กฎหมายการคลังและภาษีอากร
(แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายการคลัง)
กม.การคลัง เป็น กม.มหาชน ประเภทหนึ่ง เพราะ เป็น กม.ที่กำหนดนโยบาย (Policy) ทางด้านการคลังของประเทศ ว่าจะวางนโยบายการคลัง สำหรับเป็นเครื่องมือในการบริหารงานภาครัฐอย่างไร เพราะ รัฐ (State) มีหน้าที่พื้นฐานในการ รักษาความมั่นคงของประเทศ ,พัฒนาประเทศ และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ กฎหมายการคลัง จึงเป็น กฎหมายที่มีความสำคัญตามที่กล่าวมาแล้ว
การศึกษากฎหมายการคลังจะต้องศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ., กฎหมายการคลัง , กฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ เป็นต้น
การศึกษา กม.การคลัง จะมี 2 ลักษณะ คือ
1.ศึกษาในลักษณะแน่นอนตายตัว (static) ได้แก่การศึกษา ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการ
คลัง เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดไว้ว่า การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินนั้น รัฐบาลจะต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินต่อรัฐสภา
2. ศึกษาในลักษณะ ที่เป็นพลวัตร ( Dynamic ) เช่น การศึกษา นโยบายการคลังของรัฐ การบริหารงบประมาณแผ่นดินในแง่เศรษฐศาสตร์การคลัง
การศึกษาในลักษณะแน่นอนตายตัว จะเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน จะมี 3 ส่วน คือ
1. รายจ่ายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาล นำเสนอต่อ รัฐสภา ว่า จะใช้จ่ายงบประมาณแผ่น
ดินอย่างไร จำนวนเท่าใด โดยจะมีเอกสาร ประกอบการพิจารณา เช่น รัฐจะใช้งบประมาณแบบแผนงานโครงการอะไร ( ปัจจุบันไทยใช้ แผนงบประมาณ แบบ PPBS ) เพื่อให้รัฐสภา อนุมัติ เป็นต้น
2. รายได้สาธารณะ รัฐจะหารายได้มาจากที่ใด ซึ่งอาจมีหลายวิธี เช่น การเก็บภาษี
อากร การก่อหนี้โดยกู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศ หรือ อาจก่อหนี้ภายในประเทศ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลให้ประชาชนซื้อ เป็นการกู้เงินภายในประเทศจากภาคเอกชน
3. หนี้ หรือ เงินกู้สาธารณะ รัฐ อาจมีความจำเป็นต้องก่อหนี้ เพื่อ นำเงินมาใช้เป็นงบ
ประมาณ ในการบริหารประเทศ โดยการกู้เงินมาจากต่างประเทศ
การศึกษาวิชา กม.การคลัง จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของ รายจ่ายสาธารณะ รายได้สาธารณะ และหนี้สาธารณะ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการคลังในการกำหนดนโยบายการบริหารประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องภาษีอากร ทั้งนี้เพราะ 3 ปัจจัย( Factor ) ข้างต้น มีผลกระทบต่อสังคม( Social ) โดยส่วนรวม ในลักษณะที่เป็น Macro หรือ มหภาค
1. การศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงหน้าที่ (Function )ของเครื่องมือทางการคลังทั้ง 3 ประเภท
ดังกล่าว
1. การศึกษาถึงนโยบาย( Policy ) ของการคลัง Public Finance ในลักษณะที่เป็น
กระบวนการพรรณนา( Description Process ) ที่ กม.กำหนด โดยจะอธิบายถึง กม.ที่เกี่ยวข้องกับการคลังมาเป็นหลักในการสอน
เมื่อพูดถึง “การคลัง” จะหมายถึง การบริหาร/จัดการ( Management ) เงิน ตั้งแต่ การหาเงินมาใช้จ่าย และวิธีการใช้จ่ายเงินเหล่านั้น รัฐจะต้องมีการวางแผน ( Plan ) เกี่ยวกับการคลังของรัฐ ซึ่งก็คือเกี่ยวกับเครื่องมือทางการคลัง ทั้ง 3 ประการ คือ รายจ่ายสาธารณะ ,รายได้สาธารณะ และ หนี้สาธารณะ โดย Plan ของรัฐ จะต้องพิจารณาว่า มีผลกระทบ (Impact) ต่อสังคม( Social ) อย่างไรบ้าง ในภาพมหภาค( Macro ) เช่น รัฐ ออก กม.กำหนดให้เอกชนจ่ายภาษี ( tax ) แก่รัฐ ในขณะที่เอกชน ไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทนจากการเสียภาษีเหล่านั้น โดยตรงเป็นการเฉพาะตัวอย่างชัดแจ้งเลย
จึงกล่าวได้ว่า เครื่องมือทางการคลัง ของรัฐ จึงได้แก่
1. รายจ่ายสาธารณะ
2. รายได้สาธารณะ
3. หนี้สาธารณะ
