ตั้งแต่สมัยโบราณถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์ได้ถูกสอนให้รู้จักวิธีคิดในแนวทางต่าง ๆ แต่วิธีคิดที่ได้รับการยอมรับและยังถูกใช้สอนอยู่คือการคิดอย่างเหล่านักปราชญ์
ในโลกฝั่งตะวันตกได้ให้กำเนิดนักคิดและนักปราชญ์ชื่อดังหลายคน แต่บุคคลที่มีชื่อเสียงยาวนานและได้ยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นสุดยอดนักปราชญ์ ก็คงไม่พ้นนักปราชญ์ 3 ท่านนี้ นั้นคือ โซเครติส,เพลโต,อริสโตเติล ซึ่งทั้ง 3 คนนี้ล้วนแต่มีแนวการสอน และให้ความหมายของคำว่า "ความรู้ " ที่แตกต่างกันไป
#โซเครติส
สอนเกี่ยวกับการแสวงหาความเป็นจริง โดยการชี้ให้เห็นสิ่งที่ถูกและผิด แต่ไม่ได้เสนอทางออกของปัญหา
โซเครตีส กล่าวว่า “ความรู้ คือ คุณธรรม” (Knowledge of Virtue) นั่นคือ คนที่รู้จักความดีย่อมทำความดี เป็นไปไม่ได้ที่คนรู้ว่าความดีคืออะไรแล้วยังฝืนทำความชั่ว ส่วนที่คนทำความชั่วก็เพราะขาดความรู้ ถ้าคนเราได้รับการแนะนำที่ถูกต้องแล้วเขาาจะไม่ทำผิดเลย เหตุนั้น โซเครตีสจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครทำผิดโดยจงใจ” โซเครตีสเป็นคนที่มีเหตุผลสูงสามารถควบคุมอารมณ์ได้ทุกสถานการณ์ อะไรที่เห็นว่าถูกต้อง โซเครตีสจะทำโดยไม่ลังเล ถึงวาระสุดก็ยอมโดนประหารชีวิต แต่ไม่ยอมทิ้งหลักการของตน
#เพลโต
สอนให้ยึดกฎเกณฑ์แบบแผนที่ถูกต้อง หากมีสิ่งใดที่ไม่ตรงกับมาตรฐานนี้ จะต้องฉุกคิดว่าอาจมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น
ในทัศนะของเพลโต ความรู้ที่แท้จริงไม่ได้มาจากผัสสะหรือการรับรู้ แต่ความรู้ที่แท้จริงได้มาจากเหตุผล สำหรับโซเครตีส ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ (Concept) แต่สำหรับเพลโต ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ (Idea) ในความคิดของเพลต้นั้น ได้แบ่งลักษณะความคิดออกเป็น 4 อันดับ คือ จินตนาการเป็นขั้นต่ำสุด ที่สูงขึ้นมาตามลำดับคือความเชื่อ และการคำนวณ ส่วนขั้นสูงสุดคือพุทธิปัญญา
#อริสโตเติล
สอนให้รู้จักวิธีคิดแบบ วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล เป็นประเภทต่าง ๆ อย่างละเอียด
ความรู้สำหรับอริสโตเติลนั้นคือความรู้ที่ต้องประกอบด้วยคุณธรรม ชีวิตที่ดีสำหรับมนุษย์ก็คือ ชีวิตที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม มีความประพฤติที่เหมาะสม และชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา คือการตริตรองถึงสัจจะ จิตของมนุษย์มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย คือคิดหาเหตุผลหรือมีเหตุผล ดังนั้นการมีเหตุผลจึงเป็นแบบที่มนุษย์ต้องพยายามบรรลุถึงในที่สุด
คุณละครับชอบแนวคิดของนักปราชญ์คนไหน หรือมีนักปราชญ์คนไหนที่ชอบเป็นพิเศษลองคอมเม้นต์มาบอกกันหน่อย
อริสโตเติล กล่าวว่า 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
พัฒนาการกฎหมายมหาชนของต่างประเทศ
ที่มา สิทธิกร ศักดิ์ “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม 2554
พัฒนาการกฎหมายมหาชนของต่างประเทศนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 กลุ่ม ตามระบบของกฎหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) หรือกลุ่มสกุลโรมาโน-เยอรมานิค (Romano Germanic) กับ กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) หรือ กลุ่มแองโกแซกซอน (Anglo Saxon)
1.1 กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์
กลุ่มระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) หรือกลุ่มสกุลโรมาโน-เยอรมานิค (Romano Germanic) เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้นในการศึกษา จะได้แบ่งออกเป็น 4 สมัยด้วยกัน คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงปัจจุบัน
1.1.1 สมัยโบราณ
พัฒนาการสมัยโบราณแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคอารยธรรมกรีก กับยุคอารยธรรมโรมัน
1. ยุคอารยธรรมกรีก มีการปกครองรูปแบบที่เรียกกันว่า “นครรัฐ” (City State) ซึ่งหมายถึงการที่คนเผ่าต่างๆที่มีศาสนาร่วมกัน มีจำนวนไม่มากนักมาอยู่รวมกันบนพื้นดินที่แน่นอน ผู้ปกครอง คือ หัวหน้าเผ่า ในสมัยกรีกโบราณนั้นมี “นครรัฐ” เกิดขึ้นมากมาย ใหญ่บ้างเล็กบ้างต่างกันแต่ละนครรัฐ ปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับใคร เช่น นครรัฐกรีก พลเมืองอาจมีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยผ่านจารีตประเพณีของเผ่า ซึ่งต่อมาการปกครองแบบนครรัฐได้สิ้นสุดลงประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล เกิดมีกษัตริย์ขึ้นมาเป็นประมุข มีสภาที่ปรึกษาซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้าครอบครัวใหญ่ นอกนั้นยังมีจักรวรรดิ (Empire) ซึ่งเป็นที่รวมของหลายเผ่า การปกครองสมัยกรีกเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยสมบูรณ์ หมายถึง อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่จักรพรรดิแต่ผู้เดียว มีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นในยุคนั้นมีหลายคน เช่น โสเกรติส (Socratis) เพลโต(Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) โดยเฉพาะอริสโตเติลได้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อการพัฒนากฎหมายมหาชนเป็นอย่างมาก เป็นผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐไว้หลายอย่าง เช่นความหมายของคำว่า รัฐ การกำเนิดรัฐและรูปแบบของรัฐ อริสโตเติล ได้อธิบายรูปแบบการปกครองไว้ 3 รูปแบบ คือ
1) การปกครองโดยบุคคลคนเดียวมีอำนาจสูงสุด และใช้ไปในทางเป็นประโยชน์ของประชาชนเรียกว่า ระบบกษัตริย์ (Monarchy) แต่ถ้าใช้ไปในทางตรงกันข้าม คือ เพื่อประโยชน์ของตนเรียกว่า ระบบทรราชย์ (Tyranny)
2) การปกครองโดยกลุ่มบุคคลแต่ไม่มากนัก ถ้ากลุ่มนี้ใช้ไปในทางประโยชน์ต่อประชาชน เรียกว่า อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) แต่ถ้าใช้ไปในทางตรงกันข้าม คือ เพื่อให้กลุ่มได้ประโยชน์ เรียกว่า ระบบคณาธิปไตย (Oligarchy)
3) การปกครองโดยกลุ่มคนจำนวนมาก การปกครองแบบนี้ อริสโตเติล แยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ Democracy กับ Polity
(1) Democracy หมายความว่า การปกครองโดยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งอริสโตเติลเห็นว่าในจำนวนมากนั้นบางคนไม่อาจรู้จักคิดหรือตัดสินใจ การตัดสินใจก็อาจเป็นไปโดยที่บุคคลไม่รู้จักรับผิดชอบต่อการแสดงออก เช่น การตัดสินใจตามผู้อื่นอย่างที่เรียกว่า มอ๊บ (Mob) อาจทำให้เกิดความระส่ำระส่ายได้ง่าย
(2) Polity หมายถึง การปกครองโดยคนส่วนมากเช่นกัน แต่คนที่มาจากกลุ่มเดียวกัน เช่น มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน มีการศึกษาเท่าเทียมกัน สามารถตรวจตราป้องกันการที่ผู้ปกครองจะใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้ แต่คนเหล่านั้นก็จะเข้ามาทำประโยชน์ให้แก่กลุ่มของตนได้ อริสโตเติล เห็นว่าการปกครองลักษณะที่เป็นสายกลางที่ดีที่สุด คือ การปกครองแบบ Polity แต่ต้องมีการตรวจสอบ
