เมื่อศิลปะไม่ใช่อาชญากรรมแต่กลับละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
.
จากการที่ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น การถ่ายภาพถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถสร้างการสื่อสารกับบุคคลอื่น รวมถึงเป็นการเก็บบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานบางอย่างต่อทั้งความทรงจำ เก็บเป็นหมุดหมายเวลา หรือบางครั้งก็เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุก รื่นรมย์ จนนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะผ่านภาพถ่าย กลายเป็นงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า Street photography หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ภาพสตรีท
.
การถ่ายภาพอย่าง Street photography ที่กำลังเป็นที่นิยมในสังคมไทยตอนนี้ ผู้คนหันมาทดลองถ่ายรูปบนพื้นที่สาธารณะ บนฟุตบาท ข้างถนน ขนส่ง คมนาคมสาธารณะ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่แน่นอนว่าต้องเป็นเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างกรุงเทพฯ ที่กลายเป็นพื้นที่ทดลองถ่ายภาพสตรีท บางคนถ่ายเพื่อสร้างพื้นที่ตีความใหม่ ความหมายใหม่ขึ้นมาในภาพถ่ายนั้น ๆ
.
“แอบถ่าย” คือคำที่ถูกใช้เรียกการกระทำของช่างภาพแนว street ท่านหนึ่งหลังเกิดกระแสดราม่าในช่วงเดือนสิงหาคม และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสังคมออนไลน์หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจในวิธีการถ่ายภาพของเขาที่ออกไปถ่ายภาพผู้คนบนท้องถนนและไม่ได้มีการขออนุญาตคนที่ถูกถ่ายและมีการนำเอาคลิปที่เกิดการปะทะกันเล็กน้อยกับชายที่เป็นวินมอเตอร์ไซค์มาลงใน YouTube โดยช่างภาพเองให้เหตุผลว่าในแง่กฎหมายแล้วนั้นเขาไม่ได้ทำอะไรผิดดังนั้นเขาจึงทำสิ่งที่ทำอยู่ได้และมีการออกมายืนยันสิทธิในการแสดงออกของตนเองอีกด้วยซ้ำผ่านการใช้วาทกรรมศิลปะไม่ใช่อาชญากรรม ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ชาวเน็ตอย่างมากโดยทางชาวเน็ตมองว่าการกระทำของช่างภาพคนนี้ที่ไปถ่ายภาพผู้คนในที่สาธารณะและไม่ได้ขออนุญาตเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสมควรที่จะถูกดำเนินคดี และจากประเด็นดราม่านี้เองทำให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ
.
คำถามคือแล้วทำไมการถ่ายภาพสตรีทจึงเป็นปัญหา?
.
ด้วยคำนิยามของ Street photo ที่มีความหลากหลาย อย่าง Visit Kulsiri หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Street Photo Thailand (SPT) ได้ให้ความหมายของ Street photo ว่าคือ “ถ่ายภาพผู้คน(หรือไม่มีคน)ในที่สาธารณะ โดยไม่มีการโพสท่าหรือจัดฉาก ทุกสิ่งมันอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เพียงแต่เราต้องสังเกต มองหามันให้เจอ และจับภาพไว้ให้ทัน”
.
หรืออย่าง Mrsung Sungkrit สมาชิกของ SPT ที่นิยามว่า “Street Photography คือการสะท้อนภาพของชีวิตจริง ไม่มีการเซ็ตจัดฉาก จากสถานที่จริง ที่ที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันเป็นประจำวัน หรือสัญจรไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าห้างร้าน รถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าสำนักงาน ภาพถ่ายส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่ผู้คนไม่ทันได้สังเกต หรือมองเห็นไม่บ่อยนักในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
.
ช่างภาพจะป็นคนกำหนดและให้ความสำคัญกับฉาก ช่วงเวลาและผู้คน จากประสบการณ์ความรู้สึกภายใต้จิตสำนึกของช่างภาพเอง ซึ้งเป็นการจับอารมณ์และหยุดเวลาบันทึกภาพผ่านชัตเตอร์ภายในเสี้ยววินาที กล้องเป็นเพียงส่วนขยายและหยุดเวลานัยน์ตาของช่างภาพ เพื่อบันทึกเก็บไว้เท่านั้นเอง”
.
