ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล? /โดย ลงทุนแมน
ปลาแซลมอนกว่า 50% ที่อยู่บนโต๊ะอาหารทั่วโลก ล้วนส่งออกมาจากประเทศนอร์เวย์
นอกจากปลาแซลมอนแล้ว นอร์เวย์ยังเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกปลาค็อด ปลาเทราต์
ปลาแมกเคอเรล และอยู่ในอันดับต้นๆ ของการส่งออกอาหารทะเลอีกหลายต่อหลายชนิด
ทั้งหมดล้วนส่งผลให้นอร์เวย์ เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก
รองจากประเทศจีน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของปริมาณ..
เพราะคุณภาพอาหารทะเลของนอร์เวย์
ก็เป็นสิ่งที่ประทับใจคนทั้งโลก ทั้งความสะอาด อุดมไปด้วยสารอาหาร และความสดใหม่
โดยเฉพาะเนื้อปลาเกรดพรีเมียม ที่จะละลายทันทีเมื่อถูกนำเข้าปาก
อะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างนอร์เวย์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลของโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
คนทั่วโลกรู้จักนอร์เวย์ในฐานะ “ดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน”
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากขั้วโลกเหนือ ช่วงฤดูร้อนของนอร์เวย์ จึงมีเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมาก ยิ่งใกล้ขั้วโลกเท่าไร เวลาที่พระอาทิตย์ส่องแสงก็ยิ่งยาวนานขึ้นเท่านั้น
แต่ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์กลับไม่เป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว
ด้วยอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream ที่นำพาความอบอุ่นมาให้กับชายฝั่งอันยาวเหยียดของนอร์เวย์
แต่ความโชคดียิ่งกว่า คือกระแสน้ำอุ่นที่มากระทบกับความเย็นของกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลก
เกิดเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “Dogger Bank” ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล เป็นแหล่งอาศัยของปลาน้อยใหญ่ และทำให้ท้องทะเลของนอร์เวย์อุดมสมบูรณ์ที่สุดในยุโรป
ด้วยแนวชายฝั่งที่ยาวกว่า 29,750 กิโลเมตร ทำให้นอร์เวย์มีพื้นที่สำหรับทำการประมงอย่างมหาศาล การทำประมงจึงแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนอร์เวย์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ โดยมีศูนย์กลางการค้าปลาอยู่ที่เมืองเบอร์เกน (Bergen) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ คือการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในทะเลเหนือช่วงทศวรรษ 1960s ที่ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1
ของประเทศแทนอาหารจากท้องทะเล
หลังจากนั้นมา
นอร์เวย์ได้กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันที่สำคัญของยุโรป และด้วยความที่มีประชากรน้อยมาก
ชาวนอร์เวย์ 5 ล้านคน จึงมี GDP ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนอร์เวย์ก็ได้เล็งเห็นว่า น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
ความมั่งคั่งจากน้ำมันจึงเป็นความมั่งคั่งที่ไม่ยั่งยืน จึงได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ความมั่งคั่งนี้ยังคงหล่อเลี้ยงชาวนอร์เวย์ต่อไป แม้ในวันที่ไม่มีน้ำมันอีกแล้ว
ประการแรก รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งรัฐ หรือ “Government Pension Fund” ขึ้น
โดยกองทุนนี้จะนำเงินที่เก็บจากภาษีของบริษัทน้ำมัน มาลงทุนเก็บเกี่ยวดอกผล โดยลงทุนในบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีเงินงบประมาณเพียงพอสำหรับลูกหลานชาวนอร์เวย์ในอนาคต
ประการที่สอง การหาภาคส่วนเศรษฐกิจมาทดแทนการส่งออกน้ำมัน ซึ่งก็ย้อนกลับไปที่
ภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่าง “การทำประมง”
นับตั้งแต่อดีต การทำประมงของนอร์เวย์เป็น ประมงนอกชายฝั่ง หรือ “Offshore” ที่เป็นการตักตวงทรัพยากรจากท้องทะเลซึ่งก็อาจหมดไปได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
ในช่วงทศวรรษ 1970s รัฐบาลจึงริเริ่มสนับสนุนให้มีการทำประมงบนฝั่ง “Inshore” โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้น
ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์มีความพิเศษ คือ มีลักษณะเว้าแหว่งเข้ามาในแผ่นดิน
เป็นอ่าวแคบๆ อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็งตั้งแต่ยุคน้ำแข็งหลายหมื่นปีก่อน
การมีฟยอร์ดที่เว้าแหว่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดีสำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงปลา เพราะมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาว่ายน้ำ และอยู่ห่างไกลจากเส้นทางเดินเรือนอกชายฝั่งที่ปล่อยมลภาวะ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ก็ทำให้ประเทศนอร์เวย์มีการทำฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฟาร์มปลาแซลมอน และปลาเทราต์
ซึ่งการทำฟาร์มเลี้ยงปลามีผู้ควบคุมก็คือ กระทรวงการประมงและกิจการชายฝั่ง ที่มีการจัดตั้งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อดูแลอุตสาหกรรมประมงโดยเฉพาะ
ฟาร์มปลาทุกแห่งจะต้องทำตามข้อกำหนดของกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นในกระชังแต่ละหลังจะต้องมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ สภาพแวดล้อมในกระชังจะต้องสะอาด
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะต้องไม่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือ และควบคุมการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูปลาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้พันธุ์ปลาที่มีคุณภาพที่สุด
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการทำประมงในนอร์เวย์ คือความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
รัฐบาลนอร์เวย์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาก
โดยเป็นผู้ให้งบประมาณแก่สถาบันวิจัยของรัฐ สำหรับนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนทุกระดับ
ตั้งแต่ชาวประมงอิสระ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงปลา ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่
หนึ่งในสถาบันสำคัญที่เป็นแรงผลักดันในกระบวนการวิจัยและพัฒนา คือ
สถาบันวิจัยทางทะเลแห่งชาตินอร์เวย์ หรือ Norwegian Institute of Marine Research
ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์เกน ศูนย์กลางด้านประมงของประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาสู่ภาคเอกชน
ตัวอย่างหน่วยงานวิจัยที่สำคัญ เช่น
CRISP หน่วยงานวิจัยด้านการพัฒนาการทำประมงด้วยคลื่นโซนาร์และเสียงเอคโค เพื่อให้เรือประมงนอกชายฝั่งสามารถประยุกต์ใช้คลื่นสะท้อนนี้ในการวัดขนาด และชนิดของฝูงปลา ทำให้การทำประมงมีทิศทางที่แม่นยำ และประหยัดทั้งต้นทุนด้านพลังงาน และเวลา
EcoNorSe หน่วยงานวิจัยด้านการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลานอกชายฝั่งทะเล และนำเสนอเป็นข้อมูล ทั้งการกระจายตัวของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และปริมาณการบริโภคแพลงก์ตอนทะเลของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ
นอกเหนือจากสถาบันของรัฐ ยังมีสถาบันการศึกษาอย่าง University of Bergen ที่เป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มีงานวิจัยร่วมกันกับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการทำฟาร์มเลี้ยงปลา และพัฒนากระบวนการขนส่งอาหารทะเลที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
นอกเหนือจากการสนับสนุนจากภาครัฐบาลแล้ว
ทางฝั่งของภาคเอกชนก็ได้มีการลงทุนเป็นเงินมากกว่า 500 ล้านบาทในแต่ละปี
เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริษัท Lerøy Seafood Group
บริษัท Marine Harvest และบริษัท SalMar ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้นำในการทำฟาร์มปลาแซลมอนในระดับโลก
นอกจากด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นศาสตร์พื้นฐาน ที่ทำให้ได้ผลผลิตอาหารทะเลที่มีคุณภาพ รัฐบาลนอร์เวย์ยังเป็นผู้นำในการสนับสนุนการทำการตลาด เพื่อให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยด้านการตลาด เป็นหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์
