คณิตศาสตร์ของ "หวย"
"หวย" น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "กิจกรรมประจำชาติ" ของไทยอย่างหนึ่งที่เรามาร่วมกันโอดครวญกันเป็นประจำกับการถูกหวยแ-ก หวยไม่เพียงแต่เป็น national pastime ประจำชาติเพียงเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อของเรา และเนื่องจากนี่เป็นเพจวิทยาศาสตร์จึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าหวยนั้นมีส่วนที่เหนี่ยวรั้งความพัฒนาสู่ scientific literacy ในประเทศเราไม่มากก็น้อย ดั่งที่เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีกับลูกหมูพิการ ต้นกล้วยงอกกลางต้น รวมไปถึงท่อน้ำทิ้งจากส้วมที่แตกและผุดขึ้นมาบนดิน ที่แทบทุกเหตุการณ์ ทุกอุบัติเหตุ ทุกข่าว ทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้จะถูกตีความไปเป็น "ตัวเลข" เสียทั้งหมด
ในวันนี้เราจะมาลองดู "หวย" จากในแง่มุมของคณิตศาสตร์กันดูบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของรางวัล "เลขท้ายสองตัว"
รางวัลเลขท้ายสองตัวนั้นมีความเป็นไปได้ทั้งหมดอยู่ด้วยกัน 100 แบบ โอกาสที่จะถูก จึงมีเพียงแค่หนึ่งในร้อย (ในขณะที่โอกาสที่จะถูกแดกกลับมีถึง 99%) ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่มาจากสมมติฐานว่าหวยทุกเลขนั้นมีโอกาสออกเท่ากันหมด ว่าแต่ว่าสมมติฐานนี้เป็นจริงหรือไม่?
จากกราฟบนในภาพ แสดงถึงการกระจายตัวของหวยเลขท้ายสองตัวตลอด 20 ปีที่ผ่านมา[1] ทั้ง "ตัวบน" และ "ตัวล่าง" รวมกันทั้งสิ้น 477 งวด จากการดูคร่าวๆ เราจะพบว่ารางวัลนั้นมีการกระจายตัวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่มีตัวเลขใดที่เด่นกว่าอย่างเห็นได้ชัดอาจจะมีบางตัวเลขที่ออกเยอะกว่าเลขอื่นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้มากจนเกินไป
ในทางสถิตินั้น หากเราต้องการจะทราบว่าข้อมูลชุดหนึ่งมีการกระจายตัวที่สอดคล้องกับการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ (uniform distribution) หรือไม่ เราสามารถทำได้โดยการคำนวณค่า Pearson's chi-squared test ซึ่งหากเรานำข้อมูลรางวัลเลขท้ายสองตัวตลอด 20 ปีนี้มาคำนวณดู เราจะพบว่า ข้อมูลที่ได้นั้น มีค่า chi-squared อยู่ต่ำกว่า Upper-tail critical values of chi-square distribution ทั้งที่ 95% และ 99% confidence interval สำหรับทั้งตัวบนและตัวล่าง นี่หมายความว่า เราไม่สามารถ reject null hypothesis ได้ และไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่าข้อมูลชุดนี้มีการกระจายตัวที่ต่างออกไปจาก uniform distribution ด้วยความมั่นใจกว่า 99%
ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่ไม่ได้เป็นการยืนยันหรือปฏิเสธว่าหวยมีการล๊อคหรือไม่ เราบอกได้เพียงแค่ว่า เลขที่ออกนั้นมีการกระจายตัวที่ค่อนข้าง uniform และมีโอกาสลงทุกเลขอย่างใกล้เคียงกัน อยู่ที่ว่าเราจะเลือกเลขที่ถูกหรือเปล่า
วิธีหนึ่งที่เราอาจจะเลือกเลขที่จะแทง "หวย" ก็คือการ "สุ่ม" ด้วยตัวเราเองโดยการนึกเลขมั่วๆ ขึ้นมาหนึ่งตัวเลข อย่างไรก็ตาม วิธีนี้นั้นมีปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษามายืนยันเป็นอย่างมาก ว่าสมองของมนุษย์นั้นทำการสุ่มตัวเลขได้ค่อนข้างแย่ และตัวเลขที่เรา "สุ่ม" ขึ้นมาจากหัวนั้น ไม่สามารถเป็นเลขที่เกิดจากการ "สุ่ม" ได้อย่างแท้จริง
