#การดูแล_หวัด_ในเด็กเล็ก
.
วันนี้ที่รพ.
หมอตรวจเคสคล้ายๆกันหลายเคส
เป็นเด็กเล็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ อาการมาด้วย
“มีไข้ต่ำๆ มีน้ำมูกใสๆ กลางวันเล่นได้ปกติ
แต่พอตกกลางคืน จะมีไข้ และซมลง
นอนหลับไม่สนิท
ดิ้นไปมา หาท่าที่นอนสบาย
ไอเพราะมีน้ำมูกไหลลงคอ
(บางคนไอจนอ๊อก...ออกมาเป็นนมปนเสมหะ)
และดูดนมได้น้อยลง
ดูดแป๊บๆแล้วปล่อย (เด็กกินนมแม่)
หรือดูดนมได้น้อย หงุดหงิด งอแง”
.
มีบ้านไหนกำลังเป็นเหมือนกันมั้ยคะ
หมออยากจะ focus ที่เด็กเล็ก
เพราะเค้าไม่สามารถสื่อสารให้พ่อแม่เข้าใจ
ได้ด้วยคำพูด
และเค้ามีสรีระและกิจวัตรประจำวัน
บางอย่างที่ไม่เหมือนกับเด็กโต
.
เคยเขียนเรื่องการดูแลหวัด version ยาวไปแล้ว
( https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=382999938701372&id=332559453745421 )
แต่อยากจะขยายความใน post นี้สักเล็กน้อย
.
💖**เด็กเล็กเป็นหวัด ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลจมูก❤
👉หวัด
ภาษาแพทย์เรียก Rhinitis
มีรากศัพท์มาจาก rhino แปลว่าจมูก
เติม –itisที่แปลว่าอักเสบลงไป
ดังนั้นหวัด คือโรคติดเชื้อไวรัสที่ต้องมีอาการทางจมูกเป็นสำคัญ
อาการทางจมูกที่ว่าคือ
●เยื่อบุจมูกบวม ก็ทำให้รู้สึกคัดจมูก หายใจไม่สะดวก
●เมื่อมีอักเสบ ก็จะหลั่งสารคัดหลั่งมากขึ้น
สารคัดหลั่งในโพรงจมูก เราเรียกว่า น้ำมูก
●ไวรัส ต่อสู้กับ ภูมิคุ้มกัน เกิดการหลั่งสารที่ทำให้ร่างกายมีไข้ แต่โดยส่วนใหญ่ เชื้อไวรัสที่ก่อโรคหวัดธรรมดา ไม่ได้ทำให้มีไข้สูง
ถ้าเป็นเด็กโต หรือผู้ใหญ่ อาการแค่นี้
ไม่ได้ทำให้ร่างกายแย่
คัดจมูก เราก็อ้าปากหายใจได้
มีน้ำมูก เราก็สั่งน้ำมูก กินยาลดน้ำมูกได้
👉แต่..ในเด็กเล็ก มันไม่ใช่!!
