รู้จัก ฝรั่งเศส ผ่าน 10 บริษัท ที่ใหญ่สุดในประเทศ /โดย ลงทุนแมน
เมื่อเอ่ยถึง ฝรั่งเศส สิ่งแรกที่คนทั่วโลกจะนึกถึงก็คือ “ความหรูหรา”
วงการศิลปะแทบทุกแขนงของยุโรปล้วนมุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส
และผู้คนที่นี่ก็คลั่งไคล้ศิลปะมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม วรรณกรรม เครื่องแต่งกาย หรือแม้แต่อาหารการกิน
ในยุคก่อนที่วัฒนธรรมอเมริกันจะครองโลก ฝรั่งเศสคือผู้ส่งออกวัฒนธรรมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด
และแน่นอนว่าวัฒนธรรม ก็ยังคงสร้างมูลค่าให้ฝรั่งเศสอย่างมหาศาลในปัจจุบัน..
10 บริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุดของประเทศฝรั่งเศส เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรูถึง 6 บริษัท
ทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องดื่ม เครื่องประดับ และเครื่องสำอาง
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ นอกจากบริษัทแบรนด์หรูทั้งหลายแล้ว
ก็ยังมีบริษัทยา และบริษัทเทคโนโลยีอยู่ใน Top 10 ด้วย
เรื่องราว 10 บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ราชสำนักฝรั่งเศสคือจุดเริ่มต้นของความหรูหรา
ศตวรรษที่ 15 พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี เป็นผู้ริเริ่มอุตสาหกรรมน้ำหอมในฝรั่งเศส
ศตวรรษที่ 16 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ริเริ่มนำวิกมาสวมศีรษะ และใส่รองเท้าส้นสูง
และศตวรรษที่ 19 จักรพรรดินีเออเฌนี เป็นผู้ผลักดันให้เกิดโรงเรียนสอนการออกแบบ และผลักดันให้เกิดแบรนด์แฟชั่นชั้นนำมากมาย
ถึงแม้ราชสำนักฝรั่งเศสจะต้องประสบกับการปฏิวัติหลายต่อหลายครั้ง แต่ความหรูหราที่ได้ทิ้งไว้ก็ยังถูกนำมาสานต่อ และผ่านการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย ที่มีการจัดตั้งสถาบันสอนออกแบบ ให้กำเนิดการเดินแฟชั่นโชว์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ดึงดูดนักออกแบบเสื้อผ้าจากทั่วฝรั่งเศสและทั่วโลกให้เข้ามาแสดงฝีไม้ลายมือ จนทำให้กรุงปารีสกลายเป็นเมืองศูนย์กลางแฟชั่นระดับโลก
การวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบนี้เอง ส่งผลให้วิถีชีวิตแบบฝรั่งเศสกลายเป็น Story และนำมาสู่การสร้างแบรนด์ที่เป็นตำนานระดับโลก
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หาก 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส จะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรูถึง 6 บริษัท
ซึ่งหลายบริษัทเกิดจากการควบรวมหลายแบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน
หากเรียงตามลำดับอายุที่ก่อตั้ง จะได้เป็น..
