ผู้สนับสนุน..
สตาร์ทอัพไทย จะเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไร? / โดย ลงทุนแมน
ยูนิคอร์น คือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
รู้ไหมว่าเพื่อนบ้านที่รายล้อมเราในอาเซียนต่างมีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นกันทั้งหมด
อินโดนีเซีย มี GOJEK, tokopedia, traveloka, Bukalapak
เวียดนาม มี VNG
ฟิลิปปินส์ มี Revolution Precrafted
มาเลเซีย มี Grab
สิงคโปร์ มี SEA ที่สามารถระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ประเทศไทยยังไม่มียูนิคอร์น..
รู้ไหมว่าหนึ่งในเหตุผลหลักของเรื่องนี้ก็คือ
“คนรุ่นใหม่เก่งๆ” ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สนใจทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบสตาร์ทอัพ
สาเหตุก็เป็นเพราะพวกเขามองเห็นโอกาสในอนาคตที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยในฐานะสตาร์ทอัพ น้อยกว่าการทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่เดิม หรือบริษัทใหญ่ที่เป็นยูนิคอร์นจากต่างประเทศ
ลองคิดตามว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
ถ้าคนที่มาเสนองานมีบริษัท Google, Lazada, Grab, Agoda, Garena, KBank กับการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง คนไทยเหล่านั้นมักจะเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทใหญ่มากกว่า
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องเงินทุน เรื่องกฎหมาย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือไม่รู้วิธีการที่จะพัฒนาธุรกิจให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้
จากปัญหาทั้งหมดนี้
แล้วสตาร์ทอัพไทยจะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป การระดมทุนของสตาร์ทอัพจะถูกแบ่งตามการประเมินมูลค่าของบริษัท (Valuation) ออกเป็น
ระยะเริ่มต้นเรียกว่า Seed
หลังจากนั้นก็จะไล่ระดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Series A Series B Series C
แล้วเรารู้ไหมว่า.. จำนวนสตาร์ทอัพไทยเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร?
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Seed
อินโดนีเซีย 428 บริษัท
เวียดนาม 197 บริษัท
ไทย 170 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series A
อินโดนีเซีย 101 บริษัท
เวียดนาม 52 บริษัท
ไทย 36 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series B
อินโดนีเซีย 25 บริษัท
เวียดนาม 12 บริษัท
ไทย 9 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series C
อินโดนีเซีย 13 บริษัท
เวียดนาม 8 บริษัท
ไทย 3 บริษัท
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนสตาร์ทอัพประเทศไทยน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนในทุกระดับการระดมทุน
และเมื่อดูถึงมูลค่าที่ระดมทุนได้
สตาร์ทอัพอินโดนีเซียและเวียดนาม สามารถระดมทุนได้มากกว่าสตาร์ทอัพไทย 22 และ 2 เท่า ตามลำดับ..
แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นก็คือ “ฐานจำนวนผู้ใช้งาน”
หากมองจากมุมนี้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าประเทศไทยเสียเปรียบด้านจำนวนประชากรหากเทียบกับเวียดนาม และ อินโดนีเซีย
แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้?
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน
โดยคนไทย 50 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ถ้าถามว่าคนไทยคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันอะไรมากสุด
คำตอบคงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชัน LINE
รู้ไหมว่า..
ปัจจุบัน คนไทยใช้งานแอปพลิเคชัน LINE กว่า 44 ล้านคน
คิดเป็นเกือบ 90% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟน
ในขณะที่ คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเฉลี่ยวันละ 216 นาที
ซึ่งกว่า 63 นาทีเป็นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน LINE
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของ LINE ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ปัจจุบัน LINE ไม่ได้เป็นเพียงแอปแช็ต
แต่บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
จนผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างบน LINE ได้
ตั้งแต่การติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ช้อปปิง รวมไปถึงธุรกรรมทางการเงิน
เรียกได้ว่าคนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ LINE ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
ซึ่งการที่สตาร์ทอัพจะถึงระดับยูนิคอร์นได้ก็คือต้องขยายขนาดธุรกิจ
การที่จะขยายธุรกิจได้ก็ต้องมีผู้ใช้งานหรือลูกค้ามากขึ้น
และ LINE เป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทย ที่จะทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้
คำถามต่อไปก็คือ
สตาร์ทอัพเหล่านี้จะใช้แพลตฟอร์ม LINE อย่างไรให้ได้เต็มศักยภาพที่สุด?
