กลับมาพบกันอีกครั้งใน “Come Koala Me Concert @Clubhouse ครั้งที่ 2” 🐨
คอนเสิร์ตระดมทุนออนไลน์ที่จะมาฮีลใจทั้งผู้ชม ศิลปิน และบุคลากรทางการแพทย์กันแบบฟรี ๆ ! 💥
.
อูก้ากับลูกพีช - รพีพร ตันตระกูล Lukpeach แท็กทีมกันมามอบพลังบวกแบบจัดเต็มกันอีกเช่นเคย กับบทเพลงอันไพเราะจากเหล่าศิลปินที่จะมาร่วมกอดและจับมือทุกคนให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน พร้อมกับกิจกรรมพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับนักจิตวิทยาจากอูก้า ที่จะมาให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพใจดี ๆ อีกเช่นเคย
.
นอกจากนี้ยังมีการระดมทุนที่จะเริ่มเปิดรับพร้อมกันกับคอนเสิร์ต ซึ่งเงินระดมทุนที่ได้ภายในคอนเสิร์ตส่วนหนึ่งจะมอบให้กับศิลปินและนักดนตรีที่มาร่วมงานครั้งนี้ และที่เหลือจะนำไปเป็นทุนในการเปิดบริการให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านแอปพลิเคชัน ooca ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ได้ฟังเพลงเพราะๆแล้วยังได้สนับสนุนทั้งศิลปินและบุคคลากรทางการแพทย์อีกด้วย 🤜🏻 🤛🏻
.
มากอดกันและกันได้ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 20.00-02.00 น. ที่ Clubhouse @ooca หรือ Facebook Live: ooca อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม จะได้ไม่พลาดรายชื่อศิลปินที่จะมาร่วมผ่านค่ำคืนไปด้วยกัน
.
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อน ๆ ยังสามารถรับข่าวสารและโปรโมชั่นดี ๆ ก่อนใครได้เลยที่ 👉🏻 https://oocasea.page.link/oocaline
รอดู line-up ศิลปินได้เร็วๆนี้ แล้วมาเจอกันน้าา 💙
.
#ComeKoalaMe #lukpeach #ooca
.
________________________________
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/hCgZ
✨ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและบริการของ ooca ได้ที่ > https://ooca.page.link/oocaservice
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > http://bit.ly/msgfbooca
.⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #แอปปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยา #mentalhealth #สุขภาพจิต #เครียด #ซึมเศร้า #พบจิตแพทย์
เรื่องของใจให้เรารับฟัง 在 Drama-addict Facebook 的最佳貼文
ประเด็นเรื่องการกรีดแขนในสภาวันก่อน เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนมาก ส่วนตัวความรู้แง่นี้ไม่พอ เลยฝากเพื่อนที่เป็นจิตแพทย์เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นนี้มา ลองอ่านกันดูครับ
ความรุนแรง (Violence) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังทางกายเพื่อทำร้าย ทำให้เจ็บปวด เสียหายหรือพยายามฆ่าตัวตาย องค์การอนามัยโลก (WHO) บอกว่า การทำร้ายตัวเอง (Self-harm) นับเป็น “ความรุนแรง” รูปแบบหนึ่ง แต่ The UK National Institute for Clinical Excellence คิดว่า การทำร้ายตัวเองเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีการวางแผน ไม่ต้องมีเจตนาหรือที่มาที่ไป นอกจากนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมอดอาหาร ใช้สารเสพติด ทรมาณร่างกาย ฯลฯ จึงยากที่จะบอกว่าการทำร้ายตัวเองนับเป็นความรุนแรงหรือไม่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
เมื่อเราคิดถึง "ความรุนแรง" ภาพที่ผุดขึ้นมาคือ การต่อสู้ ทะเลาะวิวาท สงคราม การทารุณกรรมหรือการล่วงละเมิดทางเพศ ดังนั้นการทำร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตายจึงไม่เหมือนความรุนแรงอื่นๆ เพราะคนทั่วไปมองว่าเกิดจากสิ่งที่เราเลือกเองได้ (Freedom of choice)
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
บ่อยครั้ง Self-harm ถูกนำมาใช้ในการประท้วงทางการเมืองหรือการแสดงความศรัทธาทางศาสนา เพื่อแสดงถึงจุดยืน ความมีเกียรติ เรียกร้องสิทธิ โต้ตอบแต่อาจลืมไปว่าการทำรุนแรงกับตัวเองอาจส่งผลที่ร้ายแรงยิ่งกว่า คนที่มองอยู่ข้างนอกอาจเกิดคำถามและรู้สึกไม่เห็นด้วยจนกลายเป็นต่อต้าน ถือว่าเป็นการสร้างอคติยิ่งขึ้นไปอีก
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
