สิงคโปร์ ประเทศแห่ง ความเท่าเทียม ทางเชื้อชาติ / โดย ลงทุนแมน
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติมากที่สุดแห่งหนึ่ง
โดยจำนวนประชากรกว่า 5.6 ล้านคน แบ่งเป็น
เชื้อสายจีน สัดส่วน 75.9%
เชื้อสายมาเลย์ สัดส่วน 15%
เชื้อสายอินเดีย สัดส่วน 7.5%
และอื่น ๆ สัดส่วน 1.6%
ถึงแม้สิงคโปร์จะเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ชาวจีนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
แต่ครั้งหนึ่งในอดีต สิงคโปร์ก็เคยมีปัญหาทางด้านเชื้อชาติ
จนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวจีนและมาเลย์
แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้ถูกแก้ไขจนทำให้ทุกเชื้อชาติในประเทศมีความกลมกลืนกัน
เรื่องราวนี้มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เดิมทีดินแดนแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “เทมาเส็ก” ซึ่งมีความหมายว่าเมืองแห่งทะเล
ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 เจ้าชายจากอาณาจักรศรีวิชัย
ได้เดินทางมาล่าสัตว์ แล้วพบเห็นสัตว์ชนิดหนึ่ง เกิดเข้าใจผิดว่าเป็นสิงโต
จึงตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า “สิงหปุระ” ซึ่งมีความหมายในภาษาสันสกฤตว่า เมืองแห่งสิงโต
ด้วยความที่เป็นเมืองที่มีทำเลดี เป็นทางผ่านของเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ
เกาะสิงหปุระ จึงเป็นที่หมายตาของหลายอาณาจักร มีการเปลี่ยนมือของผู้ปกครองดินแดนเรื่อยมา
ทั้งอาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมะละกา มาถึงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก
ก็มีทั้งโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และจักรวรรดิอังกฤษ
ที่ได้เข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมในดินแดนแห่งนี้
ท้ายที่สุดจักรวรรดิอังกฤษก็ได้มีการเจรจากับเนเธอร์แลนด์เพื่อที่จะตกลงเขตการปกครองในภูมิภาคนี้ และได้ครอบครองอาณานิคมช่องแคบ ซึ่งประกอบไปด้วย สิงคโปร์ รัฐปีนัง และรัฐมะละกา
โดยสิงคโปร์ได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของอาณานิคมแห่งนี้ จึงมีการวางรากฐานทั้งการเมือง การศึกษา และเศรษฐกิจจากอังกฤษ ด้วยทำเลที่ดี สิงคโปร์ก็ได้เติบโตจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของภูมิภาค ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการอพยพของชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่จำนวนมากมายังเมืองท่าแห่งนี้
หลังจากที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์มีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อว่าคุณ Lee Kuan Yew
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าพรรคการเมือง People's Action Party หรือ PAP
ซึ่งได้มีการเจรจากับทางการสหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) เพื่อที่จะนำสิงคโปร์เข้าไปรวมกับสหพันธรัฐมาลายา ในปี 1963
เหตุผลที่สิงคโปร์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ก็เพราะว่าสิงคโปร์เป็นเกาะขนาดเล็ก
ที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ จึงต้องพึ่งพาทรัพยากรแทบทั้งหมดจากมาเลเซีย
อีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อที่จะขยายตลาดอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ไปยังมาเลเซียด้วย
แต่ด้วยความที่ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน
ทำให้สิงคโปร์กับรัฐอื่น ๆ ในมาเลเซียที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์มีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติอย่างชัดเจน
ในขณะนั้นพรรคการเมือง United Malays National Organisation หรือ UMNO
ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ของมาเลเซีย ต้องการที่จะชิงที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรข้างมากในรัฐสิงคโปร์เพื่อที่จะควบคุมอำนาจในรัฐสิงคโปร์