● เด็กเล็กมีศรีษะใหญ่มากเมื่อเทียบกับลำตัว ลิ้นใหญ่ เมื่อเทียบกับช่องปาก
แต่ทางเดินหายใจเล็กมาก
● แรงต้านอากาศเกือบ 80%ในระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กอยู่ที่จมูก และโพรงหลังจมูก
● เด็กเล็กไม่สามารถหายใจทางปากชดเชยเหมือนผู้ใหญ่ได้
-ดังนั้น หากโพรงจมูกบวม เค้าแทบจะไม่เหลือ option ที่จะช่วยทำหายใจสะดวกขึ้นเลย
ยิ่งบวม + น้ำมูก ยิ่งแล้วใหญ่
======
ดังนั้น เด็กเล็ก จะงอแงมาก เมื่อเค้ารู้สึกคัดจมูก
● เวลาดูดนม เค้าต้องหยุดหายใจช่วงสั้นๆเพื่อกลืนนมตลอดเวลา
เมื่อโพรงจมูกบวม เด็กเล็กจะไม่สามารถกลืนติดต่อกันได้นานเหมือนปกติ เค้าหงุดหงิดที่กินได้ไม่เหมือนเดิม
บางคนร้องไห้โวยวายเพราะหิวแต่ไม่รู้จะบอกแม่ยังไง
บางคนเลือกที่จะไม่กินไปเลย
● เนื่องจากโพรงจมูกบวม ดังนั้น ตอนกลางคืน ที่เค้านอน จะทำให้หลับไม่สนิท ดิ้นไปมา
เพราะต้องการหาท่าที่หายใจได้สะดวก
แน่นอน แม่ก็จะไม่ได้นอนไปด้วย 😅😅
จากเด็กเป็นหวัดแค่คนเดียว
อาจจะเป็นวาระของบ้านเลยทีเดียว
● ตอนกลางคืน ตอนนอน น้ำมูกจะไหลลงคอ ทำให้ไอตอนกลางคืน เด็กพยายามจะเค้นน้ำมูกที่ไหลลงคอ เมื่อไอมากๆ อาจจะอาเจียนได้
.
ดังนั้น วิธีการแก้ไข ก็ต้องช่วยลดการบวม และ
ช่วยให้น้ำมูกเคลียร์ออกจากโพรงจมูกได้ดีขึ้น
ไม่ใช่วิธีการหรูหราอะไร
❤คือการใช้น้ำเกลือ หยดจมูก หรือล้างจมูกให้ลูก
- ลองกลับไปอ่านเรื่อง #การล้างจมูกในเด็ก ดูนะคะ
- ถ้าเด็กเล็กมาก คอยังไม่แข็ง แนะนำหยดน้ำเกลือลงจมูก ข้างละ 2-3 หยด
- สรีระของโพรงจมูก เหมือนถ้ำ ทางเข้าดูเหมือนเล็ก แต่ข้างในเป็นโพรงขนาดใหญ่ ดังนั้นไม่ต้องกังวลน้ำเกลือ 2-3 หยด ไม่ได้ทำให้เด็กสำลัก
หากแม่ใช่ลูกยางแดง ดูดให้ได้ด้วย จะดีค่ะ แต่ถ้าไม่ได้ ไม่เป็นไร แค่หยดก็ดีมากแล้ว
น้ำเกลือจะไปชะล้างน้ำมูกที่ค้างในโพรง
ให้ไหลลงไป แล้วเด็กจะกลืนลงกระเพาะ
ซึ่ง เป็นกลไกการกำจัดน้ำมูกของร่างกายอยู่แล้วค่ะ ในกระเพาะมีกรดรุนแรง ฆ่าเชื้อได้ค่ะ
แต่ถ้าโตหน่อยหรือ เคยฝึกการล้างจมูก
ก็ล้างให้ได้ค่ะ
👉#ใช้น้ำเกลือได้บ่อยแค่ไหน
ถ้าเป็นเด็กเล็ก แนะนำหยดจมูกให้ลูก
ก่อนมื้อนมทุกมื้อ ทำให้เค้ากินนมได้ดีขึ้น
ถ้าเป็นเด็กโตหน่อย เช่น 1-2 ปี
อาจจะล้างจมูห เช้า-ก่อนเข้านอน เค้าจะหลับได้ดีขึ้นค่ะ
👉#ให้ลูกกินยาลดน้ำมูกดีมั้ย
ส่วนตัว..หมอไม่ให้ยาลดน้ำมูกในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีค่ะ
เหตุผลคือ ยาลดน้ำมูกคือกลุ่ม anti-histamine ไม่ได้ช่วยลดการอักเสบของโพรงจมูก
แต่มีผลทำให้น้ำมูกข้นขึ้น
ซึ่งถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่
ที่สั่งน้ำมูกเป็น ไอได้ดีแล้ว
การที่น้ำมูกเหลว หยดตลอดเวลา
เป็นอาการที่น่ารำคาญ
การกินยากลุ่มนี้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากขึ้น
แต่ในเด็กเล็ก การที่น้ำมูก หรือเสมหะข้นขึ้น
มีความเสี่ยง
เพราะเค้าไม่สามารถขับน้ำมูกหรือเสมหะ
ออกไปจากบริเวณจมูกหรือหลอดลมได้
บางคนไอหนักมากขึ้นหลังกินยา
และมีรายงานว่ามีความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม
สรุป หมอไม่ให้ค่ะ หมอแนะนำการหยดน้ำเกลือ หรือใช้น้ำเกลือล้างจมูกดีกว่า
👉#ต้องให้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
ไม่จำเป็นเลยค่ะ
เพราะให้ไปนอกจากไม่เกิดประโยชน์
ยังอาจจะเป็นโทษอีกด้วย
(เราน่าจะมีแคมเปญรณรงค์เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอย่างจริงจังมากกว่านี้เสียทีนะคะ)
.
