“ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้
1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81
1.2 ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
「สภาผู้แทนราษฎร คือ」的推薦目錄:
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 ถ่ายทอดสด การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 และการเลือก ... 的評價
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 Live : การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติเลือกประธานสภาและรอง ... 的評價
- 關於สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition in ... 的評價
สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
เทคนิคการเขียนผลงานทางวิชาการบูรณาการสู่การเรียนการสอน : ประสบการณ์ของข้าพเจ้า
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
อาชีพครู นักวิชาการ หน้าที่หลัก คือ สอนหนังสือ ซึ่งการสอนหนังสือต้องใช้เวลาค้นคว้าเอกสารเพื่อเอาความรู้เหล่านั้นมาบรรยายให้นักศึกษาฟังและเข้าใจในหลักคิดในรายวิชานั้น ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องรับผิด รวมทั้งการดูแลนักศึกษา ทำให้การเขียนหรือการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของเรามักจะเกิดปัญหา เขียนไม่ทันบ้าง เวลาไม่มีบ้าง โดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นทำงานการเป็นอาจารย์ ผมเอาประสบการณ์มาเล่าให้ฟังในการเขียนผลงาน ในช่วงเวลา 2550-2564
ในช่วงเวลา 2550 -2555 เวลานั้น ผมทำหน้าที่ดูแลหลักสูตร ป.โท เป็นเลขา ส.ส. และสอนหนังสือ และเป็นอนุกรรมาธิการ ปปช. สภาผู้แทนราษฎร อนุกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจวุฒิสภา ผมแทบไม่มีเวลา กับการเขียนผลงานวิชาการเลย แต่กลับตรงกันข้ามช่วงเวลาเหล่านี้ผมกลับมีผลงานทางวิชาการ มากมายหลายเรื่อง ยื่นขอ ผศ. ปี 2550 ยื่นขอ รศ. ปี 2554 (ครั้งแรก สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ 2556 แต่ สถาบันเอกชนนั้นไม่ส่งเอกสารให้ สกอ.รับรอง รศ.ของผมจึงต้องยื่นใหม่ ปี 2559 และปัจจุบัน 2563 เสนอประเมินขั้นต้นเพื่อเสนอขอตำแหน่ง ศ. ประกอบด้วย หนังสือที่มาจาการบูรณาการงานวิจัย 2 เล่ม ตำรา 4 เล่ม)
ผลงานทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการ ได้แก่ หนังสือ ตำราเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัย/วิเคราะห์ งานแปล รายงานการศึกษาค้นคว้า สื่อการเรียนการสอน รายงานโครงการต่าง ๆ ผลงานลักษณะอื่น ๆ
ประโยชน์การเขียนผลงานทางวิชาการ
การเขียนผลงานทางวิชาการจะก่อประโยชน์ 2 ด้าน
1) ด้านที่ 1 ได้ผลงานวิชาการ บทความวิชาการ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการ และถ้าบทความนั้นมีความลุ่มลึกและสามารถเป็นบทความที่มีคุณภาพ สามารถเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
2) ด้านที่ 2 ผลงานวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ นั้นได้เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ เป็นเกณฑ์ประเมินประกันคุณภาพ ได้เป็นอย่างดี
หลักการเขียนผลงานทางวิชาการ
การเขียนผลงานจะเป็นการเขียนผลงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน คือ เขียนบทความวิชาการจะเป็นการเขียนในหัวข้อรายวิชาที่สอน การเขียนวิจัยก็จะเป็นประเด็นปัญหาที่เอาเรื่องที่สอนมาเป็นประเด็นปัญหาและแนวคิดทฤษฎีวิเคราะห์วิจัยในรายวิชาที่สอน และเอาบทความ งานวิจัยมาใช้สอน ทำเป็นตำรา หนังสือ เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
อนึ่งวิชาที่สอนต้องเป็นรายวิชาที่สอนหลักและสม่ำเสมออย่าสอนกวาดไปทุกรายวิชาและเพื่อรายได้ของตนเอง จะทำให้เราไม่มีเวลาที่เขียนมันและทำให้เราไม่มีข้อมูลเพียงพอในการเขียนอาจทำให้คุณภาพงานไม่ดีได้
วิธีการเขียนผลงานทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนยึดโยงกับนักศึกษา
1. เริ่มต้นด้วยการเขียน เอกสารประกอบสอน/เอกสารคำสอน ให้เรียบเรียงเอกสารให้เป็นระบบ ในแต่ละหัวข้อตามคำอธิบายรายวิชา ในแต่ละหลักสูตร เรียบเรียงหนังสือ ตำรา บทความ วิจัย/วิทยานิพนธ์ เอกสารการบรรยายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิขานั้นมารวบรวมให้เป็นระบบ แต่ถ้าเป็น "เอกสารคำสอน" มีการเรียบเรียง และมีการอ้างอิงให้เป็นระบบ โดยเน้นเรื่องที่สำคัญหรือเน้นเรื่องที่ตนถนัดหรือมีการคนเขียนเรื่องนี้มีน้อยหรือเขียนเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ อธิบายขยายความ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