2.ยุคอารยธรรมโรมัน เมื่อกรีกล่มสลาย อาณาจักรโรมันมีความเจริญขึ้นซึ่งได้รับการปกครองต่อมาจากกรีกและเริ่มมีความคิดที่จะแบ่งแยกกฎหมายออก เป็นกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน โดยในระยะแรกถือว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวพันกับราษฎรทุกคนในชีวิตประจำวัน แต่กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องเฉพาะบุคคลบางประเภท เช่น สมาชิกสภาหรือศาล เป็นต้น กฎหมายมหาชนในยุคนี้ส่วนมากได้แก่ ระเบียบวิธีปฏิบัติทางการเมือง ทางสภา ทางศาล อัลเปียน (Ulpial) นักกฎหมายคนสำคัญในยุคนี้ กล่าวว่า กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐ กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชน ต่อมาในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน (Justinien) ได้จัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นหลายฉบับรวมกันเป็น คอปุส จูริส ซิวิลลิสต์ (Corpus Juris Civilis) จะเห็นได้ว่า Civilis หมายถึง พลเมือง กฎหมายนี้จึงเป็นกฎหมายเอกชนเป็นส่วนมาก เช่น หลักกฎหมายเกี่ยวกับบุคคล หลักกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์ หลักกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ และได้มีการพยายามให้ทุกแค้วนใช้ระบบกฎหมายเดียวกัน คือ ระบบกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน
ข้อสังเกต นักนิติศาสตร์ สมัยโรมันแยกประเภทของกฎหมาย เพื่อจะศึกษาและสอนเฉพาะกฎหมายเอกชน ส่วนกฎหมายมหาชนไม่มีการศึกษาและสอนกัน เพราะเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่และอันตรายที่จะพูดถึงกฎหมายที่จำกัดอำนาจรัฐ (อำนาจของผู้ปกครอง) ในยุคที่ผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดเหนือกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ กฎหมายโรมันจึงไม่มีส่วนที่เป็นกฎหมายมหาชนแท้อยู่เลย มีแต่กฎหมายเอกชนและกฎหมายอาญาบางส่วน เหตุนี้เราจึงเรียกระบบกฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายซึ่งมีรากฐานมาจากโรมันว่า “Civil Law System” (ระบบกฎหมายซิวิลลอว์)
1.1.2 สมัยกลาง
เมื่ออาณาจักรสมัยโรมันเสื่อมสลายลงในราว ค.ศ. ที่ 540 ชนเผ่าต่างๆฝรั่งเศส เยอรมัน ก็เข้ายึดครองโรมัน ความเจริญรุ่งเรืองทางกฎหมายก็หยุดลง แต่ละเผ่าปกครองกันเอง (เช่นเดียวกับสมัยกรีกโบราณ คือ อำนาจตกอยู่ในมือของจักรพรรดิ์ที่เป็นหัวหน้าเผ่า) ต่างคนต่างมีกองทัพ มีปราสาท มีประชาชนเป็นของตนไม่ขึ้นต่อกันและกัน เรียกผู้ปกครองชนเผ่าต่างๆที่แบ่งเป็นแค้วนว่าเป็น เจ้าศักดินา เจ้าศักดินาที่แข็งแรงที่สุด เรียกว่า กษัตริย์ แต่กษัตริย์ในสมัยนั้นไม่อยู่ในฐานะประมุขของรัฐ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีรัฐมีแต่แคว้นต่างๆ ซึ่งยอมอยู่ใต้อำนาจ เราเรียกยุคนี้ว่า “ยุคฟิวดัลลิสซึม” (Feudalism) หรือ “ศักดินาสวามิภักดิ์” ฉะนั้นการปกครองจึงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่แต่ละแคว้น ซึ่งมีการปกครองตนเองและมีศาลเป็นของตนเอง (ไม่เหมือนกับยุคโรมัน ที่ทุกแคว้นต้องอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกัน คือ ระบบกฎหมายจัสติเนียน)
เมื่อทุกแคว้นต่างมีอิสระก็มีการรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ก็เกิดสงครามขึ้น สงครามที่สำคัญในระยะนั้นได้แก่ สงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ที่เรียกว่าสงครามร้อยปี (เกิดขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1337 - ค.ศ.1453) ทำให้บทบาทของกษัตริย์เปลี่ยนไป เช่น บทบาทขุนนางฝรั่งเศสยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ กษัตริย์ทรงอ้างตนว่าเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพราะตนเป็นตัวแทนชองชาติ โดยศตวรรษที่ 11 ได้เกิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกในยุโรป คือ มหาวิทยาลัยโบโลญา (Bologna) ได้มีการฟื้นฟูศิลปการต่างๆของยุคกรีกและยุคโรมัน โดยเฉพาะระบบกฎหมายมีการหันไปศึกษาประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งในสมัยกลางนี้เป็นช่วงสมัยที่ศาสนจักรได้ครอบงำอาณาจักร