ด้วย concept หลัก ๆ ของ street photography นั้น ต้องเป็นการถ่ายในพื้นที่สาธารณะ ไม่มีการจัดฉาก เน้นสะท้อนภาพของชีวิตจริง จากสถานที่จริง การสร้างสรรค์ผลงานจึงจำเป็นต้องเจอกับผู้คนทั่วไป การถ่ายภาพที่ต้องปะทะหรือพบปะกับผู้คนจึงมีค่อนข้างสูง
.
เกิดข้อถกเถียงว่าระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานกับสิทธิในความเป็นส่วนบุคคล หรือความเป็น privacy ของแต่ละคน ปัญหามีอยู่ว่า มุมของคนถ่ายสตรีท ก็ต้องการจะถ่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยวัตถุประสงค์ “ไม่จัดฉาก” การจะขอความยินยอม (consent) กับตัวแบบก่อน มันจึงขัดแย้งกับหลักการถ่ายภาพ street ของการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะคือ คนที่ถูกถ่ายไม่ได้รับคำยินยอมก่อนจะถ่าย แต่ฝ่ายผู้ถ่ายก็จะอ้างว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ
.
เสรีภาพในการแสดงออก ถูกรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) บรรดาประเทศสมาชิกของ UN ได้ร่วมกันรับรอง เมื่อปีค.ศ. 1948 ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อกันของมวลมนุษย์และของบรรดานานาชาติ ถึงแม้ว่า UDHR จะไม่ได้มีผลบังคับทางกฎหมายเช่นเดียวกับสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือ ข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ UDHR ฉบับนี้นับเป็นกฎเกณฑ์จารีตประเพณีระหว่างประเทศ มีพลังสำคัญทางศีลธรรม จริยธรรม และมีอิทธิพลทางการเมืองไปทั่วโลก และถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่บรรดาประเทศทั่วโลกยอมรับ
.
โดยในข้อ 19 ได้บัญญัติว่า ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแรกสอดและที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน
.
ไม่ได้มีแค่ UDHR ที่ไทยไปร่วมรับรองเท่านั้น ยังมีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ที่ไทยได้ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 เนื้อหาของ ICCPR ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ได้ปรากฎในข้อที่ 19 ว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก”
.
หากมองมายังกฎหมายไทย เสรีภาพการแสดงออกได้ถูกรับรองและถูกจำกัดโดยกฎหมายไปพร้อม ๆ กัน กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งฉบับปีพ.ศ. 2540, 2550 และฉบับปี พ.ศ. 2559 ต่างก็รับรองให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกในลักษณะเดียวกัน กล่าวโดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2559 รับรองเสรีภาพการแสดงออกไว้ในมาตรา 34 และกำหนดไว้ด้วยว่า “เสรีภาพการแสดงออก จะถูกจำกัดได้ตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” อย่างไรก็ดีการจำกัดก็เพื่อเหตุผลทางความมั่นคงทางการเมือง ผลประโยชน์ทางการเมือง แต่กฎหมายเฉพาะที่พูดถึงการแสดงออกในรูปแบบการถ่ายรูปแบบสตรีทนั้นไม่เป็นความผิดทางกฎหมาย จนกว่าจะเผยแพร่ แล้วทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย
.
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ได้รับรองแบบกว้าง ๆ ไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ปี พ.ศ.2560 ได้รับรองไว้ในมาตรา 32 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”
.
กฎหมายเฉพาะ อย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั้น มีเนื้อหาที่ต้องการจะคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของประชาชน แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการเลื่อนบังคับใช้บางมาตราใน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกไป 1 ปี เป็นวันที่ 27 พ.ค.2564 จากเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค.63 นี้ ตามที่กระทรวงดีอีเอสเสนอ โดยสาเหตุที่ต้องเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไป เนื่องจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มสมาคมและภาคธุรกิจต่างๆได้ยื่นข้อร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ถึงความไม่พร้อมในการดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทุกองค์กรได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะภาคเอกชน
.
แล้วต่างประเทศล่ะ เขามีปรากฎการณ์อย่างไรบ้าง?
.
การถ่ายภาพในที่สาธารณะก็เป็นหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงในต่างประเทศเช่นกัน อีกทั้งแต่ละประเทศก็ได้มีวิธีการจัดการหรือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในพื้นที่สาธารณะต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธีคิดเบื้องหลังของสังคมนั้น ๆ จะขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ประกอบไปด้วย เยอรมนี ญี่ปุ่น และอเมริกา
.