ถ้าใครมีลูกเล็ก และเป็นหวัดในตอนนี้
อ่านแล้วจะได้เข้าใจลูกมากขึ้นนะคะ
อาการหวัดใช้เวลาในการหายเอง 7-10 วัน
การรักษาก็คือ ทำอย่างไรให้คนไข้รู้สึกสบายตัว
ลองทำวิธีที่หมอแนะนำ อาจจะช่วยบรรเทาอาการให้หนูน้อยได้บ้างค่ะ
.
หายเร็วๆนะเด็กๆ
.
หมอแพม
นานๆจะเขียนเรื่องงานของตัวเองสักที
「การล้างจมูกในเด็ก」的推薦目錄:
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 วิธีล้างจมูกเด็ก และข้อควรรู้ในการล้างจมูกเด็ก ง่ายๆ 5 นาที - YouTube 的評價
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 ล้างจมูกอย่างไรให้ปลอดภัยในวัยเด็ก l RAMA CHANNEL - YouTube 的評價
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 เทคนิคการล้างจมูกในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป - Facebook 的評價
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 สาธิตการล้างจมูกลูกแบบปลอดภัย ⭐️สำหรับเด็กอายุ 0-6 เดือน⭐️... 的評價
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 คุยกับหมอภูมิแพ้เด็ก by Dr.Mai - #การล้างจมูกแบบ ... - Facebook 的評價
- 關於การล้างจมูกในเด็ก 在 วิธีการล้างจมูก..ที่ถูกต้องสำหรับเด็ก - กุมารเวชกรรม - Facebook 的評價
การล้างจมูกในเด็ก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับเรื่องล้างจมูกในเด็ก
.