แต่อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรค UMNO ของมาเลเซีย กับพรรค PAP ของสิงคโปร์ มีความแตกต่างกัน
โดยพรรค UMNO มีจุดมุ่งหมายที่จะสนับสนุนความเป็นมาเลย์และศาสนาอิสลามในประเทศ
ส่วนพรรค PAP มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติและศาสนา
จึงทำให้สองพรรคการเมืองเริ่มมีความขัดแย้งกัน
โดยพรรค UMNO ร่วมมือกับพรรคพันธมิตรในรัฐสิงคโปร์เพื่อที่จะโค่นพรรค PAP
แต่สำหรับในสิงคโปร์แล้ว พรรค PAP ที่นำโดยคุณ Lee Kuan Yew สามารถคว้าชัยชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ในขณะที่พรรค UMNO และพันธมิตรคว้าที่นั่งได้เพียงหยิบมือ
ทั้งสองพรรคจึงกลายเป็นพรรคขั้วตรงข้ามกันอย่างชัดเจน มีการโจมตีกันไปมาอย่างกว้างขวาง โดยมีสื่อยักษ์ใหญ่ในมาเลเซียอย่าง Utusan Melayu
ที่ถูกควบคุมโดยพรรค UMNO ทำข่าวให้ร้ายพรรค PAP อย่างต่อเนื่อง
แต่นั่นกลับเป็นการสร้างความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติขึ้นมา
ในวันที่ 21 กรกฎาคม 1964 ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ที่ทำให้ชาวมาเลย์กว่า 20,000 คน ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง สุดท้ายเหตุการณ์ก็บานปลายไปถึงขั้นมีการปะทะกันระหว่างสองเชื้อชาติ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 23 คน บาดเจ็บกว่า 400 คน จนสุดท้ายทางการรัฐสิงคโปร์ต้องออกมาตรการเคอร์ฟิวเพื่อที่จะระงับสถานการณ์ดังกล่าว
สถานการณ์เหมือนจะสงบขึ้น แต่ก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน..
นั่นคือการเสียชีวิตของชาวมาเลย์อย่างเป็นปริศนา จนทำให้ชาวมาเลย์คิดว่าเป็นฝีมือของชาวจีน ความโกรธแค้นดังกล่าวทำให้มีการปะทะกันอีกครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน บาดเจ็บ 100 คน และมีคนถูกจับกุมกว่า 1,000 คน
ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองและเชื้อชาติ ท้ายที่สุดสิงคโปร์ก็ได้ทำการแยกตัวออกจากมาเลเซีย ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965
หลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
หลังจากนั้นสิงคโปร์ก็ได้ปกครองประเทศโดยอิสระ ซึ่งนำโดยคุณ Lee Kuan Yew ที่ได้วางรากฐานด้านต่าง ๆ ให้กับสิงคโปร์
ด้วยความทรงจำที่โหดร้ายในการปะทะกันระหว่างสองเชื้อชาติ ทำให้ทางการสิงคโปร์ได้ก่อตั้งวัน Racial Harmony Day หรือ วันแห่งการปรองดองทางเชื้อชาติ
เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายในปี 1964 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย
โดยวันดังกล่าวจะตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างเชื้อชาติครั้งแรก
ทางการสิงคโปร์เดินหน้าให้ความสำคัญกับทุกเชื้อชาติในสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษา สิงคโปร์จะมีภาษาราชการมากถึง 4 ภาษา
ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
ถึงแม้ว่าประชากรหลักจะเป็นชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน แต่ทางการสิงคโปร์ก็ยังคงให้ความสำคัญกับทุกภาษา ตามเอกสารราชการสิงคโปร์หรือป้ายเตือนต่าง ๆ ก็จะมีการใช้ทั้ง 4 ภาษา
ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์เองที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดีอยู่แล้ว ยังคงใช้ภาษาแม่ของเชื้อชาติตัวเองได้อีกด้วย
นอกเหนือจากภาษาแล้ว ทางการสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับวันสำคัญของเชื้อชาติต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น วันตรุษจีนของชาวจีน, วันฮารีรายอของชาวมุสลิม, วันวิสาขบูชาของชาวพุทธ,
วันทีปาวลีของชาวฮินดูและชาวซิกข์ และวันคริสต์มาสของคนที่นับถือศาสนาคริสต์
โดยที่ทุกวันจะถือเป็นวันหยุดราชการของสิงคโปร์
ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่สิงคโปร์มีขนาดประเทศที่ค่อนข้างเล็ก จึงทำให้ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในประเทศเป็นตึกสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การดูแลของ Housing and Development Board หรือ HDB ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐของสิงคโปร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์