1. ประเทศเยอรมนี มักจะถูกเข้าใจว่ามีกฎหมายที่เข้มงวดและเน้นสิทธิส่วนบุคคลของผู้คน การถ่ายภาพในที่สาธารณะจึงได้กลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นถึงข้อขัดแย้งนี้โดยมีนักเขียนท่านหนึ่งถึงกับบอกว่าสำหรับในประเทศเยอรมนีแล้วแม้แต่จะกล่าวอ้างในนามศิลปะแต่สิทธิส่วนบุคคลก็ไม่ควรที่จะถูกละเมิด หากจะกล่าวโดยสรุปถึงการถ่ายภาพในที่สาธารณะและการเผยแพร่ภาพถ่ายแล้วในเยอรมนีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ
.
ประกอบไปด้วยการถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นสามารถถ่ายได้และไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมหากจะเป็นการถ่ายโดยบุคคลและใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น (personal use only) แต่หากจะนำไปใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐจำเป็นที่จะต้องขอความยินยอม การเผยแพร่ภาพถ่ายของบุคคลที่ถ่ายในที่สาธารณะจำเป็นต้องขอคำยินยอมแต่หากเป็นบุคคลสาธารณะนั้นไม่จำเป็นและได้รับการยกเว้น และในส่วนของการนำภาพถ่ายบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะไปใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตเสมอและต้องได้รับคำยินยอม
.
ในกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะของประเทศเยอรมนีที่มีข้อพิพาทและได้รับคำตัดสินจากศาลคืองานของช่างภาพที่ชื่อว่า Espen Eichhofer ที่เป็นช่างภาพถ่ายภาพประเภท street ได้จัดแสดงภาพถ่ายของเขาในแกลเลอรีที่ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์ลิน หนึ่งในภาพถ่ายที่ถูกจัดแสดงอยู่มีภาพของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเดินอยู่บนถนนและอยู่ในชุดลายเสือ โดยผู้หญิงคนที่อยู่ในภาพได้ฟ้อง Espen เพื่อให้นำภาพของเธอออกและชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการจ้างทนาย โดยศาลได้ตัดสินให้ Espen ผิดเพราะไม่ได้รับคำอนุญาตจากเจ้าของภาพและจำเป็นต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยในกรณีนี้เกิดขึ้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์สำหรับงานศิลปะของเยอรมนีหรือ Kunsturhebergesetz อย่างไรก็ตามในกฎหมายนี้ก็คงยังมีข้อยกเว้นอยู่ตรงที่หากผู้คนในภาพเป็นเพียง “เครื่องประดับ” หรือส่วนประกอบที่ไม่ได้มีความสำคัญต่อภาพอย่างเช่นภาพของคนในถ่ายวิวทิวทัศน์จะได้รับการยกเว้น ในกรณีของเยอรมนีนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิส่วนบุคคลหรือความเป็นส่วนตัวจะได้รับการให้ความสำคัญอย่างมาก แม้ว่าจะอ้างว่าเป็นงานศิลปะก็ตาม
.
2. ประเทศสหรัฐอเมริกา การถ่ายภาพในที่สาธารณะนั้นก็ได้สะท้อนอุดมการณ์เบื้องหลังของประเทศเช่นกัน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับผู้ถ่ายภาพอย่างมาก โดยหากเปรียบเทียบกันในประเด็นเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ สามข้อที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า การถ่ายภาพบุคคลในที่สาธารณะนั้นไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และการเผยแพร่นั้นก็ไม่จำเป็นเช่นกัน แต่ในส่วนของการใช้ภาพถ่ายที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะนั้นต้องดูไปในรายละเอียดของแต่ละรัฐ
.