- LVMH
ถึงแม้บริษัทนี้จะเกิดจากการควบรวมบริษัทในปี 1987 แต่ประวัติของแต่ละบริษัทที่อยู่ในเครือถูกย้อนไปไกลกว่านั้น
Moët & Chandon เป็นผู้ผลิตแชมเปญ ก่อตั้งในปี 1743
Hennessy ผู้ผลิตบรั่นดีคอนญัก ก่อตั้งในปี 1765
และ Louis Vuitton ผู้ผลิตกระเป๋าเดินทางแบบทรงเหลี่ยม ในปี 1854 เพื่อให้ชนชั้นสูงวางบนรถม้าได้อย่างสะดวกสบาย ก่อนจะกลายเป็นตำนานของกระเป๋าในเวลาต่อมา
ทั้ง 3 บริษัทได้ควบรวมกันในปี 1987 แต่หลังจากนั้น 2 ปีก็เกิดสงครามแย่งกิจการ จนท้ายที่สุดก็ได้ Bernard Arnault บุคคลภายนอก เข้ามามีอำนาจในการบริหาร LVMH นับตั้งแต่นั้นมา
Arnault ได้ขยายอาณาจักร LVMH ด้วยการเข้าครอบครองกิจการแบรนด์หรูชื่อดังอย่างต่อเนื่อง
ทั้งเครื่องแต่งกาย ไวน์ นาฬิกา จน LVMH ครอบครองแบรนด์หรู กว่า 75 แบรนด์
ปัจจุบัน LVMH กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์หรูที่ใหญ่สุดในโลก และถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในฝรั่งเศสและยุโรป ด้วยมูลค่า 13.5 ล้านล้านบาท
- Hermès
กิจการนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1837 โดย Thierry Hermès
แรกเริ่มบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตอานม้าสำหรับชนชั้นสูง ต่อมาลูกชายก็ได้ขยายธุรกิจ และให้กำเนิดกระเป๋าเพื่อแบกสัมภาระไปกับการเดินทางบนหลังม้า จนกลายเป็นกระเป๋าที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ และขยายไปสู่เครื่องแต่งกายต่าง ๆ
ปัจจุบัน Hermès เป็นแบรนด์หรูที่ไม่ได้ควบรวมกับแบรนด์อื่น ๆ
ซึ่งถึงแม้จะเป็นแบรนด์เดี่ยว แต่มูลค่าของ Hermès ก็สูงถึง 5.3 ล้านล้านบาท
- EssilorLuxottica
สมาคมช่างทำแว่นตาแห่งปารีส หรือ Société des Lunetiers (SL) หรือ Essel ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1849 ให้เป็นศูนย์รวมของช่างฝีมือ เพื่อพัฒนากระบวนการทำแว่นตา ทั้งกรอบแว่นและเลนส์แว่นตา
ต่อมา Essel ได้ควบรวมกับบริษัททำเลนส์ Silor กลายเป็น Essilor
และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตและจัดจำหน่ายเลนส์สายตา โดยเฉพาะกลุ่มเลนส์ตระกูล Varilux และล่าสุดได้ควบรวมกับบริษัท Luxottica บริษัทผลิตกรอบแว่นตาที่ใหญ่สุดในโลกของอิตาลี
ทำให้บริษัทนี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเรื่องแว่นตาของโลก ที่ครอบคลุมตั้งแต่เลนส์ ไปจนถึงแว่นตา
และมีมูลค่าตลาด 2.6 ล้านล้านบาท
- Kering
เช่นเดียวกับ LVMH ถึงแม้ Kering จะก่อตั้งในปี 1963 แต่ประวัติของแต่ละบริษัทที่อยู่ในเครือถูกย้อนไปไกลกว่านั้น
บริษัทที่เก่าแก่ที่สุดในเครือ ก็คือ Boucheron แบรนด์เครื่องประดับสุดหรูของฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1858 และเป็นที่โปรดปรานอย่างมากของชนชั้นสูงในยุคนั้น
Kering ยังเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับชั้นนำอีกมากมาย
ทั้ง Yves Saint Laurent ของฝรั่งเศส และของประเทศอื่น ๆ เช่น Gucci และ Bottega Veneta ของอิตาลี
ด้วยความที่มีแบรนด์หรูระดับโลกมากมาย มูลค่าบริษัทของ Kering จึงสูงถึง 3.7 ล้านล้านบาท
- L'Oréal
ก่อตั้งในปี 1909 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ Eugène Schueller ได้คิดค้นน้ำยาย้อมสีผม แล้วได้รับเสียงตอบรับจากช่างทำผมในเมืองปารีสเป็นอย่างมาก
จนทำให้เขาตั้งเป็นบริษัท Société Française de Teintures Inoffensives pour Cheveux ขึ้นมา และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น L'Oréal
แต่หลังจากที่ Eugène Schueller เสียชีวิต แล้ว François Dalle ได้เข้ามาบริหารงานแทน
Dalle ก็ได้ขยายตลาดด้วยการซื้อบริษัทเครื่องสำอางแบรนด์อื่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเจาะกลุ่มตลาดใหม่ และเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า
หลังจากนั้น L'Oréal ก็ซื้อบริษัทอื่นเข้ามาเรื่อย ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เวชสำอาง เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ
จนในที่สุด L'Oréal ก็กลายเป็นบริษัทเครื่องสำอางที่มีมูลค่าบริษัทมากที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 8.4 ล้านล้านบาท
- Dior
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Christian Dior ดีไซเนอร์อิสระ ได้รับจ้างออกแบบหมวกให้กับแวดวงไฮโซ ที่ผ่านชีวิตล้มลุกคลุกคลานจนได้เปิดห้องเสื้อของตัวเองในปี 1946
เขาสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการแฟชั่นของปารีส ด้วยคอลเลกชันแรก ที่มีชื่อว่า “New Look” เป็นชุดเข้ารูป และกระโปรงสุ่มบาน ก่อนจะขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่น้ำหอม “Miss Dior” อันโด่งดัง
หลังจากนั้นแบรนด์ Dior ก็ผ่านการล้มลุกคลุกคลาน จนท้ายที่สุดก็ได้มาอยู่ภายใต้การบริหารของ Bernard Arnault แห่ง LVMH ในปี 1984
Dior ก็เติบโตจนเป็นอาณาจักรแฟชั่นที่มียอดขายหลักล้านล้านบาท และมีมูลค่าตลาด 4.8 ล้านล้านบาท..
แต่ฝรั่งเศสไม่ได้มีแค่แบรนด์หรูเท่านั้น..
นอกจากทั้ง 6 บริษัทแบรนด์หรูที่กล่าวมาข้างต้น บริษัท Top 10 ของฝรั่งเศสยังประกอบไปด้วย
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า 1 บริษัท
- ยารักษาโรค 1 บริษัท
- ก๊าซ 1 บริษัท
- และพลังงาน 1 บริษัท
และเช่นเดียวกับแบรนด์หรู หากเรียงลำดับอายุของการก่อตั้ง จะเริ่มต้นจาก..
- Schneider Electric
ในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ถึงแม้อุตสาหกรรมในฝรั่งเศสจะไม่ได้โดดเด่นเท่าอังกฤษหรือเยอรมนีในยุคเดียวกัน แต่องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้าใคร
นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Pierre-Émile Martin เป็นผู้พัฒนาเตากระทะ หรือ Open Hearth Furnace เพื่อใช้สำหรับหลอมเหล็กกล้าซึ่งต้องใช้อุณหภูมิสูงมาก
2 พี่น้องครอบครัว Schneider เดินทางจากเมืองบ้านเกิดที่อยู่ไม่ไกลจากชายแดนเยอรมนี มาลงทุนสร้างเตาหลอมเหล็กในเมือง Le Creusot ในปี 1836 จนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเครื่องจักร
ไม่นานก็ได้ขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมก่อสร้างและไฟฟ้า
ปัจจุบัน Schneider Electric คือผู้นำในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติ การควบคุมอาคาร และการบริหารจัดการพลังงานระดับโลก มีมูลค่าบริษัท 3.3 ล้านล้านบาท
- Sanofi
ปี 2020 ฝรั่งเศสส่งออกยารักษาโรค มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 9.3 แสนล้านบาท
หนึ่งในจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมยาในฝรั่งเศส มาจากห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่คนทั้งโลกจะต้องคุ้นเคยกับชื่อของเขา คือ Louis Pasteur ผู้ให้กำเนิดกระบวนการพาสเจอไรซ์ หรือการใช้ความร้อนฆ่าเชื้อโรค
Louis Pasteur เป็นผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีนพิษสุนัขบ้า และผู้ก่อตั้ง Pasteur Institute สถาบันวิจัยด้านวัคซีนในปี 1887
จนในปี 1974 Pastuer Production ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงงานผลิตวัคซีน และได้ถูกควบรวมเข้ากับบริษัทยาอีกหลายแห่ง จนท้ายที่สุดก็อยู่ภายใต้บริษัทยา Aventis
ต่อมาในปี 2004 Aventis ก็ได้ควบรวมกับบริษัท Sanofi และทำให้ Sanofi กลายเป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งยารักษาโรคเรื้อรัง ยารักษาโรคมะเร็ง วัคซีน
รวมถึงวัคซีนโควิด 19 ที่กำลังทำการวิจัยอยู่ในระยะที่ 3 ด้วย
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Sanofi จึงมีมูลค่าตลาดมากถึง 4.3 ล้านล้านบาท
- Air Liquide
Georges Claude วิศวกรชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนากระบวนการทำให้อากาศกลายเป็นของเหลว เพื่อแยกส่วนประกอบสำคัญในอากาศ คือก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจนออกจากกัน
กระบวนการนี้ทำให้ได้ก๊าซบริสุทธิ์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ก๊าซไนโตรเจน ใช้สำหรับการถนอมอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี
ในขณะที่ก๊าซออกซิเจน นอกจากจะใช้ทางการแพทย์แล้ว ยังสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กและกระจกอีกด้วย
ความสำเร็จนี้ทำให้ Georges Claude ได้ก่อตั้งบริษัท Air Liquide ในปี 1902
ปัจจุบัน Air Liquide ให้บริการแก๊สสำหรับอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ เคมี และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และมีมูลค่าบริษัทกว่า 2.8 ล้านล้านบาท
- TotalEnergies
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพฝรั่งเศสประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันอย่างหนัก จนต้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลานั้น อุตสาหกรรมน้ำมันในสหรัฐอเมริกาครองสัดส่วนกว่า 70% ของโลก
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้มอบหมายให้ Ernest Mercier จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งฝรั่งเศส (CFP) ในปี 1924 เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของฝรั่งเศสเอง
ในปัจจุบัน CFP ได้เปลี่ยนชื่อเป็น TotalEnergies เป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส
เป็นผู้ผลิตน้ำมันเครื่อง และผลิตภัณฑ์หล่อลื่นทั้งกับยานยนต์และอุตสาหกรรม
มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.9 ล้านล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส
ทุกบริษัทล้วนมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่ใหญ่กว่าบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย อย่างบริษัท ปตท.
หลายคนอาจคิดว่า แบรนด์ฝรั่งเศส สร้างเพียงแค่ Story ก็เพียงพอแล้วที่จะสามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก
แต่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิจัยและพัฒนาต่อยอดอย่างเป็นระบบ
และผ่านการบริหารกิจการ โดยเฉพาะการควบรวมแบรนด์ ที่ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพ และเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าได้มากขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ประเทศฝรั่งเศสไม่ได้เชี่ยวชาญแต่แวดวงศิลปะเท่านั้น
เพราะการพัฒนาศิลปะจะเติบโตได้ ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจากการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไป โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากการสังเกตบริษัทชั้นนำ 10 บริษัทของแต่ละประเทศ เราก็สามารถบอกได้คร่าว ๆ ว่าประเทศเหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมด้านไหน และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอะไรในอนาคต
สำหรับฝรั่งเศส คงบอกได้ว่า
ประเทศนี้สามารถนำโลกแห่งศิลปะ กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนอยู่คนละขั้วกัน
มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://companiesmarketcap.com/france/largest-companies-in-france-by-market-cap/
-https://www.essilor.co.th/about-essilor
-https://www.vogue.co.uk/article/christian-dior
-https://www.airliquide.com/shareholders/stock-share/focus-on/air-liquide-118-years-history-individual-shareholders
-https://www.se.com/th/en/about-us/company-profile/history/schneider-electric-history.jsp
-https://www.worldstopexports.com/drugs-medicine-exports-country/
-https://www.sanofi.com/en/about-us/through-time
-https://totalenergies.com/group/identity/history
同時也有10部Youtube影片,追蹤數超過83萬的網紅serpentza,也在其Youtube影片中提到,This is getting ridiculous! Housing prices in China have now got to the insane price that an entire year's salary can only buy you 10 square feet, so ...