โดย HDB จะมีการจัดสรรการอยู่อาศัยของแต่ละตึก โดยจะกำหนดว่าในแต่ละตึกอยู่อาศัยหรือชุมชนจะต้องมีการคละเชื้อชาติกันเพื่อที่จะให้คนแต่ละเชื้อชาติสามารถอยู่ด้วยกันและเป็นเพื่อนกันได้
โดยจะไม่มีการแบ่งแยกว่าตึกนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน หรืออีกตึกจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมาเลย์
ซึ่งนี่ถือเป็นนโยบายที่คาดไม่ถึงเพื่อเพิ่มความสามัคคีภายในชาติ
นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความเป็นชาติของสิงคโปร์สามารถหลอมรวมเป็นหนึ่งได้อย่างลงตัว
ถึงแม้สิงคโปร์จะเป็นประเทศที่รวมไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งยังไม่รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในสิงคโปร์
แต่ด้วยการเอาใจใส่ของทางการสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติ ไม่ได้มีการแบ่งแยกหรือแบ่งชนชั้นกัน จึงทำให้ทุก ๆ คนเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่เป็นแกะดำในประเทศ
นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สิงคโปร์สามารถสร้างความเจริญทางการเมืองและเศรษฐกิจได้
โดยที่มีคนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ และไม่เกี่ยงว่าจะเป็นเชื้อชาติอะไร ทุกคนจะได้รับโอกาสเท่ากันหมด
ที่น่าสนใจก็คือตำแหน่งประธานาธิบดีของสิงคโปร์ล้วนเคยเป็นคนสิงคโปร์เชื้อสายจีน มาเลย์ และอินเดียกันมาแล้ว
สุดท้ายแล้วนี่จึงเปรียบเสมือนเป็นจิกซอว์หลากสี ที่ก่อนนำมาประกอบเข้าด้วยกันจะมีความแตกต่างกัน
แต่เมื่อนำมาต่อเรียงกัน จึงทำให้เกิดภาพที่สวยงามจากการต่อจิกซอว์ที่ถูกต้องของทางการสิงคโปร์
เพราะถึงแม้เชื้อชาติจะแตกต่าง แต่ก็ไม่แตกแยกกัน ทุกคนก็คือคนสิงคโปร์ด้วยกันทั้งสิ้น
นี่ถือเป็นกรณีที่น่าสนใจ จากประเทศที่เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติมากมาย
แต่สามารถสร้างความสามัคคีของคนในชาติได้
ถ้าเราสังเกตดูลึก ๆ แล้วจะพบว่า จริง ๆ แล้วทุกคนต่างต้องการเป็นคนที่สำคัญกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเราได้รับความสำคัญจากใครคนไหน เราก็จะยินดีให้ความสำคัญกับเขาคนนั้นด้วยเช่นกัน
อย่างที่รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติ สุดท้ายแล้วประเทศสิงคโปร์ก็จะได้รับความสำคัญกลับมาเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.singstat.gov.sg/modules/infographics/population
-https://www.population.gov.sg/files/media-centre/publications/pib-2020-final.pdf
-https://www.gov.sg/article/what-are-the-racial-proportions-among-singapore-citizens
-https://www.guidemesingapore.com/business-guides/immigration/get-to-know-singapore/a-brief-history-of-singapore
-https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/singapore.pdf
-http://kruasean.kru.ac.th/ewtadmin/ewt/kru_asean/ewt_dl_link.php?nid=385&filename=index
-https://eresources.nlb.gov.sg/history/events/1dab53ea-788c-461c-acfb-ca625b974c9c#:~:text=Politically%2C%20the%20ruling%20People's%20Action,to%20secure%20its%20political%20legitimacy.&text=As%20the%20proposed%20Malaysia%20would,in%20Singapore%20would%20be%20neutralised.
-https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_45_2005-01-06.html
-https://mothership.sg/2017/07/see-the-realities-of-spores-1964-racial-riots-from-these-stories-perspectives/
-https://core.ac.uk/download/pdf/48682558.pdf
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過24萬的網紅โบโบ กวนจีน 波波真幸福,也在其Youtube影片中提到,วันนี้โบๆพาไปชิมหม้อไฟหมาล่าเจ้าเด็ดที่ไทเป แซ่บๆๆ รสชาติถึงใจ กินทีละ2รูมันน้อยไป จัดไปเลย4รูจ้าาาา ?แจกพิกัด Haidilao ไทเป สาขาที่โบๆไปกินค่า ?ตึก...