หรือ Norwegian Seafood Council (NSC) ซึ่งมีหน้าที่ในการทำการตลาดในทุกรูปแบบ
ทั้งการหาตลาดใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของประเทศลูกค้าที่สำคัญ การวางแผนการขนส่งทางอากาศเพื่อให้อาหารทะเลสดใหม่ถึงมือผู้รับอย่างเร็วที่สุด
และเป็นผู้กำหนดตราสัญลักษณ์ “Seafood from Norway” เพื่อการันตีคุณภาพอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ว่ามีความสด ความสะอาด และความปลอดภัย
NSC มีสำนักงานตั้งอยู่ใน 12 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อทำการตลาดอาหารทะเลให้เฉพาะกับลูกค้าในแต่ละประเทศที่มีความต้องการแตกต่างกันไป
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบของภาครัฐและเอกชน ทั้งภาควิจัยและพัฒนา
ที่เป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ กับภาคการตลาด ที่เป็นเหมือนบริการปลายน้ำ
กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ทำให้อาหารทะเลจากนอร์เวย์มีคุณภาพสูง
สามารถเจาะตลาดไปสู่ลูกค้าทั่วทุกมุมโลก
นอร์เวย์เป็นประเทศที่โชคดี มีทั้งทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์
และมีทรัพยากรอย่างน้ำมันที่สร้างรายได้มหาศาล
แต่ความโชคดีก็เป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน ในเมื่อทรัพยากรที่มีล้วนเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป
หลายประเทศบนโลกที่ร่ำรวยจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ แต่ท้ายที่สุดกลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเพราะขาดการบริหารจัดการที่ดี
เป้าหมายหลักของรัฐบาลนอร์เวย์ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จึงเป็นการค่อยๆ ลดสัดส่วนของการส่งออกน้ำมัน และนำรายได้จากการส่งออกน้ำมัน มาพัฒนาและวางรากฐานการทำประมงให้มีประสิทธิภาพ ทุ่มเทสร้างงานวิจัย นำมาประยุกต์ใช้กับภาคเอกชนอย่างแข็งขัน ทำการตลาดอย่างจริงจัง และวางแผนเพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ในปี 2050 การส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ คาดว่าจะสร้างมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าการส่งออกอาหารทะเลในปี 2018 เกือบ 6 เท่า
ความโชคดีอาจเป็นสิ่งที่หลายประเทศใฝ่หา
แต่สำหรับประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นเจ้าแห่งอาหารทะเลแล้ว
สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า ก็คือ “ความยั่งยืน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=5082&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://ditp.go.th/contents_attach/138521/138521.pdf
-http://crisp.imr.no/en/projects/crisp/innovations
-https://seafoodfromnorway.us/Stories-from-Norway/a-perfect-environment/extreme-conditions/
-https://www.norskpetroleum.no/en/framework/norways-petroleum-history/
-https://www.uib.no/en/marine
-https://www.leroyseafood.com/en/about-us/value-chain/
-https://en.seafood.no/about-norwegian-seafood-council/about-us/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過531的網紅Humans Offshore Podcast離島人,也在其Youtube影片中提到,Ep060 - 義築是我對這個世界的一點溫柔 : 李承翰⠀ .⠀ 這週邀請到義築是我對這個世界的一點溫柔 : 李承翰⠀ 李承翰學長在學習建築的路上一直都有參與國際與地方上各種義築活動⠀ 從柬埔寨的國際義築、到畢業設計為三芝獨居阿嬤改建百年土角厝⠀ 希望透過義築來讓業界知道建築不是只能服務有錢人⠀ 學...
「university of bergen」的推薦目錄:
- 關於university of bergen 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於university of bergen 在 Ally Blah Blah Facebook 的最佳貼文
- 關於university of bergen 在 彭博商業周刊 / 中文版 Facebook 的精選貼文
- 關於university of bergen 在 Humans Offshore Podcast離島人 Youtube 的最佳解答
- 關於university of bergen 在 University of Bergen - Facebook 的評價
- 關於university of bergen 在 University of Bergen, Norway | Campus Tour | Rankings 的評價
university of bergen 在 Ally Blah Blah Facebook 的最佳貼文
IG: @ally_blahblah
點解當初會去荷蘭?