ใครไม่เคยอ่านเรื่องการล้างจมูกในเด็ก
ให้ไปอ่านโพสต์เก่าๆก่อนนะคะ
#การล้างจมูกในเด็ก ตาม link ด้านล่าง
https://m.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/430430427291656/?type=3
#เล่าเรื่องล้างจมูก1
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=781602182174477&id=332559453745421
#เล่าเรื่องล้างจมูก2
https://m.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/430430427291656/?type=3
--------
Q: มีคนบอกว่า อย่าล้างจมูกลูก จะทำให้เป็นแก้วหูอักเสบ
A: คำถามนี้ มีคนถามหมอตลอดเลยค่ะ หมอก็หาคำตอบ โดยการรวบรวมงานวิจัยต่างๆ
คำตอบคือ #ไม่พบว่าการล้างจมูก เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดแก้วหูอักเสบได้มากขึ้นนะคะ
ในทางตรงข้าม พบว่าการล้างจมูก
ช่วยทำให้หายเร็วขึ้นด้วยซ้ำไป
แต่จากประสบการณ์รักษาคนไข้ หมอเข้าใจว่า ความเข้าใจผิดเกิดจาก
👉1.เวลาล้างจมูกเด็กบางคน บ่นเจ็บหู หรือหูอื้อ
เกิดขึ้นได้แน่นอนค่ะ เพราะหูของเรามีท่อเชื่อมกับจมูก ชื่อ Eustachain tube ทำหน้าที่ระบายน้ำที่สร้างจากหูมาทิ้งที่จมูก และเป็นหนึ่งในกลไกควบคุมความดันของกระโหลกด้วย
เหมือนเวลาเครื่องบินขึ้น เราหูอื้อ เราอ้าปาก จะดีขึ้น
เวลาล้างจมูก ถ้าเราดันน้ำเกลือ แรงเกินไป ทำให้น้ำขึ้นไปดันท่อนี้ ทำให้เรารู้สึกหูอื้อ หรือบางคนรู้สึกเจ็บ
วิธีแก้ไข คือ หมอให้ #ค่อยๆดันน้ำเกลืออย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ต้อง push แรงๆนะคะ
👉2.เด็กเป็นหวัด หมอให้ล้างจมูก ถัดมาเด็กเป็นหูอักเสบ พ่อแม่ ก็จะโทษว่า อ๋อ เพราะล้างจมูก จากหวัดเลยพัฒนาเป็นหูอักเสบ.....#นี่คือความรู้สึกแต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ความจริงคือ ถ้าเด็กเป็นหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ จะมีเด็กประมาณ 1 ใน 3 ติดเชื้อที่หูชั้นกลาง
คำอธิบายคือ #เมื่อเป็นหวัดนาน แปลว่า เยื่อบุจมูกบวม ท่อต่อจากหูเพื่อระบายน้ำทิ้งที่จมูก ที่หมอเล่าปลายท่อที่ต่อกับจมููกตัน ระบายน้ำไม่ได้....อย่างที่เรารู้นะคะ น้ำขังจะกลายเป็นน้ำเน่า...ในร่างกายก็เช่นกัน เมื่อระบายน้ำได้น้อยลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การที่ล้างจมูก แล้วกลายเป็นหูอักเสบนั้น เรียกว่า เป็นเหตุร่วม (co-incidence) แต่ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกันนะคะ
-------
Q: ล้างจมูก ทำให้เป็นไซนัสอักเสบ
A: จากงานวิจัย ไม่พบว่า การล้างจมูกทำให้เป็นไซนัสอักเสบ
การล้างจมูก เป็นหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยไซนัสอักเสบ
ไซนัสเองก็มีท่อต่อกับจมูกเช่นกัน
พบว่า หากเราดันน้ำเกลือแรงเกินไป ทำให้มีน้ำเกลือบางส่วน เข้าไปตกค้างในไซนัสได้ แต่ก็ไม่พบว่า ผู้ป่วยมีไซนัสเพิ่มขึ้น แม้จะมีน้ำเกลือตกค้างในไซนัสบ้าง
ดังนั้น การแก้ไขคือ อย่าดันน้ำเกลือแรง
----------
ข้อแนะนำในการล้างจมูกก็คือ
ให้ค่อยๆดันน้ำอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ต้องดันแรงๆ
เพราะอาการหูอื้อ จะทำให้เด็กมีประสบการณ์เลวร้ายกับการล้างจมูก ครั้งต่อไปเค้าจะไม่ยอม
.
และสรุปคือ ความเชื่อว่าล้างจมูกทำให้เป็นหูอักเสบ และไซนัสอักเสบ ไม่เป็นความจริงนะคะ
....
หมอแพม
Cr ภาพ No-Te Eksarunchai
ช่วงนี้ อยากเขียนเรื่องการดูแลสุขภาพเด็กๆ
เพื่อเป็นหนึ่งข้อมูล ช่วยให้พ่อแม่ดูแลเด็กเจ็บป่วยได้เองที่บ้าน
การล้างจมูกในเด็ก 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的精選貼文
#สรุปอาการที่ต้องพาลูกมารพ.