จากข่าวที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายหนึ่งทำร้ายตัวเองระหว่างการอภิปราย ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงในวงกว้าง นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า “การประท้วง ควรจะประท้วงด้วยการแสดงเหตุผล การอารยะขัดขืนมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใดก็ตามอย่ามองคนเห็นต่างเป็นศัตรู การใช้วาจาที่ทำให้อีกฝ่ายดูไม่ดีจะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรุนแรงตามมาได้” แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนแสดงจุดยืนผ่านการทำร้ายตัวเองและเกิดการโต้ตอบกันระหว่างผู้ประท้วงและรัฐบาล
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2534 กลุ่มคนงานได้ออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้เปลี่ยนกฎหมายลาคลอดจาก 60 วันเป็น 90 วัน เนื่องจากผู้หญิงต้องเสียสุขภาพและบางรายยังเสียโอกาสในการทำงานอีกด้วย ซึ่งในระยะแรกรัฐบาลขอทดลองใช้ก่อน หลังจากนั้นเรื่องก็เงียบหายไปกว่า 2 ปีจนเกิดการเคลื่อนไหวอีกครั้ง การชุมนุมรุนแรงยิ่งขึ้น มีทั้งการอดอาหาร กรีดเลือดประท้วงบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ในที่สุดรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้แก้กฎหมายลาคลอด
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อีกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว ประเทศฝรั่งเศสได้เกิดการประท้วงด้วย “เสื้อกั๊กสีเหลือง” ต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันของรัฐบาล ซึ่งก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายเอมานูเอล มาครงได้ประกาศว่าจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นลำดับแรกๆ ทำให้ออกมาตรการหลายอย่างที่สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน เริ่มแรกนายมาครงสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรง ใช้แก็สน้ำตาและจับกุมผู้ประท้วง ประชาชนจึงตอบโต้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดนายกฯก็เป็นฝ่ายยอมล่าถอยและยกเลิกการขึ้นภาษี แต่การประท้วงดำเนินต่อไปและได้มีการเรียกร้องในประเด็นอื่นอีก เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ ลดภาษีต่างๆ จนถึงตอนนี้ประชาชนส่วนหนึ่งยังยืนยันให้นายมาครงลาออกจากตำแหน่ง
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ไม่มีใครรู้ว่าการใช้ความรุนแรงจะส่งผลเช่นไรหรือวิธีใดเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด บางครั้งความรุนแรงอาจทำให้เราได้สิ่งที่ต้องการ แต่บางครั้งความรุนแรงก็ไม่ได้ช่วยให้เห็นทางออก จึงไม่สามารถบอกหรือตัดสินได้ว่าทางที่คนอื่นเลือกนั้น “ถูก” หรือ “ผิด”
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวลคือความชินชาต่อการใช้ความรุนแรงมากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่า “ไม่ใช่เรื่องของเขาที่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น” ซึ่งหากเราเพิกเฉยต่อ “ชีวิต” นั่นถือเป็นความคิดที่อันตราย
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
แน่นอนว่า Self-harm เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตและอาจนำไปสู่อาการป่วยใจในภายหลัง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตจะต้องแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงกับตัวเองและคนอื่น ซึ่งหากขาดความรู้ความเข้าใจเราอาจเหมารวมและตัดสินผู้อื่นแบบผิดๆได้
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
นั่นเป็นเพราะว่าความเจ็บปวดที่เกิดจากการทำร้ายตัวเองช่วยให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์บางอย่างได้ เมื่อเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยอื่นๆได้ “ตัวเรา” จึงเป็นเพียงตัวเลือกเดียวที่เหลืออยู่
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ไม่ว่าคนที่ทำร้ายตัวเองจะทำลงไปเพราะเหตุผลอะไรก็ตาม เราไม่มีทางรู้คำตอบเกี่ยวกับทุกเรื่องราวในชีวิตของเขา สิ่งที่เราควรใส่ใจคือเขากำลังส่งสัญญาณอะไร ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร แล้วเราสามารถแก้ไขหรือช่วยเหลืออะไรได้หรือไม่?
