กรณีศึกษา ครั้งแรกในเมืองไทย ที่คนทั่วไปสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต /โดย ลงทุนแมน
อุณหภูมิของโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละราว ๆ 0.6-0.9 องศาเซลเซียส
เรื่องนี้หลายคนอาจมองว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรกับตัวเรา
แต่ถ้าบอกว่าอนาคตอันใกล้ โลกที่กำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ
อาจจะสร้างปัญหาเลวร้ายเกินกว่าที่มนุษย์จะรับมือไหว
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก คาดการณ์ว่าในปี 2050
หากโลกยังคงร้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนี้ อาจทำให้หลายเมืองเกิดน้ำท่วมรุนแรง
ผลผลิตทางการเกษตรในหลาย ๆ ประเทศเสียหาย
อัตราการเกิดของสัตว์หลายประเภทน้อยลงและตายมากขึ้นหรืออาจจะสูญพันธุ์
จนเกิดสภาวะขาดแคลนอาหาร
ที่น่ากลัวกว่านั้น ภาวะโลกร้อน ก็มีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้มนุษย์โลก
ต้องเผชิญกับโรคระบาดใหม่ ๆ ซึ่งก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน
พอได้ยินแบบนี้ ก็เริ่มคิดว่าหากเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นจริงในอนาคต
มนุษย์เราจะดำรงชีวิตอยู่กันในแบบไหน ซึ่งน่าจะยังไม่มีใครนึกภาพออก
แล้วสาเหตุที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือมนุษย์ทุกคน
ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำให้หลายประเทศตื่นตัว พร้อมมีมาตรการหลายอย่าง
หนึ่งในนั้นก็คือ คาร์บอนเครดิต
คาร์บอนเครดิต คืออะไร
แล้วรู้หรือไม่ เวลานี้เราทุกคนสามารถซื้อ คาร์บอนเครดิต ได้แล้ว
เรื่องราวทั้งหมด น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามารู้จักที่มาของการเกิด “คาร์บอนเครดิต” กันก่อน
ในปี 1997 ได้เกิดการลงนามในพิธีสารโตเกียว โดยมี 37 ประเทศเข้าร่วมพิธีนี้
พร้อมวางเป้าหมายว่าในแต่ละปี ประเทศตัวเองจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่เท่าไร
พร้อมมีมาตรการทางภาษีสำหรับบริษัทที่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกเกินกว่าที่ทางรัฐบาลกำหนด
ซึ่งตอนนั้นหลายประเทศคงเริ่มรู้สึกตัวแล้วว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงในอนาคต
จนต่อมาในปี 2015 ได้เกิดคำว่า “คาร์บอนเครดิต”
เมื่อการประชุมที่ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส ทุกประเทศมีเป้าหมายร่วมกันคือ
รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
หนึ่งในมาตรการที่เกิดขึ้นก็คือการซื้อ-ขาย “คาร์บอนเครดิต”
โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ หากบริษัทใดลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด
ก็สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ที่เหลือให้บริษัทอื่น ๆ
ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด นั่นเอง
นั่นแปลว่าหากบริษัทไหนต้องการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นจำนวนมาก
ก็จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากบริษัทอื่น
ส่วนทางฝั่งบริษัทที่เป็นผู้ขายก็จะนำเงินที่ได้ มาพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าตัวเอง
ที่เน้นใช้พลังงานสีเขียวหรือพลังงานสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งโมเดลนี้ จะส่งผลให้บริษัทที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยอยู่แล้ว
ก็จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ก้าวไปสู่ Net Zero หรือค่าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ส่วนบริษัทไหนที่ไม่อยากมีต้นทุนทางธุรกิจเพิ่ม ก็หันมาเคร่งครัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ
ในกระบวนการผลิตและอื่น ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ภาพรวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยลงเรื่อย ๆ
โดยโมเดลนี้ก็ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก
อย่างเช่น สหภาพยุโรป, ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในภาคบังคับ
ส่วนในประเทศไทยนั้นเป็น ตลาดสมัครใจ
คือเป็นการซื้อ-ขายที่ไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับจากทางภาครัฐ
โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดในเรื่องคาร์บอนเครดิต
ก็คือ การก่อตั้ง Carbon Markets Club นำโดย กลุ่มบริษัทบางจากฯ พร้อมด้วยความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยมาเข้าร่วม ได้แก่ กฟผ., เครือเจริญโภคภัณฑ์, เชลล์, บีทีเอส กรุ๊ป, เต็ดตรา แพ้ค, บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีฯ
11 บริษัทนี้ก็มาทำการซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต
โดยมีผู้ขายคือ บริษัท บีซีพีจี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีราคาขายอยู่ที่ 25 บาทต่อ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2e)
และเพียงวันแรกที่เปิดตลาดซื้อ-ขายกันนั้นมีมูลค่ารวม 2,564 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่ 298,140 ต้น หรือคิดเป็น 1,491 ไร่
ที่น่าสนใจก็คือ Carbon Markets Club ที่เกิดขึ้นครั้งนี้
ยังช่วยประสานงานการขายให้แก่คนทั่วไปที่ต้องการซื้อ คาร์บอนเครดิต จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรืออบก. อีกด้วย
รู้หรือไม่ว่า ค่าเฉลี่ยคนไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ 3.77 ตันต่อคน
โดยตัวเลขนี้จะเป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยจากภาคการผลิตและภาคขนส่งของประเทศ
ที่ในปี 2020 มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ รวมกัน 224.3 ล้านตัน
โดยแบ่งเป็นภาคการผลิตไฟฟ้า 40% ภาคอุตสาหกรรม 29% ภาคขนส่ง 25%
ที่เหลือคือภาคธุรกิจอื่น ๆ 6%
ข้อมูลตรงนี้ ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ใน 1 วันตัวเราเองก็เป็นผู้ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนฯ
เพราะเราต้องใช้ไฟฟ้าและเดินทางบนท้องถนนอยู่เป็นประจำ
ซึ่งหากใครที่สนใจเข้าร่วม Carbon Markets Club หรืออยากจะซื้อคาร์บอนเครดิต
ก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่กลุ่มบางจากฯ
ทีนี้หลายคนคงถามว่า แล้วเงินที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิตถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไร ?
คำตอบก็คือ นอกจากจะนำไปใช้ในเรื่องพัฒนาสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น
เงินอีกก้อนก็จะถูกนำไปใช้พัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะสามารถนำใบรับรองการซื้อคาร์บอนเครดิต
ไปลดหย่อนภาษีได้อีกต่างหาก
ทีนี้ก็น่าจะทำให้เกิดคำถามว่า ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ ?
เรื่องนี้ก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองและความสมัครใจของแต่ละคน
ส่วนในมุมของ ลงทุนแมน เรื่องนี้อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
เพราะสิ่งที่อยากสื่อสารตั้งแต่ตัวอักษรแรกในบทความนี้
คือต้องการจะบอกทุกคนว่า ที่ผ่านมาเราต่างรู้สึกกันว่า
ในแต่ละวันที่มีอุณหภูมิร้อนขึ้น เราอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ
แต่ความจริงแล้วปัญหานี้แค่รอเวลาจะ “ระเบิด”
ซึ่งมันจะระเบิดในช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ หรือจะรุ่นลูกรุ่นหลาน คงไม่มีใครตอบได้
แต่ที่แน่ ๆ ภาวะโลกร้อน ณ วันนี้ ยังคงไม่มีทางแก้ไข
สิ่งที่ทำได้แค่เพียง “ซื้อเวลา” ที่จะไม่ให้วิกฤติต่าง ๆ เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.greenpeace.org/thailand/story/1729/1-5degrees/
-https://thaipublica.org/2020/05/2020-to-be-to-hottest-year-heat-reaching-human-tolerance/
-https://urbancreature.co/reenindex-carbondioxide/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921002
-ข่าวประชาสัมพันธ์ Carbon Markets Club
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「carbondioxide」的推薦目錄:
carbondioxide 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最佳貼文
เขียนไปโกรธไป งบสิ่งแวดล้อมปี 65 ครับ
งบลดลงเท่าไหร่
- งบประมาณรัฐบาลด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% จาก 1.6 หมื่นล้าน มาเป็น 8.5 พันล้าน
- คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดจาก 0.49% ของงบประมาณทั้งหมด มาเป็น 0.275 % [ถ้าเทียบกับ EU งบประมาณสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ประมาณ 0.70%]
- 5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ปีนี้ลดลงอย่างน่าตกใจ
- งบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดลงจาก 3หมื่นล้าน เป็น 2.93 หมื่นล้าน ลดลงประมาณ 3.44% ไม่ได้ลดลงเยอะมาก [แต่ก็สะท้อนว่างบในกระทรวงทรัพย์ มีเยอะกว่างบสิ่งแวดล้อมเกือบสามเท่า ถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? เป็นงบบุคลากรเยอะขนาดไหน เอาไปใช้โครงการที่ได้ผลเยอะขนาดไหน ?]
วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่รอการแก้ไข
- ขยะพลาสติกลงทะเล (ประเทศไทยติด top 10 โลก)
- ไฟป่า
- มลพิษทางอากาศ + PM2.5
- การกัดเซาะชายฝั่ง
- วิกฤติน้ำโขง
- เราติด top 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงจาก Climate change มากที่สุดในโลก [อิงจาก Global Climate Risk Index 2021 โดย germanwatch.org]
งบที่ตัดไป มีอะไรบ้าง
- [ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ / เพจ นักสิ่งแวดล้อม Environmentalist ที่ช่วยสรุปมาให้นะครับ
- การกำจัดของเสีย: 1.6 พันล้าน (2562) --> 787 ล้าน (2565) : ปัญหาขยะเรา ตอนนี้วิกฤติมาก มีแต่บ่อขยะที่จัดการไม่ถูกต้องเต็มประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่นิดเดียว ระบบแยกขยะโดยภาครัฐก็ไม่มี [ณ ตอนนี้กระทรวงทรัพฯไม่ได้ดูเรื่องขยะ แต่เป็นมหาดไทย ที่ให้งบผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่ต้องยื่นงบไปเสนอเอง ไม่มีแผนระดับชาติในการจัดการเรื่องนี้ ]
- การควบคุมและกำจัดมลภาวะ: 3.0 พันล้าน (2562) --> 2.3 พันล้าน (2565) : คงไม่ต้องบอกว่าปัญหาฝุ่นเราเยอะและแย่ขนาดไหน โดยเฉพาะในภาคเหนือช่วงไฟป่า [เชียงใหม่ขึ้นอันดับ 1 โลกในบางวัน] รวมถึงการบริหารงานที่ยังกระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆนาๆมากมาย (มหาดไทดูจราจร / อุตสาหกรรมดูโรงงาน / กระทรวงทรัพฯดูป่าสงวนและอุทยาน / สาธารณสุขดุการก่อมลพิษเป็นกรณีๆไป) Clean air Act เมื่อไหร่เราจะมี / และกรมควบคุมมลพิษเมื่อไหร่จะมีอำนาจมากกว่าแค่ "ให้ข้อเสนอแนะกับออกความเห็น" เสียที อยากได้แบบ EPA [environmental protection agency] ของอเมริกา
- การรักษระบบนิเวศวิทยาcละภูมิทัศน์ 3 พันล้าน (2564) ---> 2.6 พันล้าน (2565)
- การวิจัย: 907 ล้าน (2562) --> 0 บาท : ไม่เหลือเลยครับ T T…. (ของปี 64 ก็เป็น 0 เช่นกัน)
- การสิ่งแวดล้อมอื่น: 8.4 พันล้าน (2564) --> 1.7 พันล้าน (2565) : ลดลง 5 เท่า
- รายจ่ายลงทุน: 12.0 พันล้าน (2564) --> 4.9 พันล้าน (2565)
การจัดอันดับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ
- คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยในภาพรวม อันดับ 78 จาก 180 ประเทศ [ส่วน GDP เราอยู่อันดับ 26 ในปี 2020]
- คุณภาพอากาศโดยรวม อันดับ 85 จาก 180 ประเทศ
- ฝุ่นพิษ PM2.5 อันดับ 88 จาก 180 ประเทศ
- มลพิษโอโซนภาคพื้นดิน อันดับ 102 จาก 180 ประเทศ
- การจัดการขยะ อันดับ 84 จาก 180 ประเทศ
- ความไม่ปลอดภัยจากน้ำที่ดื่มกิน อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ
- การบำบัดน้ำเสีย อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ทรัพยากรน้ำ อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ
- ระบบนิเวศ อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ
- ความหลากหลายทางชีวภาพ อันดับ 114 จาก 180 ประเทศ
แล้วงบที่ได้ เอาแผนจะเอาไปทำอะไรบ้าง [สรุปจากการอภิปรายของคุณนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.]
