สหรัฐอเมริกา ทำ QE อย่างหนัก แต่ทำไมเงินไม่เฟ้อ ในปีที่ผ่านมา /โดย ลงทุนแมน
Quantitative Easing หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า QE
เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญ ที่ธนาคารกลางทั่วโลกหยิบมาใช้
อธิบาย QE แบบง่าย ๆ ก็คือ การอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจ
โดยหลักการแล้ว การเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก
สิ่งที่มักจะตามมาก็คือ การเกิด “ภาวะเงินเฟ้อ”
ที่น่าสนใจคือ ในปีที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED (Federal Reserve)
ได้ทำ QE อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินจำนวนมหาศาล
แต่รู้ไหมว่า.. อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ที่ผ่านมา กลับลดลง
ทำไมเรื่องนี้ ถึงสวนทางความเข้าใจของหลายคน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด 19
ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้รัฐบาลท้องถิ่น และตราสารหนี้เอกชน เพื่อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีสภาพคล่อง มีเงินไปกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอัดเข้าสู่ระบบต่อไป
ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมานี้คือ สิ่งที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า QE
เราลองมาดูจำนวนเงินที่ FED ใช้สำหรับมาตรการ QE ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- ปี 2019 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 131 ล้านล้านบาท
- ปี 2020 จำนวนเงินที่ใช้สำหรับมาตรการ QE เท่ากับ 228 ล้านล้านบาท
โดยปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินที่ FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 97 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากพอ ๆ กับ GDP ของสหราชอาณาจักร
โดยเป้าหมายของ FED ก็เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณเงินในมือของภาครัฐและภาคเอกชน จนส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ FED นั้น ยังเป็นการกดให้ Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตรลดต่ำลงมา ซึ่งจะส่งผลไปยังดอกเบี้ยในตลาดการกู้ยืมให้ลดลง จนเกิดแรงจูงใจให้ภาคเอกชนมากู้ยืมเงินไปลงทุนและจ้างงานในระบบเศรษฐกิจต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่มาพร้อมกับการใช้มาตรการ QE
ก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณเงินที่ถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบอย่างมหาศาล
แล้วที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา ปรับเพิ่มขึ้นไหม ?
- สิ้นปี 2019 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.81%
- สิ้นปี 2020 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา 1.25%
เห็นแบบนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ทำไมผลที่ออกมาไม่ตรงตามทฤษฎี
ทำไม FED อัดฉีดเข้าสู่ตลาดการเงินจำนวนมาก
แต่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกากลับลดลง ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ ปัจจัยสำคัญก็คือ “ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ”
โดยตัวเลขที่ชี้ให้เห็นเรื่องนี้ได้ดี ก็อย่างเช่น อัตราการว่างงาน
หลังการระบาดหนักของโควิด 19 ในสหรัฐอเมริกา
อัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกา เคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 14.7% ในเดือนพฤษภาคม ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุด นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปี 1930
อัตราการว่างงานที่สูง ทำให้กำลังซื้อของชาวอเมริกันลดลงอย่างมาก
อีกประเด็นคือ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชาวอเมริกันเอาเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น เพื่อเก็บเงินสดไว้ใช้ แม้แทบจะไม่ได้ดอกเบี้ยเลยก็ตาม
ซึ่งเรื่องนี้ สะท้อนได้จาก การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา
โดยในช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม 2020 เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นกว่า 62 ล้านล้านบาท
เมื่อคนเก็บเงินมากขึ้น รวมถึงคนที่มีกำลังซื้อลดลงจากการไม่มีงานทำ
ก็ย่อมหมายถึงการใช้จ่ายในประเทศที่ลดลง
พอคนใช้จ่ายลดลง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในภาพรวม ก็ลดลงตามไปด้วย
จึงเป็นที่มาให้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2020 ลดลงนั่นเอง
ซึ่งตัวชี้วัดหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือ “Output Gap”
Output Gap คือส่วนต่างระหว่างมูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับ ค่าคาดการณ์ หรือมูลค่าที่ควรจะเป็น ของ GDP ในช่วงเวลานั้น ๆ
- ถ้าค่า Output Gap เป็นบวก หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น ดีกว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
- ถ้าค่า Output Gap เป็นลบ หมายความว่า มูลค่า GDP ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงนั้น แย่กว่า ศักยภาพที่ควรเป็น
ซึ่งถ้าลองมาดู Output Gap ของสหรัฐอเมริกาในปี 2020
- ไตรมาส 1/2020 Output Gap -0.55%
- ไตรมาส 2/2020 Output Gap -9.90%
- ไตรมาส 3/2020 Output Gap -3.48%
- ไตรมาส 4/2020 Output Gap -2.77%
จะเห็นว่าทั้ง 4 ไตรมาสในปี 2020 เปอร์เซ็นต์ Output Gap ของสหรัฐอเมริกา ติดลบต่อเนื่อง
หมายความว่า เศรษฐกิจของประเทศ ยังไม่ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น
ซึ่งมันก็สะท้อนได้ถึง การจ้างงานและการจับจ่ายของภาคเอกชน ที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งนี่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังกดดันอัตราเงินเฟ้อให้ไม่สูงขึ้นด้วยนั่นเอง
สรุปแล้ว ที่สหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมหาศาล แต่เงินยังไม่เฟ้อนั้น
ปัจจัยสำคัญเพราะ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงเปราะบาง
การจ้างงานในประเทศในปีที่ผ่านมายังไม่ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิม
และแม้ภาครัฐจะพยายามอัดฉีดเงินช่วยเหลือ และกระตุ้นให้คนเอาเงินออกมาใช้ แต่คนในประเทศจำนวนมาก ก็ยังคงเลือกเก็บเงินสดจำนวนมากเอาไว้เผื่อยามจำเป็น
กำลังซื้อที่ยังไม่ค่อยฟื้นตัว บวกกับคนไม่ค่อยกล้าเอาเงินออกมาใช้
ก็เลยทำให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี 2020 ยังไม่ได้สูงขึ้น
แม้ธนาคารกลางจะอัดเงินเข้าระบบอย่างหนัก นั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีหลายคนคาดการณ์ว่า ในปี 2021 เป็นต้นไป เงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว จากการที่ประชากรได้ฉีดวัคซีนกัน และสามารถควบคุมโรคระบาดได้แล้ว..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
แม้ว่า การทำ QE ของ FED จะไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาปรับตัวขึ้นมาก
แต่สภาพคล่องในส่วนนี้ กลับไหลไปทำให้ราคาสินทรัพย์การเงินหลายตัว ปรับตัวขึ้นอย่างมาก จนนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Asset Price Inflation”
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Jul2020.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.macrotrends.net/countries/USA/united-states/inflation-rate-cpi
-https://www.youtube.com/watch?v=3-dvi1f_2vA
-https://www.washingtonpost.com/business/2020/05/08/april-2020-jobs-report/
-https://fred.stlouisfed.org/series/DPSACBW027SBOG
-https://www.brookings.edu/blog/up-front/2021/02/22/what-is-potential-gdp-and-why-is-it-so-controversial-right-now/
-https://ycharts.com/indicators/us_percent_gdp_gap#:~:text=US%20Output%20Gap%20is%20at,term%20average%20of%20%2D0.65%25.
