเรื่องด้วยข่าวลือว่าโซเวียตมีการแอบพัฒนาอาวุธทำลายล้างโลก ก่อนจะตามมาด้วยนายพลกองทัพอากาศมีคำสั่งใช้แผนโจมตีโซเวียตด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งที่จริงแล้วคนออกคำสั่งใช้นิวเคลียร์มีเพียงคนเดียวคือประธานาธิบดี แต่ก็มีกรณีฉุกเฉินอย่างเช่นแผนไว้ใช้สำหรับตอบโต้หากถูกรุกราน ซึ่งคนออกคำสั่งได้ก็คือนายพลกองทัพอากาศคนนี้
.
แล้วเอาจริง ๆ ในช่วงยุค 60's ยังมีหนังแบบ Zulu (1964) สร้างจากเรื่องจริงของกองทัพอังกฤษ 140 คนตั้งรับต้านชนเผ่าซูลูกว่า 4,000 คนเอาไว้ได้ หลังจากกองทัพอังกฤษกว่า 1,200 คนที่อิชิวานถูกชนเผ่าซูลูสังหารหมู่ยกกองทัพ พวกซูลูก็ตั้งใจนำกำลังคนกว่า 4,000 คนบุกมาถล่มที่มั่นเล็ก ๆ ที่มีกำลังคนแค่ 140 คนนับรวมคนเจ็บด้วย หลังจากซูลูถล่มหนึ่งวันเต็ม พวกเขาก็ต้องถอยหลังและยกย่องความกล้าหาญของทหารอังกฤษ ซึ่งหนังก็มาแนวแอ็คชั่นยืนหยัดสู้เต็มที่
.
เข้ายุค 70's ที่เขานับเป็นยุคทองของฮอลลีวูดก็มีหนังสงครามขึ้นหิ้งแบบ Patton (1970) ชีวประวัตินายพลแพตตัน นายทหารผู้ที่ถูกการเมืองเล่นงาน ตกเป็นเหยื่อของการเมืองอเมริกาที่ต้องการเอาใจอังกฤษและสนับสนุนแนวรบตะวันออกอย่างรัสเซียเพื่อชนะสงคราม แม้รูปแบบของหนังจะเป็นการยกย่องเชิดชูวีรบุรุษผู้อยู่เบื้องหลังชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ผู้กำกับเลือกจะตีความนำเสนอนายพลแพตตันให้เป็น วีรบุรุษที่มีทั้งคนชอบและชิงชัง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะนายพลแพตตันเป็นทหารที่มากความสามารถในการยุทธวิธีการรบ, มีวินัยสูง, มีความกล้าหาญ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นคุณสมบัติของผู้นำศึกที่ดี นอกจากนี้แล้วความที่นายพลแพตตันมีลักษณะของทหารที่มุ่งหวังให้ชาติได้รับชัยในสงครามเท่านั้น จึงทำให้เขาไม่สนใจเกมการเมืองของเบื้องบน
.
สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเวียดนามตั้งแต่ปี 1965 ก่อนจะถอนตัวช่วงปี 1973-1975 แต่กว่าจะเริ่มมีหนังพูดถึงสงครามเวียดนามก็ประมาณ 3 ปีจากนั้นคือ Coming Home (1978) และ The Deer Hunter (1978) ที่ชนะรางวัลออสการ์ เรื่องหลังถูกโจมตีเยอะเหมือนกันเรื่องการสร้างภาพความเลวร้ายของเวียดนามในสงครามแบบเกินจริงเอามาก ๆ เพราะหนังสร้างภาพให้คนเวียดนามสนุกสนานกับการฆ่าคน ทั้งที่ความจริงคนเวียดนามฆ่าทหารอเมริกันเพราะไม่มีทางเลือก เป็นสงครามเพื่อปกป้องประเทศ กลายเป็นหนังที่ถูกโจมตีว่าผู้แพ้กำลังบิดเบือนประวัติศาสตร์ด้วยภาพยนตร์ แต่หนังกลับชนะ 5 รางวัลออสการ์
.