「ภาษา สิงคโปร์」的推薦目錄:
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 โบโบ กวนจีน 波波真幸福 Youtube 的最佳解答
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 ภาษาสิงคโปร์-ทักทาย - YouTube 的評價
- 關於ภาษา สิงคโปร์ 在 เรียนภาษาอังกฤษและจีนที่ประเทศสิงคโปร์ - EF Thailand 的評價
ภาษา สิงคโปร์ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
ชี้ช่อง SMEs ไทย กับโอกาสลงทุนภาคการเกษตรใน สปป.ลาว
.
สปป.ลาว ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และหลากหลาย เหมาะแก่การทำการเพาะปลูกทางการเกษตร แต่ด้วยพฤติกรรมและนิสัยของคนลาวมักปลูกพืชผักไว้ใช้ในครัวเรือน ไม่ได้ปลูกเพื่อการค้าใดๆ จึงทำให้ลาวมีพื้นที่ทางเกษตรกรรมเพียงแค่ 20% มี GDP จากภาคการเกษตรอยู่ที่ 23% ของ GDP รวมทั้งประเทศ ประกอบไปด้วยพืชผักผลไม้ 54%, สินค้าปศุสัตว์ 34% และอุตสาหกรรมป่าไม้ 10% โดยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของลาว คือ ข้าว กาแฟ ข้าวโพด อ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง
.
จากประเด็นข้างต้น จึงนับเป็นการสร้างโอกาสการลงทุนภาคการเกษตรให้กับผู้ประกอบการของไทย ซึ่งการลงทุนนี้จะส่งผลให้ทั้งสองประเทศได้ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไทยได้ประโยชน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่วนลาวก็ได้ประโยชน์จากการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชากรในประเทศ รวมถึงยังมีโอกาสได้พัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรให้มีความรู้ความสามารถที่จะผลิตและทำการตลาดสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น
.
อีกทั้ง ไทยและลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการของไทยและลาว สามารถสื่อสารและทำธุรกิจกันได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะการที่ไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่โดดเด่นด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเกษตร ก็อาจนำความรู้และความถนัดในส่วนนี้เข้าไปใช้หรือแนะนำผู้ประกอบการของลาวได้
.
แม้จะดูเป็นเรื่องไม่ยากที่ไทยจะเข้าไปบุกตลาดทำการค้าด้านการเกษตรในลาว แต่ก็มีปัญหาและข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากเส้นทางคมนาคมไม่สะดวก และระบบชลประทานยังมีน้อย จึงอาจทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง อีกทั้งตลาดลาวถือเป็นตลาดที่เล็ก มีประชากรเพียง 7.27 ล้านคน รวมถึงพฤติกรรมการทำการเกษตรเพื่อใช้ในครัวเรือน ทำให้การลงทุนภาคเกษตรเน้นการผลิตและแปรรูปเพื่อการส่งออก
.
อย่างไรก็ตาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนให้กับประเทศ “การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI)” จึงเป็นนโยบายที่รัฐบาลของลาว ส่งเสริมและสนับสนุนเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ สปป.ลาว ฉบับที่ 7 (ปี 2016-2020) ว่า FDI จะมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการลงทุนในประเทศทั้งหมด และร้อยละ 30 มาจากการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
.
โดยโอกาสที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการเข้าไปลงทุนด้านการเกษตรในลาวนั้น คือ ได้รับสิทธิพิเศษจากภาครัฐโดยตรง ไม่ว่าจะด้านภาษี ค่าสัมปทานที่ดินราคาถูก มีเวลาสัมปทานยาว ค่าแรงงานและค่าไฟฟ้าราคาถูกที่จะช่วยให้การผลิตมีต้นทุนที่ต่ำ รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งของลาว ยังตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีน-ลาว-สิงคโปร์ และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงระหว่าง 2 คาบสมุทรผ่านประเทศเวียดนาม-ลาว-ไทย-เมียนมาร์ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การลงทุนอย่างมาก
.
ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs ไทยประสบความสำเร็จและไม่มีปัญหาใดๆ ภาครัฐไทยควรให้การสนับสนุน โดยให้ความสำคัญทางด้านนโยบายสนับสนุนในการย้ายฐานการผลิต เงินทุนในลักษณะการกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนตามความเหมาะสม รวมถึงพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่จะไปลงทุน เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรภายใต้โครงการที่จะลงทุนต่อไป
.