「stock market 10 years」的推薦目錄:
- 關於stock market 10 years 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於stock market 10 years 在 Eric's English Lounge Facebook 的精選貼文
- 關於stock market 10 years 在 股癌 Gooaye Facebook 的最佳貼文
- 關於stock market 10 years 在 serpentza Youtube 的最佳貼文
- 關於stock market 10 years 在 Chris Quimbo Youtube 的最佳解答
- 關於stock market 10 years 在 Sài Gòn Dấu Yêu Youtube 的最佳貼文
stock market 10 years 在 Eric's English Lounge Facebook 的精選貼文
There’s rhythm in writing! 🎶
這個禮拜Presentality的Andrew來分享英文寫作的節奏!
★★★★★★★★★★★★
我的工作需要看非常多的英文。
其中有英文母語的人寫的,也有非母語的人寫的。最近,我注意到一個兩者之間很明顯的差別。這個差別很少有人提到,因為它無關文法正確,也不是有學問的用語,或是文雅的詞彙。
是句子的長短。
Well,更正確的來說,是長句跟短句的交錯。我發現,非母語人士寫的英文句子,不但比英文母語的人寫的長,而且是大部分句子都很長。
母語的人,尤其是很會寫的人,則是會把長句跟短句混合搭配。
那又怎樣?
★★★★★★★★★★★★
你可能會說 ok,以英文為母語的人比較會用短的句子,那又怎樣?句子的長短,跟我寫作的好壞,有關嗎?
關係可大了。
就像音樂,或是影片,文字也是「內容」。只要是「內容」,就有它的節奏。你可以想像一首曲子,從頭到尾都是很長的音,而且一點變化都沒有嗎?或是一部很長的影片,從頭到尾都是很長的畫面,而且一點節奏的變化都沒有嗎?
Well actually,你應該可以想像,這些就是要幫助我們睡眠的。
如果你不想要你的讀者覺得無聊或甚至睡著,我建議適度變換你文字的節奏。
但我們先看案例。
我拿一篇台灣人寫的文,跟另一篇美國人寫的,來做比較:把每個句子都分拆成不同的段落,句子的長短就一目了然了。
★★★★★★★★★★★★
但我們先看案例。
我拿一篇台灣人寫的文,跟另一篇美國人寫的,來做比較:把每個句子都分拆成不同的段落,句子的長短就一目了然了。
📌 台灣案例:Taipei Times Opinion
1. The TAIEX last month rose above 17,000 points as rallies in steel, shipping and some non-tech stocks offset a weakness in semiconductor and electronics stocks.
2. While news about a cluster of local COVID-19 infections connected with China Airlines cargo pilots and a hotel in Taoyuan fueled selling pressure early this month and pushed the local stock market into consolidation mode, the daily market turnover in the first two trading sessions of this month hit fresh highs.
3. Moreover, Taiwan’s stock trading volume last month began to surpass that of Hong Kong for the first time in 15 years, which was beyond most market participants’ expectations.
4. Taiwan’s daily market turnover exceeding Hong Kong’s might gradually become a new normal from this year, and there are good reasons for this.
5. First, Hong Kong’s stock market has lost its appeal to foreign investors since China last year imposed national security legislation on the territory, triggering a potential flight of capital and talent.
6. Second, many wealthy Taiwanese tend to park their overseas funds in Hong Kong, China, Singapore, Switzerland and the US, but government statistics showed that more than 80 percent of funds repatriated by wealthy individuals last year were from Hong Kong, as they saw the political situation in the territory worsen after its self-governance, human rights and freedom of speech were further suppressed.
7. Third, China’s new NASDAQ-style stock board — the Shanghai Stock Exchange’s STAR board — has emerged as a fast-growing capital markets center for Chinese companies at a time when rising China-US tensions have triggered concerns about their prospects of listing in New York, posing a growing challenge to the Hong Kong stock exchange.