กราฟล่างซ้ายของภาพ เป็นกราฟที่ได้มาจาก reddit ที่เก็บข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมมา "สุ่ม" ตัวเลขลงบนโซเชียลมีเดียกว่า 6750 ครั้ง จากกราฟเราจะพบว่ากราฟนี้ไม่ได้มีการกระจายตัวที่สม่ำเสมอทุกตัวเลขเท่ากัน ตัวเลขที่ได้รับการ "สุ่ม" มากที่สุดนั้นได้แก่เลข "69" (ด้วยเหตุผลบางประการ) "77" และ "7" ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าตัวเลขอื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกไปจากนี้ ตัวเลขระหว่าง 1-10 ถูกเลือกมากกว่าตัวเลขอื่นอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งนี่สอดคล้องกับการศึกษาทางจิตวิทยา และอีกการเก็บข้อมูลหนึ่งที่พบว่าเลข 7 จะถูกเลือกบ่อยที่สุดถึงกว่า 28% เมื่อเราให้คน "สุ่ม" เลขระหว่าง 1-10 ขึ้นมากว่า 8500 ครั้ง[5] เนื่องจากสมองของเรานั้นมีความรู้สึกว่าเลข "7" นั้นควรจะเป็นเลขที่ "สุ่ม" ที่สุด เราจึงเลือกกันแต่เลข 7 จนกลายเป็นเลขที่ไม่สุ่มอีกต่อไป
ซึ่งหากเรานำ Pearson chi-square test มาทดสอบกับข้อมูลชุดนี้ เราจะพบว่าค่า chi-square ที่ได้นั้นเกิน Upper-tail critical values of chi-square distribution ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ไปอย่างไม่เห็นฝุ่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าเลขท้ายสองตัวที่ได้จากสมองมนุษย์นั้น ไม่ได้มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอเหมือนอย่างที่หวยออกมาจริงๆ
แล้วการที่สมองมนุษย์ไม่สามารถ random เลขออกมาได้อย่างสม่ำเสมอนั้นมันสำคัญตรงไหน? เมื่อสมองมนุษย์ไม่สามารถ generate distribution แบบเดียวกันกับหวยได้ ก็ย่อมหมายความว่าต่อให้คนที่เชื่อว่ามี "สัญชาติญาณ" ดีที่สุดในการ "เดา" หวย ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะถูกหวยอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าเราไม่มีทางที่จะเดาหวยได้ถูกอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ในเมื่อหวยนั้นออกทุกเลขอย่างสม่ำเสมอ แต่สมองของเรานั้นไม่สามารถสม่ำเสมอได้
ซึ่งนี่นำไปสู่กลวิธีทุดท้ายที่เรามักจะนำมาเป็น "แรงบรรดาลใจ" ในการแทงหวย นั่นก็คือ การมองหาตัวเลขรอบๆ ข้างที่ไม่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้เสียชีวิต ลำดับประธานาธิปดี เวลาท้องถิ่นขณะที่นายกทุ่มโพเดี้ยม ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีปัญหาอีกเช่นกัน.... โดยเจ้าปัญหาที่ว่านี้ รู้จักกันในนามของ Benford's Law[6]
Benford's Law นั้นถูกค้นพบโดยบังเอิญโดย Simon Newcomb ในปี 1881 และอีกครั้งโดย Frank Benford ในปี 1938 โดยในยุคก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขของพวกเขานั้น การหาค่า Logarithm ทำได้โดยการเปิดสมุดเล่มหนาๆ เพื่อหาค่าจากในตาราง โดยนายทั้งสองคนนี้พบว่าหน้าแรกๆ ของสมุด logarithm table ของพวกเขานั้นเปื่อยเร็วกว่าหน้าหลังๆ เป็นอย่างมาก นาย Benford จึงตั้งสมมติฐานว่า ตัวเลขหลักหน้าของค่าที่พบในธรรมชาตินั้นอาจจะมีการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยที่ตัวเลขน้อยๆ ควรจะมีการพบได้บ่อยกว่า ตามกราฟแท่งสีน้ำเงินที่ด้านล่างขวาของภาพ และเขาได้ทดสอบกับตัวเลขในธรรมชาติที่ไม่ควรจะมีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ พื้นที่ผิวของแม่น้ำ 335 สาย, ประชากรของเมืองในสหรัฐ 3259 เมือง, ค่าคงที่สากลทางฟิสิกส์กว่า 104 ค่า มวลโมเลกุลกว่า 1800 โมเลกุล, ตัวเลขที่ได้จากคู่มือคณิตศาสตร์กว่า 5000 ตัวเลข, ตัวเลขที่พบในนิตยสาร Reader's Digest กว่า 308 เลข, บ้านเลขที่ของคนกว่า 342 คนที่พบใน American Men of Science และอัตราการเสียชีวิตกว่า 418 อัตรา รวมทั้งหมดนาย Benford ได้นำตัวเลขที่ได้มาแบบสุ่มกว่า 20,229 เลข และพบว่าเลขเหล่านั้นมีตัวเลขหลักหน้ากระจายตัวตาม Benford's Law