1.1.3 สมัยใหม่
สมัยใหม่ (Modern Time) อยู่ในระหว่าง ค.ศ.1453-1789 ภายหลังสงครามร้อยปี ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส อำนาจกษัตริย์ในฝรั่งเศสเข้มแข็งขึ้นมีกองทัพและมีความชำนาญในการรบ ทำให้ราษฎรยอมรับอำนาจกษัตริย์ คือ ยอมเสียภาษีอากร ซึ่งในสมัยก่อนหน้านั้นราษฎรไม่ยอมเสียภาษี จะยอมเสียให้ก็แต่เฉพาะในช่วงสงคราม
นอกจากนี้ราษฎรยังยอมรับอำนาจในการออกกฎหมายของกษัตริย์ นักปราชญ์คนสำคัญ คือ ฌอง โบแดง (Jean Baudin) ได้เขียนหนังสือยอมรับความคิดนี้และอธิบายว่าคนที่มีอำนาจสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นอธิบายว่า อำนาจอธิปไตยแบ่งได้เป็นหลายอำนาจ แต่มิได้กล่าวว่าได้แก่อำนาจอะไร ประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะของการเป็นชนชาติก่อนชนเผ่าอื่นๆเมื่อถึงสมัยราชวงศ์บรูดอง (Bourbon) อำนาจของกษัตริย์ได้พัฒนาขึ้นจนถึงระบบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (Louise xiii) ได้มีเสนาบดีคนสำคัญ คือ ริเชอ ริเออ (Rishe lieu) เป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปการปกครองเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์ ส่งข้าหลวงไปตามหัวเมืองไปทำการปกครองแทนขุนนางและยังส่งข้าหลวงไปตรวจราชการ จนกระทั่งสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louise xiv) ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้รุ่งเรืองขึ้นมา ถึงกับกล่าวว่า “พระองค์ คือ รัฐ” (I am the State) ทรงแผ่อำนาจไปทั่วยุโรป นับว่าเป็นการเลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญ มีการลิดรอนอำนาจขุนนาง โดยมอบอำนาจให้กษัตริย์เป็นผู้เลือกส่งไปขุนนางไปปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดูแลกิจการ สาธารณูปโภค การคลัง การบริหารรัฐกิจ ซึ่งแต่ละคนที่กษัตริย์ส่งไปปกครองมีอำนาจสมบูรณ์
1.1.4 สมัยการปฏิวัติในปี ค.ศ.1789 ถึงปัจจุบัน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มเสื่อมลงประกอบทั้งบ้านเมืองประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ กษัตริย์ทรงอ่อนแอ ราษฎรอดอยาก มีนักโทษการเมืองมากขึ้น และประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายการปกครองระบอบนี้ และที่สำคัญอเมริกาก็เกิดการประกาศอิสระภาพจากอังกฤษซึ่งฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลจากแนวคิดในเรื่องของความเป็นอิสรเสรีภาพจากอเมริกา มีนักคิดที่สำคัญในสมัยนั้น คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นที่ยอมรับมาจนทุกวันนี้ ชื่อ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (The Spirit of Law) โดยกล่าวว่า การปกครองของประเทศอังกฤษดีที่สุดเป็นกลางที่สุดราษฎรมีสิทธิเสรีภาพ พร้อมทั้งเขียนเรื่องการหลักแบ่งแยกอำนาจไว้ การปฏิวัติของฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 ได้ยกเลิกการปกครองเดิม แบ่งการปกครองเป็นรูปแบบการปกครอง District,Canton,Commune,และ City ในสมัยพระเจ้านโปเลียน (Napolean) เข้ายึดอำนาจได้จัดระบบการปกครองใหม่ โดยถือหลักว่า บรรดาท้องถิ่นที่มีการปกครองตนเองได้นั้นก็เพราะส่วนกลางมอบให้