โดยคำตัดสินของศาลก็ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับอุดมการณ์ดังกล่าว อย่างเช่นในกรณีของชายชาวยิวที่ชื่อว่า Erno Nussenzweig ที่ได้ฟ้องช่างภาพที่ชื่อว่า Philip-Lorca Dicorcia หลังจากที่เขาเห็นภาพของตนเองถูกจัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี่โดยที่เขาไม่ยินยอม อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่างานของ Dicorcia เป็นการแสดงออกทางศิลปะให้ Dicorcia ชนะคดีไป และในกรณีของช่างภาพ Thomas Hoepker ที่ได้ถ่ายภาพของ Barbara Kruger และหลังจากนั้น Babara Kruger ได้ใช้ภาพของเธอเองที่ถูกถ่ายโดย Hoepker เพื่อใช้ประกอบงานศิลปะโดยไม่ได้รับคำยินยอมจาก Hoepker ทำให้ Hoepker ผู้ที่เป็นช่างภาพฟ้อง Kruger ที่ได้นำภาพไปใช้ แต่ในกรณีนี้ศาลตัดสินให้ Kruger ชนะโดยให้เหตุผลว่าการใช้ภาพนั้นไม่ได้เป็นไปในเชิงพาณิชย์แต่เป็นการใช้ในฐานะศิลปะ และอีกหนึ่งตัวอย่างคือข้อพิพาทระหว่างนิตยสาร The New York Times กับนาย Clarence Arrington ในปีค.ศ. 1982 หลังจากที่เขาได้เห็นภาพถ่ายของตนเองขณะที่กำลังเดินอยู่บนถนนในเมืองนิวยอร์กลงบนหน้าปกของนิตยสารโดยไม่ได้มีการขออนุญาตเขาก่อน เขาจึงได้ทำการฟ้องร้องต่อศาล และศาลได้ติดสินว่า The New York Times ไม่ผิดโดยอ้างหลัก First Amendment ที่เน้นเสรีภาพในการแสดงออกที่อยู่เหนือสิทธิส่วนบุคคล จากทั้งสามกรณีจะเห็นได้ว่าศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับสิทธิในการแสดงออกมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล
.
ประเทศญี่ปุ่น การถ่ายภาพมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างมีลักษณะที่โดดเด่น ถ้าหากกล่าวโดยสรุปจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อหลักคือ การถ่ายภาพของบุคคลในที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอม, การตีพิมพ์ภาพบุคคลที่ถ่ายในพื้นที่สาธารณะต้องได้รับคำยินยอมเช่นกัน และการใช้ภาพที่ถ่ายบุคคลในพื้นที่สาธารณะในเชิงพาณิชย์ต้องได้รับคำยินยอมเสมอ
.
ในกรณีข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในที่สาธารณะของญี่ปุ่นนั้นอาจจะสามารถเห็นได้จากคำตัดสินของศาลโดยมีหนึ่งกรณีที่โด่งดังที่เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1969 ที่ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น (supreme court of Japan Grand Bench) ได้ตัดสินกรณีที่ผู้ประท้วงถูกถ่ายภาพขณะที่ประท้วงโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประท้วงไม่ยินยอมให้ถ่าย โดยศาลสูงสุดได้ตัดสินให้การถ่ายภาพแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่หากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกถ่ายและไม่มีเหตุผลที่ดีพอในการถ่ายให้ถือว่าขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญและไม่อนุญาต และอีกหนึ่งกรณีของการถ่ายภาพในที่สาธารณะในกรณีของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ คือกรณีที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2005 ที่มีการฟ้องร้องจากผู้ต้องหาที่ถูกถ่ายภาพโดยนิตยสารเล่มหนึ่ง โดยมีภาพของเขาที่ถูกตำรวจจับกุมและใส่กุญแจมือไขว้หลังอยู่โดยศาลได้ตัดสินว่าภาพถ่ายที่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในพื้นที่ของนิตยสารนั้นมีความผิดเพราะทำให้บุคคลเสื่อมเสียเกียรติ (the picture taken is content that hurts the honorary feeling of the person) นี้คือกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นได้ว่าศาลยังยึดตามหลักการสิทธิส่วนบุคคลและมีความพยายามในการที่จะปกป้องสิทธิส่วนบุคคลอยู่
.
จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนความท้าทายที่วงการถ่ายภาพสตรีทเผชิญอยู่ และต้องมาหาทางออกร่วมกันว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร และจะมีทางออกหรือบรรทัดฐานใหม่เพื่อสร้างให้งานภาพถ่ายแบบ street นั้นเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้คนได้อย่างไรต่อไป
.
.