แต่ยังไม่ทันจะเข้า 80's ก็มีหนังของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า เรื่อง Apocalypse Now (1979) ที่เริ่มแสดงให้เห็นความจริงอีกด้านของสงครามเวียดนามว่าเป็นสงครามที่ชาวอเมริกันไม่ได้อยากมาร่วมรบ พวกเขามาแบบไม่มีจุดหมาย ตรงกันข้ามกับชาวเวียดนามที่ต้องสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด
.
เข้าสู่ยุค 80's ก็เริ่มเห็นหนังพูดถึงทหารผ่านศึกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม หนึ่งในนั้นคือ First Blood (1982) หรือหนังแรมโบ้นั่นเอง จริง ๆ หลังสงครามเวียดนาม มาร์ติน สกอร์เซซี่ เคยทำ Taxi Driver ปี 1976 เรื่องนั้นก็มาก่อนกาลเหมือนกันในแง่ของการพูดถึงอาการ PTSD ความเครียดจากการผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงในสงคราม ซึ่งใน First Blood สะท้อนภาพบาดแผลในใจของทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามที่เคยได้รับการยอมรับในสงคราม ทว่าพอกลับมาบ้านเกิดกลับกลายเป็นคนไร้ค่า แล้วหนังก็ปรับคาแรคเตอร์ตัวละครจากในนิยายที่เป็นนักฆ่าเลือดเย็นให้กลายเป็นคนที่น่าเห็นใจเพราะเขาเป็นเหยื่อสงครามนั้นก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมาก ๆ
.
ยุคนี้ยังมีหนังสงครามขึ้นหิ้งอย่างเรื่อง Platoon (1986) ของโอลิเวอร์ สโตน ที่เอาประสบการณ์ตัวเองสมัยสงครามเวียดนามมาทำเป็นหนัง เล่ามุมมองสงครามเวียดนามผ่านพลทหารหน้าใหม่ที่เฝ้าแต่นับวันปลดประจำการ ดิ้นรนมีชีวิตรอดไปวัน ๆ พวกเขาแทบไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่ามารบเพื่ออะไร ทหารส่วนมากก็คือคนยากจน คนผิวดำไม่มีงานทำก็มาสมัครเป็นทหาร แล้วหนังมันก็นำเสนอภาพขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงของทั้งสองฝ่าย ชาวเวียดนามที่ยอมระเบิดฆ่าตัวตายเพื่อแลกกับชีวิตทหารอเมริกา มันคือความต่างของการสู้เพื่อแผ่นดินตัวเองกับผู้มาเยือนที่มาเพราะสถานการณ์บีบบังคับ
.
อีกเรื่องในปีต่อมาคือ Full Metal Jacket (1987) ของสแตนลีย์ คูบริค ที่ให้เราได้เห็นการฝึกทหารก่อนไปเข้าร่วมสงครามเต็ม ๆ เกือบครึ่งเรื่อง แต่พอถึงสนามรบที่ฝึกมากลับเลื่อนลอยมาก อาวุธล้ำสมัยและการฝึกที่เข้มข้นยังไม่สามารถสู้แรงจูงใจของชาวเวียดนามที่รบเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด
.
แล้วถ้าจะปิดท้ายยุคนี้ต้องมี Born on the Fourth of July (1989) อีกเรื่องของโอลิเวอร์ สโตน ที่ยืนยันจุดยืนหนักแน่นว่าเขาต่อต้านสงคราม หนังสร้างจากเรื่องจริงของรอน โควิค (แสดงโดย ทอม ครูซ) ทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามที่ได้รับบาดเจ็บจนอัมพาตท่อนล่าง และถึงแม้เขาจะได้รับเกียรติเรียกให้เป็นวีรบุรุษสงครามแต่สิ่งที่รัฐบาลและผู้คนปฏิบัติต่อเขามันไม่ใช่สิ่งที่คนควรปฏิบัติกับวีรบุรุษของประเทศแม้แต่นิดเดียว กระทั่งการรักษาพยาบาลยังเสื่อมโทรมสุด ๆ
.