ฉะนั้น รัฐต้องเป็นผู้สั่งการและได้มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาให้เป็นหมวดหมู่ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส หรือประมวลกฎหมายแพ่งนโปเลียนในปี ค.ศ.1804 และประมวลกฎหมายฉบับนี้เองได้มีอิทธิพลต่อการจัดทำประมวลกฎหมายของประเทศอื่น นอกจากนี้พระเจ้านโปเลียน เห็นว่าการบริหารประเทศ หัวใจสำคัญ คือ กฎหมาย จึงตั้งสภาแห่งรัฐเรียกว่า คองเซย์ เดตาร์ (Conseil d Etat) ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย เป็นที่ปรึกษากฎหมายและให้เป็นผู้พิจารณาคดีปกครองเรียกว่า “ศาลปกครอง” ส่วนระดับจังหวัดก็มีการตั้งสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด จึงสามารถสรุปได้ว่า หลักการปกครองที่ฝรั่งเศสสร้างมี 2 รูปแบบ คือ
1.หลักการรวมอำนาจ คือ อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ส่วนกลาง ได้แก่ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ นโยบายต่างๆต้องมาจากส่วนกลาง ผู้ดำเนินการต่างๆก็เป็นคนจากส่วนกลางเช่นกัน
2.หลักการกระจายอำนาจ คือ หลักการยอมให้ชุมชนปกครองกันเอง การจัดดูแลสาธารณูปโภค อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐโดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นคนจากส่วนกลาง ซึ่งชุมชนเหล่านั้นจะมีทหาร การคลังเองไม่ได้
ข้อสังเกต พัฒนาการกฎหมายมหาชนในระบบซิวิลลอว์นั้นมีมาตั้งแต่ในอดีต แต่ก็ไม่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบอย่างเช่นในกฎหมายเอกชน เหตุผลเป็นเพราะชนชั้นผู้ปกครอง คือ กษัตริย์ไม่อยากให้ประชาชนรับรู้ในเรื่องการบริหาร กิจการบ้านเมือง เพราะถ้าหากรู้อาจจะปกครองได้ยาก จึงต้องปิดหูปิดตาประชาชนและที่สำคัญประชาชนยังไม่เข้าถึงหลักการปกครอง ทำให้พัฒนาการกฎหมายมหาชนที่เป็นรูปเป็นร่างนั้นประมาณ 200-300 กว่าปีมานี่เอง
1.2 กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law)
กลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นั้นจะพิจารณาศึกษาประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศต้นรากเง้าในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะแบ่งออกได้ 4 สมัย ดังนี้ สมัยแองโกล แซกซอน สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ สมัยคอมมอนลอว์กับเอ๊กคิวตี้ และสมัยใหม่
1.2.1 สมัยแองโกล แซกซอน (Anglo-Saxon)
สมัยแองโกล แซกซอน นับว่าเป็นสมัยแรก ขณะนั้นประเทศอังกฤษถูกปกครองด้วยชนเผ่าต่างๆเช่นเดียวกับยุโรป เผ่าที่สำคัญ คือ เผ่าแองโกลและเผ่าแซกซอน กฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะประเพณีและความเชื่อของแต่ละแคว้น ต่อมาโรมันเข้ามามีบทบาทในศตวรรษที่ 5 เป็นเวลา 400 ปี เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ได้รับอิทธิพลของโรมันเลย
1.2.2 สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ (Common Law)
สมัยก่อตั้งคอมมอนลอว์ คือต่อมาประมาณศตวรรษที่ 10-15 พระเจ้าวิลเลี่ยม (William) ซึ่งเป็น ดุ๊ก (Duke) แห่งแคว้น นอร์มังดี (Normandie) ของฝรั่งเศสนำกองทัพมายึดเกาะอังกฤษจึงได้รวบรวมชนเผ่าต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ภายใต้ปกครองของพระองค์ แต่พระองค์มิได้ยกเลิกอำนาจของหัวหน้าชนเผ่า โดยถือว่าพระองค์เป็นเจ้าราชอาณาจักรแต่แบ่งแผ่นดินให้ขุนนางต่างๆที่ร่วมรบจากแคว้นนอร์มังดี และหัวหน้าแคว้นต่างๆที่สวามิภักดิ์ยึดครอง จึงมีระบบศักดินาเกิดขึ้น ต่อมาได้พยายามให้มีกฎหมายที่เหมือนกันใช้ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองจึงได้ทรงจัดตั้งศาลขึ้นมา เรียกว่าศาลหลวง