วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅MROST,也在其Youtube影片中提到,Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM ★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1 ★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/ ★ ...
「ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ」的推薦目錄:
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 的最佳貼文
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 Capt.Benz Facebook 的最佳貼文
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最讚貼文
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 MROST Youtube 的最佳解答
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย ... 的評價
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออะไร ? #beartaibrief #นายก ... - YouTube 的評價
- 關於ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 "ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" โดย เขมรังสี ภิกขุ วัดมเหยงคณ์ จ ... 的評價
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 Capt.Benz Facebook 的最佳貼文
Ep.60 - " มรรค 8 ภาษาคน"
.
ถ้าคนพูดเรื่องมรรคนะ
แค่พูดก็หลับแล้ว
ได้ยินมรรคปุ๊บ
“มาแล้ว”
“มาอีก 8 ตัว”
.
จริง ๆ
ไม่ได้ยากเย็น
อะไรขนาดนั้นเลย
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
.
ทุกข์คือมันทนไม่ได้
ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพไป
มันต้องเปลี่ยนแปลง
อะไรบางอย่างแล้ว
.
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
มี ’ทุกข์’ ปุ๊บ
ไปหาเหตุของมัน
“คุณไปทำอะไรมาล่ะ?”
“คุณถึงทุกข์แบบนี้”
นี่คือ ‘สมุทัย’
พอรู้สาเหตุแล้ว
โอเค..
“แล้วคุณต้องการยังไงล่ะ”
.
นี่คือ ‘นิโรธ’
นิโรธไม่ได้หมายความว่านิพพาน
ต้องแบบบรรลุเท่านั้น
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิพพาน มรรค
ท่านบอก
“ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
.
นิโรธก็คือ
คุณมีทุกข์อะไร
คุณอยากดับในสิ่งนั้น
นั่นคือนิโรธ
นั่นคือการตั้งเป้าหมาย
นั่นคือ goal
.
มรรค คือ วิธี
ซึ่งวิธีในการดับทุกข์
พระพุทธเจ้าให้ไว้
8 step
8 step แบบหยาบ ๆ นะ
ไม่ใช่ละเอียดนะ
ละเอียดนี่ต้องลงลึกกันอีก
.
อย่างแรกเลย
‘สัมมาทิฏฐิ’
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
ความเห็นชอบก็คือ
เรารู้แล้ว
เราจะเอาสิ่งนี้
เราจะหมดทุกข์กับเรื่องนี้
.
เราจะเลิกทุกข์
กับเรื่องความจน
ความเจ็บป่วย
ถ้าสมมุติว่าเป็นความเจ็บป่วย
.
เรารู้เลยว่า
ทำไงไม่ให้เจ็บป่วย?
ออกกำลังกาย
กินของดีมีประโยชน์
.
เราต้องเห็นก่อน
ทิฎฐิ คือ ความเห็น
vision ต้องชัดเจนก่อนว่า
.
“เฮ้ย…”
“ฉันจะเอาสิ่งนี้แน่ ๆ”
แล้วหลังจากนั้น
ก็ไปหา step ที่สอง
‘สัมมาสังกัปปะ’
อันนี้สำคัญมาก
สัมมาสังกัปปะ
คือไปหาความคิดดี ๆ
มันคือไปหา mindset ที่ถูกต้องมา
.
เหมือนคนจะ live อย่างงี้
บอก “โห…
ฉันต้อง live
ฉันต้องทำคลิปวิดิโอ
แต่เรามี mindset ที่ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการทำ live
การทำวิดิโอ
.
คุณกลัวว่าคนจะด่าคนจะว่า
คุณต้องไปหา mindset
ที่ถูกต้องว่า
การออกมาทำออนไลน์
การออกมาทำอย่างนี้อย่างนั้น
มันไม่น่าอาย
จริง ๆ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
.
ต่อไป step ต่อมา
มันก็คือ
‘สัมมาวาจา’
มันก็คือต้องสื่อสารกับตัวเอง
สื่อสารว่าเราเอาแน่
สิ่งนี้เราเอาแน่
สื่อสารกับตัวเองว่า
ยังไงเราก็จะไปทางนี้แน่นอน
เราจะ live แน่นอน
เราจะออกกำลังกายแน่นอน
เราจะกินของดีมีประโยชน์แน่นอน
.