“โครงการ LINE ScaleUp” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดย LINE โดยมีจุดประสงค์ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มของ LINE ให้ได้ดีที่สุด
ซึ่งในปีนี้ มี 6 สตาร์ทอัพไทยที่เข้ารอบ LINE ScaleUp 2019 จากผู้สมัคร 100 บริษัท คือ
1.Choco CRM แพลตฟอร์มระบบจัดการหน้าร้าน และพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า
2.ClaimDi แพลตฟอร์มจัดหาผู้ช่วยสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถชน หรือเรียกตำรวจ
3.Finnomena แพลตฟอร์มผู้ให้บริการและคำปรึกษากับนักลงทุน
4.GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการสปาและบริการเสริมความงาม
5.Seekster แพลตฟอร์มจัดหาผู้ให้บริการด้านความสะอาด
6.Tellscore แพลตฟอร์มจัดการ micro-influencer
ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 45 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 80 คน และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series A ที่เตรียมตัวจะขยาย และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น การพยายามเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน stage นี้ แต่ละบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญในการปรับธุรกิจให้เข้ากับ LINE เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้แม่นยำ และเข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สตาร์ทอัพในโครงการ LINE ScaleUp ยังได้รับโอกาสในการพัฒนารากฐานสำคัญ 3 ส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโต แบ่งออกเป็น
1.ด้านพื้นฐานทั้งการสอนแบบกลุ่ม และตัวต่อตัว เช่น การให้ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ เทคโนโลยี การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ การบริหารบุคลากร รวมถึงกฎหมายที่จำเป็น
2.ด้านการลงทุน เช่น การให้ความรู้ และเข้าถึงโอกาสได้รับการลงทุนจาก LINE Venture และผู้ลงทุนจากต่างชาติ
3.ด้านการเรียนรู้ความสำเร็จจากสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นกับบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวจริงผ่านการไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรวมถึง NAVER บริษัทแม่ของ LINE
ซึ่งหลังการพัฒนารากฐาน จะทำให้สตาร์ทอัพทุกรายมีความพร้อมมากขึ้น และในก้าวต่อไป สตาร์ทอัพยังมีโอกาสได้เป็นพันธมิตรกับบริการต่างๆ ของ LINE ได้ เช่น
1.ความร่วมมือด้านธุรกิจ โดย LINE เปิดช่องทางมินิแอป (Mini App) บนแอปพลิเคชัน LINE โดย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพได้ทันทีผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าใช้บริการของ Seekster และ Finnomena ผ่านมินิแอปได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว
2.ความร่วมมือด้านพันธมิตรอย่างเป็นทางการ (Strategic Partnership) โดยตัวอย่างเช่น การเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทำความสะอาดของ Seekster ผ่านแพลตฟอร์ม LINE MAN ในเร็วๆ นี้ หรือ การเข้าถึงช่องทางคอนเทนต์ของ Finnomena และ Claimdi ผ่าน LINE TODAY และ LINE TV
3.ความร่วมมือแบบบูรณาการเชิงลึก (Deep Integration) ให้กับทั้ง 6 ทีม โดยเฉพาะบริษัท Choco CRM, Tellscore และ GOWABI ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาบริการเชิงลึกผ่าน LINE API เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้างผ่านแพลตฟอร์ม LINE เช่น Tellscore สามารถทำการสมัครเป็น Influencer ได้ผ่าน LINE หรือ Choco CRM ที่ช่วยสร้างบัตรสะสมแต้มให้กับบริษัท และร้านค้าบน LINE
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า LINE ScaleUp เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเร่งให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคตโดยการใช้เทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้ของ LINE ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะมีทีมไหนที่จะเข้าสู่จุดนั้น
และ LINE ScaleUp จะไม่ได้มีแค่ปีนี้เพียงปีเดียว
ซึ่ง LINE ได้วางแผนระยะยาว และเอาจริงกับวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
โดยจะเปิดรับสมัคร LINE ScaleUp 2020 รุ่นใหม่ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
หากสตาร์ทอัพไหนมี passion ในการทำธุรกิจ และ เชื่อว่าสักวันจะประสบความสำเร็จกลายเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทย ลองเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้ในปีหน้า ซึ่ง LINE ScaleUp อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ทำให้เราก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย..
ติดต่อข่าวสารโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่ https://scaleup.line.me/
gojek valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ผู้สนับสนุน..