หนังโจมตีการชวนเชื่อตั้งแต่เด็ก จากเด็กน้อยที่ชอบเล่นยิงปืนใฝ่ฝันอยากเป็นทหาร แม่ก็คาดหวังว่าเป็นทหารแล้วจะดี วันชาติพาไปดูขบวนพาเหรดเห็นทหารบาดเจ็บถึงขั้นพิการก็ยังเดินขบวนยิ้มแย้ม เห็นการโฆษณาชวนเชื่อให้สมัครเป็นทหาร พอโตมาสมัครเป็นนาวิกโยธินอาสาไปรบในสงครามเวียดนามด้วยความมุ่งมั่น แต่เมื่อไปเจอสงครามจริง ๆ ก็มีเรื่องให้รู้สึกผิดเป็นตราบาป ทั้งการยิงผู้บริสุทธิ์และการที่เขาคิดว่าเขาฆ่าเพื่อนตัวเองโดยไม่ตั้งใจ บาดเจ็บอัมพาตกลับมาก็ยังเชื่อว่าสงครามเวียดนามคือสิ่งที่ถูกต้อง เป็นหนังที่พาเราไปสำรวจทหารผ่านศึกจริง ๆ กว่าจะตาสว่างเห็นความเลวร้ายของสงครามก็ต้องล้างความเชื่อเก่า ๆ ให้หมด
.
อีกเรื่องที่เป็นตำนานคลาสสิกจากยุค 80's คือ Das Boot (1981) จริง ๆ โลกเรามีหนังเรือดำน้ำก่อนหน้านี้เยอะมาก แต่กว่าจะมีเรื่องที่คนยอมรับกันก็เรื่องนี้ เรื่องราวของเรือดำน้ำเยอรมัน U-96 ซึ่งต้องออกลาดตระเวนจมเรือขนส่งสินค้าหรือเรือรบข้าศึก เป็นหนังที่ทำออกมาสมจริงมาก ทั้งงานสร้างและยุทธวิธีการรบใต้น้ำ เป็นหนังเทสเครื่องเสียงของยุคนึงเลยเพราะมีพวกเสียงโซน่าร์ เสียงน้ำหยด เสียงเครื่องยนต์ เสียงไต่ระดับความลึก
-----
อ่าน part 1 ยุค 30's - 50's ได้ที่: http://bit.ly/2tM5ZBo
stalag luft iii 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
-\-\ หนังสงครามก่อน 1917 เขาเล่าเรื่องอะไรกันมาบ้าง (PART 2) -\-\
เข้าสู่ยุค 60's จะบอกว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการขยายขอบเขตหนังสงครามด้วยศักยภาพความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ก็ว่าได้ มีงานขึ้นหิ้งของเดวิด ลีน เรื่อง Lawrence of Arabia (1962) เรื่องราวของ ที.อี. ลอเรนซ์ นายทหารอังกฤษที่มีส่วนสำคัญในสงครามระหว่างอาหรับกับเติร์กในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหนังโชว์งานกำกับภาพทะเลทรายอันยิ่งใหญ่ ผสมการเล่าชีวประวัติสุดยอดเยี่ยม มีฉากรบเจ๋ง ๆ ที่ค่อนข้างแตกต่างกว่าฉากสงครามเรื่องอื่นในสมัยนั้น แล้วในปีเดียวกันยังมี The Longest Day (1962) ที่เป็นหนังสงครามโชว์ฉากลองเทควัน D-Day ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย
.