เริ่มจากการเขียน เอกสารประกอบสอน เช่น วิชา หลักกฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั่วไป
เอกสารคำสอน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายปกครองและวิธีพิจาณาคดีปกครอง
2. เมื่อเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเป็นตำรา หนังสือ ต่อไป ด้วยการเขียนบทความทางวิชาการ โดยนำหัวข้อในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ในแต่ละหัวข้อนำมาเขียนบทความวิชาการ ที่เป็นทฤษฎีนำมาวิเคราะห์ในประเด็นในทางวิชาการ เพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่หรือตอบโจทย์ในปัญหาทางสังคม และอาจมีประเด็นที่คนสนใจ ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเอาทฤษฎีในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน มาปรับวิเคราะห์ในประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้น จากบทความที่เขียนมีประเด็นพอที่จะขยายเป็นงานวิจัย ก็สามารถนำไปเขียนเสนอหัวข้องานวิจัยได้ เป็นที่มาของการเขียนงานวิจัยตามศาสตร์ ในการบูรณาการการเรียนการสอน
3. ผลของการเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนที่เป็นแนวคิดทฤษฎีนำมาศึกษาวิเคราะห์ในหัวข้อในการเรียนการสอน เขียนบทความทางวิชาการซึ่งสามารถพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัย ได้
เช่น สอนกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งมีกฎหมายที่ในการควบคุมภายในฝ่ายปกครอง ที่สำคัญ 3 ฉบับ ทำให้เราศึกษาวิเคราะห์ราะห์ เป็นหัวข้อวิจัยได้ ว่า กฎหมายทั้งฉบับบนี้มันความสัมพันธ์กันอย่าง บังคับใช้อย่างไรให้สอดรับ สามารถเป็นหลักคิด แนวทางการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองได้ เป็นต้น
4.นำผลงานทางวิชาการบทความวิชาการ (บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ประมาณ 60 เรื่อง/วิจัย (10 กว่าเรื่อง) ในแต่ละหัวข้อมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำรา ก่อให้เกิดผลดีคือ
1) ตำรา /หนังสือจะเป็นตำราที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้ เพราะตำราดังกล่าว ในประเด็นหัวข้อนี้ ได้นำมาจากการเขียนบทความวิชาการ ถือว่าเป็นตำราที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยตำรานั้นต้องเขียนครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ /วิจัยนั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
2) หนังสือ นำบทความวิชาการ/วิจัย ที่ได้เขียนมาจัดระบบ ให้เป็นเรื่องเป็นราว ที่ก่อให้เรื่องใหม่ ที่เป็นหนังสือ ขึ้นมาแต่ต้องเป็นหนังสือที่มีแนวคิดใหม่ๆหรือนำมาเขียนเป็นเรื่องเดียวกันที่ได้เขียนบทความวิชาการมาแล้ว ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ นั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
จากการเขียนบทความวิชาการ พัฒนามาเป็นหนังสือ เช่น ศาสตร์แห่งการตีความกฎหมาย การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไทย หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย เป็นต้น
3) วิจัยก็เป็นงานที่ได้วิเคราะห์สังเคราะห์ ตามรูปแบบกระบวนการขั้นตอนการวิจัย เกิดแหล่งความรู้ใหม่นำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ในการเรียนการสอนและเป็นหลักคิดในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักสมควรแก่เหตุ กล่าวคือ งานวิจัยที่ทำส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในศาสตร์ของตนเองและสอดคล้องกับรายวิชาที่ตนเองสอน สามารถนำงานวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน เขียนหนังสือ เขียนตำรา
วิธีการนำงานวิจัยมาบูรณาการในหนังสือ/ตำรา
การนำงานวิจัยมาบูรณาการในหนังสือ/ตำรา มีอยู่ 3 แนวทาง ดังนี้
แนวทาง ที่ 1 นำงานวิจัยมาเขียนไว้ใน หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ในแต่หัวที่เกี่ยวข้อง