แหล่งที่มา
https://themomentum.co/thailand-personal-data-protection-a…/
http://www.streetviewphotography.net/b-spvsdp/
https://law.photography/law/street-photography-laws-in-japan
https://streetbounty.com/should-street-photography-be-ille…/
「กฎหมายรัฐธรรมนูญ」的推薦目錄:
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 2how Facebook 的最讚貼文
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 อ่านสรุปเน้นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน - YouTube 的評價
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 มสธ. 33204 รายการที่ 3 หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ - Facebook 的評價
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 มติชน บันทึกประเทศไทย ปี 2556 - Google 圖書結果 的評價
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
คำนำ
หนังสือ “หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน” เล่มนี้เกิดขึ้นจากที่ผู้เขียนได้ขอไปราชการศึกษาค้นคว้าเขียนตำราใช้ในการเรียนการสอนช่วงปิดเทอม เดือนมิถุนายน ขอคำชี้แนะจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านด้วย ได้แก่ท่านอาอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ในมุมมองในเรื่องของการกระทำทางกฎหมาย การกระทำทางปกครอง ว่าเหมือนกันแตกต่างกันอย่างไร ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ในมุมมองเรื่ององค์ความรู้ในการใช้การตีความกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ ในมุมมองเรื่องหลักการและเทคนิคการเขียนหนังสือตำราที่ต้องสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ในมุมมองใหม่ ๆอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ สุธีวรางกูร ในมุมมองเรื่องการมองนิติศาสตร์เชิงคุณค่าให้สอดรับกับการมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง และด้วยความตั้งใจอยากมีหนังสือ/ตำราพื้นฐานทางในทางกฎหมายมหาชนตามแนวคิดของตนเอง ซึ่งมีเหตุผลอยู่ 4 ประการ
ประการที่ 1 หนังสือตำราของอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่เขียนมีตำราที่คลาสสิค เช่น ตำราของศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นตำราทางกฎหมายมหาชนที่มีคุณค่าทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นแรงบันดาลใจต่อผู้เขียนเป็นอย่างมากที่จะเขียนหนังสือ/ตำราพื้นฐานทางกฎหมายมหาชนตามแนวคิดของตนเอง
ประการที่ 2 ผู้เขียนได้เขียนตำราหลักกฎหมายมหาชน ก็ยังเห็นว่าตำราเล่มนี้ยังไม่เป็นตำราพื้นฐานทางด้านกฎหมายมหาชนที่แท้จริง เป็นตำราแบบกลาง ๆ ที่มีมุมมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงเป็นส่วนใหญ่ ขาดมุมมองนิติศาสตร์เชิงคุณค่า
ประการที่ 3 เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะให้ผู้ที่สนใจด้านกฎหมายได้เข้าถึงวิธีคิดเบื้องต้นหรือวิธีคิดพื้นทางกฎหมาย เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดต่อยอดในศาสตร์ของกฎหมายแต่ละแขนงสาขาออกไป ด้วยปรัชญาแนวคิดของผู้เขียนที่ว่า “คนเราจะสามารถดำรงชีพด้วยวิชาชีพของตนต้องมีความรู้พื้น” เพราะชีวิตในวัยเด็กเป็นนักกีฬามวยเริ่มต้นการฝึกพื้นฐานของการชกมวยทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น กว่าที่จะขึ้นชกได้ต้องฝึกปรือ การชกพื้นฐานของมวยไทย มวยสากลสมัครเล่น ให้มีความช่ำชอง เมื่อเรามีเบสิคพื้นฐาน สามารถที่ปรับหรือพลิกแพลงกระบวนยุทธที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ ทางด้านมวยไทยสามารถเป็นยอดไอ้แอ๊ดระดับประเทศ มวยสากลสมัครเล่นสามารถติดทีมชาติและที่สำคัญกีฬาเป็นสิ่งเบิกทางให้ผู้เขียนได้รับทุนการศึกษาฟรีทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ในฐานะ “นักกีฬาทุน” การที่เอาชนะคู่ชกทั้งมวยไทยและมวยสากลสมัครเล่น ก็ด้วยมาจากการที่มีเบสิคพื้นฐานที่ดี สามารถพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์สามารถได้ เมื่อผู้เขียนจบปริญญาโทด้านกฎหมายมหาชน
ประการที่ 4 เป็นความตั้งใจให้หนังสือ/ตำรา หลักคิดทางกฎหมายมหาชนเล่มนี้เป็นฐานต่อยอดการศึกษาในรายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองและวิชากฎหมายปกครอง ที่ผู้เขียนได้เขียนใช้เพื่อประกอบการสอนและเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