8. On the other hand, Taiwan’s economic fundamentals, the central bank’s adoption of extraordinary monetary easing and the government’s fiscal policies have fueled continued rallies in the nation’s stock market since last year.
9. It might be too early to tell how long the consolidation trend might last, as a resurgent COVID-19 outbreak is coloring the global economic outlook, but some insight can be drawn from the stock market:
10. Taiwan’s GDP grew a larger-than-expected 8.16 percent in the first quarter, as exports and private investment remained healthy.
都是一堆很長的句子對不對?我們來看美國人寫的句子,也是一個主流媒體的 opinion 文。
★★★★★★★★★★★★
📌 美國案例:New York Times Opinion
1. I miss torturing Liz Cheney.
2. But it must be said that the petite blonde from Wyoming suddenly seems like a Valkyrie amid halflings.
3. She is willing to sacrifice her leadership post — and risk her political career — to continue calling out Donald Trump’s Big Lie.
4. She has decided that, if the price of her job is being as unctuous to Trump as Kevin McCarthy is, it isn’t worth it, because McCarthy is totally disgracing himself.
5. It has been a dizzying fall for the scion of one of the most powerful political families in the land, a conservative chip off the old block who was once talked about as a comer, someone who could be the first woman president.
6. How naïve I was to think that Republicans would be eager to change the channel after Trump cost them the Senate and the White House and unleashed a mob on them.
7. I thought the Donald would evaporate in a poof of orange smoke, ending a supremely screwed-up period of history.
8. But the loudest mouth is not shutting up.
9. And Republicans continue to listen, clinging to the idea that the dinosaur is the future.
10. “We can’t grow without him,” Lindsey Graham said.
📌 Note: 即使是比較長的句子,這位作者也會用標點符號拆散它:She is willing to sacrifice her leadership post — and risk her political career — to continue calling out Donald Trump’s Big Lie. 這就好比用句點一樣,讓我們讀起來有點停頓休息的時間。
★★★★★★★★★★★★
📌 注意到了嗎?
台灣人寫的英文,句子都偏長,而且長度都差不多。
美國人寫的就不一樣了:一個只有五個字的句子開頭,然後一堆稍微長一點的句子,然後再來一串短句。
你可能懷疑我故意挑選很極端了例子出來,而且幹嘛專門打台灣人呢?
所以想到這裡,我從我的書架上,隨便挑了兩本跟科技有關的書出來。左邊的,是美國人,矽谷知名投資人 Peter Thiel。右邊的是德國人,但注意了,是一個英文非常好的德國人。他不但是世界經濟論壇的創辦人,研究所也是在哈佛大學唸的。
★★★★★★★★★★★★
📌 兩本書 Introduction 是怎麼寫的?
Klaus Schwab (德國):
Of the many diverse and fascinating challenges we face today, the most intense and important is how to understand and shape the new technology revolution, which entails nothing less than a transformation of humankind.
We are at the beginning of a revolution that is fundamentally changing the way we live, work, and relate to one another.
In its scale, scope and complexity, what I consider to be the fourth industrial revolution is unlike anything humankind has experienced before.
Peter Thiel (美國):
Whenever I interview someone for a job, I like to ask this question: "What important truth do very few people agree with you on?"
The question sounds easy because it's straightforward.
Actually, it's very hard to answer.
It's intellectually difficult because the knowledge that everyone is taught in school is by definition agreed upon.
See the difference?
★★★★★★★★★★★★
📌 如何變換節奏呢?
需要Andrew的完整分享請留言「There’s rhythm in writing~」。
Follow Presentality for more!