แนวทางที่ 2 นำงานวิจัยมาเขียนเป็นหนังสือรายงานวิจัย โดยมีการเขียนเพิ่มเติม ในรูปแบบหนังสือ แต่เนื้อหานั้นเป็นเนื้อหาที่มาจากงานวิจัยทั้งหมด โดยขยายเนื้อหารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น งานวิจัยเรื่อง ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : กรณีศึกษาพระราชกฤษฎีกา พัฒนามาเป็นหนังสือ เรื่อง สถานะอันหลากหลายของพระราชกฎษฎีกาภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
แนวทางที่ 3 นำงานบางส่วนในงานวิจัย มาเขียนเป็นหนังสือ เช่น งานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำภายในฝ่ายปกครอง : กรณีศึกษากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ” นำงานบางส่วนมาเขียนเป็นหนังสือ เรื่อง “หลักกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคการนำงานวิจัยมาบูรณาการสู่หนังสือ/ตำรา
การนำงานวิจัยมาบูรณาการสู่หนังสือ /ตำรา จะพบว่า แนวทางที่ 1 นึ้ทุกคนสามารถทำได้ง่าย สามารถนำงานวิจัยมาใช้ได้มนส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำรา ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะนี้ แต่แนวทางที่ 2 แบะแนวทางที่ 3 ยังไม่ค่อยจะมีการทำกันเพราะเป็นเรื่องที่ยากไปอีกขั้นหนึ่ง เนื่องจากปัญหา ดังนี้
1.ปัญหางานวิจัยที่ไม่สอดคล้องกับการเรียนการสอน ทำให้ไม่สามารถนำงานวิจัยมาบูรณาการเป็นหนังสือ/ตำราได้
2.ปัญหาในเรื่องขั้นตอนวิธีการเขียน ที่เรียกว่า “แนวปฏิบัติที่ดีในการเขียนหนังสือ/ตำรา” โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมองประเด็นนี้ไม่เข้าใจหรือไม่ค่อยให้ความสำคัญ
3. ปัญหาที่มาจากอัตตา ตัวตนของบุคคล ที่ไม่รับเอาสิ่งใหม่หรือเปิดกว้าง สิ่งใหม่ ยังรับความคุ้นชินที่เคยมีอยู่ในรูปแบบเดิม ๆ ว่ามันคือ สิ่งที่ถูก
4.นโยบายหรือหน่วยงานสังกัดไม่ได้มองหรือให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ มองไปเรื่องทุน มองในเรื่องการตอบโจทก์แก้ปัญหา สังคม ชุมชน แต่ไม่ได้ถึงการตอบโจทก์ งานวิจัยเหล่านี้มา “สร้างองค์ความรู้” ต่อยอดพัฒนาคน ชุมชน สังคมและประเทศชาติได้อย่างไร และยึดโยงกับนักศึกษาได้อย่างไร ทำแต่เพียงลูบหน้าปะจมูก ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 : ที่ควรแก้ไข”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จากที่นักศึกษาได้ส่งข้อความถึงความสัมพันธ์ระหว่างนิติบัญัติกับฝ่ายบริหาร 2560 จึงได้เอาบทความนี้ลงให้อ่านศึกษากันครับ
ช่วงนี้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่ม 2560 อยู่ 2 ฉบับ ที่ผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ นำไปสู่การตั้งกรรมาธิการยกร่าง เพื่อจะเข้าสู่วาระที่ 2 ต่อไป ประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นว่าควรแก้ไข ในประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560
ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดความสุมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารไม่ค่อยจะยึดโยงกับประชาชนเท่าใดนัก เรามาดูว่าไม่ยึดโยงอย่างไรบ้าง ดังนี้
1.ที่มาฝ่ายนิติบัญญัติกับที่มาฝ่ายบริหาร
ภายใต้รัฐธรรมนญ 2560 ได้กำหนดที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติกับที่มาหัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ
1.1 ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เรียกว่า “สภาคู่” ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่ง
1.1.1 ที่มาของ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน
1.1.2 ที่มาของ ส.ว. มาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรแต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
แต่อย่างไรก็ตามในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.จำนวน 250 คน (ม.269 ) มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272) ซึ่งที่มา ส.ว นั้นมี 2 ระยะ 5 ปี แรก กับ ระยะ 5 ปี หลัง กล่าว คือ ระยะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปี แรก ส.ว. จำนวน 250 มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช. ในระยะ 5 ปี จำนวน 200 คน มาจากการสรรหาของ กกต.หลากหลายอาชีพ
1.2 ที่มาของฝ่ายบริหาร
รัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.
เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ปกติแล้วหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดหรือมีที่นั่งสมาชิกมากที่สุดในสภาก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี การเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ในกรณี 5 ปี แรกรัฐธรรมนูญ 2560 พรรคการเมืองที่รวมเสียง ส.ส. และส.ว. เป็นผู้ทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี(ม.272)
แต่ในรัฐธรรมนูญ 2560 นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88)
และในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
มีคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน กับรัฐมนตรี ไม่เกิน 35 คนโดนรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษตริย์ เสนอโดยนายกรัฐมนตรี (ม.158)
อนึ่ง ถ้ารัฐมนตรีเพียงคนเดียว ในฐานะฝ่ายปกครอง แต่ถ้ารวมกันเรียกว่า คณะรัฐมนตรี เป็นฝ่ายการเมือง
2. อำนาจหน้าที่ : การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
2.1 อำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
2.1.1 มีอำนาจตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2.1.2 มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
3)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152) เป็นได้ว่าการเปิดอภิปรายของ ส.ว. ในการไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติในการวิพากษ์วิจารณ์ นายกรัฐมนตรี นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะ ส.ว. มาจากการแต่งตั้ง คสช. และ นายกรัฐมนตรี ก็มาจาก คสช. กลายเป็นการเปิดอภิปรายเพื่อปกป้องนายกรัฐมนตรี
2.2 อำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร
2.2.1 การบังคับใช้กฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน ตามภารกิจของรัฐ คือ การกำหนดนโยบายของรัฐ และการบังคับบัญชาและการกำกับดูแลฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ
2.2.2 ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103) เป็นต้น
ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ควรแก้ไข
มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตยในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารที่ไม่ยึดโยงกับกับประชาชนในหลาย ๆ เรื่อง ที่ต้องแก้ไข ดังนี้
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดตั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว และที่สำคัญไม่ยึดโยงกับประชาชน คือ
1.1 นายกมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
แสดงให้เห็นว่าหลักการที่มาของนายกรัฐมนตรีไม่ได้ยึดโยงจากประชาชนที่แท้จริง เนื่องจาก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช. จะเป็นผู้กำหนดทิศทาง การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ถึง 5 ปี เป็นไปได้ว่า ถ้านายกที่มาจาก คสช. ไม่ยุบสภา อาจอยู่ 2 วาระ 8 ปีเลยทีเดียว
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
4. จาก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง คสช. และ ส.ว.ทำหน้าที่เลือกคนของ คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ได้กำหนดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับรากฐานที่มาจาก คสช. อย่างมาก โดยเฉพาะเงื่อนไข รับหลักการและขั้นลงมติ ต้อง มีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 ถ้า นายกรัฐมนตรีที่มาจาก คสช.ไม่ขยับหรือต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว. คงไม่กล้าที่จะขัดกับ นายกรัฐมนตรีที่มาจาก คสช.
ดังนั้นผมเห็นว่าเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 : ที่ควรแก้ไขเป็นอย่างมากเพื่อได้ยึดโยงกับประชาชน
สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 Live : การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติเลือกประธานสภาและรอง ... 的推薦與評價
Live : การประชุม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ณ รัฐสภา 4 กรกฎาคม 2566 #matichontv #ประชุมสภา #ประธานสภา ... ... <看更多>
สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (Leader of the Opposition in ... 的推薦與評價
ฎร ตามมาตรา ๑๑๘ คือ ๑.ขาดจากสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒.ลาออกจากตำแหน่ง ๓.ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมือง ... ... <看更多>
สภาผู้แทนราษฎร คือ 在 ถ่ายทอดสด การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 และการเลือก ... 的推薦與評價
การถ่ายทอดสดการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 และการเลือกประธาน สภาผู้แทนราษฎร รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. ... <看更多>