ทั้ง 3 ปัจจัย(Factor) เป็นนโยบายของรัฐ( Policy of State) ในการวางแผน( Plan)เพื่อการพัฒนา(Development ) โดยการวางแผน( Planning ) นั้น จะเป็นตัวกำหนดทิศทางว่า รัฐจะใช้จ่ายงบประมาณเท่าใด จะหารายได้มาจากที่ใด และก่อหนี้สาธารณะอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ปัจจัยดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าเป็น “เครื่องมือทางการคลัง” ภาครัฐนั่นเอง
ประเภทของการคลัง
1. การคลังภาครัฐ
2. การคลังภาคเอกชน หรือ ภาคราษฎร์
ประเภทของการคลัง เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงความเหมือน,ความแตกต่างของ
การคลังทั้ง 2 ประเภท โดยมี 2 School ที่ให้ Concept ที่แตกต่างกัน คือ
1. แนวคิดของ สำนัก ความคิดการคลังสมัย Classic กับ
2. แนวคิดของสำนัก ความคิดการคลังแบบปัจจุบัน
ทั้ง 2 สำนัก จะมี Concept ที่แตกต่างกันโดยความคิดมูลฐาน พอสรุปได้ดังนี้
1.แนวคิดของ สำนัก ความคิดการคลังสมัย Classic
1.การคลังภาครัฐ กับ ภาคเอกชน แยกกันเป็นคนละส่วนอย่างชัดแจ้ง การดำเนิน
นโยบาย(Policy) ทางการคลัง จึงไม่แตกต่างกัน ดังนั้น รัฐจะต้องใช้จ่าย ไม่เกินกว่ารายได้ที่รัฐจะมี
2.การคลัง ภาครัฐ กับภาคเอกชน ต่างกัน ตรงที่ว่า การคลังภาคเอกชน นั้น รายได้จะ
เป็นตัวกำหนดรายจ่าย แต่ภาครัฐ การกำหนดรายจ่าย เป็นตัวกำหนดรายได้ คือการเก็บภาษีจากเอกชน มาให้พอเหมาะ กับรายจ่าย ( พอเหมาะ คือ ไม่เกิน และไม่ขาด ) มองรัฐเป็นผู้บริโภค( Consumer) หรือ นิติบุคคล ที่เป็นผู้บริโภค ประเภทหนึ่ง การใช้จ่ายภาครัฐจึง ทำให้เอกชนยากจนลง
3.ด้วยเหตุที่ การคลังภาครัฐ ใช้วิธีการเก็บภาษีมาเป็นรายได้ของรัฐนั้น มีผลทำให้
เอกชนยากจนลง ดังนั้น รัฐจึงควรมีหน้าที่ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อมิต้องเก็บภาษีมากเกินพอเหมาะที่ควรจะเป็น ซึ่งได้แก่ การรักษาความมั่นคงของรัฐ และการรักษาความสงบภายในของรัฐ และการระงับข้อพิพาทของประชาชน เป็นสำคัญ ทั้งนี้ สำนัก Classic เชื่อว่า ภาคเอกชน จะมีความสามารถประสิทธิภาพของผลผลิต และ ความคิดสร้างสรรค์ ได้ดีกว่า ภาครัฐ รัฐจึงควรมีบทบาทน้อยที่สุด
4.การใช้งบประมาณ ภาครัฐ จึงมีลักษณะ คือ ประหยัดที่สุด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด และ ประวิงการจ่ายให้ล่าช้าที่สุด
2. แนวคิดของสำนัก ความคิดการคลังแบบปัจจุบัน
แนวคิดของนักการคลังปัจจุบัน ไม่มองการคลังภาครัฐ กับภาคเอกชนว่าเป็นคนละส่วนกันอย่างชัดแจ้ง แต่การคลังทั้ง 2 ประเภท เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกันในระบบเศรษฐกิจ( Economic System ) ของภาค Macro และเห็นตรงกันข้ามว่า การเก็บภาษีของรัฐ จากเอกชน ไม่ได้ทำกำลังการซื้อ ( Purchase of Power ) ของคนลดลงแต่อย่างใด เพราะ รัฐจะนำภาษีเหล่านั้น อัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจภาคเอกชน ทำให้เอกชนมีงานทำ และมีกำลังซื้อ และเกิดผลดีต่อประเทศโดยรวม การใช้จ่ายภาครัฐ จึงเป็นตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตขึ้นที่สำคัญประการหนึ่ง และไม่ได้มอง รัฐ เป็นผู้บริโภค หรือ Consumer อย่างสำนัก Classic อีกต่อไป
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅HeroAthletes,也在其Youtube影片中提到,Hero Athletes - การบล็อคช่วงเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Time Frame Blocking) #heroathletes #knowledgeispower #kill...
การบริหาร จัดการ (management) 在 HeroAthletes Youtube 的最佳解答
Hero Athletes - การบล็อคช่วงเวลาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Time Frame Blocking)
#heroathletes
#knowledgeispower
#kill
การบริหาร จัดการ (management) 在 การบริหารจัดการ - YouTube 的推薦與評價
การบริหาร องค์กร ทั้งภาครัฐ และธุรกิจ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก หรือใหญ่ ล้วนต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ของการบริหารและจัดการที่เป็นมากกว่าการบริหาร คือ ... ... <看更多>