.
สัปดาห์ที่ผ่านมา
หมอได้ตรวจเคส ผู้ป่วยเด็ก ที่ต้องมาโรงพยาบาล
เพราะความกังวลของผู้เลี้ยงดู หลายเคสมากๆ
ในที่นี้หมายถึง ในภาวะปกติ เค้าคงไม่พาลูกมาตรวจ
พามาตรวจ เพราะอยากให้หมอบอกให้สบายใจว่า ไม่ใช่ COVID
แต่พามารพ. ในเพลานี้
คือ #สถานที่เสี่ยง กับการติด COVID-19
(มีข้อมูลจากจีน เคสปอดอักเสบ 138 ราย
พบว่า 41% ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากมารพ.นะคะ)
.
เอาอย่างนี้นะคะ!
ถึงทางการแพทย์จะยังรู้จักเจ้า COVID-19 ไม่มาก
แต่ข้อมูลที่ตรงกันคือ
#คนไข้เด็กอายุน้อยกว่า_15ปี_มีอาการไม่รุนแรง
และอัตราการตายในเด็กแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว เป็น 0
#ความน่ากลัวของคนไข้เด็กอยู่ที่_เค้าจะเป็นตัวกลางแพร่เชื้อให้คนอื่นในครอบครัว
เพราะเด็กแสดงอาการน้อยมาก
และเด็กๆทุกบ้าน อยู่ไม่ได้โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
ถ้าเชื้อจากเด็กไปติดผู้สูงอายุ
จะทำให้เกิดเคสอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นมา
เพราะฉะนั้น....ให้ลูกอยู่บ้าน ดีที่สุด
ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านจริงๆ ตกลงกับลูกให้เข้าใจว่า
ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอด และต้องล้างมือ
อย่าเอามือไปจับสิ่งต่างๆ ห้ามจับใบหน้า
(ซึ่งยากมาก...สำหรับเด็ก)
.
ถ้าตอนนี้ลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย
เป็นโอกาสดีแล้วค่ะ ที่เราจะได้ฝึกทักษะการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
หมอมี link ที่เคยเขียนเอาไว้ให้
1.เด็กเป็นหวัด
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/382999938701372?__tn__=H-R
และ
https://www.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/620205558314141/?type=3&theater
2.ท้องเสียถ่ายเหลว
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/391226954545337
และเรื่องเกี่ยวกับเกลือแร่ ORS
https://www.facebook.com/search/posts/?q=ORS&epa=FILTERS&filters=eyJycF9hdXRob3IiOiJ7XCJuYW1lXCI6XCJhdXRob3JcIixcImFyZ3NcIjpcIjMzMjU1OTQ1Mzc0NTQyMVwifSJ9
3.ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ไข้”
https://www.facebook.com/watch/?v=435122763489089
4.ไข้สูงแล้วชัก
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/383853181949381?__xts__[0]=68.ARDzqCDijN5X9mJZFVdrSZsdn51eJMMeBDEXeeLAY7NWxk5Ot0vCB6tgI4mVQxnQr_yRITgkIpf0J6Z7NLy_C51pcdrOVdJWTlMlMTE7xNutsLktVBJMbQLaW00ruIuH9546UWxj5bTlzKSUSVHwqznV6zBrZb8OmVAji72O6qPpN3lf3XgSGuV6dsjInaNcHMYIGCSSUNc8WM3ugYc2TUoJkmZUkCqTO_lJyevJYT4srQ2YQEahIuTHek7ufG8hRzV8lr1rK_o-10cUw1MRp8mkQNXaARVtgS13z45zcaSVFtdZ8yIcKPrwjDkM1dG1LZDnf7bjhs_2SzxbDahHGSs&__tn__=-R
5.การล้างจมูกในเด็ก