จากนักศึกษากฎหมายเปลี่ยนสถานะมาเป็นอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย ในปี 2544 ถึงปัจจุบัน (2563) มีวิชาที่สอน ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย หลักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั่วไป กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายปกครองท้องถิ่น และนิติปรัชญา เมื่อพิจารณาแล้วกฎหมายเหล่านี้ เมื่อสอนในแต่ละรายวิชามักจะเกี่ยวพันในแต่ละเรื่อง เพราะจะสอนวิชาอะไรก็ต้องย้อนไปพูดถึงหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายตลอด ไม่ว่าในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
จากความตั้งใจใน 4 ประการข้างต้นจึงเกิดหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 11 บท บทที่ 1 การกำเนิดกฎหมาย กล่าวถึง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎหมายและการเกิดขึ้นของกฎหมาย บทที่ 2 ความหมายและลักษณะของกฎหมาย กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของกฎหมาย เป็นการศึกษาอธิบายความหมายของกฎหมายแต่ละสำนักกฎหมายที่นำอ้างถึงความชอบธรรมในการจัดทำกฎหมายมหาชน บทที่ 3 แนวคิดที่สนับสนุนรองรับกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม กล่าว แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมที่มีมุมมองเชิงบวกแนวคิดเกี่ยวกับการไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมมุมมองเชิงลบ บทที่ 4 การแบ่งประเภทของกฎหมาย กล่าวถึง การแบ่งประเภทของกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน ความแตกต่างระหว่างกฎหมาเอกชนกับกฎหมายมหาชนและประเภทของกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน บทที่ 5 พัฒนาการกฎหมายมหาชน กล่าวถึง พัฒนาการของกฎหมายมหาชนของต่างประเทศและของประเทศไทย บทที่ 6 ที่มาและลำดับชั้นของกฎหมาย กล่าวถึง ที่มาของกฎหมายมหาชนที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายที่แตกต่างกัน กฎหมายที่ตำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่สูงกว่าไม่ได้ บทที่ 7 รากฐานของนิติวิธีทางกฎหมายมหาชน กล่าวถึง ในกระบวนการคิดวิเคราะห์ในทางกฎหมายมหาชน และปรัชญาแนวคิดรากฐานทางกฎหมายมหาชน บทที่ 8 นิติวิธีเชิงปฏิเสธ กล่าวถึง นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน : ปฏิเสธกฎหมายเอกชน ด้วยเหตุผลที่ปรัชญาแนวคิดความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองมีความแตกต่างกัน บทที่ 9 กล่าวถึงนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ :นิติวิธีเพื่อการสร้างหลักกฎหมายมหาชนอยู่บนพื้นฐานการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม บทที่ 10 กล่าวถึง การใช้การตีกฎหมายมหาชน การใช้ การตีความกฎหมายมหาชนทั้งในกรณีที่มีบทบัญญัติแห่งแห่งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร บทที่ 11 กล่าวถึงการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายมหาชน เป็นการปรับใช้ความกฎหมายมหาชนในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายมหาชนที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมมาใช้บังคับ
ตำราเล่มนี้นับว่าเป็นงานเขียนในมุมมองความคิดที่มาจากการสนทนาขอคำแนะนำจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่กล่าวมาข้างต้น และที่สำคัญผู้เขียนต้องระลึกถึง “ครู” ของผู้เขียน 4 ท่านที่ทำให้ผู้เขียนได้เดินบนเส้นทางวิชาการ คือ “ครู” ผู้ให้แนวทางแสงสว่างทางวิชาการ แก่ผู้เขียน ดร.พีระพันธุ์ พาลุสุข ครูผู้ให้อนาคต เริ่มต้นนักวิชาการ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “ครู” ต้นแบบ กฎหมายมหาชน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ “ครู” ผู้ให้ความมั่นใจการคิดด้วยตนเอง (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) และ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร “ครู” ต้นแบบการดำเนินแบบอย่างของนักวิชาการกฎหมายที่ดีมีคุณธรรม
สุดท้ายนี้ผู้เขียนต้องขอบคุณภรรยา (เฟื่องนภา ศักดิ์แสง) ที่คอยเคียงข้างและสนับสนุนอยู่เสมอ
รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
ณ บ้านสวนยายนวย อ.หลังสวน จ.ชุมพร
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"เคล็ดลับการเขียนผลงานทางวิชาการ/บริการวิชาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน"