ในยุคนี้ยังมีหนังเกี่ยวข้องกับค่ายเชลยสงครามที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เรื่อง The Great Escape (1963) สร้างจากเรื่องจริงของกลุ่มทหารฝั่งสัมพันธมิตรที่ตกเป็นเชลยสงครามของเยอรมัน ทหารในค่ายนี้ล้วนแล้วแต่เป็นนักหลบหนีแถวหน้า ทหารหลายคนในค่ายนี้ต่างเคยหลบหนีจากค่ายอื่นมาหลายครั้งแต่ก็ไปไม่พ้นเยอรมันสักที ส่วนฝั่งเยอรมันก็คิดแผนการใหม่คือสร้างค่าย Stalag Luft III ขึ้นมารวมพวกทหารที่หลบหนีบ่อย ๆ มาอยู่รวมกันให้หมดจะได้จัดการง่าย ๆ ซึ่งเชลยสงครามทำหน้าที่ก่อกวนปั่นป่วนข้าศึกได้สะแด่วจริง ๆ หนังใช้เวลาร่วมชั่วโมงครึ่งนำเสนอขั้นตอนของแผนการในการหลบหนีที่ใช้เวลาจริง ๆ กว่า 3 ปีครึ่งในการขุดอุโมงค์ตามแผน ขั้นตอนหลัก ๆ ก็คือการขุดซึ่งต้องมีอุปกรณ์ ก็ต้องประดิษฐ์อุปกรณ์หาไม้หาเหล็กมาทำพลั่ว ค้อน ไม้ค้ำยัน เครื่องสูบลมปั๊มอากาศ แล้วยังต้องหาวิธีกำจัดดินจากอุโมงค์อีก ตรงนี้หนังก็จะพาเราดูการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนหลบหนี เป็นหนังสร้างชื่อให้สตีฟ แมคควีนด้วย
.
อีกเรื่องที่คนยกย่องกันมาก ถ้าดูตามยุคสมัยก็น่าจะเป็นหนังเกี่ยวกับการก่อการร้ายเรื่องแรก ๆ เลยคือ The Battle of Algiers (1966) นำเสนอเหตุการณ์กลุ่มชาวแอลจีเรียเรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ปกครองจากการล่าอาณานิคมในขณะนั้น รูปแบบการเรียกร้องอิสรภาพของเขาเป็นแบบกองโจรใต้ดินคอยก่อเหตุวินาศกรรม ตั้งแต่ไล่ยิงตำรวจ จนทหารเข้ามาทำหน้าที่แทนก็เริ่มมีการสังหารหมู่ชาวยุโรป ใช้ระเบิดเป็นเครื่องมือก่อการร้าย แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็ใช่ว่าจะดีเพราะพวกเขาก็โจมตีชุมชนชาวอาหรับด้วยระเบิดจนฝ่ายเรียกร้องเอกราชต้องล้างแค้นรุนแรงขึ้น หนังเดินเรื่องด้วยการนำเสนอมุมมองจากทั้งสองฝ่าย บอกเล่าความโหดร้ายของสงครามซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงวิธีที่ทั้งสองฝ่ายใช้ต่างก็เป็นการขัดต่อกฎหรือหลักปฏิบัติของตัวเองซึ่งตรงนี้หนังไม่ได้บอกเราตรง ๆ แต่ถูกนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องอย่างแยบยล เราจะเห็นหญิงมุสลิมใช้ความได้เปรียบจากการไม่ถูกตรวจค้นร่างกายแอบซ่อนปืนไปให้ผู้ชายสังหาร เห็นมุสลิมซึ่งต้องแต่งตัวคลุมมิดชิดยอมแต่งตัวเป็นสาวยุโรปเพื่อจะได้ผ่านด่านตรวจไปวางระเบิดง่าย ๆ เราจะเห็นตำรวจยอมกระทั่งสร้างเหตุการณ์ให้รุนแรงขึ้นเพื่อทางรัฐบาลจะได้มอบอำนาจให้มากขึ้น
.