https://www.facebook.com/drpambookclub/photos/a.334724846862215/430430427291656/?type=3&theater
6.การไอในเด็ก
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/456134144721284
คุณพ่อคุณแม่ลองอ่าน และทำความเข้าใจดูนะคะ
❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤
ที่นี้ ถ้าเราสงสัยว่า
#แล้วเมื่อไหร่ที่เราต้องพาลูกที่ป่วยไปหาหมอ
หมอจะแยกตามอาการสำคัญนะคะ
👉1.โรคทางเดินหายใจ
ร้อยละ 90 ของเด็กเล็กเกิดจากไวรัส
มักมีอาการหวัดก่อน
ซึ่งไข้จะไม่สูงมาก มีน้ำมูก
ไอเล็กน้อยเพราะน้ำมูกกับเสมหะหยดลงคอ
Character ของเด็กคือ กลางวันเล่นได้ กินได้ ไข้ต่ำ
พอกลางคืน เริ่มซม ไข้สูงขึ้น
ซึ่งอาการจะหนักในช่วงวันที่ 2-4 หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นแต่ถ้ามีอาการดังนี้ ก็ควรพามาหาหมอ
-ไข้สูงตลอดเวลา กลางวันจากที่เคยเล่นได้กินได้ ก็ซมพอๆกับกลางคืน
- กินนม กินอาหาร กินน้ำได้ลดลง (กินได้น้อยกว่า 50%ของ baseline)
- หายใจแรง ตอนหลับหายใจอกกระเพื่อมแรง อกบุ๋ม --> แบบนี้ระวังว่าการติดเชื้อลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง
- เป็นหวัด โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย นานเกิน 7 วัน (ย้ำว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยมีแต่ทรงกับทรุดเกิน 7 วัน) -->มีภาวะแทรกซ้อนของหวัด เช่น หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมในร่างกาย
-หายใจลำบาก
❤❤❤❤❤❤
👉2.ไข้สูงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นร่วม
นิยามของไข้ในเด็ก คืออุณหภูมิมากกว่า 37.5 C
ถ้าไข้อยู่ในช่วง 37.6-38 C แต่ยังเล่นได้ ยังกินอาหารได้ปกติ
ให้เช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไป และดูอาการไปก่อน
เด็กต่อไปนี้ควรมาพบแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน ที่แม่วัดว่ามีไข้ > 37.5C ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยที่ไม่ได้เกิดจากการห่อตัวที่หนาเกินไป
หรือ ห้องอุณหภูมิร้อนเกินไป (ทารกยังปรับอุณภูมิกายไม่เก่ง สิ่งแวดล้อมสำคัญ) ต้องพามาพบกุมารแพทย์
- เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ที่ไข้สูงลอย แม้จะกินยาลดไข้ หรือเช็ดตัว (อย่างเต็มที่) ก็ไม่สามารถทำให้อุณภูมิกาย < 38 C ได้เลย
- เด็กมีไข้ ร่วมกับ ซึมมาก จากที่เคยเล่นไม่เล่น เคยกิน ไม่กิน
- เด็กทุกอายุ เป็นไข้สูงอย่างเดียว นานเกิน 72 ชั่วโมง สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก (ด้วยเหตุใดๆก็ตาม)
❤❤❤❤❤❤
👉3. ระบบทางเดินอาหาร
- เด็กที่ถ่ายเหลว หรือ อาเจียน โดยที่ผู้ดูแล ไม่สามารถป้อนน้ำเกลือแร่ ได้ทันกับที่เด็กถ่ายเหลวหรืออาเจียน
ทำให้มีภาวะขาดน้ำปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ซึม ตาโหล ฉี่เข้มมาก ปากแห้ง น้ำลายเหนียว --> ต้องมาให้น้ำเกลือแร่ทดแทนเข้าทางเส้นเลือด