กราฟด้านล่างขวา แสดงถึง Benford's Law เทียบกับการกระจายตัวของตัวเลขหลักหน้าของค่าคงที่ทางฟิสิกส์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการกระจายตัวสอดคล้องกับ Benford's Law เป็นอย่างมาก นอกไปจากนี้ Benford's Law ยังใช้ได้อยู่ ไม่ว่าเราจะแปลงค่าต่างๆ ที่พบไปเป็นเลขฐานใดๆ หรือหน่วยใดๆ ก็ตาม ตัวอย่างเช่น Benford's Law ทำนายเอาไว้ว่า ตัวเลขกว่า 30.1% จะขึ้นต้นด้วยเลข 1 ซึ่งหากเรานำความสูงของตึกที่สูงที่สุดในโลก 58 ตึก เราจะพบว่าตึกกว่า 41% นั้นมีความสูงในหน่วยเมตรขึ้นต้นด้วยเลข 1 และแม้ว่าเราจะเปลี่ยนหน่วยเป็นหน่วยฟุต เราก็ยังจะพบว่าตึกกว่า 28% นั้นมีความสูงในหน่วยฟุตขึ้นต้นด้วยเลข 1 ซึ่งมากกว่าเลขอื่นใดๆ
แล้วเพราะเหตุใดเราจึงไม่พบเลขในธรรมชาติในจำนวนที่เท่าๆ กันทุกเลข? คำอธิบายที่ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นเพราะว่า สิ่งต่างๆ หลายสิ่งในธรรมชาตินั้นมีความสัมพันธ์เชิง logarithm ซึ่งหากเราแปลงเลขในฐานสิบให้อยู่ในสเกลของ logarithm เราจะได้เส้นจำนวนดังภาพล่างขวาในภาพ จากเส้นจำนวนนี้ เราจะพบว่าหากเราจิ้มตำแหน่งโดยสุ่มบนเส้นจำนวนนี้ โอกาสส่วนมากที่สุดนั้นจะตกอยู่ในเลขที่มีหลักนำหน้าเป็น 1 ตามด้วย 2,3,4 ลดหลั่นลงไป ตาม Benford's Law
Benford's Law นี้มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ในการตรวจจับการโกง เนื่องจากสมองของมนุษย์นั้นมีความคาดหวังที่จะให้ทุกตัวเลขตกลงเท่าๆ กัน ตัวเลขที่ได้จากการเมคข้อมูลของคนจึงไม่เป็นไปตาม Benford's Law ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานบ่งบอกว่ามีอะไรบางอย่างตุกติกเกิดขึ้นในข้อมูล
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เนื่องจากการติดเชื้อนั้นมีการแพร่กระจายตัวแบบ exponential ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อนั้นจึงควรจะเป็นไปตาม Benford's Law ทีมนักวิจัยจึงได้มีการนำตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่รายงานในแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกับ Benford's Law[7] และพบว่าข้อมูลจากประเทศรัสเซียและอิหร่านนั้นไม่เป็นไปตาม Benford's Law ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อจาก สหรัฐ บราซิล อินเดีย เปรู อาฟริกาใต้ โคลอมเบีย เม็กซิโก สเปน อาร์เจนตินา ชิลี อังกฤษ ฝรั่งเศส ซาอุ จีน ฟิลิปปินส์ เบลเยี่ยม ปากีสถาน และอิตาลี เป็นไปตาม Benford's Law ไม่ผิดเพี้ยน
ทั้งหมดนี้ก็วกกลับมาที่ปัญหาหลักของการนำค่าที่พบในธรรมชาติมาทำนายหวย: ค่าที่พบในธรรมชาตินั้นไม่ได้มีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ แต่หวยนั้นกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งยังไม่นับกรณีเช่นเอาวันที่ซึ่งไม่มีทางเกิน 31 มาแทง) ตัวเลขที่เราพบในธรรมชาตินั้นจึงเปรียบได้กับลูกเต๋าที่ถูกถ่วงน้ำหนักเอาไว้ให้ได้ค่าต่ำๆ คำถามก็คือ ลูกเต๋าที่ถ่วงน้ำหนักเอาไว้นั้น จะเป็นตัวแทนที่จะทำนายผลของลูกเต๋าที่มาตรฐานได้แม่นจำจริงหรือ?