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://tradingeconomics.com/united-states/non-farm-payrolls
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「us non-farm payrolls」的推薦目錄:
- 關於us non-farm payrolls 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於us non-farm payrolls 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 的最佳貼文
- 關於us non-farm payrolls 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 的精選貼文
- 關於us non-farm payrolls 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於us non-farm payrolls 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於us non-farm payrolls 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
us non-farm payrolls 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 的最佳貼文
【Pocket 單字表 - 商用英文影片導讀】
影片名稱:What Are Non Farm Payrolls?
影片連結:http://bit.ly/2tZttAA
大意 ➡️ 兩分鐘簡單介紹美國非農就業指數意涵
網頁好讀版 ➡️ http://wp.me/p8wfj6-6JM
◆ reveal (V.) 揭露
What actually happened to the gold has never been revealed.
◆ volatility (N.) 波動性
The higher need for certainty of income would mean a lower tolerance for volatility.
◆ amplify (V.) 擴大
Other spots are characterized by their ability to modify or amplify sound, even to the point of acoustical saturation.
◆ forex (N.) 外匯
The auction market in forex involves trading in futures contracts.
◆ indices (N.) 指數 (index的複數)
These composite indices are derived by standardizing each of its component series.
◆ ripple (N.) 漣漪
Shannon couldn't help but feel a ripple of warmth for the man, even though they hadn't even been introduced yet.
#pocketenglish #Pocket單字表 #US #nonfarmpayrolls
-
不想錯過Pocket單字表嗎?
歡迎訂閱電子報!
【Pocket Money電子報】
請點我 ➡️ http://eepurl.com/cEFL-9
【加入Line】
請點我 ➡️ https://line.me/R/ti/p/%40zaj3719m
us non-farm payrolls 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 的精選貼文
【美國非農就業數據好轉,該注意什麼?】
上週五(7/7)所公布的美國非農就業數據顯示,美國6月非農就業增加22.2萬人,優於市場預期的17.9萬人。我猜看到這裡,你一定會想問然後呢?所以呢?跟我有什麼關係?這個數據看似只和美國有關,但卻能夠同時影響台股,想學投資或是正在投資的人都應該注意!
網頁好讀版 ➡️ http://wp.me/p8wfj6-6Jy
👉 什麼是「美國非農就業數據」?
美國非農就業數據(US Non-farm Payrolls)是美國非農業人口的就業數據,由美國勞工部每月第一個星期五公布,能夠非常及時的反應美國經濟趨勢。
非農業單位包含工廠、辦公單位、商店、政府單位等等,也就是美國的經濟主體,而非農業就業人口占全美就業人口九成以上,因此從這個數字可以看出經濟狀況,就業好轉會帶動消費﹝如果老闆幫你加薪,你當然也會比較願意花錢﹞,而美國經濟大約有七成增長是以內部消費為主,所以也能進而從中預測消費狀況。
👉 為什麼我要認識、甚至是注意它呢?
當非農就業數據大幅增加的時候,市場便會認為美國的經濟在好轉,進而願意投資、使美股表現上揚,而對台灣而言,美國為前幾大的出口國家,所以自然會受其影響,而美國非農業就業數據的趨勢性相當明顯,無論是成長或減少,都會持續一長段時間,很適合作為觀察景氣的工具。
簡單來說,非農就業數據可以推測美國人民的消費意願,而因為台灣大量出口產品到美國,所以如果美國人民消費意願提高,台灣賣出去的東西就變多、景氣也就會被帶動跟著好轉!台灣景氣好轉,台股就會跟著漲!!
用一句話濃縮以上的文章就是:想預測台股走勢,一定要觀察美國非農業就業數據!所以大家一定要每月第一個星期五準時收看唷!
-
不想錯過Pocket新聞嗎?
歡迎訂閱電子報!
【Pocket Money電子報】
請點我 ➡️ http://eepurl.com/cEFL-9
【加入Line】
請點我 ➡️ https://line.me/R/ti/p/%40zaj3719m
#美國非農就業指數 #台灣也會受影響 #想要投資的人必須看