- เด็กที่ปวดท้องด้านขวาล่าง ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีไข้ อาเจียน ท้องอืดขึ้น กินอาหารได้น้อยลง -->พามาตรวจเพื่อยืนยันว่ามีภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการผ่าตัดหรือไม่ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
- เด็กที่ปวดท้อง อาเจียน(กินอะไรก็อาเจียน บางครั้งอาเจียนออกมาเป็นน้ำดี คือ น้ำสีเหลืองๆ) ท้องอืดมากกกกกขึ้นเรื่อย -->พามาตรวจประเมินภาวะลำไส้อุดตัน
❤❤❤❤❤❤
👉4.ระบบประสาท
- เด็กที่มีภาวะชัก ครั้งแรก ไม่ว่าจะมีไข้หรือไม่มีไข้
(เด็กชักจากไข้สูง ที่พ่อแม่ “เก่งเรื่องการดูแล”แล้ว ไม่ต้องพามา
ให้กินยาลดไข้ รักษาตามอาการ ยกเว้นมีอาการที่เข้าได้กับคำแนะนำที่หมอบอกว่าให้มาตรวจ)
- เด็กที่มีการชักนานเกิน 15 นาที หรือ ชักไม่นาน แต่ชักซ้ำๆหลายรอบใน 1 วัน
-มีการเปลี่ยนแปลงของระดับสติสัมปชัญญะ ที่เรารู้สึกว่า ไม่ได้มาจากแค่ไข้อย่างเดียว
❤❤❤❤❤❤
👉5.อื่นๆ
เด็กที่มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่มักมีความชำนาญ และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกได้
ถ้ารู้สึกว่าอาการลูกแย่ลง
อาการแย่มาก ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
อาการรอได้ ลองโทรหาคลินิกที่รักษาประจำก่อนเบื้องต้น พยาบาลจะปรึกษาหมอให้ว่าควรทำอะไร
แต่โดยส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้ติดตามการรักษาที่คลินิกเฉพาะทาง เพราะฉะนั้น ต้องถามข้อมูลว่าคุณหมอประจำออกตรวจมั้ย หรือ จะพบคุณหมอ ได้วันไหนบ้าง
❤❤❤❤❤❤
6. เรื่องฉีดวัคซีน
อ่านที่หมออร สรุปเลยละกันนะคะ
https://www.facebook.com/113780158959315/posts/1106160919721229/
==================
หมอหวังว่าข้อมูลจะพอช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ได้บ้างนะคะ
หากมีคำถาม ถามใน comment ถ้าหมอตอบได้ (หมายถึงมีทั้งเวลาและความรู้เพียงพอ)จะตอบให้ค่ะ
👉👉👉👉👉👉👉👉
หมอแพม
(พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ
และเวชบำบัดวิกฤติ)
การล้างจมูกในเด็ก 在 ล้างจมูกอย่างไรให้ปลอดภัยในวัยเด็ก l RAMA CHANNEL - YouTube 的推薦與評價
การล้างจมูก คือการทำความสะอาดโพรงจมูก ที่นอกจากจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะ ใน วัย เด็ก นั้น ... ... <看更多>
การล้างจมูกในเด็ก 在 เทคนิคการล้างจมูกในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป - Facebook 的推薦與評價
ประโยชน์ของ การล้างจมูก ด้วยน้ำเกลือ ใน ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ❣️... | By Maesot-Ram Hospital โรงพยาบาลแม่สอดราม | Facebook ... ... <看更多>
การล้างจมูกในเด็ก 在 วิธีล้างจมูกเด็ก และข้อควรรู้ในการล้างจมูกเด็ก ง่ายๆ 5 นาที - YouTube 的推薦與評價
วิธีล้างจมูก เด็ก และข้อควรรู้ ในการล้างจมูกเด็ก ง่ายๆ 5 นาที. เพ่ยกับเรื่องสุขภาพ. เพ่ยกับเรื่องสุขภาพ. 58.3K subscribers. Subscribe. ... <看更多>