ทั้งนี้ทั้งนั้น การเล่นหวยหรือไม่เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล และถึงแม้ว่าส่วนตัวในฐานะนักวิทยาศาสตร์นั้นจะไม่เห็นด้วยกับเรื่องงมงาย แต่การลงทุนหวยเพียงไม่กี่ร้อย และกับเสี้ยวเวลาเล็กๆ ที่จะได้ลุ้นถึงอนาคตที่ดีขึ้น บางทีก็อาจจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับคนหลายๆ คนก็ได้
หมายเหตุ: บทความนี้เราไม่ได้พูดถึง "โต๊ด" และ Benford's Law นั้นมีผลกับเลขหลักหน้าๆ มากกว่าหลักท้ายๆ แต่คำเตือนนี้ไม่ใช่การใบ้หวย...
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://horoscope.thaiorc.com/lottery/stats/lotto-years20.php
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Pearson%27s_chi-squared_test
[3] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3632045/
[4] https://www.reddit.com/r/dataisbeautiful/comments/88m2mj/pick_a_number_from_1100_results_from_6750/
[5] https://www.reddit.com/r/dataisbeautiful/comments/acow6y/asking_over_8500_students_to_pick_a_random_number/
[6] https://en.wikipedia.org/wiki/Benford%27s_law
[7] https://www.researchgate.net/publication/344164702_Is_COVID-19_data_reliable_A_statistical_analysis_with_Benford's_Law
同時也有11部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅Kye923,也在其Youtube影片中提到,驅散減益控制, 我覺得可以? 『 資訊源自官方 』 New Shikigami - Akaname Skill Details Obtain Method 6 Star Stats -------------------------------------------------------...
「stats r」的推薦目錄:
- 關於stats r 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳貼文
- 關於stats r 在 球迷世界 Facebook 的最讚貼文
- 關於stats r 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於stats r 在 Kye923 Youtube 的最佳貼文
- 關於stats r 在 佐々木クリス Youtube 的精選貼文
- 關於stats r 在 xAomSakarin Youtube 的最佳貼文
- 關於stats r 在 statistic with R (t-test and linear regression) and dplyr and ggplot 的評價
- 關於stats r 在 Stats with R - Manuel “Manny” Gimond 的評價
- 關於stats r 在 R "stats" citation for a scientific paper - Stack Overflow 的評價
- 關於stats r 在 USGS-R/EflowStats - GitHub 的評價
- 關於stats r 在 Free resources for learning R - Cross Validated - Stack ... 的評價
stats r 在 球迷世界 Facebook 的最讚貼文
Stats don't lie🤓
轉自 瘦哨 戰術TSA
==============================
球迷世界開返IG 喇,follow返我哋啦~~
https://www.instagram.com/footballfanshk/
stats r 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุป ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่เคยเกิดขึ้นในไทยทั้งหมด /โดย ลงทุนแมน
เคยสงสัยไหมว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 1997
ประเทศไทยเคยเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยกี่ครั้ง
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) คือ ภาวการณ์ที่การเติบโตของ GDP เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าติดลบติดต่อกันอย่างน้อย 2 ไตรมาส
ในปี 2019 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจประเทศไทย
ไตรมาสที่ 1/2019 GDP เติบโต 1%
ไตรมาสที่ 2/2019 GDP เติบโต 0.4%
ไตรมาสที่ 3/2019 GDP เติบโต 0.2%
ไตรมาสที่ 4/2019 GDP เติบโต -0.2%
พอตัวเลขออกมาแบบนี้ ก็หมายว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะของการชะลอตัว ยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม
การระบาดของโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการท่องเที่ยว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยอาจประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน
ถ้าให้ย้อนกลับไป
นับตั้งแต่ปี 1997 ประเทศไทยนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งกินเวลาไปทั้งหมด 10 ไตรมาส หรือประมาณ 2 ปีครึ่ง
1) ครั้งที่ 1 ในปี 1997 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
จุดเริ่มต้นมาจากการเปิดเสรีทางการเงินและการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (BIBF) ทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก
ตอนนั้นการกู้เงินจากต่างประเทศได้รับความนิยม เพราะมีดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศ ภาคเอกชนจำนวนมาก จึงไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนไม่น้อยกลับถูกนำไปเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์จนเกิดเป็นฟองสบู่
ช่วงปี 1996 การส่งออกของประเทศเริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลมากเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญาณการอ่อนค่าของเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงิน แต่เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ
สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวจากระดับที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทนั้นเคยเพิ่มไปถึงระดับ 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
คนที่กู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากต้องล้มละลาย สถาบันการเงินหลายแห่งปิดกิจการ คนไทยจำนวนมากต้องตกงาน และวิกฤตนี้ยังกระจายไปอีกหลายประเทศในเอเชีย
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/1997 - ไตรมาสที่ 2/1998
2) ครั้งที่ 2 ในปี 2008 วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าวิกฤตดังกล่าวเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่กลับมีผลกระทบไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกโดยเฉพาะในยุโรป เพราะสถาบันการเงินในยุโรปหลายแห่งมีการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อประเภทซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกาจํานวนมาก
โดยผลของวิกฤตดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นชะลอตัว จนมีผลทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยไปขายที่สหรัฐอเมริกา และความต้องการวัตถุดิบจากไทยที่นำไปผลิตและส่งออกยังสหรัฐอเมริกานั้นลดลงไปด้วย
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2008 - ไตรมาสที่ 1/2009
3) ครั้งที่ 3 ในปี 2013 การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 10% จากผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะจำนวนมากของหลายประเทศอย่างกรีซ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และ สเปน ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2009 แต่ส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายปีต่อมา
เมื่อรวมกับวิกฤตภัยแล้งของประเทศไทยที่กระทบหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคการส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2013 - ไตรมาสที่ 2/2013
4) ครั้งที่ 4 ในปี 2013-2014 ความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง
ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2013 มาจนถึงกลางปี 2014 โดยมีการชุมนุมและประท้วงต่อต้านรัฐบาล จนนำไปสู่การปิดกรุงเทพฯ หรือเรียกว่า Bangkok Shutdown ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นำไปสู่การรัฐประหารโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ การท่องเที่ยว การลงทุน การค้าของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงนั้น เพราะสถานที่สำคัญหลายแหล่งในกรุงเทพฯ ถูกใช้เป็นที่ชุมนุม
ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2013 - ไตรมาสที่ 1/2014
โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเข้ามามีบทบาทด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากช่วงที่ประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
แต่การระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้อาจถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยก็กำลังอยู่ ณ จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว หรือพูดอีกอย่างก็คือ นโยบายการเงินของประเทศกำลังมีข้อจำกัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต เพราะกระสุนเกือบหมดแล้ว
ซึ่งตอนนี้หลายคนก็ได้แต่หวังว่า นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) ซึ่งเป็นการใช้จ่ายของภาครัฐ ต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่านี้
เราก็ต้องมาตามดูกันต่อไปว่า ด้วยนโยบายการเงินที่มีอยู่ เมื่อรวมกับนโยบายการคลังของประเทศจะสามารถช่วยไม่ให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยได้หรือไม่
ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังเจอกับเรื่องนี้ แต่ประเทศทั่วโลกกำลังเจอความเสี่ยงที่เข้าสู่ภาวะถดถอยเหมือนกันหมด
และโดยปกติแล้วแต่ละประเทศจะดำเนินเข้าสู่ภาวะถดถอยต่างเวลากัน
แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศทั่วโลกมีเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยพร้อมกันทั้งหมด..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรงและยาวนานกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ซึ่งจะกินเวลาหลายปี บางครั้งก็ใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงมากที่สุดก็คือ The Great Depression ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1929-1941 มีจุดเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา
โดยตั้งแต่ปี 1929-1933 มูลค่า GDP ของสหรัฐอเมริกาหายไปกว่า 33% อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสูงกว่า 25% ซึ่งนับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
ธนาคารในสหรัฐอเมริกากว่า 11,000 แห่งต้องปิดตัวลง คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารเหล่านี้ต้องสูญเงินไปทั้งหมด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ตกต่ำอย่างหนัก
คนอเมริกันกว่า 2 ล้านคน กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และ 60% ของประชากรอยู่ในฐานะยากจน
แม้วิกฤตจะเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาในตอนนั้น
แต่ความรุนแรงนั้นกลับแพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก
หนึ่งในนั้นรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
ทำให้ช่วงนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายเรื่องเช่นกัน
ถ้าเรื่องใหญ่สุดก็คือ ปี ค.ศ. 1932 หรือ ปี พ.ศ. 2475
เป็นปีที่ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย นั่นเอง..
อยากเข้าใจความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเรีบนรู้อดีต
หนังสือ เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 3
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
ถ้าทางออนไลน์หมดแล้วก็คงต้องไปตามหาซื้อได้ที่ร้านหนังสือ หรือ รอพิมพ์ในครั้งต่อไป
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-http://www.nesdc.go.th/download/article/article_20200220160533.pdf
- https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/RealSector/Pages/Index.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/r/recession.asp
-http://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5176&filename=QGDP_report
-https://www.thebalance.com/recession-vs-depression-definition-causes-and-stats-3306048
-https://www.history.com/topics/great-depression/great-depression-history
-https://www.thebalance.com/the-great-depression-of-1929-3306033
-https://www.thebalance.com/unemployment-rate-by-year-3305506
-https://www.scbeic.com/th/detail/product/1431
-http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2013/menu-2013-jan-mar/22-12556-euro
-https://www.youtube.com/watch?v=vMfD8gq7aSc
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_115.pdf
-http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~msompraw/Subprime%20paper_Revised.pdf
stats r 在 Kye923 Youtube 的最佳貼文
驅散減益控制, 我覺得可以?
『 資訊源自官方 』
New Shikigami - Akaname
Skill Details
Obtain Method
6 Star Stats
-----------------------------------------------------------------------------
【 FB 】 https://fb.com/kye923
【 Discord 】 https://bit.ly/DiscordKye923
【 IG 】 https://www.instagram.com/kye923
【 電郵聯絡 Email Contact 】 kye923@gmail.com
--------------------------------------------------------------------------------
一名 #馬來西亞 內容創作者的 #陰陽師 資訊分享影片.
#Onmyoji news & information sharing by a #Malaysia content creator.
stats r 在 佐々木クリス Youtube 的精選貼文
今夜も息子が声のみでの出演あります!w
ステッフ・カリーがキャリアハイ62点と大爆発。その要因を徹底解析!
そんな1夜にカーHCがかました渾身のジョーク!?
ウィザーズがネッツに1点差の勝利をもぎ取った!
攻撃の質と量でみる熱戦はどんな景色??
スタッツに現れない八村選手、渾身のワンプレーとは!?