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เคล็ดลับการเขียนผลงานวิชาการ เอกสารประกอบการสอน/ เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิชาการ/วิจัย ผมได้ทำมาตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นอาจารย์ โดยได้รับการเมตตาปรานีจาก อาจารย์ ดร. พีระพันธุ์ พาลุสุข (คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะนั้น (ปี 2544) โดยอาจารย์ได้แปลคู่มือการเขียนตำรา ที่เป็นคู่มือภาษาฝรั่งเศส มาเป็นภาษาไทย โดยให้ผมจับจดขึ้นมาในเรื่องวิธีการเรียบเรียงและวิธีการเขียน ให้เป็นเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ ขึ้นมา จนเกิดผลงานทางวิชาการและได้เป็นเคล็ดลับในการเขียนผลงานทางวิชาการ ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการเขียน เอกสารประกอบสอน/เอกสารคำสอน ให้เรียบเรียงเอกสารให้เป็นระบบ ในแต่ละหัวข้อตามคำอธิบายรายวิชา ในแต่ละหลักสูตร เรียบเรียงหนังสือ ตำรา บทความ วิจัย/วิทยานิพนธ์ เอกสารการบรรยายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิขานั้นมารวบรวมให้เป็นระบบ แต่ถ้าเป็น "เอกสารคำสอน" มีการเรียบเรียง และมีการอ้างอิงให้เป็นระบบ โดยเน้นเรื่องที่สำคัญหรือเน้นเรื่องที่ตนถนัดหรือมีการคนเขียนเรื่องนี้มีน้อยหรือเขียนเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ อธิบายขยายความ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และที่สำคัญการเขียนนั้นต้องมีมุมมองใหม่ๆ ที่มาจากการค้นคว้างานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ
ผมเริ่มต้นจากการเขียน เอกสารประกอบสอน เช่น วิชา หลักกฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั้วไป ใข้สอนและค้นคว้าเพิ่มเติมพัฒนามาเป็น เอกสารคำสอน เช่น
- เอกสารประกอบการสอน วิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ พัฒนาเป็นเอกสารคำสอน เป็นกฎรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง และพัฒนาเป็นตำรา กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง
- เอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายปกครอง พัฒนามาเป็นเอกสารคำสอนกฎหมายปกครอง และพัฒนามาเป็นตำรา กฎหมายปกครองและวิธีพิจาณาคดีปกครอง เป็นต้น
2. เมื่อเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเป็นตำรา หนังสือ ต่อไป ด้วยการเขียนบทความทางวิชาการ โดยนำหัวข้อในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ในแต่ละหัวข้อนำมาเขียนบทความวิชาการ ที่เป็นทฤษฎีนำมาวิเคราะห์ในประเด็นในทางวิชาการ เพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่หรือตอบโจทย์ในปัญหาทางสังคม และอาจมีประเด็นที่คนสนใจโดยเอาทฤษฎีในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน มาปรับวิเคราะห์ในประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นที่มาของการเขียนงานงานวิจัยตามศาสตร์ ในการบูรณาการการเรียนการสอน ได้อีกทางหนึ่ง และได้งานวิจัยขึ้นม มีบทความที่เขียนลงตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นผลงานทางวิชาการ สามารถนำไปเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
3. การเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนที่เป็นแนวคิดทฤษฎีนำมาศึกษาวิเคราะห์ในหัวข้อในการเรียนการสอน เขียนบทความทางวิชาการซึ่งสามารถพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัย ได้เช่น สอนวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งมีกฎหมายที่ในการควบคุมภายในฝ่ายปกครอง ที่สำคัญ 3 ฉบับ คือ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทำให้เราศึกวิเคราะห์ราะห์ เป็นหัวข้อวิจัยได้ ว่า กฎหมายทั้งฉบับบนี้มันความสัมพันธ์กันอย่าง บังคับใช้อย่างไรให้สอดรับ สามารถเป็นหลักคิด แนวทางการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองได้
เมื่อได้งานวิจัย ขึ้นมาสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ คือ นำงานวิจัย ไปพัฒนาเป็นหนังสือเสนอสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์แพร่ใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ และสามารถนำไปเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้ในผลงานหนังสือ ถ้าไม่เสนองานวิจัย ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ตามเงื่อนไขของ กพอ.ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