https://www.facebook.com/presentality
stock market 10 years 在 股癌 Gooaye Facebook 的最佳貼文
最近在很多海內外報導上看到有一位號稱預知了日本股市反轉、網路泡沫,和在金融海嘯提前撤出資金的投資人 Jeremy Grantham 出來喊空。這是他最新的說法:WAITING FOR THE LAST DANCE。
https://www.gmo.com/asia/research-library/waiting-for-the-last-dance/
查了一下他才發現一些好玩的事情,原來是每年都在喊空,那喊到有什麼好稀奇的,猴子都知道幾年會走熊一次。
雖然路途上一定會有新鮮韭菜被割,但隨著金融科技的進步長期來看參與市場的人只會越來越多,擦鞋童理論是過氣的說法。一批鞋童退休後,沉寂一陣子會有更多的鞋童加入,生生不息。
風險控管並不是什麼看到很多人跑去開戶、咖啡店遇到很多人看盤、或是親朋好友都在談論股票時才要注意,明明就是一個隨時都要做好準備的事情,如果買賣股票是單純看別人參與市場多與少是很奇怪的事情。
2010 – Have Cash, Wait for Stocks to Fall
https://www.cnbc.com/id/40115265
2011 – Grantham sees most global equities as ranging from “unattractive” to “very unattractive” – valuing the S&P 500 at “no more than 950.”
https://www.thinkadvisor.com/2011/08/11/doomsayer-jeremy-grantham-7-lean-years-too-optimis/
2012-Jeremy Grantham Warns 2013 Will Be A Dangerous Year For Stocks
https://www.forbes.com/sites/schifrin/2012/10/24/jeremy-grantham-warns-2013-will-be-a-dangerous-year-for-stocks/
2013- Much of everything else is once again brutally overpriced
https://www.businessinsider.com/jeremy-grantham-exciting-crashes-2013-2
2014- Big stock bubble will end badly in 2016
https://www.thinkadvisor.com/2014/05/04/grantham-big-stock-bubble-will-end-badly-in-2016/
2015- GMO founder Grantham says markets ‘ripe for major decline’ in 2016
https://www.valuewalk.com/2015/08/gmos-grantham-says-bull-run-for-another-year-then-crash/
---以上是國外網友整理,以下我接力
2016- The stock market will climb roughly 10% followed by a decline over the long term of about 60%, with the market peaking shortly after the U.S. presidential election and before the end of 2017。
https://www.canadianbusiness.com/investing/these-three-investing-legends-are-warning-of-another-market-crash/
2017- 投資者開始撤出 GMO,理由是績效不好
https://www.marketwatch.com/story/investor-bail-on-granthams-gmo-as-assets-at-company-fall-by-44-billion-2017-01-09
2018-Jeremy Grantham, who predicted the last two bubbles, warns the stock market is ready for a "melt-up"
https://www.cityam.com/jeremy-grantham-predicted-last-two-bubbles-warns-stock/
2019-The Man Who Called the 2008 Financial Crisis Says the Stock Market Will ‘Break a Lot of Hearts’ in the Next 20 Years
https://www.barrons.com/articles/jeremy-grantham-stock-market-forecast-51556208817
2020-Jeremy Grantham says this may be the 4th major market bubble of his career
https://www.cnbc.com/2020/06/17/jeremy-grantham-says-this-may-be-the-4th-major-market-bubble-of-his-career.html
2021-GMO’s Jeremy Grantham warns: The stock market is in a 'fully-fledged epic bubble'
https://finance.yahoo.com/news/gm-os-jeremy-grantham-warns-the-stock-market-is-in-a-fullyfledged-epic-bubble-185722585.html
stock market 10 years 在 serpentza Youtube 的最佳貼文
This is getting ridiculous! Housing prices in China have now got to the insane price that an entire year's salary can only buy you 10 square feet, so on average it takes 900 years of salary to pay for a small 2 bedroom apartment in the big cities... Why? What's going on? How is it that this market hasn't exploded yet?