コビントンを抜き去るカリー
https://www.nba.com/stats/events/?GameEventID=49&GameID=0022000092&Season=2020-21&flag=1&title=Curry%204%27%20Driving%20Finger%20Roll%20Layup%20(6%20PTS)&sct=plot
カンター投入直後のカリー、ハイ、ハイP&Rからのドライブ
https://www.nba.com/stats/events/?GameEventID=113&GameID=0022000092&Season=2020-21&flag=1&title=Curry%203%27%20Driving%20Layup%20(13%20PTS)&sct=plot
相手ディフェンスの交錯を狙ったカリーのドライブ
https://www.nba.com/stats/events/?GameEventID=161&GameID=0022000092&Season=2020-21&flag=1&title=Curry%204%27%20Driving%20Reverse%20Layup%20(20%20PTS)&sct=plot
八村ORBからベルターンス3pt成功
https://www.nba.com/stats/events/?GameEventID=676&GameID=0022000086&Season=2020-21&flag=1&title=Bertans%2028%27%203PT%20Jump%20Shot%20(15%20PTS)%20(Hachimura%203%20AST)&sct=plot
ビールのジャンプショットミス→TBのORB
https://www.nba.com/stats/events/?GameEventID=718&GameID=0022000086&Season=2020-21&flag=1&title=Bryant%20REBOUND%20(Off:2%20Def:11)&sct=plot
stats r 在 xAomSakarin Youtube 的最佳貼文
สมัครสมาชิกรายเดือนช่องได้ที่ลิ้งนี้ : https://www.youtube.com/channel/UCCEJ_ncBqRPCWvs29UFvugg/join
----------------
xAomSakarin's Community Discord Server
หาเพื่อนคุย/เล่น Roblox ได้ที่นี้เลย ลิ้ง : https://discord.gg/pd8cXQB
----------------
SIAMRSHOP ร้านขาย Robux แบบกลุ่ม Rate 5 / ID-PASS Rate 4 - 7.5
เปิด 24 ชม ครับ
Discord : https://discord.gg/b2Mk3SK
Website : https://www.siamrshop.com/
----------------
Lawabux ร้านขาย Robux ระบบกลุ่มเรท 6 ขึ้นไปโอนไว 100% ต้องที่นี้เลย!
Website : https://lawabux.com/
Facebook Page : https://www.facebook.com/LawaBux/
-----------------
SnowBoltz บริการเติม R$เรทสูงราคาสุดคุ้ม 5 -10 โอนด้วยระบบอัตโนมัติของเว็ป!
Website: https://snowboltz.net/
Discord: https://discord.io/snowboltz
Facebook : https://www.facebook.com/SnowBoltz
----------------
Recommended Video :
Free Robux แมพพวกนี้ เล่นแล้วได้จริงๆ ? l ROBLOX : https://www.youtube.com/watch?v=4zRT_RkwoAA
Roblox - Blox Fruits สอนฟาร์มเวล 1-1000 ภายใน 1 วัน! ฟาร์มยังไงในวันเดียวให้ตัน + แจก Code ที่ใช้ได้ : https://www.youtube.com/watch?v=IOBQxYNKTU8
Roblox - Blox Fruits ฟาร์มเวล 1-1000 ภายใน 17 ชั่วโมง ต้องทำยังไง? : https://www.youtube.com/watch?v=Ep9mcmRiZV4
Roblox - Ro-Ghoul แจก Code ที่ใช้ได้ เดือนสิงหาคม 4M RC ! (All Active Code) : https://www.youtube.com/watch?v=rOU_OnqzoeE
Roblox - Ro-Ghoul รีวิว 13's Jason Rework สุดแพง! ในราคา 313M YEN!! : https://www.youtube.com/watch?v=Ceo8QrkKAjs
Ro-Ghoul : https://www.youtube.com/playlist?list=PLXkCqBEJUgFwGGiSRYKNuXam1fSpd7g-S
Blox Fruits : https://www.youtube.com/playlist?list=PLXkCqBEJUgFzaWLE6_gDfWv0p7eH5ucXe
----------------
Social Media
Facebook Page : https://www.facebook.com/xAomSKRYoutube
Youtube : https://www.youtube.com/xAomSakarin
Youtube : https://www.youtube.com/xAomSakarinMC
Twitch.TV : https://go.twitch.tv/xaomskr
#Roblox #ไทย #SquarePiece
ติดต่องาน
Sakarin Loedkiedsiriphon
Email : contact@xaomsakarin.me
Tel : (+66)61-339-7435
stats r 在 Stats with R - Manuel “Manny” Gimond 的推薦與評價
Stats with R. 1 Confidence intervals. 2 T and Z tests. 3 F-test. 4 Chi-Square tests. 5 Linear regression. 6 Logistic regression. 7 ANOVA ... ... <看更多>
stats r 在 statistic with R (t-test and linear regression) and dplyr and ggplot 的推薦與評價
... <看更多>