ที่มา : https://www.facebook.com/2522872977738211/posts/4839316446093841/?extid=viM9q63Eu5UtHWCG&d=n
https://www.posttoday.com/aec/column/464206?fbclid=IwAR1mQPOJyeC4aY-s-77jDsR3tbIyP9CVN3CJ8fkhkcfNQE5vZ24QRARMCu8
https://www.posttoday.com/aec/column/465308?fbclid=IwAR3VUSawrDA0kl91tXNwaDyH1kSI3Dt4l3_OVbAC0mQ20Cn2PHeWve8Wz_w
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#SMEs #ผู้ประกอบการ #ไทย #ลาว
#ภาคการเกษตร #โอกาสลงทุน
ภาษา สิงคโปร์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
สรุปกฎหมายเกี่ยวกับ Grab ที่กำลังจะเกิดขึ้น /โดย ลงทุนแมน
การนำรถส่วนบุคคล มารับจ้างโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน
กำลังอยู่ในกระบวนการทำให้ถูกกฎหมาย
ซึ่งเรื่องนี้ถ้าทุกคนจำกันได้ เป็นหนึ่งนโยบายตอนหาเสียงของพรรคภูมิใจไทย
มาวันนี้เรื่องนี้กำลังจะเกิดขึ้นจริง
โดยล่าสุดมีร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับออกมาจากกระทรวงคมนาคม ซึ่งอยู่ในการทำประชาพิจารณ์
แล้วร่างกฎกระทรวงนี้ ระบุไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
บทความนี้ของลงทุนแมน โพสต์ล่วงหน้าใน
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ทุกคนรู้ดีว่าตอนนี้ปัญหาที่คนเรียกแท็กซี่เจออยู่บ่อยครั้ง คือ
-เรียกแล้วแท็กซี่ไม่ไป
-ถ้าเป็นชาวต่างชาติ เรียกแล้ว แท็กซี่ไม่กดมิเตอร์
-ถ้าบ้านอยู่ในซอยลึก หรือในหมู่บ้าน ไม่สะดวกออกมาเรียกแท็กซี่
นั่นจึงเป็นสาเหตุของการเกิดขึ้นของแอปพลิเคชันสำหรับการรับจ้างโดยสาร
ถ้าถามว่าในประเทศไทยมีแอปไหนบ้างที่ให้บริการลักษณะนี้
เมื่อก่อนอาจจะมี Uber อยู่ในคำตอบ
แต่ตอนนี้ Grab อาจจะเป็นแอปเดียวที่เรานึกถึง เพราะ Grab ได้ซื้อ Uber ไปแล้ว
เรื่องนี้ทำให้ผู้มีรถส่วนตัวสามารถมีรายได้เสริม
ผู้โดยสารก็ได้ประโยชน์คือ สามารถเรียกรถได้สะดวก ลดปัญหาแท็กซี่ไม่ไป
ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ที่ผ่านมา การใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ในขณะเดียวกันก็มีแท็กซี่บางส่วนไม่พอใจ เพราะ Grab เข้ามาแย่งลูกค้าโดยไม่มีใบอนุญาตแบบถูกกฎหมายเหมือนแท็กซี่
ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนสงสัยคือ เป็นไปได้ไหมว่า Grab จะถูกกฎหมาย?
ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักที่พรรคภูมิใจไทยใช้ตอนหาเสียงว่าจะทำให้ Grab ถูกกฎหมาย
มาวันนี้พรรคภูมิใจไทยได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นกฎหมายเรื่องนี้ถูกผลักดันตามสิ่งที่พรรคได้รับปากไว้
ล่าสุด กรมการขนส่งทางบก มีการเปิดให้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ผ่านทาง
เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://dlt.go.th/th/announce/
เว็บไซต์สำนักงานกฎหมาย กรมการขนส่งทางบก http://elaw.dlt.go.th/
ถ้าเราอ่านจะพบว่า กฎหมายนี้ครอบคลุมเรื่อง หลักเกณฑ์การนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้ในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน
รวมไปถึง การขอรับใบอนุญาตประกอบการของบริษัท
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะถ้ากฎกระทรวงนี้ถูกบังคับใช้ เราจะเป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคนี้ที่ใช้ Grab ได้ถูกกฎหมาย ตามหลังมาเลเซีย และ สิงคโปร์
แล้วทำไมต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว?