จากการเขียนผลงานทางวิชาการของผม เริ่มต้นมาจากการเขียนเอกสารประกอบการสอนทั้งนั้น แบะทุกรายวิชาจะมีเอกสารประกอบการสอนทุกวิชาใน 19 ปีที่ผ่าน ในฐานะอาจารย์ผู้สอน
จากการเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา นี้สามารถมีประเด็นที่นำไปเขียนเป็นบทความวิชาการจะก่อประโยชน์ 2 ด้าน
1) ด้านที่ 1 ได้ผลงานวิชาการ บทความวิชาการ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการ และถ้าบทความนั้นมีความลุ่มลึกและสามารถเป็นบทความที่มีคุณภาพ สามารถประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
2) ด้านที่ 2 ผลงานวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ นั้นได้เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ เป็นเกณฑ์ประเมินประกันคุณภาพ ได้เป็นอย่างดี ในการประกันคุณภาพ
4.นำผลงานทางวิชาการบทความวิชาการ/วิจัย ในแต่ละหัวข้อมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำรา ก่อให้เกิดผลดีคือ
1) ตำรา /หนังสือจะเป็นตำราที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้ เพราะตำราดังกล่าว ในประเด็นหัวข้อนี้ ได้นำมาจากการเขียนบทความวิชาการ ถือว่าเป็นตำราที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยตำรานั้นต้องเขียนครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ /วิจัยนั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
2) หนังสือ นำบทความวิชาการ/วิจัย ที่ได้เขียนมาจัดระบบ ให้เป็นเรื่องเป็นราว ที่ก่อให้เรื่องใหม่ ที่เป็นหนังสือ ขึ้นมาแต่ต้องเป็นหนังสือที่มีแนวคิดใหม่ๆหรือนำมาเขียนเป็นเรื่องเดียวกันที่ได้เขียนบทความวิชาการมาแล้ว ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ นั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
จากการเขียนบทความวิชาการ พัฒนามาเป็นหนังสือ เช่น ศาสตร์แห่งการตีความกฎหมาย การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไทย หลักพื้นฐานแห่ง
3) วิจัยก็เป็นงานที่ได้วิเคราะห์สังเคราะห์ ตามรูปแบบกระบวนการขั้นตอนการวิจัย เกิดแหล่งความรู้ใหม่นำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ในการเรียนการสอนและเป็นหลักคิดในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักสมควรแก่เหตุ
ตำรา/หนังสือ/วิจัย นี้สามารถขอตำแหน่งทางวิชาการาได้และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ สามารถเป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นเกณฑ์หนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา
สรุป
การเขียนผลงานทางวิชาการ จะเป็นการเอางานเก่ามาเขียนเรียบเรียง มาเขียนใหม่ (อาศัยกินบุญเก่า) ที่ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอ้างอิงงานเก่าเหล่านั้น ถ้าไม่อ้างอิงจะเข้าข่ายเป็นการคัดบอกผลงานตัวเองได้ เพราะงานที่ผมเขียนทุกเรื่องสามารถเชื่อมโยงกันได้ เนื่องจาก
1.สอนวิชา ในสาขาที่เราเรียน โดยการเขียนเอกสารประกอบคำสอน เอกสารคำสอน หนังสือ และตำรา
2.ทำวิจัยในรายวิชาที่สอน
3.เขียนบทความวิชาการในรายวิชาที่เราสอน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 มสธ. 33204 รายการที่ 3 หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ - Facebook 的推薦與評價
เป็น กฎหมาย กลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใ ช้อำนาจรัฐ ส่วน รัฐธรรมนูญ ที่หมายถึง กฎหมาย สูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับ ๆ ไป เช่น รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ... ... <看更多>
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 มติชน บันทึกประเทศไทย ปี 2556 - Google 圖書結果 的推薦與評價
... กฎหมาย ประกอบมาตรา ๑๙๐ ภายในหนึ่งปีนับ ตังแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ ส.ว.ต่างสลับกันลุกขึ้นอภิปราย โดย เฉพาะสนับสนุน ... ... <看更多>
กฎหมายรัฐธรรมนูญ 在 อ่านสรุปเน้นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน - YouTube 的推薦與評價
อ่านสรุปเน้น กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน … Show more. Show more. Show less. 72,125 views • Jun 8, 2020 ... ... <看更多>