มีอำนาจเกี่ยวกับประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น เรื่องการเงิน ที่ดิน แล้วส่งผู้พิพากษาจากศาลหลวงไปพิจารณาคดีในแคว้นต่างๆในกรณีที่แคว้นใดไม่มีศาลหลวง ถ้าราษฎรไม่พอใจการตัดสินของศาลประจำแคว้นก็ย่อมเดินทางมายังศาลหลวงได้ เมื่อศาลหลวงได้ตัดสินอย่างใดก็เกิดการสร้างหลักกฎหมาย โดยศาลพระมหากษัตริย์ โดยให้ใช้หลักอันเดียวกันทั่วประเทศ จึงเกิดระบบคอมมอนลอว์ขึ้น ประชาชนยอมรับเพราะถือว่าศาลหลวงมีความรู้ความสามารถ แต่ปรากฏว่าว่าศาลตามแคว้นต่างๆยังต่อต้าน อ้างว่าเมื่อจะถือเป็นกฎหมายจะต้องส่งไปลงทะเบียนไว้ในศาลของตน เพื่อให้รับรู้จึงทำให้การบริหารด้านกฎหมายไม่ราบรื่นเท่าที่ควรและในช่วงนี้เองเกิดต้นเค้ารัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษที่เรียกว่า แม๊กนา คาร์ตา (Magna Carta) เพราะเมื่อกษัตริย์จะไปทำสงคราม จะเกณฑ์ประชาชน และจะเก็บภาษีจากประชานชน แต่ประชาชนไม่ยอม กฏบัตรแม๊กนา คาตาร์ ฉบับนี้จึงกำหนดให้มีการเก็บภาษี การเกณฑ์ประชาชนได้แต่ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาที่ปรึกษาก่อน ซึ่งต่อมามีการยอมรับให้สภาที่ปรึกษาและสามัญชนเข้าร่วมด้วยจึงเกิดมี 2 สภา คือ สภาขุนนาง (House of Lord) กับสภาผู้แทนราษฎร (House of Common) และได้เป็นที่ยอมรับมาถึงปัจจุบัน
1.2.3 สมัยคอมมอนลอว์ (Common Law) กับเอ๊กคิวตี้ (Equty)
คอมมอนลอว์ถึงจุดอิ่มตัว เพราะมีระบบต่างๆเกิดขึ้น เช่น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม คอมอนลอว์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ที่ดิน ไม่ครอบคลุมถึงบางเรื่อง ทำให้มีการถวายฎีกาต่อกษัตริย์ พระองค์จึงได้มอบหมายให้ข้าราชการในราชสำนัก (Lord Chancellor) ทำหน้าที่แทนพระองค์ โดยยึดหลักเอ๊กคิวตี้ (หลักยุติธรรม) คือ การใช้สามัญสำนึกให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี แต่แรกก็เกิดขัดแย้งกับระบบคอมมอนลอว์ แต่ต่อมาก็เข้ากันได้โดยใช้วิธีการแบ่งศาล เรื่องเกี่ยวกับเอ๊กคิวตี้ ก็จะต้องฟ้องศาลเอกคิวตี้ (ศาลซานเซอรี่) เพราะระบบเอ๊กคิวตี้เข้าไปแก้ไข เสริมช่องว่างของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
1.2.4 สมัยใหม่ตั้งแต่ ค.ศ.1832 ถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากเกี่ยวกับศาลระบบศาล ได้รวมศาลคอมมอนลอว์กับศาลเอ๊กคิวตี้ให้อยู่ศาลเดียวกัน มีการปฏิรูปกฎหมาย ชำระกฎหมาย จัดให้เป็นระเบียบ แต่ไม่ได้หมายความว่าจัดเป็นหมวดหมู่แบบยุโรป (แบบซีวิลลอว์) ซึ่งระบบกฎหมายอังกฤษไม่เคยได้รับอิทธิพลของพวกโรมัน ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว อังกฤษถือว่าทุกคนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันที่ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย ถือว่าเป็นองค์กรสูงสุด จึงทำให้ไม่มีกฎหมายมหาชนเพราะได้รับแนวคิดของ นักปราชญ์ของอังกฤษ คือ ไดซีย์ (Dicey) เห็นว่าระบบกฎหมายอังกฤษดีแล้ว ต่อมาในระยะหลังอังกฤษจึงหันมาสนใจกับกฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชนของอังกฤษได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดถึงเรื่องการปกครอง แต่หลักกฎหมายมหาชนจริงๆจะไปอยู่ในระบบคอมมอนลอว์เป็นส่วนใหญ่
อริสโตเติล กล่าวว่า 在 สกสว. - อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมเกิดขึ้น”... | Facebook 的推薦與評價
October 5, 2019 at 12:59 AM ·. ⚖ อริสโตเติล กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมเกิดขึ้น” เมื่อคนที่เท่าเทียมกันได้รับการปฏิบัติ ที่ไม่เท่าเทียมกัน ... ... <看更多>