ปัญหาภาพรวม
- ตัวชี้วัดของรัฐตอนนี้ ไม่ได้ผลในการชี้วัด ไปทำ survey ถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าพึงพอใจไหม มากกว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นวิชาการ
- งบประมาณที่ได้น้อยมาก ไม่พอจะตอบโจทย์ที่รัฐบาลเป็นคน set เองด้วยซ้ำ
ตัวอย่างการใช้งบ
-งบประมาณตั้งรับเรื่องโลกร้อน 1.1 พันล้านบาท [900 ล้าน [80.6%] ให้กรมอุตุ ไปซื้อเครื่องมือวัดอากาศอัตโนมัติ / เครื่องวัดลมเฉือน เพื่อการแจ้งเตือน ไม่ใช่เพื่อการแก้ปัญหา /เหลือ 15.4% ให้กระทรวงทรัพฯ ]
- Comment: จริงๆเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม ฝนผิดฤดูกาล ปลาหมดทะเล แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ความเสียหายมันเยอะมาก ได้งบแค่นี้
-เรื่องแก้ปัญหากัดเซาะทะเลชายฝั่ง + จัดการบริหารทรัพยากรทางทะเล
- โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง 1,378.7428 ล้านบาท เป็น 57 โครงการ [ผ่านสามกรม กรมโยธาฯ/กรมเจ้าท่า/กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]
- ส่วนใหญ่เป็นของกรมโยธาฯ 53 โครงการทั้งที่ต่อเนื่องและทำใหม่ เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น !
- งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมอีก 175 ล้านบาท
- Comment: ตอนนี้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เลยกลายเป็นเอะอะอะไรก็ทำกำแพง เพราะทำง่าย โดยไม่ดูความเหมาะสมของพื้นที่ บางพื้นที่ก็นำไปสู่การกัดเซาะของชายหาด เช่นที่หาดม่วงงาม
-งบให้กระทรวงพลังงาน 1.5 พันล้านให้พัฒนาพลังงานสะอาด แต่
- 500 ล้านถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันปาล์มดิบ ของ กฟผ. ซึ่งน้ำมันปาล์มนั้นขึ้นชื่อเรื่องทำลายป่าและสร้างมลพืษ ซึ่งสุดท้ายก็ปล่อย Carbondioxide เหมือนกัน
-Comment: พลังลม Solar EV เมื่อไหร่จะมาเต็มเสียที ประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วในเรื่องนี้
สรุป
ช่วง หลายปีมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างชัดเจน รวมถึง COVID-19 ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน และไม่ว่าโควิดจะหนักหนาขนาดไหน บอกได้เลยว่าโควิดนี้เผาหลอก แต่ตอนโลกร้อนมาเต็มนี้ เผาจริงแน่นนอน ลองคิดภาพโลกที่ฤดูกาลรวนจนปลูกอะไรไม่ได้เลย พายุหนักมาปีละหลายครั้งจนโครงสร้างพื้นฐานเสียภายทั้งระบบ โลกที่อากาศสกปรกจนไม่สามารถหายใจได้ด้วยปอดเปล่าๆอีกต่อไป
แทนที่จะปฏิบัติต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเป็นเรื่องไม่จำเป็น ที่สามารถลดงบครึ่งหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ จริงๆมันควรจะเข้าไปอยู่ในทุกๆมิติของการบริหารประเทศได้แล้ว ตั้งแต่ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุข จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของทุกๆมิติของสังคม และเราเองถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด แต่เราเองเป็นหนึ่งในประทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด และผู้นำเองก็มองการไกลเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เอาเงินไปซื้อรถถังเรือดำน้ำ