จุดประสงค์ของกฎหมายนี้ระบุว่าปัจจุบันมีผู้นำรถยนต์ส่วนบุคคลมารับจ้างโดยสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการยากที่จะต่อต้าน
และเนื่องจากกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการใช้รถให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมและกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับรถยนต์สาธารณะในระบบอีกด้วย
แล้วเนื้อหากฎหมายระบุไว้ว่าอย่างไร?
ลงทุนแมนจะขอสรุปเนื้อหาเบื้องต้นก็คือ
ด้านบุคคล
1. บุคคลที่จะนำรถส่วนตัวมาให้บริการ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
2. บุคคลนั้นต้องมีสิทธิ์ครอบครองรถนั้น
3. บุคคลนั้นต้องมีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
4. บุคคลนั้นต้องผ่านการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด
ด้านตัวรถ
1. รถต้องมีเครื่องอุปกรณ์ครบถ้วน มีความสะอาดเหมาะสมสำหรับรับคนโดยสาร
2. รถต้องมีอายุไม่เกิน 9 ปี โดยต้องเป็นรถที่ไม่ถูกดัดแปลง หรือซ่อมแซมจากรถที่ประสบอุบัติเหตุรุนแรง
3. รถต้องมีกระจก ต้องมองเห็นชัด กระจกด้านหน้าถ้าติดฟิล์ม ต้องให้แสงผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในกรณีนี้ใครที่ติดฟิล์มมืดมากๆ จะนำรถมาให้บริการไม่ได้
4. ต้องให้บริการในท้องที่ที่รถนั้นจดทะเบียนเป็นหลัก เช่น รถเชียงใหม่ไปให้บริการในกทม.ไม่ได้ รถกทม.ไปให้บริการในเชียงใหม่ไม่ได้
5. ชั่วโมงการทำงานปกติกับการขับรถให้บริการ ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง เราจะขับรถหามรุ่งหามค่ำไม่ได้
6. รถที่ให้บริการนี้ต้องติดเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ตามที่กำหนด
ด้านบริษัทที่ขอใบอนุญาต
1. บริษัทต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย
2. บริษัทต้องมีพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม มีโครงสร้างองค์กรที่น่าเชื่อถือ มีระบบเทคโนโลยีเป็นของตนเอง มีหลักเกณฑ์การคิดและแสดงค่าโดยสารตามกฎหมายที่กำหนด
3. มีศูนย์บริการลูกค้าและรับเรื่องร้องเรียน 24 ชั่วโมง และมีระบบจัดการข้อร้องเรียน โดยให้มีการระงับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที และที่น่าสนใจคือ การบริการลูกค้า ต้องมีภาษาให้บริการอย่างน้อย 3 ภาษา นั่นก็คือ ไทย อังกฤษ และ จีน
เมื่อไปดูข้อมูลของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สำรวจความคิดเห็น มีคนเห็นด้วยมากถึง 95.7% ที่จะให้รถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมาย
เหตุผลหลักที่พวกเขาเห็นด้วยก็คือ
1. บริการประเภทนี้ปลอดภัย เพราะมีข้อมูลผู้ขับ และทะเบียนรถเป็นหลักฐานในแอปพลิเคชัน
2. บริการประเภทนี้ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร เรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3. บริการประเภทนี้สะดวก ใช้งานง่าย ทั้งเวลาเรียกรถ เวลาจ่ายเงิน
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ผู้ตอบคำถามอยากให้มีเพิ่มเติม ถ้าเรื่องนี้ถูกกฎหมายแล้วก็คือ
1. เรตอัตราค่าโดยสารต้องยุติธรรม
2. สภาพรถใหม่พร้อมใช้บริการ
3. ควรมีสติกเกอร์หรือสัญลักษณ์บ่งบอกที่ตัวรถที่ให้บริการ
ทั้งหมดนี้น่าสนใจ เพราะดูเหมือนว่าเมื่อก่อน การนำรถส่วนบุคคลมาขับให้บริการจะเป็นอิสระไม่มีใครควบคุม มาวันนี้รัฐเห็นว่าไหนๆ ก็ห้ามไม่ได้ จึงตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมากำกับและควบคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความปลอดภัยมากขึ้น
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า กฎกระทรวงนี้จะผ่านการประชาพิจารณ์และถูกบังคับใช้เมื่อไร
ต่อไป คนขับ Grab ก็คงไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ
คนใช้บริการ Grab ก็มั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น
บริษัท Grab ก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนแท็กซี่ในระบบเดิมก็จะได้ปรับตัวถูก และได้รับความเป็นธรรม เพราะ Grab ก็ต้องมาอยู่ในกฎกติกาที่ถูกควบคุมไม่ให้ได้เปรียบแท็กซี่เช่นกัน
และสุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์ที่สุด
ก็น่าจะเป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้ใช้บริการอย่างสะดวกและปลอดภัยมากขึ้นนั่นเอง..
ใครอยากแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวงนี้ลองเข้าไปที่ลิงก์
เว็บไซต์กรมขนส่งทางบก https://dlt.go.th/th/announce/
เว็บไซต์ สำนักงานกฎหมายกรมขนส่งทางบก http://elaw.dlt.go.th/
รัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562
┏━━━━━━━━━━━━┓
บทความนี้ของลงทุนแมน โพสต์ล่วงหน้าใน
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ภาษา สิงคโปร์ 在 โบโบ กวนจีน 波波真幸福 Youtube 的最佳解答
วันนี้โบๆพาไปชิมหม้อไฟหมาล่าเจ้าเด็ดที่ไทเป แซ่บๆๆ
รสชาติถึงใจ กินทีละ2รูมันน้อยไป จัดไปเลย4รูจ้าาาา
?แจกพิกัด Haidilao ไทเป สาขาที่โบๆไปกินค่า
?ตึก ATT 4 Fun. 6/F, No. 12, Songshou Road 松壽路12號6 樓. Xinyi District, 台北市 110. Taiwan
ร้านนี้มีสาขาที่หลายประเทศนะค้า ทั้งเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง สิงคโปร์
โตเกียว โซล(เกาหลี) และได้ยินว่ากำลังจะมาเปิดที่เมืองไทยด้วยค่า
▌Line - ถามตอบการเรียนจีนฟรีๆ
https://goo.gl/7HQH0n
▌Subscribe to เจ๋อโบ กวนจีน
https://goo.gl/5IZ7fB
▌Follow us
Our Instagram: www.instagram.com/kuanjeen
Jer's Instagram: www.instagram.com/jer_styles
Bow's Instagram: www.instagram.com/bowbyspice
Facebook: www.facebook.com/kuanjeen
YouTube: www.youtube.com/kuanjeen
▌คำศัพท์
ภาษาไทย 【ภาษาจีนตัวเต็ม/ภาษาจีนตัวย่อ/ภาษาจีนพินยิน】
หนาวจัง 【好冷/好冷/hǎo lěng】
มุกฝืด【冷笑話/冷笑话/lěng xiàohuà】
อบอุ่น 【溫暖/温暖/wēnnuǎn】
ไม่มี,ขาด【缺少/缺少/quēshǎo】
อลังการ【華麗/华丽/huálì】
ธรรมดา【簡單/简单/jiǎndān】
อุบัติเหตุทางรถยนต์【車禍/车祸/chēhuò】
กระเป๋าตังค์【錢包/钱包/qiánbāo】
ขโมยเงิน 【偷錢/偷钱/tōu qián】
#เจ๋อโบ #เจ๋อเจ๋อ #โบโบ #ภาษาจีน
ภาษา สิงคโปร์ 在 เรียนภาษาอังกฤษและจีนที่ประเทศสิงคโปร์ - EF Thailand 的推薦與評價
เรียน ภาษา อังกฤษและ ภาษา จีนที่ สิงคโปร์ มาตรฐานการเรียนการสอนสูง ขึ้นชื่อในเรื่องของความปลอดภัย คนส่วนใหญ่ใช้ ภาษา อังกฤษได้ดีและใช้จีน... ... <看更多>
ภาษา สิงคโปร์ 在 ภาษาสิงคโปร์-ทักทาย - YouTube 的推薦與評價
ภาษาสิงคโปร์ -ทักทาย. 25K views · 7 years ago ... <看更多>