แล้วสื่อสารกับคนอื่นด้วย
นี่คือสัมมาวาจา
นี่คือ communication
สื่อสารกับคนอื่นคือยังไง
คนที่หยิบยื่นบางอย่าง
ที่คุ้นเคยมาให้เรา
เช่น
เราบอกว่าตอนนี้
เราอยากที่จะมี
สุขภาพที่ดี
แต่เพื่อนคนนึง
มันชอบชวนกินไอติม
ตลอดเวลา
.
เราก็ต้องกล้าบอกว่า
“เฮ้ย...ไม่กินละ”
“เราอยากมีสุขภาพร่างกายที่ดี”
นี่คือสัมมาวาจา
ต้องสื่อสาร
.
แล้วมันจะไป step ที่ 4
คือ ‘สัมมากัมมันตะ’
คุณจะต้องลงมือทำ
ในสิ่งที่คุณตั้งใจปรารถนาด้วย
กัมมันตะอย่างเดียวไม่พอ
.
ตั้งใจจริง ๆ นะ
คุณจะต้องมี
‘สัมมาอาชีวะ’
ทำอะไร
คุณจะต้องแลกเปลี่ยนชอบ
ไม่กระทบ
ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ไม่โกงเขา
ไม่หลอกลวงเขา
สัมมาอาชีวะคือ
เลี้ยงชีพชอบ
เลี้ยงชีพคือการแลกเปลี่ยนไง
คุณต้องไม่โกงอะ
ชั่งตวงวัด
มันต้องชัดเจน
ถูกปะ?
.
มันมิจฉาตัวนึงปุ๊บ
มันพังหมด
พอสัมมาอาชีวะเสร็จปุ๊บ
อยู่ใน way นั้น
.
นั่นคือ
‘สัมมาวายามะ’
คือเพียรพยายาม
ทำ ไม่เลิก
ไม่สำเร็จไม่เลิก
แล้วก็สัมมาสติ
วัดผลด้วยว่าสิ่งที่เรา
ตั้งแต่เราตั้ง vision
ตั้งแต่เรามี mindset ที่ถูกต้อง
ตั้งแต่เราสื่อสาร
ตั้งแต่เราลงมือทำ
.
ตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนมาเนี่ย
ทำมาขนาดนี้แล้วเนี่ย
กี่วันกี่เดือนแล้วเนี่ย
มันเกิดผลยังไงบ้าง
นั่นคือสัมมาสติ
.
สุดท้าย
ไอ้ 7 อย่างที่ว่ามา
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นนะ
ไม่สำเร็จไม่เลิกนะ
โฟกัสนะ
อย่าวอกแวกนะ
เนี่ย…
คือมรรค 8
กับทุกเรื่อง ใช้ได้หมด
.
มันคือเรื่องธรรมดา
ที่กูรูที่ไหนเขาก็พูดกัน
พระพุทธเจ้าท่านพูดไว้หมดแล้ว
เราตั้งเป้าหมาย
เราก็ไปให้สุด ก็แค่นั้น
.
มรรค 8 เนี่ย
ข้อสำคัญเนี่ย
อยู่ 2 ข้อ
ข้อแรก กับข้อสุดท้าย
ถ้าคุณเป้าหมายชัดเจน
แล้วคุณตั้งมั่นไม่เลิก
ที่เหลือมันเกิดเองนะ
.
ธรรมะเนี่ย
เป็นสิ่งที่เรียบง่ายสุด ๆ
แต่ถูกภาษาบาลี ถูกอะไรก็ไม่รู้
ทำให้มันดูยาก ดูไกล
พูดเรื่องมรรคเป็นไง?
โอ้โห…
หาวใส่หน้าผมเลยอะ
.
แต่ความจริงแล้ว
มันอยู่ในทุกสภาวะของจิตนะ
จะเดินทางไปไหน
นู่นนี่นั่น
.
มรรค 8 เกิดตลอดนะจ๊ะ
เนี่ยอย่างจะกินกาแฟ
เข้ามาเดินในร้านเนี่ย
ผมคิดมาตั้งแต่บ้านละ
ผมจะกินกาแฟ
ใช่ปะ?
.
mindset ที่ถูกต้องคือ
ผมจะกินกาแฟ
ให้อร่อย
กาแฟมีประโยชน์
นี่ mindset
หลอก ๆ ตัวเองนะ
กาแฟมีประโยชน์
.