และอย่างที่เราเห็นจากโควิด พอภัยพิบัติธรรมชาติมา คนจนคือคนที่เสียหายสุด ไม่มีระบบ support ใดๆ ทางรัฐเองก็แทบไม่มีความสามารถดูแลกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดอย่างทั่วถึงเลย ถ้าจะมียุทธศาสตร์ชาติระยะยาวจริงๆ เรื่องพวกนี้มันหายไปไหนหมด
ถ้าถึงคราวระบบนิเวศของโลกไม่ไหวขึ้นมาจริงๆ เรื่องอื่นๆมันจะดูไม่สำคัญไปเลย นี่คือวิกฤติที่มนุษย์เพิ่งเคยต้องเจอเป็น Generation แรกตั้งแต่เราอยู่บนโลกนี้มา แล้วเดิมพันสูงมาก คือถ้าทำไม่ได้คือตายกันหมด
โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัวกูนี่แหล่ะ
ป.ล. ใครมีข้อมูลงบเพิ่มเติมอีก ใส่ไว้ใน Comment ได้เลยครับผม
Ref
https://www.youtube.com/watch?v=0a05p8F3Z8U
https://germanwatch.org/en/19777
https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
https://prachatai.com/journal/2020/05/87560
https://www.pcd.go.th/pcd_structure/472/
https://siamrath.co.th/n/246320
https://datastudio.google.com/u/0/reporting/8bf91139-3edf-4a10-b004-1db027852b23/page/pWdOB?fbclid=IwAR0rTy7G1eb-7CM7YVJTL8CyQx1V-Ega88cOmn91cy8DYLq3SX5zQbJw2ow
https://beachlover.net/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%86%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%86-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2565/
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4081664865213737&id=972261292820792
https://fb.watch/62VhvOx84s/
carbondioxide 在 SKRpresents 陶山音樂 Facebook 的最讚貼文
這個影片是前天錄完音時
天然high的艷薇 @evangeline.wilder .
直接在錄音室開起演唱會的畫面😍
.
這首新歌的曲風超級可愛
叫《Carbon Dioxide》
又是一個 天外飛來一筆 的艷式歌詞😆
.
當天一錄完音
陶山和艷薇背起吉他直接衝去爬山!
因為他們兩個已經想了好久
要在山頂上寫歌!
然後雖然只爬到半山腰 沒爬到山頂
但是兩個人真的成功寫出了一首超好聽的歌曲
.
感謝框不住的艷薇
陪伴最近中年危機的陶山 @skotsuyama 😆
在手指刺青後
又完成了在山上寫歌的新冒險🤣🤣🤣
好alive的兩個人啊😍太喜歡了~~
。
。
。
#好聽 #王艷薇 #台北 #心情 #加油 #Taipei #音樂 #originalmusic #myjam #songwriting #musicianslife #popmusic #newartist #cpop #musicmatters #nomusicnolife #newsound #陶山 #SKRstory #EvangelineWong #CarbonDioxide
carbondioxide 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
carbondioxide 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
carbondioxide 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
carbondioxide 在 Carbon Dioxide | Vital Signs - NASA Climate Change 的相關結果
Carbon dioxide (CO2) is an important heat-trapping gas, or greenhouse gas, that comes from the extraction and burning of fossil fuels (such as coal, oil, and ... ... <看更多>
carbondioxide 在 Carbon dioxide | Definition, Formula, Uses, & Facts 的相關結果
carbon dioxide, (CO2), a colourless gas having a faint sharp odour and a sour taste. It is one of the most important greenhouse gases linked ... ... <看更多>
carbondioxide 在 Carbon dioxide - Wikipedia 的相關結果
Carbon dioxide is an end product of cellular respiration in organisms that obtain energy by breaking down sugars, fats and amino acids with oxygen as part of ... ... <看更多>