其實本來係要去英國嘅⋯⋯
話說喺香港讀大學嘅時候,去過兩次交流。一次係上海復旦大學,另一次係挪威卑爾根大學(University of Bergen)。兩次嘅交流,加上一次到上海實習,令我確定畢業後要離開香港見識。當時香港經歷過佔中,社會氣氛有少少唔同,但仲未有修例,未有肺炎⋯⋯
其實真係覺得世界好大,諗住趁後生,出去幾年歷練一下,有咩事之後再算。
當時本來攞到一個全學費獎學金到英國伯明罕大學(University of Birmingham)讀一年碩士,而荷蘭亦有取錄通知(同埋一份細好多嘅船)。點知⋯⋯
英國公投,脱。歐。
好記得當時身處挪威,同一大班歐洲同學有講有笑。公投結果一出,大家都呆左。
反覆思量左幾日,結果決定唔去英國,去荷蘭。
身邊嘅人唔明。屋企人唔明。其實好淆底。
伯明罕雖然唔係頂級名校,但起碼多人識。有得攞獎學金到英國唔去,去荷蘭冇咩人識嘅學校,其實有驚過,萬一畢業後要返香港,可能要揸兜。
但我諗深一層,英國公投脱歐,其實代表左當地人唔希望太多外來人口。英國本來就已經好多華人,認真我過到去,未必比其他人有優勢。加上一脫歐,太多唔明朗因素,對經濟影響好大機會先重創後回穩,但回穩需時長短很難估計。相反去荷蘭,華人競爭冇英國咁大,反而有機會畢業後好好闖一闖。
就係因為咁,我就把心一橫,去荷蘭。
(但去荷蘭之前有好多轉折⋯⋯因為簽證原因,後來我係先去上海工作,之後再去荷蘭讀書)
其實呢個決定好冒險。但幾年後嘅今日,我十分慶幸當初選擇荷蘭。無悔。
讀書篇 (上)
https://www.facebook.com/allyblahblah/photos/a.276193166080761/1216324908734244
讀書篇 (中)https://www.facebook.com/allyblahblah/photos/a.276125036087574/1219379955095406/
讀書篇 (下)
https://www.facebook.com/allyblahblah/photos/a.276125036087574/1223448181355250/
#移民 #移民歐洲 #移民荷蘭 #荷蘭 #西歐 #出國 #留學 #歐洲讀書 #歐洲工作 #歐洲生活 #荷蘭公司 #歐洲公司 #荷蘭生活知多啲 #香港人 #香港人移民
university of bergen 在 彭博商業周刊 / 中文版 Facebook 的精選貼文
【備受爭議】Google正在毀掉小企業?
今年3月,美國心理治療師羅斯(Ellen Ross)的生意陷入了停滯。羅斯習慣坐在病人對面,幫助他們撫平內心深處的創傷和恐懼。她說:「只要我能和病人面對面互動,我就不會選擇電腦螢幕。」在醫院從事多年顧問工作後,羅斯在2017年創辦了自己的診所。然後,她在Google遇到問題。從前,羅斯為了宣傳自己的診所,每天要為關鍵字廣告支付大約20美元的費用。一直以來這種做法都很有效。人們會在Google上搜索「我附近的治療師」,而她會在Google競拍這些關鍵字。如果她贏得了競拍,她的診所True North Psychology的廣告就會出現在搜尋結果的第一位。Google會按照點擊次數收費。2015年,她在這項服務上花了大約5500美元。
從4月份開始,這套演算法發生了變化。美國人被困在家中,有些居家辦公的父母需要同時兼顧在家上學的孩子,感覺力不從心,還有些人剛剛失業。這些人都很焦慮,在互聯網上尋求幫助,有時候會選擇視像會議作出查詢。羅斯發現,她的常用關鍵詞的拍賣價格急劇上漲。她還是會有病人,不過他們通常是在嘗試了某個虛擬治療公司的服務,感覺無效之後才找到她的,比如BetterHelp和Talkspace,這類公司如雨後春筍般大量湧現。為了吸引病人而購買Google廣告的費用變得極其高昂。