มาสื่อสาร
มาบอกบาริสต้าไง
มาบอกว่า
“เฮ้ย...ฉันจะกินกาแฟ”
.
การที่เดินมา
นี่คือสัมมากัมมันตะ
ต้องอุตส่าห์เดินทางมาร้านกาแฟ
นี่คือได้ลงมือทำแล้ว
ใช่ปะ?
.
‘แลกเปลี่ยนชอบ’
เขายื่นกาแฟให้เรา
เท่าไหร่
เราก็ยื่นตังค์ให้เขาไป
ถูกปะ?
.
นี่คือแลกเปลี่ยนชอบ
สัมมาอาชีวะ
ความเพียรพยายาม
ก็เดินทางมา
พยายามมั้ยล่ะ?
.
‘สัมมาสติ’
เราก็ต้องวัดผลดู
เป้าหมายที่เราตั้ง
การกินกาแฟเนี่ย
มันคุ้มมั้ย
กับการที่เราออกจากบ้านมา
แล้วมาได้กินกาแฟมีความสุข
พอมั้ย?
.
ถ้าพอ ก็ถูกต้อง
ตัวสุดท้าย
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นกับกาแฟแก้วนี้ไว้
กินไปอย่าให้หก
………………………………………
คือทุกอย่าง
มันอยู่ในชีวิตประจำวันหมด
ธรรมะคืออะไร?
.
บางคนบอก
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
โอเค..
ถูกต้องส่วนนึง
แต่ธรรมะมี 2 ส่วนนะ
ธรรมชาติ
กับธรรมคุณ
.
ธรรมชาติ
ติคือสิ่งที่เกิดเอง
ต้นไม้ใบหญ้า
ภูเขา คน
นี่เกิดเอง
.
แต่ธรรมคุณคือสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
มันคือธรรมะในส่วน value
.
ธรรมะมัน 2 ความหมายนะ
ถ้าเกิดว่าคุณมีธรรมชาติ
แต่คุณไม่มีธรรมคุณ
นี่คุณไม่เต็มคนนะ
#ผู้กองเบนซ์
ปล. ถ้าเกิดว่ามีธรรมชาติ แต่ไม่มีธรรมคุณ นี่คุณไม่เต็มคน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最讚貼文
ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดช่วยอวยพรให้ทุกท่านพบหนทางแห่งการพ้นทุกข์ด้วยความอาจหาญและรื่นเริงในธรรมด้วยเทอญ
พระพุทธรูปปางภัตตกิจ หรือ ปางภุตตากิจ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตร เป็นกิริยาทรงฉันภัตตาหาร
พระพุทธรูปปางนี้เล่าถึงพุทธประวัติ เมื่อครั้งที่ทรงโปรดยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี ซึ่งบิดามารดารักใคร่มากมีปราสาท 3 ฤดูที่บิดามารดาปลูกให้อยู่ พร้อมทั้งหญิงสาวคอยดูแลรับใช้ บำรุงบำเรอด้วยเสียงดนตรี หากยสกุลบุตรนั้นกลับเกิดความเบื่อหน่าย จนหนีออกจากเรือนและเดินพร่ำบ่นว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" ไปตลอดทาง จนเข้าเขตป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ทรงได้ยินเสียงยสมาณพอุทานเช่นนั้น จึงตรัสแก่ยสกุลบุตรว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญมาที่นี่ เราจะแสดงธรรมแก่เธอ"
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ
ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ ปลอดจากนิวรณ์แล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยสกุลบุตรก็มีดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุโสดาปัตติผล
ฝ่ายมารดายสกุลบุตร ขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูกชาย ก็ร้องไห้คร่ำครวญมาบอกให้เศรษฐีผู้เป็นสามีทราบว่าบุตรชายหายไป ท่านเศรษฐีให้คนออกติดตามทั้ง 4 ทิศ และตนเองก็ออกตามหาด้วย ท่านเศรษฐีผ่านไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และเห็นรองเท้าที่ยสะถอดทิ้งไว้ก็จำได้ จึงตามลูกชายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 โปรดท่านเศรษฐีเช่นเดียวกับที่โปรดยสมาณพ เมื่อพระพุทธองค์เทศนาจบ ท่านเศรษฐีก็บรรลุโสดาปัตติผล และแสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกคนแรกในโลกที่ถึงซึ่งพระรัตนตรัย ส่วนยสกุลบุตรเมื่อได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 ซ้ำอีกครั้ง ก็บรรลุอรหัตตผล