ซึ่งจะว่าไปหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ก็เหมือนจะไม่มีหนังเรื่องไหนพูดถึงสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับโซเวียตจัง ๆ เหมือน Dr. Strangelove, Or How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb (1964) ของสแตนลีย์ คูบริก หนังตลกร้ายเสียดสีสงครามที่เรื่องราวดูเป็นจริงและน่าเชื่อถือ แต่กลับเต็มไปด้วยตัวละครที่ไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นบุคคลระดับผู้นำในห้อง War Room หนังเปิดเรื่องด้วยข่าวลือว่าโซเวียตมีการแอบพัฒนาอาวุธทำลายล้างโลก ก่อนจะตามมาด้วยนายพลกองทัพอากาศมีคำสั่งใช้แผนโจมตีโซเวียตด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งที่จริงแล้วคนออกคำสั่งใช้นิวเคลียร์มีเพียงคนเดียวคือประธานาธิบดี แต่ก็มีกรณีฉุกเฉินอย่างเช่นแผนไว้ใช้สำหรับตอบโต้หากถูกรุกราน ซึ่งคนออกคำสั่งได้ก็คือนายพลกองทัพอากาศคนนี้
.
แล้วเอาจริง ๆ ในช่วงยุค 60's ยังมีหนังแบบ Zulu (1964) สร้างจากเรื่องจริงของกองทัพอังกฤษ 140 คนตั้งรับต้านชนเผ่าซูลูกว่า 4,000 คนเอาไว้ได้ หลังจากกองทัพอังกฤษกว่า 1,200 คนที่อิชิวานถูกชนเผ่าซูลูสังหารหมู่ยกกองทัพ พวกซูลูก็ตั้งใจนำกำลังคนกว่า 4,000 คนบุกมาถล่มที่มั่นเล็ก ๆ ที่มีกำลังคนแค่ 140 คนนับรวมคนเจ็บด้วย หลังจากซูลูถล่มหนึ่งวันเต็ม พวกเขาก็ต้องถอยหลังและยกย่องความกล้าหาญของทหารอังกฤษ ซึ่งหนังก็มาแนวแอ็คชั่นยืนหยัดสู้เต็มที่
.
เข้ายุค 70's ที่เขานับเป็นยุคทองของฮอลลีวูดก็มีหนังสงครามขึ้นหิ้งแบบ Patton (1970) ชีวประวัตินายพลแพตตัน นายทหารผู้ที่ถูกการเมืองเล่นงาน ตกเป็นเหยื่อของการเมืองอเมริกาที่ต้องการเอาใจอังกฤษและสนับสนุนแนวรบตะวันออกอย่างรัสเซียเพื่อชนะสงคราม แม้รูปแบบของหนังจะเป็นการยกย่องเชิดชูวีรบุรุษผู้อยู่เบื้องหลังชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ผู้กำกับเลือกจะตีความนำเสนอนายพลแพตตันให้เป็น วีรบุรุษที่มีทั้งคนชอบและชิงชัง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะนายพลแพตตันเป็นทหารที่มากความสามารถในการยุทธวิธีการรบ, มีวินัยสูง, มีความกล้าหาญ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นคุณสมบัติของผู้นำศึกที่ดี นอกจากนี้แล้วความที่นายพลแพตตันมีลักษณะของทหารที่มุ่งหวังให้ชาติได้รับชัยในสงครามเท่านั้น จึงทำให้เขาไม่สนใจเกมการเมืองของเบื้องบน
.
สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเวียดนามตั้งแต่ปี 1965 ก่อนจะถอนตัวช่วงปี 1973-1975 แต่กว่าจะเริ่มมีหนังพูดถึงสงครามเวียดนามก็ประมาณ 3 ปีจากนั้นคือ Coming Home (1978) และ The Deer Hunter (1978) ที่ชนะรางวัลออสการ์ เรื่องหลังถูกโจมตีเยอะเหมือนกันเรื่องการสร้างภาพความเลวร้ายของเวียดนามในสงครามแบบเกินจริงเอามาก ๆ เพราะหนังสร้างภาพให้คนเวียดนามสนุกสนานกับการฆ่าคน ทั้งที่ความจริงคนเวียดนามฆ่าทหารอเมริกันเพราะไม่มีทางเลือก เป็นสงครามเพื่อปกป้องประเทศ กลายเป็นหนังที่ถูกโจมตีว่าผู้แพ้กำลังบิดเบือนประวัติศาสตร์ด้วยภาพยนตร์ แต่หนังกลับชนะ 5 รางวัลออสการ์
.
แต่ยังไม่ทันจะเข้า 80's ก็มีหนังของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า เรื่อง Apocalypse Now (1979) ที่เริ่มแสดงให้เห็นความจริงอีกด้านของสงครามเวียดนามว่าเป็นสงครามที่ชาวอเมริกันไม่ได้อยากมาร่วมรบ พวกเขามาแบบไม่มีจุดหมาย ตรงกันข้ามกับชาวเวียดนามที่ต้องสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด
.
เข้าสู่ยุค 80's ก็เริ่มเห็นหนังพูดถึงทหารผ่านศึกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเวียดนาม หนึ่งในนั้นคือ First Blood (1982) หรือหนังแรมโบ้นั่นเอง จริง ๆ หลังสงครามเวียดนาม มาร์ติน สกอร์เซซี่ เคยทำ Taxi Driver ปี 1976 เรื่องนั้นก็มาก่อนกาลเหมือนกันในแง่ของการพูดถึงอาการ PTSD ความเครียดจากการผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงในสงคราม ซึ่งใน First Blood สะท้อนภาพบาดแผลในใจของทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามที่เคยได้รับการยอมรับในสงคราม ทว่าพอกลับมาบ้านเกิดกลับกลายเป็นคนไร้ค่า แล้วหนังก็ปรับคาแรคเตอร์ตัวละครจากในนิยายที่เป็นนักฆ่าเลือดเย็นให้กลายเป็นคนที่น่าเห็นใจเพราะเขาเป็นเหยื่อสงครามนั้นก็ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมาก ๆ
.
ยุคนี้ยังมีหนังสงครามขึ้นหิ้งอย่างเรื่อง Platoon (1986) ของโอลิเวอร์ สโตน ที่เอาประสบการณ์ตัวเองสมัยสงครามเวียดนามมาทำเป็นหนัง เล่ามุมมองสงครามเวียดนามผ่านพลทหารหน้าใหม่ที่เฝ้าแต่นับวันปลดประจำการ ดิ้นรนมีชีวิตรอดไปวัน ๆ พวกเขาแทบไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่ามารบเพื่ออะไร ทหารส่วนมากก็คือคนยากจน คนผิวดำไม่มีงานทำก็มาสมัครเป็นทหาร แล้วหนังมันก็นำเสนอภาพขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงของทั้งสองฝ่าย ชาวเวียดนามที่ยอมระเบิดฆ่าตัวตายเพื่อแลกกับชีวิตทหารอเมริกา มันคือความต่างของการสู้เพื่อแผ่นดินตัวเองกับผู้มาเยือนที่มาเพราะสถานการณ์บีบบังคับ
.
อีกเรื่องในปีต่อมาคือ Full Metal Jacket (1987) ของสแตนลีย์ คูบริค ที่ให้เราได้เห็นการฝึกทหารก่อนไปเข้าร่วมสงครามเต็ม ๆ เกือบครึ่งเรื่อง แต่พอถึงสนามรบที่ฝึกมากลับเลื่อนลอยมาก อาวุธล้ำสมัยและการฝึกที่เข้มข้นยังไม่สามารถสู้แรงจูงใจของชาวเวียดนามที่รบเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด
.