疫情期間,互聯網成為工作的主要途徑,眾多小型企業對Google的依賴程度不減反增,羅斯只是其中之一。包括Google在內的美國四大科技巨頭捲入了自1990年代微軟反壟斷案以來最引人注目的反壟斷大戰,小型企業對Google的這種依賴成為了這場鬥爭的核心問題。美國司法部幾乎和每個州的司法部長都在為反壟斷案做準備,預計他們將指控Google在市場的主導地位是非法的。賓夕法尼亞大學凱里法學院(University of Pennsylvania Carey Law School)的教授霍文坎普(Herbert Hovenkamp)稱:「高昂價格本身並不違背反壟斷法,龐大的規模也不違法。更大的問題反而在於,Google是否濫用它自身的影響力。」
幾乎每個深入研究過Google的反壟斷調查員都見過一個名叫「關注使用者(Focus on the User)」的網站。這個網站是由Yelp、TripAdvisor、地方評論網站以及長期批評Google的人士在2014年創辦的,主要控訴Google正在以傷害小型企業的方式擴大自己的野心,使自己的版圖擴大至網絡搜索領域之外。Google搜尋引擎曾經的做法是:在用戶輸入關鍵字時列出10條藍色連結。但大約從2004至2005年開始,Google開始把網站的答案截取在搜尋結果的連結上方,直接給出某些問題的答案。這樣一來,使用者不需要點開任何連結就能看到搜尋結果。Yelp和一些網站認為這種做法是竊取它們的知識產權,影響它們的網站流量,只讓點擊率轉移到Google網站。——Mark Bergen、Shelly Banjo;譯 楊飛
#Google廣告 #反壟斷 #Google醫生 #虛擬治療 #點擊率
(本文節選自《彭博商業周刊∕中文版》第201期,如欲查閱全文,歡迎訂閱)
★★訂閱聯絡方法
網站:www.bbwhk.com
電郵:bbwhk_cir@modernmedia.com.hk
university of bergen 在 Humans Offshore Podcast離島人 Youtube 的最佳解答
Ep060 - 義築是我對這個世界的一點溫柔 : 李承翰⠀
.⠀
這週邀請到義築是我對這個世界的一點溫柔 : 李承翰⠀
李承翰學長在學習建築的路上一直都有參與國際與地方上各種義築活動⠀
從柬埔寨的國際義築、到畢業設計為三芝獨居阿嬤改建百年土角厝⠀
希望透過義築來讓業界知道建築不是只能服務有錢人⠀
學長現在則在挪威攻讀建築碩士,目前在瑞典作交換⠀
目前則在思考數位製造在義築上的潛力和應用方式⠀
.⠀
今天透過這個機會,想請跟承翰學長聊聊開始義築的契機⠀
了解這些年來學長參與過的各種專案背景和執行⠀
也像要知道學長目前對於數位製造在義築的應用上有什麼看法⠀
.⠀
#義築 #BAS #BergenSchoolofArchitecture#TKU #大藏
.⠀
經歷:⠀
- 瑞典 Chalmers University of Technology交換學生⠀
- 挪威 Bergen school of architecture碩士⠀
- 台灣 大藏聯合建築師事務所⠀
- 尼泊爾 村落教室重建 駐地監造⠀
- 國合會和世界展望會 新建救護所計畫⠀
- 台灣 淡江大學建築系畢業⠀
- 台灣 三芝獨居阿嬤百年土角厝改建專案⠀
- 台灣 臺北科技大學 台東部落新建教室義築計畫⠀
- 台灣 寶島義工團 新竹風災受災戶新建義工⠀
- 柬埔寨 國際義築志工⠀
-------------
🎧離島人們的經驗交流播客平台
A podcast platform, shares experiences of those who are offshore.
🏠 離島人Homepage | https://www.humansoffshore.com
🎬 Youtube | https://bit.ly/ho_youtube
🌹 Paypal小額贊助 | http://bit.ly/humansoffshore_paypal
university of bergen 在 University of Bergen - Facebook 的推薦與評價
University of Bergen, Bergen, Norway. 1744 likes · 1 talking about this · 107 were here. The University of Bergen is a public university located in... ... <看更多>