สตาร์ทอัพไทย จะเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไร? / โดย ลงทุนแมน
ยูนิคอร์น คือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
รู้ไหมว่าเพื่อนบ้านที่รายล้อมเราในอาเซียนต่างมีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นกันทั้งหมด
อินโดนีเซีย มี GOJEK, tokopedia, traveloka, Bukalapak
เวียดนาม มี VNG
ฟิลิปปินส์ มี Revolution Precrafted
มาเลเซีย มี Grab
สิงคโปร์ มี SEA ที่สามารถระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ประเทศไทยยังไม่มียูนิคอร์น..
รู้ไหมว่าหนึ่งในเหตุผลหลักของเรื่องนี้ก็คือ
“คนรุ่นใหม่เก่งๆ” ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สนใจทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบสตาร์ทอัพ
สาเหตุก็เป็นเพราะพวกเขามองเห็นโอกาสในอนาคตที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยในฐานะสตาร์ทอัพ น้อยกว่าการทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่เดิม หรือบริษัทใหญ่ที่เป็นยูนิคอร์นจากต่างประเทศ
ลองคิดตามว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
ถ้าคนที่มาเสนองานมีบริษัท Google, Lazada, Grab, Agoda, Garena, KBank กับการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง คนไทยเหล่านั้นมักจะเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทใหญ่มากกว่า
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องเงินทุน เรื่องกฎหมาย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือไม่รู้วิธีการที่จะพัฒนาธุรกิจให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้
จากปัญหาทั้งหมดนี้
แล้วสตาร์ทอัพไทยจะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป การระดมทุนของสตาร์ทอัพจะถูกแบ่งตามการประเมินมูลค่าของบริษัท (Valuation) ออกเป็น
ระยะเริ่มต้นเรียกว่า Seed
หลังจากนั้นก็จะไล่ระดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Series A Series B Series C
แล้วเรารู้ไหมว่า.. จำนวนสตาร์ทอัพไทยเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร?
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Seed
อินโดนีเซีย 428 บริษัท
เวียดนาม 197 บริษัท
ไทย 170 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series A
อินโดนีเซีย 101 บริษัท
เวียดนาม 52 บริษัท
ไทย 36 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series B
อินโดนีเซีย 25 บริษัท
เวียดนาม 12 บริษัท
ไทย 9 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series C
อินโดนีเซีย 13 บริษัท
เวียดนาม 8 บริษัท
ไทย 3 บริษัท
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนสตาร์ทอัพประเทศไทยน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนในทุกระดับการระดมทุน
และเมื่อดูถึงมูลค่าที่ระดมทุนได้
สตาร์ทอัพอินโดนีเซียและเวียดนาม สามารถระดมทุนได้มากกว่าสตาร์ทอัพไทย 22 และ 2 เท่า ตามลำดับ..
แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นก็คือ “ฐานจำนวนผู้ใช้งาน”
หากมองจากมุมนี้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าประเทศไทยเสียเปรียบด้านจำนวนประชากรหากเทียบกับเวียดนาม และ อินโดนีเซีย
แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้?
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน
โดยคนไทย 50 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ถ้าถามว่าคนไทยคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันอะไรมากสุด
คำตอบคงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชัน LINE
รู้ไหมว่า..
ปัจจุบัน คนไทยใช้งานแอปพลิเคชัน LINE กว่า 44 ล้านคน
คิดเป็นเกือบ 90% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟน
ในขณะที่ คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเฉลี่ยวันละ 216 นาที
ซึ่งกว่า 63 นาทีเป็นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน LINE
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของ LINE ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ปัจจุบัน LINE ไม่ได้เป็นเพียงแอปแช็ต
แต่บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
จนผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างบน LINE ได้
ตั้งแต่การติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ช้อปปิง รวมไปถึงธุรกรรมทางการเงิน
เรียกได้ว่าคนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ LINE ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
ซึ่งการที่สตาร์ทอัพจะถึงระดับยูนิคอร์นได้ก็คือต้องขยายขนาดธุรกิจ
การที่จะขยายธุรกิจได้ก็ต้องมีผู้ใช้งานหรือลูกค้ามากขึ้น
และ LINE เป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทย ที่จะทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้
คำถามต่อไปก็คือ
สตาร์ทอัพเหล่านี้จะใช้แพลตฟอร์ม LINE อย่างไรให้ได้เต็มศักยภาพที่สุด?