For a deeper dive into China's Propaganda influence and soft power, watch our liveshow ADVPodcasts: https://www.youtube.com/advpodcasts
Support Sasha and I on Patreon: http://www.patreon.com/serpentza
Bitcoin - bc1q5xuvp9vpd3dhdaa5qduupdrukpjhg6plhefn0h
Ethereum - 0x4202C2cA9f22C7cC020EdB3cE6A6EeE10A2B8b70
DOCUMENTARY LINKS:
Conquering Southern China:
https://vimeo.com/ondemand/conqueringsouthernchina
Conquering Northern China:
https://vimeo.com/ondemand/conqueringnorthernchina
Stay Awesome China (my new documentary): https://vimeo.com/ondemand/stayawesomechina
For Motorcycle adventures around the world, and a talk-show on two wheels go to ADVChina every Monday 1pm EST
https://www.youtube.com/advchina
For a realistic perspective on China and world travel from an American father and a Chinese mother with two half-Chinese daughters go to Laowhy86 every Wednesday 1pm EST
https://youtu.be/mErixa-YIJE
For a no-nonsense on the street look at Chinese culture and beyond from China's original YouTuber, join SerpentZA on Friday at 1pm EST
https://www.youtube.com/serpentza
Support Sasha and I on Patreon: http://www.patreon.com/serpentza
Join me on Facebook: http://www.facebook.com/winstoninchina
Twitter: @serpentza
Instagram: serpent_za
stock market 10 years 在 Chris Quimbo Youtube 的最佳解答
How Beginner Investors Can Become a Millionaire with this Investment Strategy
It's not clickbait! lol Becoming a millionaire is a long term strategy, if you stick with this strategy, you will become a millionaire in ____ years. It all depends on how much money you save, and how much you invest. Watch the video to find out what strategy to use. Enjoy.
Compound Interest Calculator
http://www.moneychimp.com/calculator/compound_interest_calculator.htm
▶︎SUBSCRIBE!
http://bit.ly/2bZX2J4
▶︎CHECK OUT MY TRAVEL PHOTOS ON INSTAGRAM: @chrisquimbo
please help me get to 20k!
My Youtube gear:
Iphone 8plus
Velbon Tripod
Canon G7X Mark 2
Post production:
Mac Air (Final Cut Pro)
If you want to create content, I say do it. Do it now, do it today. It doesn’t have to be for anyone, do it for yourself.
stock market 10 years 在 Sài Gòn Dấu Yêu Youtube 的最佳貼文
Dì Yến cho biết bán ốc xào trên xe đẩy ở chợ Xóm Chiếu, quận 4 đã hơn 15 năm. Trên chiếc xe ba gác mộc mạc là bếp ga và mười mấy loại ốc được dì luộc sẵn sau đó chế biến cho thực khách.
Hàng ngày dì đẩy xe từ nhà ra đường Lê Văn Linh gần chợ Xóm Chiếu bán lai rai tới chiều. Chiều tối dì đến sau lưng chợ Xóm Chiếu bán đến khi hết hàng.
Địa điểm: Đường Lê Văn Linh khu vực sau chợ Xóm Chiếu. Bán từ 10 giờ 30.
fanpage facebook: https://www.facebook.com/saigondauyeu87/
Các anh chị, các bạn biết nơi nào có quán ăn ngon, đông khách muốn giới thiệu đến nhiều người hoặc muốn quảng cáo quán ăn vui lòng comment bên dưới hoặc gọi số 0789570389.
Nội dung được bảo hộ bản quyền, vui lòng không reup đăng youtube, facebook hoặc các nguồn khác. Cám ơn các bạn đã ủng hộ Sài Gòn Dấu Yêu.
Mời mọi người xem clip.
Fanpage facebook: https://www.facebook.com/saigondauyeu87/
Aunt Yen said she sold fried snails on a trolley in Xom Chieu market, District 4 for more than 15 years. On the rustic tricycle is a gas stove and ten types of snails that have been boiled and then processed for diners.
Everyday, she pushes the cart from her house to Le Van Linh street near Xom Chieu market. In the evening, aunt comes to the back of Xom Chieu market until the stock is out of stock.
Location: Le Van Linh Street, after Xom Chieu Market. Sold from 10:30.
If you know where there is a delicious restaurant, crowded to recommend to many people or want to advertise the restaurant, please comment below or call 0789570389.
Content is copyright protected, please do not reup post youtube, facebook or other sources. Thank you for supporting Saigon Beloved.
Invite everyone to see the clip.
I often review Vietnamese street food. I live in Ho Chi Minh city. If you have passion and interest in watching and enjoying street food, please visit my channel. I post food clips at 6 PM o'clock every day. Thank you very much.