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
เราจะป้องกันปัญหา Self-harm ได้อย่างไร
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา
Self-harm คือการแสดงถึงความเจ็บปวดในใจผ่านทางร่างกาย แต่อีกฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่เรารู้สึกอยู่ดี เพราะเรากำลังใช้อารมณ์เป็นตัวนำ สำรวจอารมณ์ความรู้สึกตัวเองว่าตอนนี้เราโกรธ เสียใจ ผิดหวัง หรือต้องการอะไรกันแน่ แล้วพยายามขจัดอารมณ์ลบๆ ออกไปก่อนที่จะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#สื่อสารให้มากขึ้น
การแก้ปัญหาที่ดีสุดคือการพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ส่วนใหญ่ความขัดแย้งมักเกิดจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการรับฟังอย่างใส่ใจ ลองถอยคนละก้าวแล้วคุยกันด้วยเหตุผลแทนที่จะใช้ความรุนแรง
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#ควบคุมตัวเองทั้งคำพูดและการกระทำ
เมื่อเรารู้สึกว่าสถานการณ์ต่างๆ ควบคุมได้ยาก ร่างกายของเราจึงเป็นสิ่งเดียวที่เราเป็นเจ้าของและพร้อมจะ “เดิมพันด้วยชีวิต” แต่ลองหยุดคิดสักนิด แล้วถามตัวเองว่าเราต้องการทำเช่นนี้จริงๆเหรอ เราอยากจะพูดแบบนั้นออกไปใช่ไหม สุดท้ายเมื่อได้คิดทบทวนแล้วเราอาจพบว่าเราตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมมากๆ เลยนะ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#ยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง
ไม่แปลกถ้าเราจะรู้สึกอึดอัดหรือไม่พอใจเมื่อต้องโต้เถียงกับคนอื่น แต่หากเราคิดได้ว่า “มันเป็นไปได้” และความคิดของคนอื่นเป็นสิ่งที่ “เข้าใจได้” เราจะรู้สึกสบายใจมากขึ้นและมองว่ามันไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าจะรับมือหรอก
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#บอกตัวเองว่าฉันมีคุณค่า
เบี่ยงเบนตัวเองออกไปจากความคิดร้ายๆ ตรงหน้า หาสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น พยายามผ่อนคลายความตึงเครียดที่เราแบกไว้ แล้วบอกตัวเองว่า “ชีวิตเรามีค่ามากกว่าปัญหานี้ซะอีก”
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อย่าลืมว่าการทำร้ายตัวเอง ไม่ใช่แค่ “การเรียกร้องความสนใจ” แต่มีเหตุผลเบื้องหลังเสมอ เราไม่ควรตัดสินหรือตีตราว่าคนที่ทำร้ายตัวเองเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่ควรใช้สติ เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพยายามทำความเข้าใจพวกเขา รวมถึงดูแลคนข้างๆ และเสพสื่ออย่างมีวิจารณญาณด้วยนะ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อูก้าพร้อมเป็นเพื่อนที่รับฟังทุกความคิดเห็นโดยไม่มีข้อแม้ ติดต่อมาพูดคุยกับพี่ๆ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ของเราได้นะคะ เพราะทุกคนมีคุณค่าและควรได้รับความใส่ใจ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
อ้างอิงจาก:
https://workpointtoday.com/successful-protests-history/
https://www.teenvogue.com/story/self-harm-alternatives
https://www.hfocus.org/content/2020/10/20365
https://www.psychologytoday.com/…/2004…/cutting-form-protest
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK349101/
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#OOCAknowledge
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
__________
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาผ่านวีดีโอคอล ฯ นัดคุยได้เลย
🔹 ดาวน์โหลดแอปฯ หรือคุยผ่านเว็บไซต์ > https://ooca.page.link/self-harm
__________
📬 พบปัญหาการใช้งาน ทักแชทมาหาเรา > bit.ly/msgfbooca
__________
#OOCAitsOK #WeWillListen #เรื่องของใจให้เรารับฟัง #mentalhealth
เรื่องของใจให้เรารับฟัง 在 p n v . - รับรู้ (ไม่รับรัก) | (OFFICIAL MV) - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
ที่มี เรื่องราวของ ความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนระหว่างคนสองคน เป็นการบอกความรู้สึกที่อีกฝ่ายรู้ว่า เรา มี ใจให้ แต่เขาเลือก... ... <看更多>
เรื่องของใจให้เรารับฟัง 在 #เรื่องของใจให้เรารับฟัง - Explore | Facebook 的推薦與評價
explore #เรื่องของใจให้เรารับฟัง at Facebook. ... 5 วิธีที่อูก้านำมาฝากจะช่วยให้การแข่งขันภายในบริษัทเข้มข้นแต่ไม่รุนแรงกลับกันแล้วจะช่วยสร้างแรงบันด… ... <看更多>