“โครงการ LINE ScaleUp” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดย LINE โดยมีจุดประสงค์ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มของ LINE ให้ได้ดีที่สุด
ซึ่งในปีนี้ มี 6 สตาร์ทอัพไทยที่เข้ารอบ LINE ScaleUp 2019 จากผู้สมัคร 100 บริษัท คือ
1.Choco CRM แพลตฟอร์มระบบจัดการหน้าร้าน และพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า
2.ClaimDi แพลตฟอร์มจัดหาผู้ช่วยสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถชน หรือเรียกตำรวจ
3.Finnomena แพลตฟอร์มผู้ให้บริการและคำปรึกษากับนักลงทุน
4.GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการสปาและบริการเสริมความงาม
5.Seekster แพลตฟอร์มจัดหาผู้ให้บริการด้านความสะอาด
6.Tellscore แพลตฟอร์มจัดการ micro-influencer
ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 45 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 80 คน และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series A ที่เตรียมตัวจะขยาย และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น การพยายามเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน stage นี้ แต่ละบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญในการปรับธุรกิจให้เข้ากับ LINE เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้แม่นยำ และเข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สตาร์ทอัพในโครงการ LINE ScaleUp ยังได้รับโอกาสในการพัฒนารากฐานสำคัญ 3 ส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโต แบ่งออกเป็น
1.ด้านพื้นฐานทั้งการสอนแบบกลุ่ม และตัวต่อตัว เช่น การให้ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ เทคโนโลยี การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ การบริหารบุคลากร รวมถึงกฎหมายที่จำเป็น
2.ด้านการลงทุน เช่น การให้ความรู้ และเข้าถึงโอกาสได้รับการลงทุนจาก LINE Venture และผู้ลงทุนจากต่างชาติ
3.ด้านการเรียนรู้ความสำเร็จจากสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นกับบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวจริงผ่านการไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรวมถึง NAVER บริษัทแม่ของ LINE
ซึ่งหลังการพัฒนารากฐาน จะทำให้สตาร์ทอัพทุกรายมีความพร้อมมากขึ้น และในก้าวต่อไป สตาร์ทอัพยังมีโอกาสได้เป็นพันธมิตรกับบริการต่างๆ ของ LINE ได้ เช่น
1.ความร่วมมือด้านธุรกิจ โดย LINE เปิดช่องทางมินิแอป (Mini App) บนแอปพลิเคชัน LINE โดย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพได้ทันทีผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าใช้บริการของ Seekster และ Finnomena ผ่านมินิแอปได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว
2.ความร่วมมือด้านพันธมิตรอย่างเป็นทางการ (Strategic Partnership) โดยตัวอย่างเช่น การเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทำความสะอาดของ Seekster ผ่านแพลตฟอร์ม LINE MAN ในเร็วๆ นี้ หรือ การเข้าถึงช่องทางคอนเทนต์ของ Finnomena และ Claimdi ผ่าน LINE TODAY และ LINE TV
3.ความร่วมมือแบบบูรณาการเชิงลึก (Deep Integration) ให้กับทั้ง 6 ทีม โดยเฉพาะบริษัท Choco CRM, Tellscore และ GOWABI ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาบริการเชิงลึกผ่าน LINE API เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้างผ่านแพลตฟอร์ม LINE เช่น Tellscore สามารถทำการสมัครเป็น Influencer ได้ผ่าน LINE หรือ Choco CRM ที่ช่วยสร้างบัตรสะสมแต้มให้กับบริษัท และร้านค้าบน LINE
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า LINE ScaleUp เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเร่งให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคตโดยการใช้เทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้ของ LINE ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะมีทีมไหนที่จะเข้าสู่จุดนั้น
และ LINE ScaleUp จะไม่ได้มีแค่ปีนี้เพียงปีเดียว
ซึ่ง LINE ได้วางแผนระยะยาว และเอาจริงกับวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
โดยจะเปิดรับสมัคร LINE ScaleUp 2020 รุ่นใหม่ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
หากสตาร์ทอัพไหนมี passion ในการทำธุรกิจ และ เชื่อว่าสักวันจะประสบความสำเร็จกลายเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทย ลองเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้ในปีหน้า ซึ่ง LINE ScaleUp อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ทำให้เราก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย..
ติดต่อข่าวสารโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่ https://scaleup.line.me/
gojek valuation 在 Phoenix International Indonesia - Facebook 的推薦與評價
Gojek -Tokopedia merger to boost Indonesia's digital economy The merger between ... biggest start-up in terms of valuation at an estimated USD 18 billion. ... <看更多>
gojek valuation 在 Will Indonesia's Largest Technology Company Survive? 的推薦與評價
GoTo Group is in trouble. Its valuation has plummeted, and it still continues to burn billions of cash.Narrated by Tom MckayVideo Edited by ... ... <看更多>