แล้วถ้าจะปิดท้ายยุคนี้ต้องมี Born on the Fourth of July (1989) อีกเรื่องของโอลิเวอร์ สโตน ที่ยืนยันจุดยืนหนักแน่นว่าเขาต่อต้านสงคราม หนังสร้างจากเรื่องจริงของรอน โควิค (แสดงโดย ทอม ครูซ) ทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามที่ได้รับบาดเจ็บจนอัมพาตท่อนล่าง และถึงแม้เขาจะได้รับเกียรติเรียกให้เป็นวีรบุรุษสงครามแต่สิ่งที่รัฐบาลและผู้คนปฏิบัติต่อเขามันไม่ใช่สิ่งที่คนควรปฏิบัติกับวีรบุรุษของประเทศแม้แต่นิดเดียว กระทั่งการรักษาพยาบาลยังเสื่อมโทรมสุด ๆ
.
หนังโจมตีการชวนเชื่อตั้งแต่เด็ก จากเด็กน้อยที่ชอบเล่นยิงปืนใฝ่ฝันอยากเป็นทหาร แม่ก็คาดหวังว่าเป็นทหารแล้วจะดี วันชาติพาไปดูขบวนพาเหรดเห็นทหารบาดเจ็บถึงขั้นพิการก็ยังเดินขบวนยิ้มแย้ม เห็นการโฆษณาชวนเชื่อให้สมัครเป็นทหาร พอโตมาสมัครเป็นนาวิกโยธินอาสาไปรบในสงครามเวียดนามด้วยความมุ่งมั่น แต่เมื่อไปเจอสงครามจริง ๆ ก็มีเรื่องให้รู้สึกผิดเป็นตราบาป ทั้งการยิงผู้บริสุทธิ์และการที่เขาคิดว่าเขาฆ่าเพื่อนตัวเองโดยไม่ตั้งใจ บาดเจ็บอัมพาตกลับมาก็ยังเชื่อว่าสงครามเวียดนามคือสิ่งที่ถูกต้อง เป็นหนังที่พาเราไปสำรวจทหารผ่านศึกจริง ๆ กว่าจะตาสว่างเห็นความเลวร้ายของสงครามก็ต้องล้างความเชื่อเก่า ๆ ให้หมด
.
อีกเรื่องที่เป็นตำนานคลาสสิกจากยุค 80's คือ Das Boot (1981) จริง ๆ โลกเรามีหนังเรือดำน้ำก่อนหน้านี้เยอะมาก แต่กว่าจะมีเรื่องที่คนยอมรับกันก็เรื่องนี้ เรื่องราวของเรือดำน้ำเยอรมัน U-96 ซึ่งต้องออกลาดตระเวนจมเรือขนส่งสินค้าหรือเรือรบข้าศึก เป็นหนังที่ทำออกมาสมจริงมาก ทั้งงานสร้างและยุทธวิธีการรบใต้น้ำ เป็นหนังเทสเครื่องเสียงของยุคนึงเลยเพราะมีพวกเสียงโซน่าร์ เสียงน้ำหยด เสียงเครื่องยนต์ เสียงไต่ระดับความลึก
-\-\-\-\-
อ่าน part 1 ยุค 30's - 50's ได้ที่: http://bit.ly/2tM5ZBo
stalag luft iii 在 Stalag Luft III - One Man's Story - Facebook 的推薦與評價
Stalag Luft III - One Man's Story. 447 likes. A documentary about my Uncle Charles Woehrle, a Bombardier in WWII. He was shot down and captured by the... ... <看更多>
stalag luft iii 在 Stalag Luft III: The POWs Who Escaped The Nazi Fortress 的推薦與評價
The notorious Stalag Luft III was a specially built prison camp on Germany's border with Poland. It held 10000 Allied airmen of all ... ... <看更多>