ท่านเศรษฐีไม่ทราบว่าบุตรชายเป็นพระอรหันต์แล้วจึงกล่าวว่า ยสะ มารดาของเจ้ากำลังร่ำไห้รำพันถึงเจ้าอยู่ เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด ยสมาณพยกสายตาที่ทอดอยู่ในเบื้องต่ำขึ้นมองดูพระศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสกับท่านเศรษฐีว่า บัดนี้ ยสะได้ทรงอรหัตตคุณแล้ว หาควรที่จะไปครองเรือนต่อไปไม่
ท่านเศรษฐีจึงกราบทูล ขอให้พระผู้มีพระภาคและยสะไปรับบิณฑบาตในเรือนของท่านเศรษฐีในเช้าวันนั้น พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา จากนั้นท่านเศรษฐีก็ถวายบังคมลากลับไปที่เรือน แล้วแจ้งเรื่องทั้งหมดให้ภรรยาและสะใภ้ทราบ พร้อมกับให้จัดภัตตาหารเพื่อถวายพระพุทธองค์
เมื่อเศรษฐีผู้เป็นบิดากลับไปแล้วไม่นาน ยสกุลบุตรได้ทูลขอบรรพชาเป็นภิกษุในพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” และตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”
ในเวลาเช้าวันนั้น พระพุทธเจ้าและพระยสะ เสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐีตามคำอาราธนา มารดาและภรรยาของพระยสะเข้าไปเฝ้า พระองค์ทรงแสดงธรรมอนุปุพพิกถาและอริยสัจ 4 โปรดให้สตรีทั้งสองบรรลุพระโสดาปัตติผล และเป็นอุบาสิกา 2 คนแรกในโลก
ครั้งถึงเวลาฉันภัตตาหาร ท่านเศรษฐีและภรรยา รวมทั้งภรรยาของพระยสะ น้อมถวายอาหารอันประณีต พระศาสดาทรงรับด้วยบาตร ทรงทำภัตตากิจ ฉันอาหารบิณฑบาตนั้นแล้วตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนชนทั้ง 3 ให้อาจหาญรื่นเริงในธรรม แล้วเสด็จกลับยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
พระพุทธจริยาที่ทรงทำภัตตกิจฉันอาหารบิณฑบาตครั้งนี้ ทรงทำครั้งแรกในบ้าน เป็นแบบอย่างให้มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ในบ้านสืบมาจนบัดนี้ เป็นเหตุให้มีสร้างพระพุทธรูปปางนี้ และเรียกว่า "ปางภัตตกิจ" หรือ " ปางภุตตากิจ" นั่นเอง
Cr.pic FB
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 MROST Youtube 的最佳解答
Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM
★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1
★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/
★ Facebook: https://www.facebook.com/MYMROST
★ Twitter: https://twitter.com/OkaySalt
★ Youtube: https://www.youtube.com/c/mrost
ชีวิต, คิดสั้น, #ความหมายของชีวิต #กำลังใจ, ทำไมชีวิตคนบางคนถึงมี #ความสุข อยู่ตลอดเวลา ขณะที่บางคนทุกข์อยู่, ทำไมชีวิตมีแต่ความทุกข์ยาก? ชีวิต มี แต่ ทุกข์ ชีวิตไม่มีความสุขเลย ไม่ชอบชีวิตตอนนี้เลย, ชีวิตมันยาก
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออะไร ? #beartaibrief #นายก ... - YouTube 的推薦與評價
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ อะไร ? #beartaibrief #นายก #นายกประยุทธ์ #ประยุทธ์ #ทุกข์ #ประยุทธ. 679 views 2 months ago. ... <看更多>
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 "ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" โดย เขมรังสี ภิกขุ วัดมเหยงคณ์ จ ... 的推薦與評價
Facebook : https://www.facebook.com/watmahaeyongWebsite : http://www.watmahaeyong.or.the-mail : watmahaeyong@gmail. ... <看更多>
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ 在 อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย ... 的推薦與評價
อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ... 4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง มี ... ... <看更多>